เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดประชุมสรุปบทเรียนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบปลอดบุหรี่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบไปด้วยตัวแทนผู้บริหาร และพระนิสิตแกนนำ 5 วิทยาเขต ร่วมนำเสนอบทเรียนการดำเนินงาน โดยมีสถาบันวิจัยพุทธศาตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้นำแสนอผลวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดการปัญหาบุหรี่ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำรวจพระนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ใน 12 วิทยาเขต
นักวิจัยเผยว่า ในกลุ่มพระสงฆ์ยังขาดความรู้ ความเข้าใจโทษของการสูบบุหรี่ในโรคต่อไปนี้ มะเร็งกล่องเสียงในผู้สูบบุหรี่, โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในผู้สูบบุหรี่, เนื้อตายและเน่าในผู้สูบบุหรี่ (มักเกิดกับอวัยวะส่วนปลาย เช่น มือ เท้า ทำให้ชา ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีดำ เน่า และต้อตัดทิ้ง) ร้อยละ 50.8 นักนั้นก็หมายความว่าพระสงฆ์อีกครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าการสูบบุหรี่ นำไปสู่โรคต่างๆ เหล่านี้ ด้านการซื้อบุหรี่พบว่าพระสงฆ์ร้อยละ 42.2 ซื้อจากร้านสำดวกซื้อ ร้อยละ 36.1 ซื้อจากร้านขายของชำ ร้อยละ 8.7 ญาติโยมนำมาถวาย และ ร้อนละ 8.7 พระสงฆ์ด้วยกันถวาย
ด้านพระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราขาดการศึกษาอย่างเป็นระบบ ทำให้เวลาพูดถึงพระสงฆ์กับการสูบบุหรี่ ขาดข้อมูลยืนยัน ต่อจากนี้ทางมหาวิทยาลัยฯ คงมีการหารือเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันทุกฝ่าย เพราะการสูบบุหรี่ไม่เพียงทำลายสุขภาพของคนสูบเท่านั้น แต่เบียดเบียนสุขภาพของคนอื่นอีกด้วย
ขณะเดียวกัน พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทโธ หัวหน้าโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ปลอดบุหรี่ต้นแบบ กล่าวว่า ทางโครงการได้ร่วมกับมจร. 5 วิทยาเขตในการทำพื้นที่มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ ประกอบไปด้วย มจร.วังน้อย มจร.วิทยาเขตขอนแก่น มจร.วิทยาเขตนครศรีธรรมราช มจร. หนองคาย มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ และขยายในวิทยาลัยสงฆ์อีก 10 แห่ง ทำให้เกิดการตื่นตัวในการแก้ไขปัญหาจากพื้นที่ และพบว่าหลายแห่งมีการผลักดันประกาศเป็นระเบียบของมหาวิทยาลัย มีทั้งการปรับ และตัดคะแนนสำหรับพระนิสิตที่สูบบุหรี่ภายในมหาวิทยาลัย
นอกจากผลการวิจัยที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว คณะทำงานจาก 5 วิทยาเขตได้ สรุปบทเรียนว่า กลุ่มที่ยังมีการสูบบหรี่ภายในมหาวิทยาลัยฯ มากที่สุดคือ พระสงฆ์ฆาธิการที่เข้ามาเรียนในภาคพิเศษ เป็นพระปกครองและมีอาวุมากโสจึงยากที่เข้าไปตักเตือนและบอกกล่าว