เครื่องแบบ ทรงผม : เสรีภาพกับเรื่องหนักหัวของระบบการศึกษาไทย

เครื่องแบบ ทรงผม : เสรีภาพกับเรื่องหนักหัวของระบบการศึกษาไทย

เปิดเทอมทีไร ผู้ปกครองต้องเร่งรีบหาเงินมาซื้ออุปกรณ์การเรียนและเครื่องแบบนักเรียนของลูก ๆ หลาน ๆ ซึ่งเป็นภาระที่ผู้ปกครองต้องแบกรับมาตลอด ซึ่งทุกครั้งที่เปิดเทอมก็จะมีประเด็นที่มีการวิจารณ์กันมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นประเด็นเรื่องการศึกษา ในกรณีของเครื่องแบบนักเรียน ทรงผม และกฎระเบียบของโรงเรียนและสังคมปัจจุบัน

เครื่องแบบนักเรียน เริ่มต้นจากไหน

ย้อนกลับไปที่สุดเริ่มต้นของชุดนักเรียนในประวัติศาสตร์ไทย สังคมไทยอยู่กับชุดนักเรียนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ช่วง พ.ศ. 2428 หรือ ค.ศ. 1885 เนื่องด้วยสมัยนั้นมีความต้องการที่จะให้สยามเท่าทันกับชาติตะวันตก ซึ่งประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่ออกกฎให้นักเรียนต้องสวมใส่เครื่องแบบนักเรียนที่สถานศึกษากำหนด ตั้งแต่ ค.ศ. 1222 สังคมไทยจึงได้รับค่านิยมและวัฒนธรรมจากตะวันตกมาค่อนข้างมาก และหนึ่งนั้นคือ ‘เครื่องแบบนักเรียน’ การแต่งกายจะเป็นในลักษณะของการสวมหมวกฟางพร้อมผ้าพันหมวกตามสีประจำโรงเรียน เสื้อราชปะแตนสีขาว กางเกงขาสั้น ถุงเท้า และรองเท้าสีดำ แต่ในสมัยนั้นถุงเท้ายังไม่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในสยาม จึงอนุโลมว่าจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ 

หลังจากสมัยรัชกาลที่ 5 จึงถือกำเนิด พระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2482 หรือ ค.ศ. 1941 ภายใต้พระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในยุคสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดย พ.ร.บ.เครื่องแบบนักเรียนระบุว่า 

เครื่องแบบทั้งหลายที่กำหนดให้นักเรียนจากโรงเรียนรัฐบาลในความควบคุมของกระทรวงธรรมการ โรงเรียนประชาบาล โรงเรียนเทศบาล และโรงเรียนราษฎร์ เครื่องแบบนักเรียนจะเป็นอย่างใด จะให้แต่งเมื่อไหร่และโดยเงื่อนไขอย่างใดนั้น ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงธรรมการกำหนดไว้

การกำหนดเครื่องแบบนักเรียนตามพระราชบัญญัติถูกเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งตามยุคสมัย อย่างในกรณีผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้หลายครอบครัวไม่มีเงินมากพอที่จะมาซื้อเครื่องแบบนักเรียนให้ลูกหลาน ประกอบกับวัตถุดิบและเสื้อผ้าอยู่ในช่วงขาดแคลน กฎระเบียบที่เคยตั้งไว้จึงต้องทำให้หย่อนลง

ในขณะเดียวกันกระแสความนิยมการใส่ชุดนักเรียนของเด็กชาวอังกฤษที่เคยเฟื่องฟู ก็เสื่อมลงในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่นเดียวกัน ทำให้หลายคนมองว่าชุดนักเรียนไม่มีความจำเป็นต่อระบบการศึกษาอีกต่อไป อีกทั้งยังมองว่าฟุ่มเฟือยและมีราคาที่สูงมาก ซึ่งใช้ได้แค่ระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น บางส่วนมองว่าชุดนักเรียนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตกลุ่มชนชั้นสูงของอังกฤษไปแล้ว ภายหลังเกิดการวิจารณ์หนักขึ้นจนทำให้สถานศึกษาจำนวนมากตัดสินใจยกเลิกข้อบังคับให้ใส่ชุดนักเรียน

