ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 507 ราย
ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม 2566 – 3 พฤศจิกายน 2566 ในหัวข้อ “ฤดูกาลท่องเที่ยวกับเส้นทางศึกษาธรรมชาติ…ในจังหวัดเชียงใหม่” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ผลสำรวจ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 86.76 มีประสบการณ์ “เคย” ท่องเที่ยวในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยให้เหตุผลว่า อันดับ 1 ชื่นชอบในการชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามและได้ใกล้ชิดธรรมชาติ (ร้อยละ 61.50) รองลงมาคือ ชื่นชอบและสนใจในการเดินศึกษาธรรมชาติ (ร้อยละ 16.40) และอันดับ 3 เพื่อหลีกหนีความแออัดวุ่นวายของเมือง (ร้อยละ 12.53)
มีเพียงร้อยละ 13.24 เท่านั้นที่ไม่เคยท่องเที่ยวในเส้นทางศึกษาธรรมชาติในจังหวัดเชียงใหม่ โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่ายังไม่สามารถหาเวลาเดินทางไปเที่ยวได้ ประกอบกับสุขภาพไม่แข็งแรง จึงไม่เหมาะกับการท่องเที่ยวตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มีความยากลำบาก
เมื่อสอบถามถึง “เส้นทางศึกษาธรรมชาติ” ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่รู้จัก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) พบว่า อันดับ 1 รู้จักเส้นทางศึกษาธรรมชาติ “ห้วยตึงเฒ่า” อ.แม่ริม (ร้อยละ 67.59) รองลงมาคือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ “กิ่วแม่ปาน” อ.จอมทอง (ร้อยละ 60.08) และอันดับ 3 เส้นทางศึกษาธรรมชาติ “ดอยหลวงเชียงดาว” อ.เชียงดาว (ร้อยละ 56.13)
สำหรับข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวใน “เส้นทางศึกษาธรรมชาติ” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) พบว่า อันดับ 1 ควรคำนึงถึงระยะทาง รวมถึงเส้นทางเดินให้มีความแข็งแรงปลอดภัย (ร้อยละ 74.90) รองลงมา คือ ควรจัดสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ตลอดเส้นทางเดินให้สวยงาม กลมกลืนธรรมชาติ (ร้อยละ 50.79) อันดับ 3 ควรมีป้ายสื่อความหมายและแนะนำข้อมูลอย่างทั่วถึง (ร้อยละ 44.86 ) อันดับ 4 ควรมีเจ้าหน้าที่หรือมัคคุเทศก์เพื่อแนะนำและอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว (ร้อยละ 34.58) และอันดับ 5 ควรพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้มีความสะดวกปลอดภัยและมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่คนชราหรือผู้พิการ
(ร้อยละ 5.39)
นอกจากขนบธรรมเนียมประเพณีของจังหวัดเชียงใหม่แล้ว จุดเด่นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การท่องเที่ยวในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เพื่อมาชมวิวทิวทัศน์ยอดเขา และสัมผัสอากาศที่หนาวเย็น ปัจจุบันการท่องเที่ยวในเส้นทางศึกษาธรรมชาติเป็นที่นิยมของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และนักท่องเที่ยว โดยจากผลสำรวจเส้นทางศึกษาธรรมชาติของประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่นิยมไปท่องเที่ยว ได้แก่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ “ห้วยตึงเฒ่า” “กิ่วแม่ปาน” และ“ดอยหลวงเชียงดาว” แต่อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวในเส้นทางศึกษาธรรมชาตินั้น ยังคงมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการออกแบบเส้นทางให้มีความมั่นคงแข็งแรง และปลอดภัย การพัฒนาเส้นทางคมนาคมและระบบขนส่ง เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเที่ยวชมได้หลากหลายกลุ่ม มีป้ายเพื่อให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวอย่างทั่วถึง เพราะนอกจากนักท่องเที่ยวชาวเชียงใหม่แล้ว “เส้นทางศึกษาธรรมชาติ” ยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ต้องการเดินทางมาสัมผัสบรรยากาศของเส้นทางเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องต่างๆ ต้องมีการจัดเตรียมความพร้อมของเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็น การเดินทาง จุดดึงดูดความสนใจ รวมถึงสถานที่รองรับนักท่องเที่ยวให้มีความเหมาะสม เพื่อจะได้สร้างความรู้จักประทับใจและกลับมาเยือนจังหวัดเชียงใหม่อีกครั้ง
