นี้หรือคือการสอบ Final ของเด็กสื่อใหม่ ม.พะเยา ?

นี้หรือคือการสอบ Final ของเด็กสื่อใหม่ ม.พะเยา ?

การสอบเป็นเรื่องปกติของนิสิตหรือนักศึกษาทุกคนที่จะได้เจอไม่ว่าจะเป็นการสอบแบบอัตรนัย หรือการสอบแบบปรนัย แต่การสอบของเด็กสาขาการสื่อสารสื่อใหม่ ของคณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ ม.พะเยา เขาสอบด้วยการทำละครเวที ซึ่งเป็นการสอบ final ของรายวิชาการสร้างเสียงประกอบสำหรับสื่อดิจิทัล(Sound Effect Creation for Digital Media) โดยบล็อกนี้จะพาไปดูเบื้องหลังว่าก่อนจะเป็นละครเวทีพวกเขาทำอะไรบ้าง?

ในการทำละครเวทีครั้งนี้เป็นการร่วมมือของนิสิตชั้นปีที่2 และนิสิตชั้นปีที่3 ซึ่งก็จะมีการวางแผนและแบ่งหน้าที่กันโดยนิสิตชั้นปีที่2 จะมีทีมเขียนบท ทีมนักแสดง ทีมพากย์เสียง ทีมสร้างเสียงประกอบ(Foley) ทีมProperty Master และนิสิตชั้นปีที่3 จะได้ทำทีมProduction เช่นการจัดไฟ การกำหนดมุมกล้อง ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งแต่ละทีมก็มีหน้าที่สำคัญแตกต่างกันไป

และการทำละครเวทีก่อนอื่นเลยที่ต้องมีอย่างแรกก็คือการกำหนดโครงเรื่องและเขียนบท ซึ่งขั้นตอนนี้ก็ได้ใช้เวลาพอสมควรและพอได้บทที่สมบูรณ์แบบแล้วก็จะส่งบทให้แก่ทุกทีม ซึ่งทีมผู้ออกแบบและจัดหาอุปกรณ์ประกอบฉาก(Property Master) ก็จะทำฉากและหาอุปกรณ์ว่าฉากแต่ละฉากจะต้องใช้อะไรบ้าง ซึ่งหน้าที่นี้ก็จะทำให้ทุกคนที่ได้รับชมละครเวทีดูออกว่าฉากนี้อยู่ที่ไหนเป็นอย่างไร

ส่วนทีมนักแสดงก็ต้องจำบท Dialog ของตัวเอง ซ้อมท่าทางท่าเต้นและต้องจำจุดBlocking ด้วยเพราะว่าการแสดงละครเวทีของพวกเราพากย์เสียงกันสดๆ ซึ่งต่อไปเราจะพูดถึงการพากย์เสียงและการทำเสียงประกอบ(Foley)

การพากย์เสียงและการทำเสียงประกอบต้องมีสมาธิและสติสูงมากเพราะตาต้องคอยดูว่าบนเวทีนักแสดงกำลังทำอะไรอยู่เช่น นักแสดงกำลังตำส้มตำ ทีมทำเสียงประกอบก็ต้องทำเสียงประกอบให้ตรงจังหวะกับการกระทำของนักแสดง และทีมพากย์เสียงก็ต้องมองบนเวทีและต้องคิดตามว่าต้องพูด Dialog ไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วทีมนักแสดง ทีมพากย์เสียงและทีมทำเสียงประกอบก็จะซ้อมด้วยกันต้องใช้ความสามัคคีเป็นอย่างมากซึ่งต้องใช้เวลามากที่กว่าทุกอย่างจะเข้าที่และตรงจังหวะ

นอกจากทีมนักแสดง ทีมพากย์เสียงและทีมทำเสียงประกอบ(Foley) ที่คอยแสดงอารมณ์ ความรู้สึกออกมาแล้ว ก็ยังมีอีกทีมที่เติมเต็มอารมณ์และความรู้สึกให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น คือทีมSound Engineer ทีมที่รันคิวปล่อยเพลง หรือ กด Sound ต่าง ๆ ทีมนี้ก็สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าถ้าไม่มีทีมนี้ละครเวทีของเด็กสื่อใหม่ มใพะเยาก็จะไม่สมบูรณ์ ทีมSound Engineer เหมือนเป็นทีมที่เติมอารมณ์ ความรู้สึก ของสถานการณ์ในฉากนั้น ๆ ให้ผู้ชมได้รับรู้

และทีมสุดท้ายที่จะพูดถึงในบล็อกนี้ที่สำคัญไม่แพ้ทีมอื่นๆเลย คือทีมProduction ซึ่งเป็นหน้าที่ของนิสิตชั้นปี 3 ที่มีทั้งทำการโปสเตอร์โปรโมทละครเวที การจัดแสงไฟ การ Live Streaming บน Facebook

นี่คือโปสเตอร์ละครเวทีของเด็กสื่อใหม่ ม.พะเยา รูปแรกมีชื่อเรื่องว่า “ไข(Who)” ซึ่งมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการไขปริศนาคดีต่างๆ และ รูปที่สองมีชื่อเรื่องว่า “ส้มตำกลับใจ” เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการกลับตัวกลับใจของลูกแม่ค้าขายส้มตำ

และการกำหนดมุมกล้องที่ถ่ายทอดออกไปให้ผู้ชมได้รับ ซึ่งก็มีการซ้อมกันอยู่หลายวัน และได้มีการซ้อมกับทีมนักแสดงด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ขาดตกบกพร่อง แบบที่ว่านักแสดงหลุดออกจากเฟรมกล้องไหมหรือว่าเห็นอีกฉากก่อนที่นักแสดงจะไปฉากนั้นหรือเปล่าซึ่งพวกเราซ้อมจนถึงวันแสดงจริง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา และนี่คือการสอบ Final ของเด็กสื่อใหม่ ม.พะเยา

สุดท้ายนี้พวกเราเด็กสาขาการสื่อสื่อใหม่ ของคณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำละครเวทีที่มีทั้งความเหนื่อย ความสนุกสนานปะปนกันไป อาจจะมีอุปสรรคบ้างเล็กน้อยแต่พวกเราก็ผ่านพ้นมันไปได้ด้วยดี และหากทุกท่านที่ผ่านเข้ามาอ่านบทความนี้และอยากรับชมละครเวทีของพวก สามารถรับชมละครเวทีย้อนหลังของพวกเราได้ที่

Facebook:สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา New Media Communication-NMC UP หรือ https://fb.watch/j8LETy4oMW/

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