สหภาพโทรคมนาคมเฟ้นหากติกาก่อตั้งทีวีชุมชนในไทย สอบถามพะเยาและอุบลราชธานีภาคประชาชนนำร่องดำเนินการในเตรียมขยายวงหารือกรอบแนวคิดเพิ่มเติม
ช่วงเวลานี้จนถึงกลางปี 2559 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ สำนักงานกสทช ยูเนสโก กำลังอยู่ระหว่างร่วมกันพัฒนากรอบดำเนินการเพื่อให้บริการโทรทัศน์ชุมชนในประเทศไทย โดยเมื่อวันที่ 20 และ 22 ตุลาคม 2558 ได้นำผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ที่มีภาคประชาชนเริ่มนำร่องก่อตั้งทีวีชุมชน 2 พื้นที่คือ จ.พะเยา และจ.อุบลราชธานี เพื่อสอบถามข้อมูลไปวางกรอบดำเนินการ ทั้งในส่วนของการให้ใบอนุญาต โครงสร้างบริหารจัดการ ที่มาของเนื้อหา เทคโนโลยีที่ใช้ ตลอดจนมาตรการส่งเสริม
โดยในวันที่ 22 ตุลาคม 2559 ในการหารือร่วมกับพะเยาทีวีชุมชน และเครือข่ายผู้สนใจก่อตั้งทีวีชุมชนของภาคเหนือ ได้มีข้อซักถามและคำตอบที่มีความน่าสนใจที่สำหรับผู้สนใจติดตามสถานการณ์ ทีมข่าวพลเมืองขอรวบรวมรายละเอียดมาไว้ดังนี้
ที่มาของการศึกษา
คุณสมศักดิ์ สิริพัฒนากุล ผู้อำนวยการสำนักกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล กสทช : กสทช หรือ คณะกรรมการกิจกระจายเสียง การโทรคมนาคมแห่งชาติมีหน้าที่หลักในการบริหารคลื่นความถี่ การออกใบอนุญาตในกิจการด้านโทรคมนาคมและกิจการกระจายเสียง ตั้งมาปีนี้เป็นปีที่ 4 ก่อนหน้านี้ กฎหมายในการจัดตั้งกสทช. กำหนดในเรื่องของคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสาธารณะของชาติ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 ภาคประชาชนต้องสามารถมาใช้คลื่นความถี่ได้อย่างน้อยร้อยละ 20 และเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเมื่อกสทช. เข้ามาทำหน้าที่และได้เขียนนโยบายในแผนแม่บท และพันธกิจสำคัญเป็นเรื่องของการเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ดิจิตอล คือ ในกฎหมายเขียนว่า โทรทัศน์ที่จะให้ประชาชนใช้ให้มีการดำเนินการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิตอล ซึ่งโทรทัศน์ในระบบอนาล็อคคลื่นความถี่ค่อนข้างจะเต็มแล้ว โอกาสในการใช้ก็จะได้น้อย แต่พอเปลี่ยนผ่านจะระบบอนาล็อคไปสู่โทรทัศน์ดิจิตอล ช่องจะมีได้มากขึ้นเป็น 48 ช่อง ตามนโยบายที่กสทช.เขียนไว้ ผลก็คือว่าใน 48 ช่องก็จะแบ่งเป็นครึ่งหนึ่งสำหรับภาคธุรกิจที่จะเอาไปแสวงหาผลกำไร ซึ่งได้จัดสรรไปแล้ว คือ 24 ช่องจะเป็นช่องบริการธุรกิจ ส่วนอีก 24 ช่องจะเป็นโทรทัศน์ที่ดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ 24 ช่องนี้ก็จะเป็นสองส่วน คือ 12 ช่องสำหรับระดับชาติ คือ ออกอากาศทั่วประเทศ และอีก 12 ช่องจัดให้เป็นบริการชุมชนในแต่ละเขตบริการ ซึ่งตอนนี้ทั้งประเทศเรา เราก็ได้แบ่งเขตบริการเป็น 39 เขต หมายความว่าในแต่ละเขตก็จะมีโทรทัศน์บริการชุมชน 12 ช่อง และตามกฎหมายเขียนไว้ว่าแหล่งที่มาได้รับการอุดหนุนระยาวยาว ส่วนหนึ่งมาจากกองทุนกสทช. อีกส่วนหนึ่งมาจากเงินบริจาค ซึ่งกองทุน กสทช. จะเก็บค่าธรรมเนียมที่จะมาบริการชุมชน 2 %จากโทรทัศน์ทั้ง 24 ช่อง ดังนั้นเราจึงมีการดำเนินการด้านธุรกิจก่อน มีคำถามว่าทำไมทำธุรกิจก่อน ทำชุมชนทีหลัง เนื่องจากเงินที่จะมาช่วยชุมชนมาจากธุรกิจ โดยการออกใบอนุญาตธุรกิจ ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ได้มีการเก็บค่าบริการในส่วนนั้น รอให้เขามีกำไรก่อนจึงค่อยเก็บ การเก็บ 2% จากรายได้เขานี้ก็จะเข้ากองทุน ซึ่งกองทุนตรงนี้ก็จะมาช่วยในการอุดหนุนทั้งวิทยุและโทรทัศน์