“ห้วยตึงเฒ่า” เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ที่ครองใจชาวเชียงใหม่
แนะผู้เกี่ยวข้องควรออกแบบเส้นทางเดินให้มีความมั่นคงแข็งแรงปลอดภัย และจัดสภาพแวดล้อมให้สวยงามอยู่เสมอ
1.การมีประสบการณ์ การท่องเที่ยวในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
1.เคย ร้อยละ 86.76 โดยเหตุผล คือ
อันดับ 1 ชื่นชอบในการชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามและได้ใกล้ชิดธรรมชาติ (ร้อยละ 61.50)
อันดับ 2 ชื่นชอบและสนใจในการเดินศึกษาธรรมชาติ (ร้อยละ 16.40)
อันดับ 3 เพื่อหลีกหนีความแออัดวุ่นวายของเมือง (ร้อยละ 12.53)
อันดับ 4 เพื่อออกกำลังกายและพัฒนาความแข็งแรงของร่างกาย (ร้อยละ 4.33)
อันดับ 5 เพื่อพากลุ่มเพื่อนหรือครอบครัวที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดไปท่องเที่ยว (ร้อยละ 4.10)
อันดับ 6 เพื่อไปร่วมกิจกรรมกับหน่วยงาน องค์กร หรือสถานศึกษา (ร้อยละ 1.14)
2.ไม่เคย (ร้อยละ 13.24)
โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่ายังไม่สามารถหาเวลาเดินทางไปเที่ยวได้ ประกอบกับสุขภาพไม่แข็งแรง จึงไม่เหมาะกับการท่องเที่ยวตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มีความยากลำบาก
2. “เส้นทางศึกษาธรรมชาติ” ในจังหวัดเชียงใหม่ที่ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่รู้จัก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับ 1 เส้นทางศึกษาธรรมชาติ “ห้วยตึงเฒ่า” อ.แม่ริม (ร้อยละ 67.59)
อันดับ 2 เส้นทางศึกษาธรรมชาติ “กิ่วแม่ปาน” อ.จอมทอง (ร้อยละ 60.08)
อันดับ 3 เส้นทางศึกษาธรรมชาติ “ดอยหลวงเชียงดาว” อ.เชียงดาว (ร้อยละ 56.13)
อันดับ 4 เส้นทางศึกษาธรรมชาติ “ออบขาน” อ.ฮอด (ร้อยละ 39.53)
อันดับ 5 เส้นทางศึกษาธรรมชาติ อื่นๆ เช่น อ่างกาและผาดอกเสี้ยว อ.จอมทอง สุเทพ-ปุย ดอยผ้าห่มปก อ่างขาง น้ำตกแม่สา เป็นต้น (ร้อยละ 21.66)
อันดับ 6 เส้นทางศึกษาธรรมชาติ “ดอยม่อนจอง” อ.อมก๋อย (ร้อยละ 18.58)
3. ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวใน “เส้นทางศึกษาธรรมชาติ” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
3.1 ควรคำนึงถึงระยะทาง รวมถึงเส้นทางเดินให้มีความมั่งคงแข็งแรงปลอดภัย ร้อยละ 74.90
3.2 ควรจัดสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ตลอดเส้นทางเดินให้สวยงาม กลมกลืนธรรมชาติ ร้อยละ 50.79
3.3 ควรมีป้ายสื่อความหมายและแนะนำข้อมูลอย่างทั่วถึง ร้อยละ 44.86
3.4 ควรมีเจ้าหน้าที่หรือมัคคุเทศก์เพื่อแนะนำและอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว ร้อยละ 34.58
3.5 ควรพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้มีความสะดวกปลอดภัยและมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่คนชราหรือผู้พิการ ร้อยละ 5.39
3.6 อื่นๆ ได้แก่ การดูแลรักษาความสะอาดและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ร้อยละ 1.58
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1. เพศ
1.1 ชาย ร้อยละ 35.38 1.2 หญิง ร้อยละ 64.03 1.3 เพศทางเลือก ร้อยละ 0.59
2.อายุ
2.1 ไม่เกิน 20 ปี ร้อยละ 6.52
2.2 อายุระหว่าง 21 – 30 ปี ร้อยละ 21.94
2.3 อายุระหว่าง 31 – 40 ปี ร้อยละ 25.28
2.4 อายุระหว่าง 41 – 50 ปี ร้อยละ 29.26
2.5 อายุ 51 – 60 ปี ร้อยละ 12.65
2.6 อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 4.35
(อายุเฉลี่ย 39 ปี อายุต่ำสุด 18 ปี และสูงสุด 75 ปี)
3.ระดับการศึกษา
3.1 ประถมศึกษา ร้อยละ 4.35
3.2 มัธยมศึกษา ร้อยละ 17.59
3.3 ปวช./ปวส. ร้อยละ 13.24
3.4 ปริญญาตรี ร้อยละ 58.10
3.5 สูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 4.55
3.6 อื่นๆ คือ ไม่ได้เรียน ร้อยละ 2.17
4.อาชีพ
4.1 รับราชการ/ลูกจ้างรัฐ ร้อยละ 25.49
4.2 พนักงานเอกชน/รับจ้าง ร้อยละ 27.67
4.3 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 37.53
4.4 เกษตรกร ร้อยละ 2.59
4.5 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.13
4.6 อื่นๆ ได้แก่ แม่บ้าน ข้าราชการเกษียณ ร้อยละ 0.59
ที่มาข้อมูล
https://maejopoll.mju.ac.th/poll.aspx?id=5287