เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา นิสิตสาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาได้มีการสอบปลายภาครายวิชาการสร้างเสียงประกอบสำหรับสื่อดิจิทัล แต่สำหรับนิสิตปี 2 ในงานละครเวที ที่ไม่ใช่แค่การแสดง แต่ใช้เทคนิคการสร้างเสียงต่างๆขึ้นมาเพื่อให้ดูสมจริงมากขึ้น
การแสดงและการสร้างเสียงในละครเวทีเรื่องส้มตำกลับใจ ไม่ว่าจะเป็นการพากย์เสียงและการสร้างเสียงประกอบแบบสดๆ ก็ทำให้ละครเวทีเรื่องนี้ดูสนุกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนเบื้องหน้าหรือเบื้องหลังก็ตาม
ในการทำละครเวทีมีด้วยกันหลายหน้าที่ หลักๆคือ ฝ่ายนักแสดง ฝ่าย Prop หรือ Art director ฝ่ายเสียง ประกอบไปด้วย เสียงพากย์, Foley, เสียงAmbient/SFX และทีมควบคุมเสียง
ซึ่งตัวดิฉันนั้นได้ทำหน้าที่ในการทำเสียงFoley ซึ่งเป็นการทำเสียงประกอบแบบสดๆ ซึ่งพวกเราได้ฝึกซ้อมกันอยู่หลายต่อหลายวัน ไม่ว่าจะซ้อมกันเองกับเพื่อนๆ หรือซ้อมใหญ่รวมกับพี่ๆปี3และอาจารย์ที่ปรึกษา พวกเราได้นัดซ้อมกันเองโดยที่ไม่มีอาจารย์กับพี่ๆปี3 เพื่อให้งานออกมาผิดพลาดน้อยที่สุด อย่างที่กล่าวไปว่าตัวดิฉันได้ทำหน้าที่ การทำเสียงFoley คือการเลือกใช้อุปกรณ์ในการสร้างเสียงประกอบให้เข้ากับการแสดงบนเวที ซึ่งจะฝึกซ้อมกับนักแสดงเป็นส่วนใหญ่ เผื่อให้เข้าใจตรงกันว่าฉากนี้หรือซีนนี้พวกเราจะทำท่าทางและเสียงยังไง ซึ่งจะผิดพลาดไม่ได้เพราะมันคือการแสดงสดๆโดยมีการไลฟ์สดให้คนดูได้ดู
ซึ่งเรื่องProduction เป็นหน้าที่ของพี่ๆปี3 ไม่ว่าจะเป็นการจัดมุมกล้อง การจัดไฟ และทำโปสเตอร์โปรโมทละครเวที และ Live streaming ผ่าน Facebook สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ และที่สำคัญที่สุดคือการทำงานในการถ่ายทอดสด
และสุดท้ายนี้พวกเรานิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยารู้สึกซาบซึ้งและขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ให้โอกาสพวกเราสร้างสรรค์งานละครเวทีขึ้นมา พวกเรารู้สึกภูมิใจและจะจดจำประสบการณ์ดีๆ ที่มีทั้งความเหนื่อย ความยาก และอุปสรรคมากมายที่เราได้พบเจอระหว่างการทำงาน
ในอนาคตนิสิตสาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ อาจจะมีผลงานละเวทีใหม่ๆมาให้ได้ดูกันอีก ทั้งนี้สามารถติดตามผลงานและรับชมละครเวทีย้อนหลังได้ที่ Facebook https://www.facebook.com/studyatNMCUP
และไม่ว่ายังไงพวกเราขอขอบคุณเป็นอย่างสูงค่ะ