การออกใบอนุญาตโทรทัศน์ชุมชน จะเริ่มเมื่อมีการปิดโทรทัศน์อนาล็อคแล้ว ซึ่งจะเริ่มปิดตั้งแต่ปลายปีนี้ ต้นปีหน้า ทยอยปิดของ ThaiPBS ก่อนและจะปิดสมบูรณ์เมื่อประมาณกลางปี 61 จากนั้นก็จะเริ่มออกใบอนุญาตโทรทัศน์ชุมชนได้ แต่ว่าขณะนี้เราก็ได้ร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ(ITU) และทางองค์การUNESCO ซึ่งเขามีความเชี่ยวชาญเรื่องสื่อชุมชน มาร่วมกันศึกษาว่าในการทดลองอนุญาตว่าจะมีแนวทางอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำกับดูแล หลักเกณฑ์การออกใบอนุญาต เรื่องของตัวโครงข่าย เรื่องของแนวคิด โครงสร้างการ วิธีการกำกับดูแล เรื่องของความคิดเห็น และเรื่องของงานบุคลากร ITU และ UNESCO จะมาช่วย โครงการศึกษานี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี แนวทางการศึกษา จะดูกฎหมายไทย แนวทางการศึกษาในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย เราพยายามหาสิ่งที่เกิดร่วมกันได้ การศึกษาของต่างประเทศจะดูข้อมูลจากอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ อินโดนีเซีย และของประเทศไทย โดยจะหาปัจจัยร่วมที่ทุกประเทศมีร่วมกัน
กรอบคิดในการศึกษา
คุณวิสิฐ อติพญากุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคมและไอซีที ITU กล่าวว่า สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU ได้เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มามีส่วนร่วมในโครงการนี้ และ UNESCO ด้วย ซึ่งทั้ง ITU และ UNESCO เป็นองค์กรระหว่างประเทศซึ่งมุ่งเน้นหรือสนใจในเฉพาะเรื่อง อย่าง UNESCO ก็สนใจเรื่องของวัฒนธรรมและเรื่องของสื่อด้วย ITU ทำเรื่องของการจัดสรรคลื่นความถี่ ถ้าเราไม่มีคลื่นความถี่เราก็ออกอากาศไม่ได้ ออกอากาศโทรทัศน์ไม่ได้ ฉะนั้นมันต้องมีการออกแบบว่าคลื่นความถี่ไหนจะใช้ในกิจการใด ในเมืองไทยเองที่ผ่านมาช่วงที่เรามีการเปลี่ยนแปลง ITU ก็มีส่วนร่วมในเรื่องการเกี่ยวข้องของนโยบายตั้งต้นที่เปิดกว้าง การศึกษาครั้งนี้เพื่อวางกรอบการดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นการกำกับดูแล ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงาน การบริหารจัดการ การหาทุน นี่ควรทำอย่างไร เพราะว่าบริบทของชุมชนต่างกัน ฉะนั้นวิธีการจัดการไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการ หรือว่าเนื้อหารายการควรเป็นอย่างไร ในมุมของผู้กำหนดนโยบายเอง ความท้าทายมีอยู่ว่าเราจะออกนโยบายแบบไหนให้สามารถใช้ได้ในทุกบริบท ให้สามารถใช้ได้มากที่สุด นอกจากนั้นจะกำกับอย่างไร โดยที่ไม่ให้ไปจำกัดความคิดสร้างสรรค์ของผู้ดำเนินการ
ทีวีชุมชนแบบพะเยา
ชัยวัฒน์ จันธิมา ผู้ประสานงานสถาบันปวงผญาพะยาว อธิบายภาพรวมของพะเยาทีวีเป็นโครงการก่อตั้งทีวีสาธารณะบริการชุมชน เป็นความร่วมมือของสถาบันปวงผญาพยาวและก็มหาวิทยาลัยพะเยา และไทยพีบีเอส ทำงานภายใต้ที่ปรึกษาที่มาจากส่วนต่างๆ ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ และตั้งคณะกรรมที่มาจากตัวแทนส่วนต่างๆ และตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดตั้ง โดยมีตัวแทนจากท้องถิ่น มหาวิทยาลัย เริ่มต้นการทำงาน
เริ่มต้นจากรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน ว่าอยากเห็นทีวีแบบไหน รายการอะไร ในช่วงทดลองก็จะใช้นักศึกษาของอ.ภัทรา บุรารักษ์ จากมหาวิทยาลัยพะเยาทั้งกระบวนการเบื้องหน้าเบื้องหลัง ก่อนออกเป็นรายการเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องมานานในช่วงสองถึงสามปี
