“แนวกันไฟ” คืออะไร
การทำแนวกันไฟเป็นเครื่องมือที่ง่ายที่สุดในการที่ไม่ให้ “ไฟ” ที่ไหม้ในผืนป่าไม่ลุกลามขยายพื้นที่สร้างความเสียหาย และเป็นแนวตั้งรับไฟป่าได้ง่าย แนวกันไฟจะสกัดเพลิงที่เกิดขึ้นจากพื้นที่ด้านหนึ่งไม่ให้ลุกลามไปอีกฟากหนึ่ง จะช่วยลดความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยเริ่มจากการสำรวจพื้นที่ และคาดคะเนว่าไฟจะมาจากทิศใด แล้วทำแนวกันไฟสกัดในทิศทางนั้น
โดยการทำมีวิธีหลากหลาย อย่างเช่น การกำจัดเชื้อเพลิง เช่น เศษใบไม้แห้ง ใบหญ้า เนื่องจากป่าในพื้นที่ทางเหนือ ส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง หรือป่าแบบผลัดใบ ทำให้มีเชื้อเพลิงคือใบไม้จำนวนมาก ทำให้ง่ายต่อการติดไฟ แต่การกำกัด ก็มีหลายวิธี เช่น ที่ ชุมชนดอยช้างป่าแป๋ อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
“แนวกันไฟที่ไม่ได้ตั้งแค่งบ จบในครั้งเดียว”
ชุมชนดอยช้างป่าแป๋ มีวิธีการดับไฟตามภูมิปัญญาดั้งเดิมและภูมิปัญญาสมัยใหม่ ลาดตระเวนพื้นที่พร้อมเก็บหาของป่าและเลี้ยงสัตว์ไปด้วย รวมทั้งมีแรงสนับสนุนจากเยาวชนเป็นม้าเร็วเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ ปัจจุบันชุมชนดูแลพื้นที่ป่า 21,034 ไร่ ทำแนวกันไฟ 30 กิโลเมตร
“ทุกวันนี้ชาวบ้านจะเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ไปหาของป่าอยู่แล้ว เขาก็จะไปสังเกตว่ามีไฟขึ้นตรงไหน พอมีไฟขึ้นเขาก็จะบอกกล่าวรายงาน ส่วนเยาวชนเราใช้โดรนบินขึ้นไปดูว่ามีควันไฟตรงไหน ถ้าทราบพิกัดแล้วน้องเยาวชนจะเป็นม้าเร็วไปสำรวจในพื้นที่ว่าอยู่ห่างจากแนวกันไฟแค่ไหน อยู่ในเขตแนวกันไฟชั้นนอกหรือชั้นใน อีกวิธีการหนึ่งก็คือเราใช้วิทยุสื่อสารที่ได้ผลมาก รวดเร็วในการสื่อสาร อีกอันคือเรื่องของน้ำ การดับไฟเราใช้น้ำในถัง 200 ลิตรที่ไปตั้ง ขุดสระน้ำที่เป็นตาน้ำเล็กๆ หลังจากนั้นพวกเราก็ใช้วิธีการลาดตระเวน เผาชน เฝ้าระวัง ทำแนวกันไฟแนวดำ” นายบัญชา มุแฮกล่าวในสัมภาษณ์งานเขียนชุมชนชาติพันธุ์กับการจัดการไฟป่าอย่างยั่งยืน
อื่น ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวกันไฟ
แล้วทำไมต้องเฝ้า และดูแลแนวกันไฟตลอด…
เพราะตลอดช่วงฤดูแล้ง เป็นช่วงที่ใบไม้ผลัดใบ ใบไม้จะร่วงหล่นลงมาตลอด ถ้าไม่เฝ้าระวัง และดูแลแนวกันไฟ ใบไม้ที่ร่วงก็จะเกาะเป็นฐานใบไม้และเชื้อเพลิงชั้นดี
ปีไหนที่แล้งต้องมีวิธีการดูแลตลอด 2 อาทิตย์ ชาวบ้านต้องเข้าไปเป่าและดูแลก็จะทำให้แนวกันไฟหายไป เมื่อมีแนวกันไฟแล้วสิ่งที่สำคัญที่ต้องทำควบคู่กับการลาดตระเวน และดูแลไม่ให้ไฟข้ามเขตแนวมา รวมถึงมีการบริหารจัดการไฟที่เหมาะสม
