ในวันที่ฝนพรำคนเรานึกอยากจะทำอะไร ? นอกจากการนอนมองดูสายฝนพรำ กับอากาศที่เย็นสบาย ทำให้เราเคลิ้มหลับต่อในวันหยุด แต่เรา “Locals Voice” ทีมสายเหนือ ออกเดินทางต่อเนื่อง นำรถแห่สตูดิโอเคลื่อนที่ออกเดินต่อเนื่องทางชวนออกมาลองเที่ยว ลองคุย ที่เมืองเก่าแก่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนาน เดินทางผ่านท่ามกลางหุบเขาที่โอบล้อม ที่นี่คือจังหวัด “แพร่”
เราเริ่มออกเดินทางออกจากจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ 07.00 โมงเช้า เดินทาง 137 กม. ถนนสาย เชียงใหม่-ลำปาง-เด่นชัย-แพร่ แน่นอนว่าการเดินทางในช่วงหน้าฝน ทำให้เราเห็นสองข้างทางมีน้ำป่า และน้ำท่วมขังในระหว่างสองข้างทาง
เมืองแพร่ แม้จะเป็นเมืองเล็ก แต่ขึ้นชื่อเรื่องอุตสาหกรรมไม้ พิกัดแรกเราจอดใต้ร่มไม้ใหญ่หลากหลายสายพันธุ์ที่นี่คือ “ต้นกำเนิดโรงเรียนป่าไม้แห่งแรกของแพร่” เพื่อมอง อดีต ปัจจุบัน และ อนาคตของโรงเรียนป่าไม้แห่งแรก ของเมืองแพร่ กับ คุณเดชา เชื้อบุญยืน ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมด้านป่าไม้ จ.แพร่
“ความเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมด้านไม้ในประเทศไทย ที่การขนส่งในยุคนั้นจะใช้ช้างลากไม้ออกจากป่า พอเข้าเขตชุมชนจึงให้ควายหลายคู่ลากเกวียนบรรทุกไม้ไปยังร่องน้ำลึก แล้วล่องแพซุงตามลำน้ำปิง วัง ยม น่าน ไปรวมขายที่ด่านปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์”
ย้อนกลับไป ที่นี่เคยเป็นอะไรมาก่อน ?
- 2478 เกิดสถาบันการศึกษาแห่งแรกของกรมป่าไม้และของไทย ในชื่อ โรงเรียนการป่าไม้ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.ในเวียง อ.เมือง เป็นอาคารสถานเรือนไม้สักหลังเก่า มรดกจากบริษัทค้าไม้สัญชาติเดนมาร์ก บริษัท อีสต์เอเชียติก จำกัด ซึ่งทางบริษัทได้มอบอาคารไม้ทั้งหมด 3 หลัง ให้รัฐบาลสยาม หลังจากอีสต์เอเชียติกหมดสัญญาสัมปทานป่าไม้ ซึ่งต่อมา โรงเรียนการป่าไม้ ภายหลังมีการเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนวนศาสตร์ และถูกยกฐานะเป็น วิทยาลัยวนศาสตร์ และกลายเป็น คณะวนศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ โดยย้ายสถานที่จาก อ.เมืองแพร่ มาอยู่ที่ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน
- 2499 กรมป่าไม้ได้เปิด โรงเรียนการป่าไม้แพร่ ขึ้นอีกครั้ง เป็นหลักสูตรอบรมประกาศนียบัตรวิชาการป่าไม้ 2 ปี จนถึงปี 2536 โรงเรียนการป่าไม้แพร่ได้ปิดตัวอย่างถาวร ในช่วง 2499-2536 มีผู้จบการศึกษา 36 รุ่น จำนวน 6 พันกว่าคน