ขณะเดียวกันได้ร่วมเครือข่ายกับสื่อ ไทยพีบีเอส ภาคประชาสังคม สถาบันวิชาการ ทำเครือข่ายและผลักดันเชิงนโยบายพยายามให้ทีวีชุมชนเกิดทุกพื้นที่ อบรมต่างๆ แบ่งปันพัฒนาองค์ความรู้ เวิร์คชอป ผลิตรายการต้นแบบต่างๆ สารคดี รายการผสมผสานภูมิปัญญา งานวิจัย รายการ ข่าว สนทนา จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน ร่วมกับเครือข่ายต่างๆ
ชัยวัฒน์ย้ำว่า ทุนทางสังคมที่พะเยามีอยู่น่าจะทำทีวีชุมชนได้ พูดถึงทีวีกับชุมชนไม่อยากให้คิดถึงอุปกรณ์เครื่องส่ง บริษัทต่างๆ เพราะว่าแบบนั้นทีวีชุมชนจะไม่เกิดขึ้น หลักคิดสำคัญของทีวีชุมชน คือ ความเป็นเจ้าของ เกิดขึ้นจริง การบริหารการจัดการองค์กร ที่เป็นสถาบัน ขนาดหรือ ทักษะ รูปแบบเนื้อหารายการ เครื่องมือ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นความคิดร่วม ไม่ใช่คนใดคนหนึ่งมาส่งเสริมให้เกิดขึ้น
ทีวีชุมชนพะเยาออกแบบช่วงเวลาก่อกำเนิดคือ ปีที่ 1-3 เป็นการเตรียมคน เครื่องมือ สตูดิโอ ทดลอง ออกอากาศ โดยมีการอบรม ฝึกทักษะ สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สื่อวิชาชีพและเครือข่ายประเด็น ยกระดับผู้ชมเป็นผู้เท่าทันสื่อจนเกิดสภาผู้เท่าทันสื่อระดับอำเภอ จากนั้นจะเกิดความเป็นเจ้าของร่วม ปีที่ 4-5 เป็นระยะของการเติบโตและติดตาม โดยงบประมาณที่คาดว่าจะใช้ ปีที่ 1-3 คาดว่าใช้งบประมาณ 15-20 ล้านต่อปี พร้อมๆ ไปกับการมีทุนทางสังคม เช่นสถานที่ อุปกรณ์ ปัจจัยต่างๆ ซึ่งคาดว่า เมื่อบริหารสู่ปีที่ 4 – 5 เงินสนับสนุนจากกสทช.จะลดลงเหลือปีละ 5 ล้าน แต่มีทุนจากท้องถิ่น 5 ล้าน และการบริจาค 5 ล้าน
คำถามสำคัญของการก่ดเกิดทีวีชุมชนคือ การเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงของชุมชน /การพัฒนารูปแบบ เนื้อหาที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน และมาตรการส่งเสริม สนับสนุนทีวีชุมชนให้ยืนหยัดด้วยตนเองได้จะเป็นอย่างไร
และต่อไปนี้คือข้อซักถามระหว่างเจ้าหน้าที่ไอทียูกับการให้คำตอบของพะเยาทีวีและเครือข่ายผู้สนใจก่อตั้งทีวีชุมชนภาคเหนือ มีความน่าสนใจคือ
ถาม: แนวคิดในการจัดตั้ง เป็นแนวคิดที่ได้มีการคุยกันมาแล้วหรือเป็นแนวคิดที่เกิดจากคุณชัยวัฒน์
พะเยาทีวีชุมชน : สถาบันปวงผญามีการทำงานหลายประเด็นในพื้นที่ สถาบันปวงผญาพะเยาเป็นผู้ชวนพูดคุย ประสานงาน ผลักดัน มีการพูดคุยประสานงาน มีความคิดร่วมกัน
ถาม: รูปแบบการจัดตั้ง ในเชิงกฎหมายที่ให้จัดตั้งได้โดยสมาคม มูลนิธิ กลุ่มบุคคล มีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
พะเยาทีวีชุมชนตอบ : สื่อเป็นเหรียญสองด้าน กสทช.หรือรัฐที่มีส่วนด้านความมั่นคงก็ต้องยึดหลักกฎกติกาเป็นหลัก การที่จะให้ใครที่ไม่มีองค์การไม่มีเอกสารรองรับก็มีผลต่อความมั่นคง ในส่วนของพะเยาทีวีได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นสมาคมสื่อชุมชนจังหวัดพะเยา
สามเณรแชเนล :เห็นด้วย ใช้หลักการเดิมในการจัดตั้ง ในเรื่องนิติบุคคลการรวมกลุ่มของบุคคล ซึ่ง เรื่องกฎระเบียบอยากให้กสทช.กำหนดให้ชัดเจน ชุมชนยินดีทำตามนั้น ตอนนี้เราไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร และอีกหลายชุมชนรู้เรื่องดิจิตอลแค่ไหน
ถาม : ใบอนุญาตควรมีระยะเวลากี่ปี ทีวีชุมชนมีกี่ช่องถึงจะเพียงพอ และลักษณะประเภทของทีวีชุมชนเท่าที่ศึกษาเห็นว่ามีลักษณะ แนวประชาสังคม แนวการสื่อสารจากองค์กรท้องถิ่น แนวการศึกษา
พะเยาทีวีชุมชน : ที่ผ่านมาก็มุ่งเน้นการศึกษา โดยเฉพาะในส่วนที่มหาวิทยาลัยพะเยาสนับสนุน ในส่วนที่เราจำเพาะเจาะจงไปคือ เขตพื้นที่การศึกษา เราก็รับผิดชอบงานด้านไอที งานด้านสื่อการเรียนการสอน ทางศึกษานิเทศก์มีส่วนหนึ่งที่ไปดูการเรียนการสอนของครูที่ดีมาเผย แพร่ก็ดึงตรงนี้มา อีกส่วนหนึ่งก็มีการสื่อสารภาคประชาสังคม แต่ก็มีข้อจำกัด คือ นักศึกษาจบก็ไป เราไม่มีทุนตอบแทน