จากกรณีความเคลื่อนไหวสำคัญของทางภาคเหนือ ทีมสภาลมหายใจภาคเหนือ ได้ไปยื่นหนังสื่อที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ภาค 8 เพื่อให้มีการตรวจสอบงบทำแนวกันไฟ
กรณีการบุกจับ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และมีรายงานว่ามีการเรียกเก็บเงิน 30 เปอร์เซ็นต์จากงบประมาณที่สนับสนุนการทำแนวกันไฟป่า และเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาและยกระดับให้เกิด “ป่าโปร่งใส” ในทุกระดับ ขอให้หน่วยงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนงาน จัดทำแนวกันไฟในป่าอนุรักษ์ของหน่วยงานในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้เป็นไปตามข้อกำหนดจ้าง และก่อให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันไฟป่าอย่างแท้จริง
นำมาสู่วง วันที่ 23 มกราคม 2566 เสวนา “แนวกันไฟผี มีจริงหรือไม่ คำถามจากกรณี ความโปร่งใสในการจัดการป่าของรัฐ โดยเฉพาะเรื่องการทำ “แนวกันไฟ” ที่พบปัญหาไม่โปร่งใสหลายกรณี จึงมีการเรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูลให้สังคมรับรู้ และควรตรวจสอบได้ โดยขยายประเด็นผ่าน สถานีฝุ่นปี 2 พูดคุยผ่านรายการ อาสาสู้ฝุ่น
ภายในวงสนทนามี คุณบุญตัน กาละวิน / ผู้ใหญ่บ้าน ม.14 ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง
คุณเมธาพันธ์ ภุชกฤษดาภา / ผู้ใหญ่บ้านดอยปุย ม.11 ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่
คุณสุจิน จันทร์อ้าย / อาสาสมัครดับไฟป่าตำบลโป่งน้ำร้อน อ.ฝาง
คุณพฤ โอโดเชา / บ้านแม่ลานคำ ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง
อ.ดร.ณัฐกร วิทิตานนท์ / คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่
คุณบัณรส บัวคลี่ / สภาลมหายใจภาคเหนือ
คุณบัณรส บัวคลี่ / สภาลมหายใจภาคเหนือ กล่าวว่า เรื่องแนวกันไฟเป็นเรื่องที่สังคมต้องหันมาสนใจจริงจัง แน่นอนว่าเรื่องปัญหามลพิษฝุ่นควัน ไฟ เป็นเรื่องที่สังคมเริ่มให้ความสนใจ เพราะปัญหานี้รมคนในสังคมมาหลายปี จากกรณีการบุกจับ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผ่านเนื้อข่าวที่มีการหักเงินจากงบแนวกันไฟ ป้องกันไฟ ยิ่งเป็นเรื่องให้คนในพื้นที่ตกใจ
เมื่อโดนหักงบแนวกันไฟ ความกังวลในพื้นที่คือ แนวกันไฟในพื้นที่จะมีประสิทธิภาพกันไฟได้จริงหรือไม่
