เดินเท้าป่าแม่ขานวันหยุดเขื่อนโลก ออกแถลงการณ์หมดยุคสร้างเขื่อน

เดินเท้าป่าแม่ขานวันหยุดเขื่อนโลก ออกแถลงการณ์หมดยุคสร้างเขื่อน

เครือข่ายชาวบ้านเดินเท้าป่าแม่ขานวันหยุดเขื่อนโลก

ออกแถลงการณ์ หมดยุคของการสร้างเขื่อน- ให้แม่น้ำไหลอย่างอิสระ  

  ภาพจาก  Hannarong Yaowalers

นับจากวันที่ 14 มีนาคม 2540  ที่ผู้เดือดร้อนจากเขื่อนทั่วโลกมาประชุมกันที่เมืองคิวริทิบา ประเทศบราซิล  และร่วมกันประกาศให้วันที่ 14 มีนาคมของทุกปี เป็นวันหยุดเขื่อนโลก ( International Day of Action against Dams )  จากนั้นเป็นเวลา 17 ปีแล้ว ที่ทั่วโลกก็ได้มีกิจกรรมเพื่อประกาศเจตนารมย์ไม่เอาเขื่อน เพราะส่งผลต่อวิถีชีวิตและทรัพยากรธรรมชาติ   

สำหรับปีนี้ 2557 ที่ จังหวัดเชียงใหม่  เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำภาคเหนือ (คปน.) ซึ่งรวมตัวกันจากเครือข่ายผู้จะได้รับผลกระทบจากการเป็นพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนในภาคเหนือ เช่นตัวแทนจาก อ.แม่แจ่ม พื้นที่ก่อสร้างเขื่อนแม่แจ่ม  ตัวแทนจากบ้านป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน พื้นที่ก่อสร้างเขื่อนห้วยตั้ง  ตัวแทนจากพื้นที่บ้านแม่ขนิลใต้ อ.หางดง และบ้านสบลาน อ.สะเมิง พื้นที่สร้างเขื่อนแม่ขาน  ตัวแทนจากพื้นที่สร้างเขื่อนยมบน ยมล่างหรืแก่งเสือเต้น จ.แพร่ พร้อมทั้งเยาวชนและผู้สนใจทั่วไป มารวมตัวกันที่จังหวัดเชียงใหม่  เพื่อออกเดินเท้านิเวศวิทยาป่าแม่ขานจากสบลานถึงแม่ขนิลใต้ ในวันที่ 14 – 17 มีนาคม นี้   โดยขึ้นรถจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปยัง อ.สะเมิง และต่อรถจากตลาดสะเมิง เข้าบ้านสบลาน เพื่อเดินเท้าเลียบแม่น้ำตาม และป่าแม่ขานร่วมกันเพื่อศึกษาธรรมชาติ  เรียนรู้ความสัมพันธุ์ในวิถีคนกับป่าและแม่น้ำ

ตัวแทนชาวบ้านบอกตรงกันว่า การร่วมกันเดินเท้าครั้งนี้เพื่อสื่อถึงสังคมด้วยว่าพวกเขาไม่ต้องการให้มีการก่อสร้างเขื่อนในพื้นที่ของพวกเขา เพราะจะส่งผลกระทบต่อชีวิตและเห็นว่าการบริหารจัดการน้ำและดูแลป่าสามารถดำเนินการได้หลายวิธีที่ไม่ใช่เพียงการสร้างเขื่อน  

 

กิจกรรม “นิเวศศึกษา เดินป่าลุ่มน้ำขานจากบ้านสบลานถึงบ้านแม่ขนิลใต้”อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางรวมกันประมาณ 27 กิโลเมตร เพื่อรณรงค์ต่อต้านเขื่อนและต่อต้านโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ภาพใต้งบประมาณเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท เนื่องในวันหยุดเขื่อนโลก และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าใจบทบาทของชาวบ้านในพื้นที่ต้นน้ำ ที่มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ และแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน อันจะเป็นจุดเริ่มของการรวมตัวในภาคประชาชนเพื่อเก็บข้อมูลสำหรับการปฏิรูประบบการจัดการทรัพยากรน้ำและกฎหมายที่เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น อีไอเอ อีเอชไอเอ  โดยกำหนดจะเปิดเวที 19 ปีเขื่อนแม่ขาน กันในคืนวันที่ 16 มีนาคม 2557 ที่วัดแม่ขนิลใต้ด้วย

ขณะที่ความเคลื่อนไหวในพื้นที่อื่นๆ ที่จะมีการก่อสร้างเขื่อน ประชาชนก็ออกมารณรงค์กันอย่างคึกคัก

ภาพจาก  Noi Yt Fop Kst   ความเคลื่อนไหวที่ จ.แพร่

ภาพแอคชั่นโดยเยาวชนแม่น้ำโขง จากคุณนิชล ผลจันทร์   (ที่มา เฟศ หยุด เขื่อนไซยะบุรี(stop Xayaburi Dam))

นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) ได้ออกแถลงการณ์วันหยุดเขื่อนโลก 14 มีนาคม โดยมีเนื้อหาดังนี้ เป็นเวลามากว่า 6 ศตวรรษ ที่มีการสร้างเขื่อนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 เริ่มมีการสร้างเขื่อนที่ถูกอ้างเสมอว่า เป็นสัญลักณ์ของการพัฒนาการจัดการน้ำ หรือเป็นตัวบ่งชี้ถึงการนำน้ำไปใช้ในการชลประทาน ที่ระบุได้ว่ามีระบบชลประทานในประเทศนั้น ๆ จำนวนเท่าไหร่ และผลิตไฟฟ้าได้มากน้อยแค่ไหน เป็นตัวชี้วัด และเช่นกัน กับการสร้างเขื่อนในประเทศไทย ได้เริ่มมาพร้อมๆ กัน กับประเทศยักษ์ใหญ่ อย่างอเมริกา และในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งได้สร้างเขื่อนขนาดใหญ่ มากกว่า 50 เขื่อน ขนาดกลาง มากกว่า 700 เขื่อน และขนาดเล็กอีกไม่น้อยกว่า 15,000 เขื่อน มีพื้นที่ชลประทาน ประมาณ 40 ล้านไร่ ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 2,800 MW หรือ ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ของไฟฟ้าในระบบ ซึ่งดูแล้วน้อยมาก

                                                                       

  

วัตถุประสงค์ของการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เห็นชัดเจนว่า น้ำท่วมปี 2554 ที่ท่วมหนักก็มาจากเขื่อนเช่นกัน และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เป็นที่แน่ชัดว่า เขื่อนและฝายที่สร้างไว้อย่างเดียวดาย ไม่ได้สนใจระบบนิเวศอื่น ก็ไม่มีน้ำเช่นกัน

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ก็ได้เอาโครงการสร้างเขื่อนไว้ไม่น้อยกว่า 21 เขื่อน และโครงการขุดลอกแม่น้ำ ผันน้ำ หวังว่ามีสิ่งก่อสร้างเหล่านี้แล้ว จะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งได้ สุดท้ายก็เจอการขัดขวางจากชุมชน ไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนที่ทำลายชุมชนและป่าอนุรักษ์อีกต่อไป ควรสงวนป่าไม้และชุมชนให้มีที่ทำกิน และสร้างความชุ่มชื่นให้ผืนป่า อุ้มน้ำไว้ดีกว่าการสร้างเขื่อนเพื่อนการชั่วคราวเท่านั้น

ในระดับภูมิภาค มีการสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำระหว่างประเทศแม่น้ำโขง ประเทศใหญ่ ๆ สร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า เพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไม่ได้คำนึงถึงคนตัวเล็กตัวน้อย ที่อาศัยแม่น้ำไม่น้อยกว่า 60 ล้านคน เพียงเพื่อต้องการไฟฟ้าเท่านั้น แต่ได้ทำลายแห่งอาหาร แหล่งโปรตีนตามธรรมชาติโดยสิ้นเชิง นี่หรือการพัฒนาที่อ้าง แต่ได้ทำลายวิถีชุมชนและธรรมชาติอย่างสิ้นเชิง หาชิ้นดีไม่ได้เลย แต่ได้รับการหนุนจากธนาคาร เพื่อหวังกำไรจากการเอาเปรียบธรรมชาติและความยากไร้ของชุมชนที่เคยมีโปรตีนจากลำน้ำโดยไม่สิ้นใจใด ๆ ทั้งสิ้น

ในช่วงท้าย แถลงการณ์ฉบับดังกล่าวยังได้เรียกร้องให้ยุติการสร้างเขื่อนเพื่อหวังเพียงพัฒนาเฉพาะผลิตไฟฟ้า หรือการชลประทานเพียงอย่างเดียว ข้ออ้างแก้น้ำท่วมและภัยแล้ง สุดท้ายไม่ได้ยั่งยืนแบบที่จินตนาการไว้ หมดยุคของการสร้างเขื่อนได้แล้ว ให้แม่น้ำไหลอย่างอิสระ Run Free the River อย่างแท้จริง และมาร่วมกันสร้างความชุ่มชื้นให้ผืนป่า และรักษาดินน้ำไปด้วยกัน เพื่อความยั่งยืนของมนุษย์ชาติต่อไปอีกชั่วกาลนาน.

น้องรุจ แพร ท็อป เค จากมหาวิทยาลัย มหาสารคาม สนใจการต่อสู้ของชาวบ้านเลยมาร่วมเดินศึกษาด้วย ขณะที่น้องตู้ จาก ม.ราชภัฎเชียงใหม่เป็นหนึ่งผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนห้วยตั้งที่ลำพูนก็จะมาเดิน ตลอด3วันนี้ พวกเขาอาสาเป็นนักข่าวพลเมืองเก็บเรื่องราวระหว่างทางมาสื่อสารอีกแรง

 

ชาวบ้านสบลาน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ที่มีชีวิตอยู่กับป่าลุ่มน้ำแม่ขาน 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