ถาม : การจัดตั้งได้โดยสมาคม มูลนิธิ กลุ่มบุคคลรูปแบบไหนดี ดีอย่างไร
เครือข่ายฯจากนครสวรรค์ :ทั้ง 3 รูปแบบถ้าบอกว่าดีก็ดีดีและมีปัญหาก็มีปัญหาหมด บทเรียนจากวิทยุชุมชนที่ได้ไปร่วมผลักดันในปี 41 ทำมาตลอด เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่ทุกคนตื่นตัวมาศึกษาเรียนรู้ มี หลังจากให้มีโฆษณาได้เป็นการเปลี่ยนเชิงนโยบายของภาครัฐ ทำให้ความมุ่งหมายเดิมของการทำสิทธิชุมชนเปลี่ยนไป จากเพื่อสาธารณะเป็นเพื่อธุรกิจโดยเอาตัวสาธารณะเป็นตัวตั้ง มันก็เลยควบคุมไม่ได้ มีผลต่อชุมชน มีผลต่อวิถีชีวิต มีผลต่อทัศนคติ มันเสียหายมากกับประเทศชาติ ร่อรอยตรงนี้ยังผังลึกอยู่ ตนไม่อยากให้ทีวีชุมชนเดินตามรอยเดิมวิทยุชุมชน ก็ต้องเอาบทเรียนนั้นมาพิจารณา เราขับเคลื่อนท่ามกลางนโยบาย คล้ายๆสิทธิชุมชน แต่เรายังไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน การมีสามกลุ่มที่ว่ากลุ่มที่เป็นนิติบุคล มูลนิธิก็มีคนแปลงร่างมาอยู่และก็เป็นกลุ่มทุนด้วย แต่ไม่มีอะไรไปห้ามเขา เพราะเขาก็บอกว่าเขาเป็นชุมชนเหมือนกัน เราก็แพ้ในเรื่องของแนวคิดเขา ผมคิดว่าต้องมีการนิยามหรือไม่อย่างไร ในเรื่องของสามกลุ่มที่ว่านี้ อาจจะนิยามแนบท้ายอย่างชัดเจนว่าเป็นอะไร อย่างไร ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าตอนนี้แม้จะยังไม่มีโฆษณา แม้ว่ารัฐอุดหนุน แต่จะเห็นว่าสื่อในทีวีที่เป็นธุรกิจหรือโซเชียลายังมีโฆษณาแฝง ซึ่งก็น่ากลัว และยากต่อการตีความด้วย สมมติว่ามีกลุ่มทุนหรือกลุ่มการเมืองอุดหนุนทำทีวีชุมชนเหมือนกันอย่างลับๆมันก็มีผลกระทบ เราจะจัดการอย่างไร ไม่ใช่ว่าคิดในแนวลบจนทำงานไม่ได้ จากบทเรียนที่ผ่านมาเราต้องหาทางปิดช่องโหว่ สามกลุ่มนี้ก็ครอบคลุม ในชุมชนเรามีห้าคนเราจดทะเบียนจัดตั้งได้มีมูลนิธิก็ทำได้ มูลนิธิในช่วงสองสามปีที่ผ่านมามีนักการเมืองมาจัดตั้งมาเพื่อรับเงินของรัฐมาเป็นตัวหาเสียง ซึ่งก็มีช่องทางอยู่ ดังนั้นต้องมีการกลั่นกรอง ประเมิน ใบอนุญาตสิบห้าปีจะมากไปไหมถ้าเจอกรณีแบบนี้ ถ้าทำด้วยความสุจริตใจ15 ปีก็น้อยเกินไป มันต้องมีการพิจารณา เห็นด้วยว่า 3 กลุ่มนี้ก็ครอบคลุม หากเป็นชาวบ้านธรรมดา แล้วรวมกลุ่มได้ก็ไปเสนอไม่ได้มีเงื่อนไขอะไร เพียงแต่ขณะนี้เราเพิ่งเริ่มต้น มีบทเรียนมากมายที่ต้องเรียนรู้ไป ทำไป ในระยะเริ่มต้นอาจจะมีคณะกรรมการทำงานชั่วคราว และมีคณะทำจริงสองช่วงดีไหม
– กลุ่มต่างๆที่มารวมกลุ่มมันต้องไปดูเจตนารมณ์ของกฎหมาย การก่อตั้งทีวีชุมชนต้องเป็นอย่างไร มีเจตนารมณ์อย่างไร คนที่ออกใบอนุญาต เป็นของชุมชน มีความเป็นกลาง อาจจะแก้ในกฎหมายรอง ในเรื่องคุณสมบัติ รูปแบบรายการเนื้อหาจะต้องมีความหลากหลาย ทั้งการศึกษา วาไรตี้ ชุมชน ข่าว ทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น คุณสมบัติของกลุ่มองค์กรน่าจะสอดคล้องกับตรงนี้ คนที่มาดำเนินการต้องมีความเชี่ยวชาญในประเด็นนี้
สามเณรแชแนล : เห็นด้วย แต่ก็ควรมีการกำหนดคุณสมบัติเพิ่ม ใบอนุญาตน่าจะ 3-5 ปี จะได้มีการมาทบทวนบทบาทของตัวเอง ส่วน 12 ช่องก็เห็นด้วย เพื่อความหลากหลายของแต่ละช่อง แต่ละพื้นที่จะแตกต่างกัน อาจมีการรวมกันก็ได้ ความถนัดของแต่ละกลุ่ม ตามบริบทของพื้นที่ อย่างพระอาจารย์ทำคงไม่มีรายการธรรมะทั้งวันสัดส่วนของรายการมันไม่ได้ แต่ละกลุ่มแตกต่างกัน มันอาจจะไม่เต็มในช่วงแรก เผื่อไว้ในอนาคต หากเต็มเราจะมีการแบ่งสันปันส่วนเป็นการบริหารจัดการของเครือข่ายและกลุ่ม มันอยู่ในกลุ่มเล็กๆของจังหวัด ไม่ได้ข้ามไปไกล การบริหารจัดการควรมีการดูแลร่วมกัน ต้องมีความหลากหลายของรายการ จะเป็นตัวควบคุม ผังของรายการ ต้องมีความหลากหลายกรอบตัวท้ายๆจะเป็นตัวควบคุมช่องเอง จะต้องดึงหน่วยงานอื่นเข้ามา