- ยุคเริ่มกระแสอนุรักษ์ สัมปทานป่าไม้ปิด 2532 เริ่มมีการดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์ คนเริ่มรณรงค์ใช้วัสดุทดแทน มองอีกมิติไม้ 10-20 ปี เราปลูกทดแทนได้ หมุนเวียนได้ตลอดเวลา
- คุณเดชา เชื้อบุญยืน คือผู้ที่อยู่ในช่วงของการเรียนในโรงเรียนการป่าไม้แพร่ เล่าให้ฟังถึงการเรียนการสอนภายในโรงเรียนป่าไม้ ใช้ระยะเวลา 2 ปี เรียนและบรรจุเจ้าพนักงานป่าไม้ตรี หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นตามระบบราชการทั่วไป เพราะฉะนั้นนักเรียนป่าไม้จะเรียนทฤษฎีที่โรงเรียนป่าไม้จังหวัดแพร่ เช่น การเรียนทฤษฎีการปลูกป่าใช้เวลา 1-2 เดือน หลังจากนั้นเป็นการเข้าป่าการลองมือปฎิบัติจริง เช่น วางแปลงตัวอย่าง ดายหญ้า ถาง ฟัน เรียนกระบวนการปลูกป่า ทำป่าทั้งหมด ตลอดในช่วงเวลา 2 ปี ซึ่งตอนที่เรียนอยู่ที่ อ.สอง จ.แพร่ 60 กิโลเมตร ภาษาป่าไม้เรียกว่า ทัวร์ 1 ทัวร์ 2 มีสลับหารไปฝึกงานที่แม่สา จังหวัดเชียงใหม่
- 2537-2545 โรงเรียนการป่าไม้แพร่เดิมถูกเปิดเป็น “ศูนย์ฝึกอบรมที่ 1 (แพร่)” สังกัดกองฝึกอบรม กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับอบรมข้าราชการ พนักงานในสังกัดและประชาชนทั่วไป และพ่วงในฐานะ “พิพิธภัณฑ์การป่าไม้” หรือ “พิพิธภัณฑ์ไม้สัก” ที่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้ามาศึกษาและชมกันได้
- 2565 กรมอุทยานส่งอาคารสถานที่คืนกลับมายังกรมป่าไม้ โจทก์เริ่มเปลี่ยน ตั้งเป็นสถาบันพัฒนาการป่าไม้ภารกิจเน้นเรื่องการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องของการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ด้านป่าไม้ขึ้นมาจนกระทั่งปัจจุบัน ทางคณะกรรมการวุฒิสภาด้านป่าไม้ด้านการศึกษาเห็นควรขับเคลื่อนบางอย่าง ทำ mou ระหว่างกรมป่าไม้จังหวัดแพร่วิทยาลัยชุมชนแพร่ สถาบันการศึกษาราชภัฎอุตรดิตถ์ อบจ. แพร่และเทศบาลแพร่ mou ร่วมกันว่าจะขับเคลื่อนอย่างไร ซึ่งเป็นที่มาที่ไปของชื่อใหม่ในปัจจุบันคือ สถาบันนวัตกรรมด้านป่าไม้จังหวัดแพร่ ซึ่งในอนาคตเริ่มมีการมองปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับยุคสมัย
พื้นที่อนาคตป่าในเมือง เรามีพื้นที่จุดแข็งและอยากใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า ทำคล้าย ๆ สวนพฤษศาสาตร์เชียงใหม่
การบริหารทรัพยากร ไม่ได้แค่การอนุรักษ์ เช่นมหาวิทยาลัย ราชภัฏอุตรดิตถ์ กำลังยกร่างหลักสูตรในการทดลองทำกับบุคคลภายในภายนอก จากป่าไม้เป็นคาร์บอนเครดิต BCG นอกจากคนและงานวิจัยที่ขึ้นหิ่งเอามาต่อยอด ทำพื้นที่ต้นแบบแบบห้วยห้องไคร้ ในลักษณะของการทำงานในองค์รวม ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
