NGOs ร่วมต่อต้านเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี

NGOs ร่วมต่อต้านเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี

กรุงเทพ/ กลุ่มองค์กรไม่แสวงผลกำไร (NGOs) ได้ประกาศเข้าร่วมการต่อต้านการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีบนแม่น้ำแม่โขงสายหลักที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกข้อตกลงที่จะซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าไซยะบุรี
 
การประกาศต่อต้านที่ลงนามโดย 39 กลุ่มองค์กรไม่แสวงผลกำไรทั้งระดับนานาชาติ ระดับชาติและกลุ่มประชาชน รวมถึงองค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) เกิดขึ้นก่อน การประชุมคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า โดยมีหัวหน้ารัฐบาลจากสี่ประเทศแม่น้ำโขงตอนล่างเข้าร่วมการประชุม ซึ่งการประชุมครั้งนี้จะระบุถึงความท้าทายที่มีต่อลุ่มแม่น้ำโขงและความร่วมมือในระดับภูมิภาค
 
เนื่องจากโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีเป็นเขื่อนแรกที่จะอยู่ในกระบวนการหารือของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ทำให้โครงการนี้เป็นกรณีทดสอบที่สำคัญอย่างมากต่ออีกสิบโครงการเขื่อนที่ถูกเสนอสร้างสำหรับแม่น้ำโขงตอนล่าง โดยกระบวนการของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงได้เรียกร้องให้หลายประเทศร่วมกันทบทวนโครงการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงที่เสนอเข้ามาด้วยวัตถุประสงค์ที่จะให้เกิดฉันทามติว่าโครงการสร้างเขื่อนเหล่านั้นสมควรดำเนินการต่อไปหรือไม่
 
แอม เทรมเด็ม ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขององค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) กล่าวว่า “ประเทศกัมพูชาและเวียดนามไม่เคยเห็นชอบกับโครงการเขื่อนไซยะบุรี อย่างไรก็ตาม ประเทศลาวยังคงเดินหน้าต่อไปในการก่อสร้างเขื่อนโดยปราศจากการเห็นชอบจากประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้โครงการเขื่อนไซยะบุรีทำให้ความชอบธรรมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง(MRC)ที่ถูกต้องด้วยกฎหมายอ่อนแอลงอย่างร้ายแรง และคุกคามต่อความอุดมสมบูรณ์และความเจริญงอกงามของแม่น้ำโขงและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งอาจทำให้กว่าหลายล้านชีวิตต้องเผชิญกับปัญหาความมั่นคงทางอาหาร การประชุมแม่น้ำโขง (The Mekong Summit) เป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับประเทศกัมพูชาและเวียดนามในการแสดงท่าทีที่หนักแน่นและบอกถึงความกังวลของพวกเขาออกไปให้เป็นที่รับรู้ทั่วกันอย่างชัดเจนก่อนที่มันจะสายเกินไป”
 
ทั้งนี้จากข้อมูลของบริษัท Pöyry บริษัทที่ปรึกษาจากประเทศฟินแลนด์ที่เป็นผู้ให้คำปรึกษากับประเทศลาวด้านวิศวกรรมเขื่อน เขื่อนเล็กกั้นลำน้ำชั่วคราวเพื่อใช้เบนทิศทางการไหลของแม่น้ำจากสถานที่ก่อสร้างเขื่อนในแม่น้ำจะถูกสร้างขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2558 ซึ่งถือเป็นการแทรกแซงโดยตรงครั้งแรกต่อพื้นท้องน้ำในช่วงฤดูแล้ง และจะเป็นจุดเริ่มต้นของผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถฟื้นคืนสภาพกลับมาได้อีก
 
ประเทศไทยอยู่ในรายชื่ออันดับต้นๆที่จะใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีซึ่งใช้งบประมาณการก่อสร้าง3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และกลุ่มธนาคารของประเทศไทย 6 แห่งกำลังให้การสนับสนุนเงินทุนโครงการเขื่อนไซยะบุรี แม้โครงการดังกล่าวจะสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงความไม่แน่นอนในด้านผลกำไรจากโครงการนี้
 

20140204114357.jpeg

เทรนเด็ม กล่าวว่า หากปราศจากผลการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเขื่อนบนลุ่มแม่น้ำโขงสายหลักทางตอนล่างอยู่บนการคาดเดาโดยส่วนใหญ่ในเวลานี้ แต่ประเทศลาวคาดหวังว่าประเทศเพื่อนบ้านจะก้าวกระโดดข้ามความศรัทธาและความเชื่อมั่นที่มีไปอย่างอันตรายว่า อย่างไรก็ตามความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้อย่างไรจะได้รับการแก้ปัญหา ในขณะที่การก่อสร้างได้เริ่มต้นไปแล้ว วิธีการที่คลุมเคลือนี้ไม่เพียงแต่เป็นการสรุปผลการศึกษาไปก่อน แต่ชัดเจนว่าเป็นการฝ่าฝืนหลักปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับนานาชาติ
 
ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างเป็นหนึ่งในแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ทอดเหยียดยาวและไหลอย่างเสรีสายสุดท้ายของโลก อันมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตประชาชน  60 ล้านคนด้วยพื้นที่ประมงอันอุดมสมบูรณ์ ในการที่ปลาจะอพยพขึ้นลงตามลำน้ำ พวกมันจะต้องว่ายผ่านเขื่อนตามเส้นทางการเดินทางของปลาที่วางแผนไว้
 

20140204114410.jpeg

ด้านมาร์ก กอยชอท ผู้นำด้านไฟฟ้าพลังงานน้ำที่ยั่งยืนร่วมกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก เกรทเตอร์ แม่โขง กล่าวว่า “มันยังไม่สายเกินไปที่จะหยุดเขื่อนที่จะสร้างความหายนะนี้ ก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้นในต้นปีหน้านี้อย่างไม่สามารถฟื้นคืนสภาพได้อีก ประเทศไทยจะต้องวางตัวอย่างมีความรับผิดชอบและยกเลิกข้อตกลงการซื้อพลังงานไฟฟ้าซึ่งเกิดขึ้นก่อนเวลาอันควร จนกว่าจะมีฉันทามติจากประเทศในภูมิภาคเกี่ยวกับเขื่อนที่สร้างบนแม่น้ำโขงสายหลัก และหากธนาคารทั้งหกธนาคารของประเทศไทยพิจารณาทบทวนการประเมินความเสี่ยงต่างๆ และให้คุณค่ากับชื่อเสียงของธนาคารในระดับนานาประเทศ รวมทั้งผลตอบแทนทางการเงินแล้ว พวกเขาคงจะถอนตัวออกจากโครงการ”
 
ในปฏิญญาร่วมนั้นองค์กรต่างๆ ยอมรับร่วมกันว่า โครงการเขื่อนไซยะบุรีเป็นหนึ่งในเขื่อนที่จะก่อให้เกิด มหันตภัยร้ายแรงที่สุดในบรรดาเขื่อนที่กำลังก่อสร้างทั่วโลก ถือเป็นภัยร้ายแรงที่สุดสำหรับประเทศที่มีพรมแดนร่วมกัน ทั้งในแง่ของความมั่นคงด้านอาหาร การพัฒนาอย่างยั่งยืน และความร่วมมือระดับภูมิภาคในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง และการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของโครงการนี้ยังไม่ถึงมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติอีกด้วย
 
การตรวจสอบเขื่อนไซยะบุรีของผู้เชี่ยวชาญระบุว่ามีช่องโหว่ที่สำคัญด้านข้อมูลและจุดอ่อนหลายประการ เกี่ยวกับเส้นทางการเดินทางของปลาที่วางแผนไว้สำหรับการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ และผู้เชี่ยวชาญยืนยันแล้วว่า โครงการเขื่อนไซยะบุรีจะกีดขวางการไหลเวียนของตะกอนส่วนหนึ่ง ซึ่งจะลดความมั่นคงของระบบนิเวศของแม่น้ำที่เกษตรกร ชาวประมง และอีกหลายภาคส่วนทางเศรษฐกิจต้องพึ่งพา
 

20140204114427.jpeg

กอยชอท กล่าวว่า “ยังไม่พบลู่ทางใดๆ ที่นานาชาติยอมรับและสามารถพิสูจน์ได้ในทางเทคโนโลยีว่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบของโครงการเขื่อนไซยะบุรีที่มีต่อการอพยพของปลา และการไหลของตะกอนท้องแม่น้ำได้ การนิ่งนอนใจต่ออนาคตของแม่น้ำแม่โขงกับการวิเคราะห์ที่มีข้อบกพร่องอาจทำให้เกิดผลกระทบอันร้ายแรงตามมาต่อการดำรงชีวิตของประชาชนหลายล้านคนที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำแม่โขง
 
การร่วมมือกันของกลุ่มองค์กรไม่แสวงผลกำไร (NGO) สนับสนุนท่าทีของรัฐบาลเวียดนามที่ออกมาเรียกร้องอย่างหนักแน่นและเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2554 ให้ลาวปฏิบัติตามมติของ MRC ว่าด้วยขั้นตอน การหารือกันก่อน กล่าวคือให้ “ชะลอการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี รวมทั้งโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำอื่นๆ ที่จะสร้างคร่อมแม่น้ำโขงสายหลักออกไปอย่างน้อย 10 ปี” ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องตามคำชี้แนะในรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ของ MRC ปี 2010 เกี่ยวกับโครงการเขื่อนต่างๆ ที่จะสร้างคร่อมแม่น้ำโขงสายหลัก.

ที่มา : ประชาธรรม

20140204114444.jpeg

20140204114455.jpeg

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