พะเยาทีวีชุมชน : เรื่องคุณสมบัติ ควรมีการตรวจสอบคุณสมบัติ เพิ่มเรื่องกลไกตรวจสอบในระดับพื้นที่ เพราะเป็นกลไกจังหวัด ต่างจังหวัดแคบๆ การตรวจสอบตนเอง นอกพื้นที่ต้องเป็นเรืองกฎเกณฑ์ด้านกฎหมาย เกณฑ์ในการจัดสรร เรือง 12 ช่อง หากมาไม่เกินไม่มีปัญหา ซึ่งหากมีผู้ยื่นเกิน 12 ช่องจะมีเกณฑ์อะไรที่จะได้ เพราะบางพื้นที่มีหลายจังหวัดจะทำอย่างไร
อ.ภัทรา จากมหาวิทยาลัยพะเยา – ใบอนุญาตถาวรไม่ควรน้อยกว่า 5 ปี แต่อาจมีใบอนุญาตชั่วคราว และสามารถต่อใบอนุญาตได้ ในช่วงเริ่มต้นอาจจะเป็นใบอนุญาตชั่วคราว แต่พอทำงานเข้มข้น ทีวีชุมชน ไม่น่าจะเป็นทีวีเฉพาะเรื่อง ควรมีความเป็นวาไรตี้ มีความหลากหลายของเนื้อหา รูปแบบรายการ มีการถ่ายทอดเนื้อหาของท้องถิ่น บนความเป็นอาชีพ ทีวีชุมชนมีความเป็นหลากหลายมิติ ไม่ควรมุ่งไปเฉพาะทาง รายการข่าว รายการสารคดีมันเป็นชุมชนหรือเปล่า จริงๆมองได้หลายมิติจะเอาสื่อเป็นตัวตั้ง หรือเอาสังคมเป็นตัวตั้ง
ถาม เห็นด้วยไหมที่จะมีหนึ่งคนทำเป็นประจำ มีเงินเดือน
อ.ภัทรา จากมหาวิทยาลัยพะเยา – จากการทำงานวิจัยในพื้นที่จะเริ่มต้นก่อตั้งได้ต้องการคนทำงาน ส่วนหนึ่งจิตอาสาโดยมีค่าตอบแทน คนที่จะจ่ายค่าตอบแทนคือคนที่เป็นแกนหลักในการทำกิจกรรม ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเป็นประจำ อีกส่วนหนึ่ง คือ จิตอาสาที่ไม่มีค่าตอบแทนเข้ามาเมื่อเขามีวาระที่จะเข้ามาแต่ ในกระบวนการทำงานของที่นี่ไม่มีการแยกการทำงานของสองกลุ่มนี้อย่างชัดเจนแต่มีการบูรณาการทำงานหนุนเสริมพัฒนากลุ่มอาสาสมัครที่ไม่ได้รับผลตอบแทนมาเป็นได้รับผลตอบแทน เราต้องพัฒนาคนเหล่านี้ให้ทำงานร่วมกันได้ทำงานแทนกันได้ ต้องมีสองระบบ
ถาม : ควรจะทำทีวีชุมชนอย่างเดียวโดยเฉพาะหรืออาจเป็นทำหลายๆเรื่อง แล้วก็มาทำทีวีชุมชนด้วย
ตอบ: ย้อนกลับไปยังคำถามเรื่องคุณสมบัติ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดก็ตามเมื่อมาขออนุญาต เรากำหนดเครื่องมือได้ไหมว่าองค์กรของท่านต้องมาจดในเครือข่ายของเรา ต้องมีคุณสมบัติของเรา ยกตัวอย่าง พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ทุกองค์กรก็สามารถมาจดได้ แต่ว่าต้องมาเป็นเครือข่าย ซึ่งจะเห็นถึงคุณสมบัติของที่มาของผู้เข้าร่วม เช่น กองทุนชราภาพก็มีกองทุน เป็นกองทุนปิด เพียงแต่ว่าให้มาจดกับเรา และต้องมีคุณสมบัติชัดเจน
– เราจะอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตหรือชุมชนทำกิจการในประเทศซึ่งไม่เกี่ยวกับทีวีชุมชน ซึ่งแน่นอนในตัวการขอรับใบอนุญาตมันก็มีขั้นตอนต่างๆ มันก็ระบุอยู่แล้วว่าควรมีคุณสมบัติใดบ้าง คำถาม คือ เราจะเปิดโอกาสไหม ให้กับมูลนิธิที่ทำกิจการอย่างอื่นเลยที่ไม่เกี่ยวกับทีวีชุมชนแล้วต้องการจะมาทำทีวีชุมชนด้วย การเข้ามาทำ อาจจะไปมอนิเตอร์ลำบากว่า คุณใช้จ่ายในตรงนี้เท่าไหร่ หรือทุนได้มาจากตรงอื่นมาใช้กับทีวีชุมชน
– การจัดตั้งมูลนิธิมีการจัดระเบียบในทางกฎหมายอยู่แล้ว ซึ่งเราหากเราไม่ได้ระบุว่าตัวมูลนิธิจะมาทำทีวีชุมชน มันก็สุ่มเสี่ยงว่าจะนำตัวมูลนิธิมาแสวงหารายได้ ผิดจากวัตถุประสงค์ เพื่อกิจการสาธารณะประโยชน์ ถ้าสมาคมหรือมูลนิธิมาทำทีวีชุมชนก็น่าจะทำอย่างเดียว ไม่น่าจะไปทำแบบสมาคมทั่วไป หรือมูลนิธิทั่วไป ไม่งั้นจะเอาเรื่องเหล่านี้ไปแสวงหาผลประโยชน์กำไรทางธุรกิจ มันก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้น
