คุณค่าศัสตราวุธ ศิลปะหรือการต่อสู้ สองแคว รณยุทธ

คุณค่าศัสตราวุธ ศิลปะหรือการต่อสู้ สองแคว รณยุทธ

เมื่อพูดถึงศัสตราวุธหรือศาสตราวุธนั้นมีที่มาจากคำว่า ศตระ ที่หมายถึงของมีคำ สำหรับ จิ้ม จ้วง แทง ฟัน เป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้ และเป็นเครื่องมือที่ใช้กันมายาวนาน เช่น กระบี่ของจีน ดาบซามุไรของญี่ปุ่น เซเบอร์ของทางตะวันตก และทางฝั่งของไทย ก็มีอาวุธลักษณะนี้ ที่เรียกว่า ศัสตราวุธเช่นกัน

โดยกลุ่มสองแคว รณยุทธ คือวิชาการต่อสู้ในรูปแบบของไทย สองแควเป็นชื่อสถานที่ ชื่อเมือง ที่กล่าวขานถึงพิษณุโลก ซึ่งที่นี่มีทรัพยากรทางประวัติศาสตร์มายาวนาน และกลุ่มของเราก็ศึกษาเรื่องนี้และนำประวัติศาสตร์ด้านการต่อสู้ ไม่ว่าจะเป็น ดาบกระบี่ กระบอง หอกง้าว อาวุธสั้น อาวุธยาว หรืออื่นๆ  เราตั้งใจจะทำที่นี่ให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่ทุกคนสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้ เราตั้งใจจะสืบสาน สืบทอดให้มีความร่วมสมัยแต่ยังคงมีความถูกต้อง

นี่คือสิ่งที่เป็นความตั้งใจของครูอ้วน อิทธิพันธ์ บุญชุม ชายหนุ่มผู้มีอาชีพเป็นครูด้านวิชาการ แต่หันมาสนใจในด้านศิลปะการต่อสู้เชิงประวัติศาสตร์ควบคู่ไปหลังจากนั้นมา เริ่มมีการรวมตัวกันในยามว่างช่วงเย็นโดยใช้สวนสาธารณะใจกลางเมืองเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมจึงมีคนให้ความสนใจมากขึ้น

กิจกรรมในกลุ่มสองแคว สองแควรณยุทธ คือการเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปทุกเพศทุกวัย ได้มาเรียนรู้ศิลปะและความงามผ่านอาวุธเพื่อให้คนที่ผ่านไปมามีความเข้าใจว่า อาวุธไม่ได้มีไว้เพื่อทำร้ายใคร อาวุธไม่ได้มีเพื่อไว้เพียงแค่โชว์ แต่อาวุธมีคุณค่าที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ร่องรอยที่สะท้อนว่าความเป็นไทยต้องผ่านอะไรมาบ้าง

ความน่าสนใจคือเยาวชนที่เข้าร่วมกลุ่ม ให้ความสนใจที่จะเรียนรู้เพราะนอกจากจะได้เข้าใจคุณค่าของศัสตราวุธ

“ถ้าศัสตราวุธใช้กับการต่อสู้ จะมีเรื่องไม้รบจะมีเรื่องการทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงโดยเร็วที่สุดแบบไม่คำนึงถึงความสวยงาม แต่ถ้ามีคำว่าศิลปะการต่อสู้จะมีเรื่องสุนทรียะมีเรื่องความสวยของ ไม้รำกับการร่ายรำประกอบอยู่ และถ้าเป็น ศิลปะการต่อสู้คือการที่ ใช้ไม้รำอย่างงดงามเพื่อทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงอย่างรวดเร็วที่สุด นี่คือคุณค่าของศัสตราวุธที่เป็นศิลปะและการต่อสู้”

ครูอ้วน

ทุกวันนี้แม้จะมีสำนักดาบกระบี่กระบองสำนักใดก็ตาม การฝึกกระบี่กรองจะไม่ได้เพียงแค่ทักษะป้องกันตัว แต่จะมีเรื่องของจิตใจ ในมุมของผู้ปกครองที่พาเยาวชนเข้ามาเรียนรู้และฝึกฝนเพราะสังเกตเห็นว่า มีความอ่อนน้อมมากขึ้น ในส่วนตัวของพวกเขามองว่า มีการใช้สมาธิจากการต้องโฟกัสไปยังการจับสิ่งของ และมีการขยับกายภาพ รวมทั้งรู้จักการอ่อนน้อมต่อครู อาจารย์และของที่ตนเองใช้ รุก รับ กราบ ไหว้ ขอโทษขอโพยกันหลังเสร็จกิจกรรม ท้ายที่สุดทำให้เกิดวินัยในการพัฒนาตัวเองและสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้นเลยเป็นเหตุผลที่ผู้ปกครองในยามเย็นมักจะนำพากันมาเข้ากลุ่มเพื่อเรียนรู้

ท้ายที่สุด คุณค่าของแต่ละอย่าง อยู่ที่การให้ค่าของคน เพราะความงดงามในสรรพสิ่งล้วนดำรงอยู่ผ่านสิ่งของ เพียงแต่อยู่ที่ใครจะจับต้องขึ้นมาใช้และถ่ายทอด ซึ่งครูอ้วน ครูหนุ่มที่มีความตั้งใจให้พื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองเป็นศูนย์รวมกิจกรรมที่ใครจะเข้ามาฝึกฝนก็ได้นั้นเบ่งบ่านราวกับดาบในฝักที่วันนี้มีผู้หยิบจับขึ้นมาขัดเกลาให้ใครต่อใครได้รู้จักในนาม สองแคว รณยุทธ

author

เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง related posts

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