ก่อนหน้านี้เคยได้ยินเรื่องของการพูดถึงงบไฟป่า มีการล่ารายชื่อ และติดตามต่อเนื่องบ้างไม่ต่อเนื่องบ้าง ปัจจุบันต้องสนใจจริงจัง เพราะเกี่ยวข้องกับเราทั้งผู้ขับเคลื่อนและผู้ประสบภัย จึงชวนคนในสังคมกระตุ้นให้เกิดการตรวจสอบ สิ่งที่ประชาชนอยากจะเห็นเรื่องของแนวกันไฟ หากใช้เงินงบประมาน 100 บาทให้เป็นเนื้องานเต็ม ไม่ใช่หักจากเนื้องานในป่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ตรวจสอบยากเรื่องของแนวกันไฟ เพราะเมื่อถึงฤดูไฟมาป่าแต่ละป่าก็จะประกาศปิดป่าห้ามคนเข้ามาในป่า และเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่ามีโครงการเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ลึกลับซับซ้อนและทำให้เกิดข้อสงสัย
ทางสถานีฝุ่นจึงย้อนกลับไปดู ข้อมูลเรื่องของกฎหมายมีระเบียบบังคับให้เปิดข้อมูล และโปร่งใส การจัดซื้อจัดจ้าง เพราะมีกฎหมายรัฐธรรมนูญกฎหมาย พ.ร.บ ข้อมูลข่าวสารราชการ และระเบียบอื่น ๆ ให้หน่วยงานที่จัดซื้อจัดจ้างนำขึ้นเว็บไซต์ เช่น สบอ. 16 มีการเปิดเผยข้อมูลตามกฎหมาย ปีนี้ สบอ. 16 มี 10-20 ป่า รวม ๆ กันแล้ว 2,000 กว่ากิโลเมตร 5,250 บาท บางพื้นที่ประมูล 5,300 บาท
หากเราดูจากตารางด้านบนเป็นข้อมูลปีล่าสุด 2566 ในแต่ละป่าทำแนวกันไฟ 150 -200 กิโลเมตร และทำภายใน 1 เดือนเพราะใกล้ถึงฤดูฝุ่นควัน นี่เป็นคำถามและอยากฟังข้อมูล จากมือไฟเชี่ยวชาญวิทยากรที่มาร่วมแลกเปลี่ยน ว่า 100-200 กิโลเมตร 1 บริษัท จากข้อมูลเขาทำกันอย่างไร และชาวบ้านที่ร่วมช่วยกันทำที่เคยได้ยิน 3-5 กิโลเมตร 1 วันเกณฑ์คนมาหมดหมู่บ้านแล้วทำกันอย่างไร ?
มีเคสบางหน่วยงานไปติดต่อคนในพื้นที่ ให้ชาวบ้านถือป้ายบริษัทรับเงิน 3 หมื่นบาท ถ่ายรูปกับแนวกันไฟเดิมที่ชาวบ้านทำแนวกันไฟ ใช้กลไกของรัฐที่จะมาช่วยตรวจสอบกันเอง นี่คือความไม่เชื่อถือและไม่สามารถกล่าวหาได้ จึงเกิดวงเสวนาวันนี้
เพราะเกี่ยวข้องกับงานที่เรากำลังผลักดันเรื่องของโจทย์ใหญ่หนึ่งในพื้นที่เรื่องของแหล่งไฟใหญ่ ไฟแปลงใหญ่ และไฟข้ามเขต อยู่ในป่าของรัฐทั้ง 80-90 % สมมุติว่าการบริหารไฟของรัฐเองมีช่องโหว เช่น การมีแนวกันไฟไม่ครบ ซึ่งความเป็นจริงมีเพียง 5 กิโลเมตร แต่บอกว่ามี 200 กิโลเมตร จึงเป็นความไม่สบายใจของคนในพื้นที่ประสบภัย และย้ำความไม่มั่นใจกับตัวรัฐเพิ่มมากขึ้น
อีกประเด็น คือ แต่ละป่ามีพื้นที่เท่าเดิม แต่แนวกันไฟงอกออกมาทุกปีหมายถึงวงเงินงบประมานที่มากขึ้น ข้อมูลจาก แนวกันไฟ สบอ.16 เช่น ที่อ.จอมทอง ปี 2564 140 กิโลเมตร ปี 2566 เป็น 150 กิโลเมตร หรือ บ้านโฮ่ง ปี 2564 150 กิโลเมตร ปี 2566 เป็น 245 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่าเรามีการพัฒนาแนวกันไฟให้ยาวขึ้น แต่ไฟป่ายังคงเกิดเท่าเดิม
ปกติการทำแนวกันไฟของพื้นที่ชุมชนจริง ๆ จะได้กี่กิโลเมตร ใช้ระยะเวลา และใช้คนเท่าไหร่ 100 -200 กิโลเมตร หากต้องทำให้ทันฤดูไฟ เป็นจริงได้หรือไม่ ต้องใช่ทรัพยากรเท่าไหร่ ?