– อย่างที่ผมมีอยู่ คือ มูลนิธิสืบสานงานศิลป์ถิ่นมังกรสี่แคว เป็นมูลนิธิที่เราตั้งขึ้นมาเพื่อสาธารณะ เพื่อสืบสานรากเหง้าของคนนครสวรรค์ แล้วเราก็ใช้มิตินี้มาทำเรื่องวิทยุชุมชน ซึ่งเราก็ทำอยู่ เราก็มาเห็นร่วมกัน ภายใต้มูลนิธินี้ก็มีงบประมาณจำนวนหนึ่งที่มีเงินเหลือมาจากการทำงานภาคประชาคม เราก็เอามาบริหาร เพื่อทำสื่อ คือจะมีลักษณะนี้ค่อนข้างเยอะ ถ้าจะเอามาทำทีวีชุมชนมันก็ไม่น่าจะไม่มีปัญหาอะไร มันน่าจะเป็นทางออกที่เวลาเราระดมทุน ซึ่งถ้าหากเราตั้งโดยเฉพาะนี้ มันจะก้ำกึ่ง การจัดการมูลนิธินี่มันจะไม่ง่าย หลายมูลนิธิก็มีพื้นที่สื่อแล้ว เจ็ดแปดที่แล้ว การไปตั้งชื่ออื่นนี้มันยุ่งยาก ถ้าจะตั้งเป็นชื่ออื่น ควรดูที่วัตถุประสงค์มูลนิธิมากกว่า
ถาม : ในเขตบริการโทรทัศน์ชุมชนของที่นี่มีทั้งพะเยา เชียงราย การบริหารจัดการจะทำอย่างไร
ชัยวัฒน์ จันธิมา – ในช่วง1-2ปีเราได้ทำงานแลกเปลี่ยนกับไทยพีบีเอสในเรื่องเครือข่าย ได้ชวนกันเขา ตลอด อยู่ที่ความพร้อมขององค์กร ความพร้อมของคน สำหรับพะเยา เชียงราย ภาคประชาสังคมที่จะร่วมงานกับทีวีชุมชนได้จัดประชุมกัน2-3ครั้ง เดิมได้เขียนโครงการลานนาชาแนวที่จะทำเป็นทีวีภาคเหนือ แล้วใช้เชียงรายเป็นจุดประสานงาน เคยของบประมาณจากกองทุนวิจัย กสทช .ที่จะมาแลกเปลี่ยนแนวคิดกันเมื่อ 2-3 ปีก่อนแต่ไม่ได้ ต้นเดือนหน้าเราก็จะมีวงคุยเรื่องของทีวีชุมชนภาคเหนือ เขตพะเยา เชียงราย
ถาม : การดึงเชียงรายเข้ามาร่วมด้วย ไม่ใช่เพียงการบริหารจัดการ รวมถึงเครือข่ายเป็นกรรมการด้วย เราก็เขียนนโยบายให้ครอบคลุม
ชัยวัฒน์ จันธิมา:มี สองประเด็น คือ ถ้าอยากเรียนรู้ด้วยกันเราก็มาทำเครือข่าย หรือเรามาร่วมกัน ถ้าเนื้อหาของเราสามารถแพ๊คเข้าด้วยกัน บริหารจัดการร่วมกัน เราจะได้เป็นช่องชุมชนที่สมบูรณ์ขึ้น ต้องดูบริบทของพื้นที่ด้วย แม่น้ำอิง ไหลลงกว๊านพะเยา ไหลผ่านเชียงรายด้วย ปัจจุบันเวลาทำกิจกรรม เราไม่เรียกว่าพะเยา เราก็เรียกเครือข่ายลุ่มน้ำอิง คือตั้งแต่ลุ่มน้ำจนปลายน้ำทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่มีปัญหาในทำงาน เพียงแต่ว่าถ้าจะมีกฎระเบียบ การบริหารจัดการในระดับท้องถิ่น อบจ.พะเยา อบจ.เชียงราย ให้การสนับสนุนในระดับพื้นที่ของเขากว้าง ของเราแคบในเรื่องของตัวงบประมาณอบรม หรือสนับสนุนจะมีนโยบายอย่างไร ถ้าเป็นช่องเดียวกับพะเยาทีวีจะเป็นอย่างไร จะต้องมีการทดลองและออกแบบว่าจะทำงานร่วมกันอย่างไร
อ.ภัทรา บุรารักษ์ : ที่ผ่านมาเราจัดการร่วมกันได้ผ่าน content หรือเนื้อหา เช่น ในเรื่องภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่เชียงราย พะเยาก็ได้รับผลกระทบด้วย เราก็เอาทีมนิศิษย์ อาจารย์วิศวะของม.พะเยา ร่วมกับอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เชียงราย แล้วเราก็เอาทีมผลิต ทีมพะเยาทีวี ไปทำงานร่วมกับเครือข่ายสื่อ ถอดมาเป็นสิ่งที่ต้องกระทำ เราก็มาคุยกัน ให้ชุมชนคุมเนื้อหา นี่คือสิ่งที่เราทำร่วมกันในด้านเนื้อหา และก็มีเรื่องของสถาบันการศึกษา รูปธรรมในการใช้พื้นที่เขตที่ต่อกัน
ถาม : การส่งเสริมกลไกในการกำกับดูแลตัวเอง มีกลไกรูปธรรมในการกำกับดูแลทีวีชุมชนอย่างไร