ลบภาพตัดไม้ทำลายป่า พัฒนาเป็นจุดแข็ง เรามองเห็นโอกาสที่คนแพร่เชี่ยวชาญเรื่องไม้สัก เชี่ยวชาญเรื่องการจัดการไม้
ต้นทุนแพร่คือมีสล่าไม้ในชุมชน
สล่าสามารถมองไม้ส่วนต่าง ๆ สามารถแยกสัดส่วนไม้ได้เลยว่า ไม้หนึ่งต้น สามารถทำอะไรได้บ้าง เป็นสิ่งที่สืบต่อหลายยุคหลายสมัย และทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มหลักการจัดการ Location เช่นการไม้อายุ 20 ปี 20 แปลง ครบปีที่ 20 พร้อมที่จะตัดได้ สามารถหมุนเวียนทดแทน
เทรนความต้องการเปลี่ยน เราก็เปลี่ยน ไผ่ คือ หนึ่งในพืชที่ควรต่อยอดสามารถใช้ได้ทุกส่วน เคยเห็นที่แม่แจ่มโมเดล พืชทดแทนพืชเชิงเดี่ยวและฟื้นป่าได้ยั่งยืน
ฟังมาถึงตรงนี้ ปฎิเสธไม่ได้ว่า แพร่ คือ เมืองที่มีต้นกำเนิดเรื่องขององค์ความรู้การทำไม้มีโรงเรียนป่าไม้เรื่องการ บริหารจัดการทรัพยากรเริ่มต้นที่นี่ และกำลังจะเริ่มกลับมาคิดอีกครั้งในการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และสามารถที่จะหมุนเวียนอย่างไร ซึ่งเป็นโจทย์ของการที่เราทีม Localsvoice มาที่เมืองแพร่ในวันนี้ เพื่อมองสิ่งที่เป็นต้นทุนของเมืองแพร่ที่มีหลากหลายมิติ เช่นกลุ่มแพร่คราฟ ที่จะนำไปสู่การยกระดับสินค้าชุมชน ภูมิปัญญาดั้งเดิมของเมืองแพร่จะยกระดับและให้มีมูลค่าร่วมสมัยอย่างไร ซึ่งเป็นโจทย์เดียวกันกับโรงเรียนป่าไม้ ที่จะทำให้เกิดความร่วมสมัยในทุกองค์ความรู้และสามารถจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน
ช่วงบ่ายแก่ ๆ แล้วแต่ฝนยังคงโปรยปราย เดินทางกันต่อมายัง Gingerbread House Gallery เดินมาหน้าร้านไม่ต้องสงสัย เห็นเครื่องดื่มชุมชนเรียงรายกลายเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของแพร่ ต้องรับเราแบบ Welcome drink แป้
เราจวนตัวแทนคนแป้ล้อมวงคุย คนรุ่นใหม่ กับ อนาคตเมืองแพร่ ; วงขนาดย่อมเราชวนทีมคนทำสื่อท้องถิ่น เจ้าของประเด็น คนรุ่นใหม่ประกอบการ เพื่อชวนมองโจทย์สำคัญของพื้นที่จังหวัดแพร่
พี่มิ้นต์ เจ้าของแบรน์ SHAN – เหล้ากบฎเงี้ยว สุราชุมชนของ จ.แพร่
พี่มิ้นต์มองเรื่องปัจจัยและความท้าทายเมืองแพร่ คือ เรื่องผู้สูงอายุ และแรงงานในพื้นที่ออกจากเมืองแพร่ คนที่อยากกลับมาบ้านเราคนที่พึ่งเรียนจบอยากจะกลับมาเมืองแพร่เศรษฐกิจ จะเลี้ยงดูเขาอย่างไร ในขณะที่เมืองที่อยากจะรองรับคนกลับมา แต่คำถามคือท้องถิ่นจะมีวิธีการจัดการอย่างไร ?