ร่างกายภายใต้การบงการ

มิเชลฟูโกต์ (Michel Foucault) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส กล่าวถึงในหนังสือร่างกายใต้บงการ ว่า อำนาจรูปแบบใหม่จะเปลี่ยนจากการควบคุมมนุษย์จากภายในมาเป็นภายในและได้เข้าไปจัดการกับเนื้อตัวร่างกายของแต่ละบุคคลอย่างแยบยลผ่านการแทรกซึมของกฎหมาย บรรทัดฐาน จารีต ข้อบังคับ ระเบียบวินัย ยกตัวอย่าง พื้นที่ของโรงเรียนที่มีอำนาจที่แยบยลเข้ามาจัดการตัวนักเรียนในโรงเรียนด้วยกฎระเบียบของโรงเรียนผ่านการบงการร่างกายด้วย’ชุดนักเรียน’ ที่ทำให้ผู้อยู่ใต้บงการมีร่างกายที่เชื่องเชื่อ ว่านอนสอนง่าย ควบคุมง่าย และเป็นประโยชน์ต่อผู้บงการอีกด้วย และคล้อยตามอย่างเชื่อสนิทใจโดยไม่ตั้งคำถามหรือข้อกังขาใด ๆ 

ยกตัวอย่างเช่น การที่โรงเรียนออกกฎระเบียบให้นักเรียนทุกคนในโรงเรียนใส่เครื่องแบบของโรงเรียนในเหมือนกันทุกคน เพื่อให้นักเรียนทุกคนเป็นภาพแทนของโรงเรียนนั้นและในขณะเดียวกันโรงเรียนก็จะสามาระควบคุมร่างกาย พฤติกรรม ของนักเรียนที่อยู่ภายใต้การปกครองของตัวเองได้อย่างง่ายดายและเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนอีกด้วย ทำให้นักเรียนแทบจะไม่ต่อรองต่ออำนาจด้วยการตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับเนื้อตัวร่างกายของตัวเองอยู่เลยแม้แต่น้อย ทำได้เพียงก้มหน้าตั้งใจเรียนและสวมชุดนักเรียนเพื่อตื่นไปโรงเรียนทุกวันนั่นเอง

ภายใต้กระแสที่กำลังโด่งดังในประเด็นของการทบทวนความสำคัญของเครื่องแบบนักเรียนถึงเวลาที่จะต้องทบทวนความสำคัญของหลักสูตรการศึกษาที่ว่าด้วยเรื่องเนื้อตัวร่างกายของผู้เข้าศึกษา ที่ควรจะใส่ใจในประเด็นเรื่องของหลักสูตรเพื่อนักเรียนทุกคนมากกว่าการแต่งกาย และทรงผม หรือไม่ 

มีคนเข้าเสนอประเด็น เสรีทรงผมในเว็บไซต์ Your priorities เช่นกัน

เรื่องเส้นผมเล็กๆ ที่ไม่เล็กตามขนาด ยกเลิกระเบียบทรงผม ซึ่งเป็นระเบียบที่ละเมิดสิทธิในร่างกายและขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา6 ที่บอกว่ากฎหรือข้อบังคับขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญจะใช้บังคับมิได้ ทรงผมมีความสำคัญทำให้เกิดความมั่นใจ และความมั่นใจมีผลต่อการเรียนรู้ การที่ให้เยาวชนรู้จักเลือกสิ่งต่างๆให้ตัวเองเป็นสิ่งที่ดี เราต้องการคนที่เลือกเป็นไม่ใช่คนที่เลือกตามคนอื่น นี่คือสาเหตุที่ประเทศไทยควรเปิดเสรีทรงผม ทรงผมเราจะต้องไม่หนักหัวใคร

https://yourpriorities.yrpri.org/post/79321

จากข้อเสนอทำให้เห็นถึงการให้ความสำคัญที่ไม่ถูกที่ถูกทางของระเบียบในโรงเรียนที่ว่าด้วยเรื่องทรงผม โดยเฉพราะอย่างยิ่งการบังคับให้เด็กผู้หญิงตัดผมสั้นเท่าติ่งหู หรือ เด็กผู้ชายที่ตัดผมเกรียนแบบขาวสามด้าน ถ้าหากผมเริ่มยาวเพิ่มขึ้นแล้วไม่ไปตัดให้ตามระเบียบก็อาจจะโดนตำหนิ ดุ หักคะแนน หรือไปจนถึงโดนทำโทษโดยครูตัดผมให้เอง ซึ่งจากข้อเสนอเห็นได้ชัดว่าทรงผมไม่ได้มีผลต่อการศึกษาแต่อย่างใดและยังสามารถเสริมสร้างความมั่นใจในการเรียนรู้อีกด้วย

ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยหรือสังคมในโรงเรียนให้ความสำคัญกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง เช่น เครื่องแต่งกาย หรือทรงผม มากกว่าการให้ความสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียนให้นักเรียนได้เรียนด้วยการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง

อ้างอิง

  1. เรื่องเก่าเล่าใหม่ของ ‘ชุดนักเรียน’ ที่หยั่งรากฝังลึกในประวัติศาสตร์โลก The Momentum
  2. หนังสือ ร่างกายใต้บงการ มิเชล ฟูโกต์ เขียน / ทองกร โภคธรรม แปล

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