ม.พะเยา– ใช้ประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยนอกระบบ ที่จะต้องมีความโปร่งใส ทีวีชุมชนจะอยู่ได้มันต้องมีความโปร่งใส ความเป็นกลางตามเจตนารมณ์ นอกจากทางสภาเท่าทันสื่อที่จะสอดส่องให้กับทางชุมชน ตัวองค์กรน่าจะมีการประกันคุณภาพองค์กรระดับใดระดับหนึ่ง ของม.พะเยาเดิมจะมีการเช็คลิสว่าทำไม่ทำ แต่รุ่นใหม่ควรจะดูว่าตัวเองจะมีการประกันคุณภาพตัวเองอย่างไร และดูเรื่องของการพัฒนาระบบที่จะทำให้ตัวเองดีขึ้นในปีต่อๆไปเป็นอย่างไร มีระบบที่จะกระตุ้นให้ทำสิ่งที่ดีขึ้น ลดความเสี่ยง สิ่งที่มันไม่ดีลงได้อย่างไร น่าจะมีการประเมินทั้งจากคนภายในพื้นที่และคนที่มาจากส่วนกลาง ภายนอกพื้นที่ แต่ไม่ใช่ในส่วนของโครงสร้างองค์กร อาจมีภาคส่วนของชุมชน อาจจะมีภาคจากกสทช. จะมีตัวบอกว่าถ้าจะทำให้ดีขึ้นจะทำอย่างไร อะไรที่ควรจะทำต่อ มีการประเมินตัวเอง ประเมินจากภายนอก และควรมีตัวประเมินร่วมกัน โดยมีการกำหนดกฎเกณฑ์กลางๆในการดำเนินงาน ตรงนี้จะได้ความโปร่งใสและความยั่งยืน
ชัยวัฒน์ จันธิมา – สามารถเรียนรู้จากกลไกที่มีอยู่ โดยเฉพาะของสายวิชาชีพสื่อ คงต้องมีสามสี่สาย ทั้งเรื่องของคุณภาพ การเกี่ยวเกาะ กลุ่มวิทยุเดิมมีการตั้งสมาคม กรรมการมาดูแลกันเอง และช่วยเหลือทางเทคนิค เรื่องเครื่องมือ และทักษะบางเรื่องต้องเรียนรู้ร่วมกัน น่าจะมีในส่วนวิชาการ ที่เป็นพี่เลี้ยง ในส่วนของพะเยาคิดอยู่เหมือนกันว่ากว่าจะมาเป็นสภาเท่าทันสื่อมันก็ยกระดับมาจากคนดู และจะต้องให้ความรู้เขา ไม่ใช่ทำทีวีไปเพื่อออกอากาศอย่างเดียวมันมีกระบวนเบื้องหลังของการทำรายการด้วย ฉะนั้นเราจะเห็นคนผู้ชมที่ยกระดับมาเป็นกลุ่มผู้เท่าทันสื่อ แล้วทำอย่างไรให้จัดระบบเครือข่าย ในช่วงนี้เองจัดให้เขามีเครือข่ายมาแลกเปลี่ยนมากำกับถึงทิศทาง หรือกำหนดวาระของจังหวัด ที่มาของสภามาจากแต่ละอำเภอเพื่อให้ได้จัดกระบวนการด้วยกัน ตัวสภาออกแบบให้มาอยู่ในโครงสร้างของกรรมการ อย่างสภาผู้เท่าทันสื่อก็มาจากคนทำงานภาคต่างๆ เรื่องความโปร่งใส ระยะของการทดลองให้ใบอนุญาตคนในพื้นที่รู้เองว่าช่องนี้ควรให้การสนับสนุน หรือไม่ควรให้การสนับสนุน
เครือข่ายสุขภาพชุมชนล้านนา – จากการทำงานเครือข่ายสุขภาพเชิงพื้นที่ทำในมิติการเรียนการสอน การวิจัยในชุมชน การได้มาของเครือข่ายสุขภาพชุมชนล้านมา เราได้ทำงานค้นหาตัวตนคนทำงานที่มีจิตอาสาในระดับชุมชน เราไม่ใช้วิธีสมัคร เพราะมีบทเรียนว่าสมัครมาแล้วเครือข่ายล่มทันที เราไม่รู้ว่าใครจะเข้ามาแสวงหาประโยชน์ เราใช้วิธีค้นหาจากเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้อง มันก็จะลดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียลง อาจจะต้องให้นิยาม คำว่า มิติชุมชน การรับรู้ของคนในชุมชนมีแค่ไหน และระดับของการมีส่วนร่วมในมิติต่าง ทั้งท้องที่ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบจ. ท้องทุ่ง เช่นองค์กรชุมชนทั้งหลาย เครือขายประเด็น โรงเรียน การทำสื่อตรงนี้เราจะเกี่ยวคนทำสื่อแต่ละเครือข่ายมาอยู่ในทีวีชุมชนได้อย่างไร คนทำงานทีวีชุมชนยังขาดการทำงานบูรณาการกันในพื้นที่อื่นๆ จะต้องคำนึงถึง คน กลไก และเครือข่ายตรงนี้ ถ้าเรามีกระบวนการที่ชัดเจนที่จะพัฒนาคนที่จะเข้ามาในโครงสร้างของมูลนิธิ เราจะสกรีนคนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
พะเยาทีวีชุมชน – ในส่วนเริ่มต้นของการดำเนินการมันต้องมีกติกา มีเกณฑ์ ควรจะต้องเริ่มศึกษาโครงสร้างต่างๆว่าจะมาจากไหน จะทำอย่างไร กรรมการนโยบายจะเป็นตัวกำหนดอัตลักษณ์ของสถานีได้ เราใช้วิธีการสกีนพอสมควรว่าคนเหล่านี้จะเข้ามาทำงาน มันต้องมีการคัดสรร ต้องมีวาระพอสมควร เพราะงานทีวีต้องใช้ทักษะ ความเชี่ยวชาญ หากตัวกรรมการนโยบายไม่เข้าใจเรื่องของสื่อจะไปส่งผลต่อคนทำงานขาดความตระหนัก ขาดความคิดสร้างสรรค์ มันต้องมีสัดส่วนในการออกแบบซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่ และน่าจะมีกลไกกลางๆในการกำหนดยุทธศาสตร์