โจทย์เครื่องดื่มและเป็นภูมิปัญญาของคนแพร่ เครื่องดื่มขึ้นชื่อของแพร่ ข้อจำกัดที่ปฏิเสธไม่ได้คือเรื่องกฎหมาย ซึ่งเป็นความท้าทายของคนเจนใหม่ ถ้ากฏหมายังคงกักขัง และปฏิเสธไม่ได้ว่าพูดเรื่องทุนไม่ได้ หากพูดคำใหญ่ว่าเป็นเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แต่รัฐไม่ได้มองว่ามันสร้างสรรค์ จะเกิดขึ้นได้อย่างไร เรากลับมาทำให้ทั้งเมืองมีรายได้ เพราะได้ทั้งคนปลูกข้าว มือชาวบ้านที่ต้มรุ่นต่อรุ่น และหากคนรุ่นใหม่มีการขายออนไลน์หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่เราพูดมาทั้งหมดปฏิเสธไม่ได้ว่ากฎหมายกดทับเราอยู่ ต้องใช้การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย และเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ให้คนทุกกลุ่มทุกอาชีพสะท้อนไปให้
โจทย์อนาคตแพร่ต้องมีการเปิดพื้นที่ให้คนมาฟังและสะท้อนกันมากขึ้น เช่น การฟังเสียงประเทศไทย คนนอกต้องช่วยกันคิด ว่าคนนอกสามารถเข้ามาทำอะไร เราคงไม่ได้อยากกอดเมืองตัวเองไว้ตลอดเพื่อต้อนรับคนให้เมืองพัฒนาและคนที่อยู่อยู่ได้
พี่แอน กลุ่มพลังโจ๋ : ศูนย์สร้างสรรค์เพื่อสังคมแบะสิ่งแวดล้อมแพร่ การทำงานพัฒนาคนรุ่นใหม่สร้างการทำงานด้านเด็ก ทำงานด้านกลไกชุมชนกับเด็กและเยาวชน ปัญหาของเด็กและเยาวชน ตั้งแต่แม่วัยรุ่นอายุ 19 ถึงอายุ 25 เชื่อว่าชุมชนสามารถดูแลชุมชนของเขาได้ และดูแลคนทุกช่วงวัย
เด็กในปัจจุบัน มีความคิดและการตัดสินใจของเขาเอง อยู่ที่เขาว่าเขาอยากจะทำอะไร ทุกอย่างมีจุดคลิ๊กและมีจุดเปลี่ยน อยากให้เขาเติบโตอย่างไร ในยุคหนึ่งจะมีคนถามว่าเรากลับมาจะทำอะไรเป็นข้าราชการ? ในสังคมบ้านเราที่ไม่มีคนทำแบบนี้ งานของเราก็ไม่มีคนเข้าใจบริบทที่จะทำงานสิ่งหนึ่งที่บอกได้คือผลงานเป็นสิ่งที่เราพูดกับเด็ก ๆ อยู่เสมอ
พี่บี สมาคมคนรักเมืองแพร่ : ตนเคยเป็นสถาปนิกที่คิดกลับมาบ้าน แต่การกลัยมาเราใช้เวลากระบวนการในการคิดว่าทำอย่างไร เราจะสามารถที่จะอยู่ในบ้านและ ทำมันไปได้ตลอด ติดตั้งความคิดทำงานเครือข่ายที่ทำไม่เยอะแต่ทำให้ได้ผล เมื่อกลับมาเรามีความสนใจเรื่องสภาพแวดล้อมและเมือง จะทำให้คนทีชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ เรื่องของมรดกวัฒนธรรมให้อยู่คบกับคนชุมชน ท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ ปัจจุบันทำสมาคมฮักเมืองเก่าแพร่ เพื่อให้รู้นโยบายรัฐและความเคลื่อนไหวของคนในท้องถิ่น แพร่เปลี่ยนแปลงไม่เร็ว แต่ปรับตัวได้ บางส่วนมีข้อจำกัดเรื่องกฏหมาย ทรัพยากรเมืองแป้ มีข้อจำกัดที่ทำให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่หรือคนรุ่นใหม่เข้ามาทำได้ยาก เด็กไม่ได้มีพื้นที่ประสบการณ์พื้นที่ปลอดภัยพื้นที่หาความรู้ใหม่ ๆ พื้นที่ทุนทางวัฒนธรรมให้สามารถทำเป็นอาชีพได้ เมืองแพร่ขาดตรงจุดนี้
การที่มีนักวิจัยเข้ามาในเมืองแพร่ ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่ไม่ถูกพัฒนา งานวิจัยบางส่วนมาจากจังหวัด ส่วนองค์กรรัฐ จากภายนอกแต่ไม่เกิดการพัฒนา อนาคตอยากให้แพร่มีสภาพแวดล้อมที่ดีและเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย คนลำพูนมีปัญหาโครงสร้างคล้ายแพร่ แต่แพร่มีคนรุ่นใหม่กลับมาสืบทอดธุรกิจมากกว่าทำอย่างไรให้เค้ากลับมาแล้วเติบโต