“แนวกันไฟ” ที่ชาวบ้านช่วยกันทำ ไม่ผีแน่นอน…
ชวนฟังเสียงคำตอบจากมือไฟเชี่ยวชาญ
คุณบุญตัน กาละวิน / ผู้ใหญ่บ้าน ม.14 ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง
การทำแนวกันไฟ หากรัฐจะแก้ไขจริง ๆ ควรทุ่มเทลงที่ชุมชน
หากมีบริษัทผู้รับเหมาทำแนวกันไฟพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของตน เราจะไม่ให้เข้าก็ได้ เพราะทรัพยากรของเรามีเยอะมีทั้ง นกยูง ไก่ป่า เก้ง หากชุมชนอื่นมาทำแนวกันไฟ มารับจ้างทำแนวกันไฟ และหากมาเจอสิ่งสวยงาม ทรัพยากร ธรรมชาติของชุมชนอาจไม่มีความหวงแหน รักษาในพื้นที่อาจทำลายไม่รู้ตัว
แต่หากภาครัฐมีนโยบายกิโลเมตรละ 5,000 บาท ควรผลักดันให้ชุมชนได้กระจายรายได้ มีแรงจูงใจ และชุมชนยังมีรายได้ให้ชุมชนในช่วงหน้าแล้ง และเรื่องของการจัดการเชื้อเพลิง
เร็ว ๆ นี้ ทางชุมชน ต.บ้านแปะ ได้จัดการเชื้อเพลิง ทำแนวกันไฟ และมีสื่อบางกลุ่มร้องเรียนจังหวัด แจ้งมายังอำเภอ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ทางชุมชนจึงจะจัดเวที ที่หมู่ 3 เชิงดอย ให้ภาคอื่นส่วนได้รับทราบพร้อมทั้งทำแนวกันไฟอธิบายเรื่องการทำแนวกันไฟใน 1 วัน ว่า 1 วันทำได้กี่กิโลเมตร หากจำนวนกี่คน 30-40 คนได้กี่กิโลเมตร
ถ้าเป็นไปได้ควรผลักดันให้ทางชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการครั้งนี้ด้วย จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทางชุมชน 1 วันทำแนวกันไฟได้ 3-4 กิโลเมตร ทั้งชุมชนร่วมกันทำ
คุณเมธาพันธ์ ภุชกฤษดาภา / ผู้ใหญ่บ้านดอยปุย ม.11 ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่
ดอยสุเทพปุยเรื่องการทำแนวกันไฟเป็นกิโลเมตรละ 5,000 ตนเองยังไม่รู้ข้อมูลเรื่องประมูลงบการทำแนวกันไฟ แนวกันไฟนี้หมายถึงแนวกันไฟที่ชาวบ้านทำไว้แล้วหรือทำใหม่ไม่รู้ข้อมูลที่ชัดเจนตรงนี้
การทำแนวกันไฟ 12 หมู่บ้านดอยปุย จะทำแนวกันไฟเชื่อมกันหมด รวม ๆ มีเกือบ 100 กิโลเมตร ถามว่าหากเราคิดว่าจำนวนแนวกันไฟหมายถึงแนวกันไฟที่ไปประมูลหรือการเอางบมาลง เพราะทุกวันนี้เราไม่ได้คิดถึงมูลค่าของแนวกันไฟ การทำแนวกันไฟ 1 วัน ใช้งบเยอะมากของดอยปุยการทำแนวกันไฟที่ดอยปุยทั้งหมด 28 กิโลเมตร ที่ทำจริง ๆ ทำแนวกันไฟ 22 กิโลเมตร ตามแนวสันเขา กำหนด 3 วัน คนทำ 200 กว่าคน และเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของพื้นที่ และมีระบบการทำแนวกันไฟในพื้นที่ ทำให้ในพื้นที่มีความคล่องตัวการทำงานการทำแนว การกวาด ซึ่งทำเสร็จภายใน 2-3 วัน แต่ต้องใช้จำนวนคนมาก และที่ทำต้องเป็นมืออาชีพ และทำแนวกันไฟกว้างที่สุด 8-10 เมตร