ถาม – เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าข่าวที่ออกจะมีประสิทธิภาพ คำถามที่สอง คือ ทำอย่างไรให้รายการมีมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น
อ.ภัทรา บุรารักษ์ – ข่าวมีสถาบันที่ดูแลด้านวิชาการสื่อมาช่วยดูแล ส่วนมุมมองที่หลากหลายสามารถเกิดขึ้นได้จากการพัฒนาบุคคลากรให้มีความคิดสร้างสรรค์ เรามาร่วมกันพัฒนาต่อไป
ชัยวัฒน์ จันธิมา –คุณค่าข่าวขึ้นอยู่กับพื้นที่และเวลา ที่ผ่านมาชุมชนไม่มีพื้นที่ นักข่าวส่วนกลางมาสัมภาษณ์ครึ่งชั่วโมงออกแค่ห้านาที พื้นที่ข่าวมีน้อย เรื่องเวลา เรื่องบางเรื่องไม่จบ ต้องขยายเวลาอีก ถ้ามีพื้นที่ คือ ช่อง มีเวลา ตรวจสอบได้ จะช่วยลดปัญหาเรื่องความขัดแย้ง
สามเณรแชแนล– ในแง่ข้อเท็จจริง ตัวพื้นที่ บริบทมันจะตรวจสอบกันเอง เพราะสังคมแคบ ผู้ผลิตเป็นผู้บริโภคบ้าง ผู้บริโภคเป็นผู้ผลิตบ้าง เรื่องของเนื้อหา เนื่องจากเราอยู่ในพื้นที่เราจะทำเชิงลึกถึงรากเหง้า ที่ผ่านมาผู้สื่อข่าวก็จะขุดไปเฉพาะหน้าๆ ที่ลึกๆเขาไม่มีเวลา คุณค่าของข่าว ของสารคดีคงจะลึกกว่าในส่วนกลางเพราะไม่จำกัดด้านเวลา
เครือข่ายฯ นครสวรรค์ -ทีวีชุมชนมีความใกล้ชิดกับชุมชน ซึ่งชุมชนมีวิถีที่หลากหลาย เพราะฉะนั้นสารคดีที่ผลิตมาย่อมมีความหลากหลายด้วย ในด้านการตรวจสอบความถูกต้องนั้นไม่น่าเป็นห่วง เพราะสังคม ชุมชนจะเป็นตัวตรวจสอบเอง ในเรื่องของเนื้อหานั้น
คำถาม: ปัจจัยที่จะเข้าไปช่วยกำกับ ดูแล ให้ชุมชนมีการเติบโตทางวิชาการ
คุณสุชัย จากมูลนิธิสื่อสร้างสุข อุบลราชธานี – การมีส่วนร่วมของพะเยาชุมชน จะทำใช้ประโยชน์ได้จริง มีส่วนร่วม ทำอย่างไรให้เกิดผล เกิดได้จริง
อ.ภัทรา บุรารักษ์ – กระบวนการทำงานก่อนออกสื่อ มันไม่ใช่แค่การเอากล้องไปถ่าย แต่มันจะมีกระบวนการหลังจอ ที่ทำร่วมกับชุมชน ในการสร้างการเรียนรู้ สร้างฐานความรู้ในชุมชน สร้างความเข้าใจ เปิดพื้นที่ให้ได้เห็นถึงฐานของพื้นที่ทีวีกับชุมชน
อ.อรวรรณ จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร – สอบถามมุมมอง Dr.Green จากออสเตรเลีย ถึงการทำให้ผู้ผลิตมีศีลธรรม มีการกำกับดูแล
Dr. Green – ในออสเตรเลีย เขาไม่กำกับในทุกเรื่องแต่จะไปอิงกับสมาคมโทรคมนาคม ให้สมาคมคุยกันเองภายในกลุ่ม เขาจะยอมรับในข้อตกลงตรงนี้ ในกรณีที่มีข้อพิพาทไกล่เกลี่ยไม่ได้ทางองค์กรจะไปไกล่เกลี่ย ในเบื้องต้นให้ชุมชนไกล่เกลี่ยกันเองก่อน รูปแบบของการจัดตั้งองค์กรที่จะมาขอใบอนุญาตน่าจะเป็นสมาคม เพราะมีการระบุว่าใครเป็นสมาชิกบ้าง ส่วนคณะกรรมการ สมาชิกจะเป็นคนเลือกขึ้นมา โดยคนของมูลนิธิเองสามารถเป็นกรรมการได้ด้วย เนื่องจากเรารู้จักคนในมูลนิธิจึงสมารถรู้ได้ว่าใครเป็นใคร มีผลประโยชน์แอบแฝงหรือไม่
ถาม – ทุน จะมีที่มาจากแหล่งใดบ้าง ที่ไม่ใช่เฉพาะจากรัฐ
ตอบ – ทีวีที่ชุมชนผลิตถ้ามีความน่าสนใจ ช่องสามารถซื้อลิขสิทธิ์ไปได้ ถ้ามีความน่าสนใจเราก็สามารถเผยแพร่ช่องทางอื่นได้
-กองทุนที่สนับสนุน เช่น สำนักสื่อเพื่อชุมชน มูลนิธิที่นักการเมืองตั้งก็อาจจะนำมาใช้เรื่องของทุน อาจจะไม่ตรงไปตรงมาก็ใช้วิธีนี้อยู่ แต่หลังจากนี้ต้องตรงไปตรงมา เอาให้ชัดเจนว่ามีเงินที่เข้ามา อาจจะเป็นกองทุนระดับนานาชาติ ระดับประเทศ
-ทุนท้องถิ่น อบต. อบจ. ซึ่งมีงบเรื่องสื่อ หรือ งบเรื่องฝึกอบรมต่างๆ
– สมาคมมีทุนจากสมาชิก จะไปเชื่อมกับคุณสมบัติผู้จัดตั้ง
สำหรับขั้นตอนต่อไป กสทช ไอทียู เตรียมจัดประชุมกลุ่มเฉพาะเรื่องการให้บริการโทรทัศน์ชุมชนในประเทศไทย เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นและระดมความคิดเห็นกลุ่มที่กว้่างขวางขึ้นต่อไป ระหว่างวันที่ 11-13 พฤศจิกายน 2558 ที่กรุงเทพมหานคร