โจทย์และปัจจัยที่ดำรงอยู่แล้วแต่ช่วงชีวิตของคน เราคิดว่าเราไม่ได้มีอะไรทำ จุดที่เรามาได้คือเราได้โอกาศที่ดี เรามีวิชาชีพติดตัว ไม่ใช่จู่ ๆ เราจะมาได้แต่ต้องวางแผนและคิดว่าเราจะทำอาชีพอะไรเพื่อสังคมอะไร และชีวิตสุดท้ายเราจะอยู่ที่นี่ พอเราได้กลับมาเรามีทรัพยากรที่ดี และมีคุณภาพ แต่มันยังไม่ได้ปรุงให้ดีที่สุด ถ้าสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีจะเอื้อให้คนมีคุณภาพ เพราะเป็นต้นทุนในการดำเนินชีวิตของผู้คน ถ้าไม่มีทุนเลยสักอย่างหรือเครือข่าย ก็จะอยู่ลำบากและยากขึ้นเรื่อย ๆ คนแพร่แม้มีพื้นนา คนรุ่นใหม่กลับมาก็ไม่ได้มีประโยชน์ ทำงานเกี่ยวกับเกษตร 60% ซึ่งรายได้เพียง 20%
เมืองแพร่โรงเรียนรอบนอกกำลังจะเป็นเมืองร้าง เพราะโรงเรียนขนาดเล็กถูกยุบ คนที่มีกำลังส่งก็ส่งลูกเข้ามาเรียนแต่ไม่มีกำลังส่งก็อยู่ข้างนอก ซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิตภายนอกตกต่ำไปด้วย เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานและมีบ้านร้างเพิ่มมากขึ้น
พี่นัด แพร่รีวิว ที่ตอนนี้เขาทำเพจสื่อสารเกี่ยวกับเมืองแพร่ทั้งธุรกิจสถานที่ท่องเที่ยวให้คนเช็คอิน ที่ในตอนแรกกะทำเอาม่วน จบมาใหม่ ๆ ไม่รู้จะทำอะไรตั้งโจทย์กับตัวเองว่าอยู่แพร่แล้วจะทำอย่างไร แต่การอยู่กับครอบครัวเป็นสิ่งที่ดีที่สุด พอกลับบ้านมาอยู่จริงเราเห็นโจทย์ เห็นสิ่งที่ขาดคือสื่อสร้างสรรค์ ใช้ตรงนั้นเสริมให้เมืองแพร่ผ่านการทำเพจรีวิวแพร่ ก็เป็นตากล้องก่อน ซึ่งเมื่อมีคนเริ่มจ้างก็ทำให้รู้จักเมืองแพร่มากขึ้น ผ่านการทำสื่อเป็นตัวอย่างให้คนที่เรียนมา ฟรีแลนซ์สามารถอยู่แพร่ได้ ซึ่งเริ่มเป็นกระแสให้คนมาตาม ไปจุดเช็คอินใหม่ ๆ ใช้ความรู้สึกในการทำคอนเท้น คนแพร่มองบ้านเราเป็นเมืองผ่าน แต่จริง ๆ บ้านเราก็มีข้อดีและข้อเด่นที่ต่างกับที่อื่น ให้คนมาเที่ยวแพร่บ้านเรา ร้านเปิดใหม่คนไม่รู้คอยให้คนแนะนำ ใช้ความรู้สึกคนอื่นมองบ้านเราอยากให้คนแพร่รู้ว่าบ้านเรามีดีกว่าที่คิด กระตุ้นในส่วนของคุณค่า เราอยากถ่ายถอดให้คนแพร่และคนข้างนอกได้เห็นคุณค่า
แม้ว่านี่จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการมาสะท้อนโจทย์หลักของแพร่ ครั้งนี้เราเห็นการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่จะเชื่อมต้นทุนกับการพัฒนาในพื้นที่ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนและมีจุดเชื่อมโยงในโจทย์เดียวกันคือจะทำอย่างไรให้เมืองแพร่ เมืองเก่าที่มีต้นทุนท้องถิ่นมากมาย มีคนรุ่นใหม่ที่กลับมาร่วมพัฒนากับคนรุ่นเก๋า ไปได้ไกลมากขึ้นกว่าเดิม กลไกใดที่จะซัพพอร์ตร่วมกันสร้างเมืองแพร่เติบโต ให้คนที่อยู่ได้ออกแบบอนาคตเมือง ออกแบบเศรษฐกิจชุมชนเมืองแพร่เพื่อพร้อมรองรับกับการอยู่อาศัยของลูกหลาน ดึงให้คนกลับมาอยู่บ้าน คนนอกมาพัฒนาพร้อมดันช่วยกันพัฒนาเมืองแพร่ต่อไป