เพราะฉะนั้นคิดว่าถ้ารัฐ หน่วยงานจะมีประมูลและทำเรื่องแนวกันไฟคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะปกติชาวบ้านทำแนวกันไฟไว้แล้ว ถือว่าแบ่งเบาภาระไปในตัว การทำแนวกันไฟเมื่อทำแล้วไม่ใช่ว่าจะจบ เพราะเมื่อทำแนวกันไฟเสร็จแล้ว จะต้องมีการเข้าไปกวาด เฝ้าระวังไฟทุกวัน ระยะเวลาเกือบ 3 เดือน มีกระบวนการและรายละเอียดอยู่ อย่างของดอยปุยทำแนวกันไฟต่อ 1 วัน ใช้คน 220 คน 3 วัน 660 คน คูน 20 กิโลเมตร แล้วเฉลี่ยนคนละ 300 บาท ต่อคน ต่อวัน จะเป็นราคาเท่าไหร่
ถ้าเป็นไปได้เรื่องของการทำแนวกันไฟ ต้องให้คนในพื้นที่ ที่เข้าใจทำ เพราะฉะนั้นคิดว่าที่หน่วยงานจะมีงบการทำแนวกันไฟ แต่ขอความชัดเจนว่าทำตรงแนวกันไฟใหม่หรือแนวกันไฟเดิมของชาวบ้านที่มีอยู่แล้ว
ซึ่งเป็นแนวทางที่ดี หากรัฐทำงานร่วมกับชาวบ้าน แต่ทางชุมชนก็ต้องต้องการความชัดเจน แนวกันไฟเมื่อทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทุก 2 อาทิตย์ต้องมีการกวาดแนวกันไฟ จนกว่าฝนจะตกลงมา
คุณสุจิน จันทร์อ้าย / อาสาสมัครดับไฟป่าตำบลโป่งน้ำร้อน อ.ฝาง
การทำแนวกันไฟในชุมชนปกติทำได้ 3-4 กิโลเมตร ดังนั้น อย่างที่ชุมชนทำคือ 1 เส้น ชาวบ้านต้องทำ 3 ขั้นตอน 1 ต้องมีเครื่องตัดหญ้า อันดับแรกต้องตัดหญ้าไปก่อน 3-4 วัน ถาง 2.ใช้เครื่องเป่าไวเพราะมีประสิทธิภาพ หาก 1 เดือนจะทำแนวกันไฟ 150 กิโลเมตร เป็นไปไม่ได้เลย
และถ้าบอกว่ากิโลเมตรละ 5,220 บาท เป็นไปได้ไหมราคาเหมาะสมก็ถือว่าไม่แพงหากจะทำจริง อยู่ที่ว่าถ้าทำแนวกันไฟใหม่ราคาจะสูงกว่า แต่ถ้าทำในแนวกันไฟเก่าของชาวบ้านราคาประมาณนี้เป็นไปได้
จากที่ชุมชนเคยทำระยะทาง 36 กิโลเมตร ใช้เครื่องและคนตัดก่อน 3-4 คน และสถาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกันบางพื้นที่สูงชัน จะใช้เวลา 3-4 วัน ซึ่งอย่างน้อย ๆ 1 กิโลเมตรใช้ 2-4 คน ต่อ 1 วัน แนวกันไฟจะอยู่ที่ 6-8 เมตร บางครั้ง 12 กิโลเมตร อยู่ที่สถานที่ช่วงนั้นว่าอันตรายและเสี่ยงแค่ไหน
เพราะฉะนั้นถ้าจะให้บริษัทมารับ ให้ชุมชนเป็นผู้ทำแนวกันไฟเองดีกว่า เพราะชุมชนรู้จักชุมชนตนเองดี และรู้จักทรัพยากร
อย่างที่พ่อหลวงบุญตัน กล่าวว่า คนภายนอกจะรู้จักทรัพยากรในชุมชนตนเองดี เราคนในชุมชนจะรู้ดี คนในชุมชนจะรู้ว่าจุดใดควรเว้นและอ้อมไปทำแนวกันไฟได้ พื้นที่อนุรักษ์ ทรัพยากรที่มีค่าตรงนั้นเราเว้นอนุรักษ์ไว้ ให้ชาวบ้านและชุมชนจัดการเองจะดีกว่า และเรื่องราคาประมูลอย่างที่เขาประมูลกันมาเช่น ดอยผ้าห่มปก 200 กิโลเมตร ซ้ำซ้อนกับที่ชุมชนทำหรือไหมและในพื้นที่ไม่รู้ว่าแนวกันไฟพื้นที่ตรงไหนบ้าง
ยืนยันว่าระยะเวลา 1 เดือนไม่มีทางเป็นไปได้ในการทำแนวกันไฟ 200 กิโลเมตร เพราะไฟเริ่มมาแล้ว
