กว๊านพะเยากับวิกฤตน้ำเสีย

กว๊านพะเยากับวิกฤตน้ำเสีย

ข่าววิกฤตน้ำเน่ากับกว๊านพะเยา (Embedding disabled, limit reached)
   
ข่าว กว๊านพะเยากับวิกฤตน้ำเสีย
   
กว๊านพะเยาเป็น
ทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ  1 ในภาคเหนือ และ อันดับ 3 ของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ 18 สาย เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ  ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยามีความสวยงาม ทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่สำคัญของจังหวัดพะเยา  และยังเป็นแหล่งน้ำดิบแห่งเดียวในการผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดพะเยา   
แต่จากการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพและคุณภาพสิ่งแวดล้อม  โดยวิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำฝั่งชุมชนเมืองพะเยามีค่า DO หรือค่าร้อยละของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำต่ำ และพบแมลงน้ำในกลุ่ม Diptera ซึ่งบ่งบอกว่าคุณภาพน้ำต่ำ  และจากการตรวจสอบคุณภาพน้ำจากกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพะเยา
นายบัณฑิต สีใสคุณภาพน้ำกว๊านในปัจจุบันตามที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่  2  จังหวัดลำปางที่ได้มาเก็บตัวอย่าง 8 สถานีของจังหวัดพะเยา  คุณภาพน้ำในภาพรวมอยู่ในขั้นเสื่อมโทรม การแบ่งประเภทของน้ำแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ก็จะแบ่งออกเป็น ดีมาก ดี พอใช้ เสื่อมโทรมและเสื่อมโทรมมาก  เพราะฉะนั้นของเราอยู่ในขั้นเสื่อมโทรม อาจจะมีบางห้วงลงมาถึงเสื่อมโทรมมาก  ประเภทที่ 4  เป็นประเภทปัจจุบันก็คือกว๊านพะเยาเราเจออยู่ก็คือ  เป็นแหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งและสามารถใช้อุปโภคบริโภคโดยต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อและผ่านการปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นพิเศษ”
และสาเหตุที่ทำให้คุณภาพน้ำกว๊านอยู่ในระดับต่ำมาจากหลายสาเหตุ  คือการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร การปล่อยน้ำที่ยังไม่ผ่านการบำบัดจากภาคอุตสาหกรรม  การเน่าเสียของผักตบชวาและน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆของชาวบ้านรอบกว๊านพะเยา  แม้จะมีบ่อบำบัดน้ำเสียของเทศบาลเมืองพะเยา แต่บ่อบำบัดสามารภรองรับได้แค่ 1 ใน 4 ส่วนของจำนวนน้ำเสียทั้งหมดที่ปล่อยลงสู่กว๊านใน  1 วัน
นายบัณฑิต สีใสซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิด มี 2 ส่วน  คือในฝั่งภาคตะวันตกจะมาจากภาคการเกษตรกรรม การปศุสัตว์เลี้ยงสัตว์  ก็จะมีเรื่องสารเคมีเข้ามาเกี่ยวของ  และทางด้านฝั่งตะวันออกเป็นเรื่องของเขตเมืองก็จะมีเรื่องของปริมาณน้ำเสียจากครัวเรือนที่ใหลลงสู่กว๊าน  เพราะว่าในส่วนของกว๊านในเรื่องของการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเทศบาลเมืองดำเนินการอยู่  ก็ยังรองรับน้ำเสียได้ไม่ทั่วถึง สามารถรองรับได้แค่ 3 จุดจาก  13 จุด ตั้งแต่ประตูเหล็กไปจนถึงวัดศรีโคมคำ  ในส่วนนี้ก็คือไม่มีระบบรองรับน้ำเสียจากครัวเรือน เพราะฉะนั้นน้ำเสียจากตรงนั้นก็จะใหลลงสู่กว๊านโดยตรง” จากปัญหาที่เกิดขึ้นก่อให้ดกิดผลกระทบในหลายด้าน  จำนวนปลาที่ลดน้อยลงทำให้ชาวประมงรอบกว๊านพะเยาที่ยึดอาชีพประมงเป็นอาชีพหลัก  ต้องหันไปหาอาชีพอื่นแทน การเน่าเหม็นและการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วของผักตบชวาก่อให้เกิดผลกระทบในด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นอย่างมาก  แม้จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานส่งเสริมการพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืนของภาครัฐ  เข้ามาแก้ไขปัญหากว๊านพะเยา แต่การแก้ไขปัญหาที่แท้ยั่งยืนคงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนนั่นเอง

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