“หนองซงในความทรงจำ”
สัปดาห์ที่ผ่านมา 2 พ.ค. 59 ที่ผ่านมา ปฏิบัติการสื่อสารของคนเหนือ The North องศาเหนือ ได้ร่วมสื่อสารสะท้อนเรื่องราวของเวียงหนองหล่ม พื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงราย ที่กำลังเผชิญความท้าทาย ทั้งการพัฒนา การใช้ประโยชน์ รวมถึงการบุกรุกพื้นที่ เพื่อชวนขบคิดปรับทิศหาทางเดินต่อ คุณ Sajakorn Kaewkula ได้เเชทคุยกับแอดมินเพจ [The North องศาเหนือ] เล่าเรื่องพื้นที่บ้านของเขา “พื้นที่หนองซง บ้านหนองแรด ต.หนองแรด อ.เทิง จ.เชียงราย” ที่มีความคล้ายคลึงกับเวียงหนองหล่มครับ ซึ่งคุณผู้อ่านทุกท่าน สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สื่อสารนี้ได้เลยนะครับ
พื้นที่หนองซง บ้านหนองแรด ต.หนองแรด อ.เทิง จ.เชียงราย เป็นพื้นที่เขตดูแลของตำบลหนองแรด มีพื้นที่ประมาณ 1500 ไร่ ผู้คนในตำบลหนองแรดต่างพึ่งพาอาศัยพื้นที่หนองซงแห่งนี้ในการดำเนินชีวิต เพราะพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบรูณ์ทางธรรมชาติครบวงจร เช่นเลี้ยงควาย หาปลา หาผึ้ง หานกเพื่อยังชีพ ในฤดูทำนาก็ได้อาศัยน้ำทำการเกษตร ในพื้นที่หนองซง แห่งนี้มีสัตว์ต่างๆมากมายอาศัยอยู่ เช่นนกเป็ดน้ำ ปลา ผึ้ง ถือว่าบริเวณหนองซงแห่งนี้เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ แต่ในฤดูน้ำหลากในสมัยก่อนน้ำท่วมหนักแต่พอมีการขุดลอกน้ำอิงน้ำก็ไม่ท่วมหนองซง จึงอุดมสมบูรณ์ด้วยแมกไม้และสัตว์นาๆชนิด ชาวบ้านทำมาหากินกันตามวิถีชีวิตของผู้คนและสัตว์นานาชนิด ถือได้ว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและคนในพื้นที่รอบๆได้อีกด้วย
ปัจจุบันมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสนใจพื้นที่หนองซงแห่งนี้ ทางหน่วยงานได้เข้ามาพัฒนาปรับพื้นที่ต่างๆมากมาย แต่ทว่าการพัฒนาและปรับพื้นที่นั้นได้เปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ วิถีชีวิตของชาวบ้าน สัตว์ที่เคยมาอาศัยอยู่ในหนองซงแห่งนี้ก็ลดจำนวนลงเรื่อยๆ และในขณะนี้ในพื้นที่ก็มีการขุดหนองน้ำขนาดใหญ่จำนวน 800ไร่ เพื่อนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน
….เหล่าหมู่ฝูงควายที่เคยใช้พื้นที่ที่เคยมีอยู่หาอาหารก็ได้ลดลง ไม่พอกับจำนวนของควายและยังส่งผลกระทบให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นและคนในชุมชน การทำมาหากินก็เปลี่ยนไปเพราะทรัพยากรที่เคยมีอยู่ก็ลดลงมาก ระบบนิเวศน์ถูกเปลี่ยนแปลง…
คนในชุมชนจึงมีความกังวลว่าวิถีชีวิตและความอุดมสมบูรณ์ในแบบเมื่อก่อนนั้นกำลังจะเปลี่ยนไป ทามกลางการพัฒนาของหน่วยงานต่างๆจะสามารถช่วยให้พื้นที่หนองซงเกิดประโยชนสูงสุดหรือไม่ นี่คือความท้าทาย… ชาวบ้านจะไม่ทราบข้อมูลของหน่วยงานที่จะเข้ามาพัฒนา ว่าการพัฒนานั้นจะพัฒนาในทิศทางไหน อนาคตของหนองซงเป็นอย่างไร จะเหมาะสมกับการใช้ชีวิตและเอื้อประโยชน์ต่อคนในชุมชนเหมือนแต่ก่อนหรือไม่ “…….”