และถ้าคนนอกมาทำถ้าเป็นถนนยังพอเป็นไปได้ แต่เป็นพื้นที่ป่าเป็นไปได้ยากมาก สุดท้ายให้ชุมชนเป็นผู้ทำเองและมีคณะตรวจสอบ ชุมชนมีคณะทางอำเภอมาตรวจแต่ละหมู่บ้าน มาถ่ายรูปส่งและจบ หลายอย่างอยู่ที่ผู้ตรวจว่าทำแนวกันไฟจริงหรือไม่
คุณพฤ โอโดเชา / บ้านแม่ลานคำ ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง
เมื่อได้งบเช่นปีนี้เทศบาลสนับสนุนงบมา 5000 บาท แบ่งกันแต่ละหมู่บ้าน นัดคนไป 30-40 คน เวลาบ่าย 3 – 5 โมง ได้ประมาณ 5-7 กิโลเมตร 1 วันจะได้ปนะมานนี้ เราแบ่งเงินไม่มีค่าจ้างรายวัน แต่แบ่งเงินมาทำเป็นกับข้าว และเป็นค่าแรง บางปีหารเงินคนละ 45 บาท ปีนี้ไม่มีคนทำกับข้าวส่วนกลางให้แต่เราให้ห่อข้าวจากบ้านไป อยู่ที่เทศบาลมีงบสนับสนุนเท่าไหร่
แนวกันไฟไม่ได้บอกว่าไฟจะไม่ไหม้ แต่แนวกันช่วยคน ไม่ให้เวลาไปดับไฟแล้วเราเอาไม่อยู่เวลาไฟมาหนัก ๆ เราจะได้มีจุดยุทธศาสตร์ที่จะจัดการไฟที่ลามมาแต่เวลาไฟไหม้นอกแนวกันไฟ เราจะต้องไปทำแนวกันไฟเฉพาะกิจให้เสร็จและเอาจุดนั้นให้อยู่
แนวกันไฟไม่ได้กันไฟทั้งหมด แต่แนวกันไฟเป็นสิ่งที่ทำให้ชาวบ้าน เยาวชน ลูกเล็กเด็กน้อย คนในชุมชนเข้าใจไฟ ได้มาสร้างความร่วมมือ ป้องกันชุมชนตนเองร่วมกัน
บ้านตนทำแนวกันไฟ 6 เมตร 4 เมตร ไม่แนวกันไฟ 8 เมตรตลอด ช่วงหลังแนวกันไฟบ้านตนเริ่มลดลงพอเราติดกับแม่โถ เดิมทีทำเส้นกลางไว้ 5-10 กิโลเมตร เมื่อแต่ละหมู่บ้านมีการจัดการไฟที่ดีบ้านเราจึงไม่ต้องมีแนวกันไฟแล้ว ไฟรามที่ทำกินเรียกกันมาช่วยกันดับหากเป็นพื้นที่รอยต่อ เกิดจากความเข้าใจและการจัดการของชุมชนที่ดี
สรุป คือ แนวกันไฟของพื้นที่ยากง่ายต่างกัน รวมถึงค่าใช้จ่ายไม่ได้เยอะมากเพราะการทำแนวกันไฟหัวใจสำคัญไฟจะเกิดหรือไม่เกิด แต่สิ่งที่เกิดคือร่วมมือของชุมชน พร้อมทั้งการลดแนวกันไฟ ไม่เกิดไฟและพื้นที่รอยต่อกับชุมชนอื่นช่วยกันดับไฟ
อ.ดร.ณัฐกร วิทิตานนท์ / คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่ กล่าวว่า
เรื่องนี้เป็นเรื่องซับซ้อนเมื่อก่อนป่าไม่ได้ถูกแบ่งแยก ป่าอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานเดียวเท่านั้นคือ กรมป่าไม้ไม่ว่าจะนิยามว่าเขตอุทยานหรือป่าสงวน แต่หน่วยงานเดียวที่ดูแลคือกรมป่าไม้ เมื่อปฎิรูป 2545 กรมป่าไม้หน่วยงานป่าไม้ได้ย้ายมาจากกระทรวงเกษตร ตั้งมาเป็นกระทรวงใหม่คือกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม แบ่งแยกออกมาเป็นกรมป่าไม้ และอีกหน่วยงานคือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช อีกกรมหนึ่งที่ดูแลพื้นีท่อุทยานทั้งหมด ดูแลต้นน้ำและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฉะนั้นหมายความว่าตั้งแต่ 2545 พื้นที่ป่าประเทศนี้แบ่งการดูแลออกเป็นสองส่วน แต่ในความเป็นจริงมีความซับซ้อนของพื้นที่ป่าซึ่งไม่ได้ถูกตัดขาดการดูแล พื้นที่คาบเกี่ยวและทับซ้อนกัน
หน่วยงานภายในของกรมป่าไม้มีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องไฟป่าโดยตรงคือสำนักงานป้องกันรักษาป่า และควบคุมไฟป่า เป็นหน่วยงานภายใต้กรมป่าไม้อีกที ที่ดูแลเรื่องไฟป่าทั้งประเทศ ซึ่งหน่วยงานนี้อยู่กรุงเทพมหานครดูแลทั้งประเทศไม่ไหวจึงต้องแบ่งเป็นหน่วยงานย่อยเพื่อดูแลพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศหน่วยงานย่อยของสำนักป้องกันและรักษาป่าและควบคุมไฟป่าของกรมป่าไม้เรียกว่าศูนย์ส่งเสริมควบคุมไฟป่าภาคแต่ละภาคจะมีทั้งหมด 7 ส่วนทั่วประเทศ ที่เชียงใหม่มีศูนย์ส่งเสริมควบคุมไฟป่าภาคเหนือที่หนึ่งเชียงใหม่ภาคเหนือป่าเยอะจึงแบ่งเป็นสองที่มีที่เชียงใหม่และที่เชียงรายนั่นคือหน่วยงานที่ตนคิดว่ากำลังทำเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างดำเนินการทำแนวกันไฟกว่าหลาย 100 กิโลเมตรที่เราพูดถึงซึ่งเป็นหน่วยงานใหญ่มากระดับภาค
ในหน่วยงานระดับภาคย่อย ลงไปเรียกว่าเป็นระดับหน่วยจะเรียกว่าหน่วยส่งเสริมการควบคุมไฟป่าซึ่งเชียงใหม่มีอยู่ 1 หน่วยแต่ละหน่วยนี้ของเชียงใหม่มีศูนย์ที่คุมและดูแลอยู่หลายจังหวัดแล้วเข้าใจในส่วนนี้ก่อนว่าเรากำลังพูดถึงการดับไฟป่าในพื้นที่ป่าสงวนซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้แต่ยังไม่พอที่หลายท่านพูดมีอีกฝั่งนึงมีฝั่งที่เรียกว่าอุทยานรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ดูแลต้นน้ำต่างๆนานาในพื้นที่เป็นอีกฝั่งหนึ่งที่อยู่ในกรมอุทยานฝั่งนี้มีสำนักงานที่ดูแลเรื่องของฝุ่นควันไฟป่าเช่นกันเรียกว่าสำนักป้องกันปราบปราม และควบคุมไฟป่า อยู่ในกรมอุทยานในแนวทางปฎิบัติที่สอบถามจากคนที่รู้คืองบประมาณจะไม่ได้ลงมาที่หน่วยใหญ่ซึ่งหน่วยใหญ่ของเค้าจะมี 25 ศูนย์ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่า 15 ศูนย์ทั่วประเทศเชียงใหม่มีอยู่หนึ่งศูนย์งบไปได้ให้ศูนย์เป็นคนจัดการแต่วิธีการดำเนินงานกรณีที่จะมีการทำแนวกันไฟจะมอบให้เขตอุทยานซึ่งเล็กลงมาก็จะรู้อย่างเช่นเขตอุทยานดอยสุเทพปุย เขตอุทยานอินทนนท์ ซึ่งต่างจากกรมป่าไม้ก่อนหน้านี้ให้ระดับภาคทำจะลงไปรับพื้นที่จะแบ่งเป็นตัวหน่วยย่อยของตรงนี้เรียกว่าศูนย์ส่งเสริมควบคุมไฟป่าเล็กกว่าตรงนี้เราจะเห็นสถานีไฟป่าสถานีควบคุมไฟป่า 160 แห่งทั่วประเทศ หนึ่งในนั้นคือที่ภูพิงค์ เพื่อให้เห็นว่าแนวกันไฟที่เป็นประเด็นอยู่ในฝั่งใด
จากที่เช็คข้อมูลเร็ว ๆ ไม่ได้อยู่ในอุทยาน เพราะแนวปฏิบัติของอุทยานคือจะใช้วิธีให้ดำเนินการโดยระดับย่อยระดับหน่วยคืออุทยานแต่ละแห่งดูแลเรื่องการทำแนวกันไฟไม่ใช่ให้หน่วยงานใหญ่เหนือมีการจัดซื้อจัดจ้างหรือประมูลและดูแลพื้นที่ใหญ่ใหญ่กว้างกว้างไม่ได้ทำแบบนั้น
สุดท้ายคิดว่าเรื่องนี้ในอดีตก่อนจะมีหน่วยงานรัฐเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการเหล่านี้ บางบ้านเช่นชาติพันธุ์ ปกาเกอะญอ เขามีวิถีชีวิตที่ผูกพันธุ์กับป่ามานาน การทำแนวกันไฟเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่ทำมาตลอดเพื่อป้องกันไม่ให้ไฟไปทำลายไร่นาพืชผลในแต่ละปี รัฐไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวเพราะเป็นความเป้นอยู่ แต่หลายปีที่ผ่านมาเกิดกรณี Pm 2.5 มีกระแสตื่นตัวมากขึ้นในภาคเมือง รัฐเอื้อมมือเข้ามาในเรื่องนี้มากขึ้น ประกอบกันมีหลายชาติพันธุ์ที่ไม่ได้มีแนวปฎิบัติเดียว เพราะฉะนั้นรัฐต้องเข้ามามีบทบาทตรงนี้ เป็นโอกาสที่รัฐจะเข้ามาทุ่มให้กับตรงนี้เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ไม่ใช่รอไฟมาแล้วไล่ดับ อย่างที่เราเห็นในภาพที่เคยเห็นจากโดรน รวมถึงมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากที่เป็นชาวบ้าน อาสาดับไฟ ดังนั้นเราต้องกลับมาจัดการปัญหาที่ต้นเหตุมากกว่าวิ่งไล่ปัญหาหลังมันเกิดขึ้น
สุดท้ายแล้วให้ท้องถิ่นเป็นคนตอบปัญหาของเขาด้วยตนเอง อย่างน้อยถ้ารัฐมีวิธีจัดการไม่ว่าจะหน่วยงานใด ควรจะให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วม เพราะท้องถิ่นรู้ดีที่สุด นำงบให้ท้องถิ่น ให้คนในพื้นที่ได้ทำแนวกันไฟกันเอง ถ้าให้คนอื่นเข้ามาอาจจะแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุดให้ชุมชน
ข้อเสนอจาก ดร.เจน ชาญณรงค์ ประธานชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล กล่าวว่า แนวกันไฟที่ยาวมากกว่า 300 กิโลเมตร ตนยังนึกไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไร ทำตรงไหน แต่เราคงจะต้องปรับที่บ้างเพราะแม้จะพันรอบหมู่บ้าน 3 รอบ ยังเหลือ เพราะฉะนั้นตนคิดว่าแทนที่จะทำแนวกันไฟ 1 รอบแล้วจบเลิกรากันไป แล้วใบไม้ร่วงลงมาแนวกันไฟสลายไป ในความเป็นจริงเสนอให้จัดเป็นงบการลงไปดูแลทำความสะอาดหลาย ๆ รอบ จนกระทั่งฝนตกลงมาให้เป็นแนวกันไฟที่ไม่สูญสลายไป เราช่วยกันปรับงบประมาณต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์และทุกคนได้ประโยชน์สูงสุด ได้น่าจะเป็นผลดี สิ่งที่ต้องการเห็นคือความโปรงใส่เอา TOR มานั่งกางแล้วคุยกันทุกส่วนว่าจะเอาอย่างไร เพราะสุดท้ายผู้รับเหมาก็ต้องจ้างชาวบ้านทำ
รับฟังย้อนหลังได้ที่