วันที่ 11 มกราคม 2566 เวลา 09.30 – 12.00 น. คณะกรรมการศูนย์บัญชาการและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้ทำการร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก ครั้งที่ 1 โดยจะมีการจัดการประชุมทุกวันพุธในช่วงสถานการณ์ปกติ ณ ห้องปฏิบัติการศูนย์บัญชาการและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่
เทียบค่าสถิติเปรียบเทียบย้อนหลัง
จากการประชุมได้มีการเปรียบเทียบสถิติการเกิดจุดความร้อน พื้นที่เผาไหม้ จำนวนวันที่ค่าคุณภาพอากาศเกินมาตรฐานและจำนวนผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงปี 2563 – 2566 เมื่อเปรียบเทียบ 3 ปี ย้อนหลังพบว่าค่าสถิตินั้นลดลงตามลำดับ ในส่วนของปี 66 นั้นยังคงต้องรอดูสถานการณ์ในภายภาคหน้าต่อไป
ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) GISTDA เมื่อเปรียบเทียบในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 11 มกราคม เกิดจุดความร้อนในจังหวัดเชียงใหม่แยกรายอำเภอในปี 2565 พบ 65 จุด และปี 2566 พบ 55 จุด โดยพื้นที่เผาไหม้ส่วนมากเกิดบริเวณป่าสวงนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์ ซึ่งจุดความร้อนที่พบมากที่สุดคืออำเภอแม่แจ่ม ในปี 2565 พบ 12 จุด และปี 2566 พบ 14 จุด
ประกาศมาตรการแก้ไขปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน และ PM 2.5
ด้วยในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษยนของปีถัดไป มักจะเกิดไฟป่า การจุดไฟเผาในที่โล่งและพื้นที่การเกษตร ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาหมอกควันปกคุลม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและเศรษฐกิจ โดยการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาทางจังหวัดเชียงใหม่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์บัญชาการและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 แบบบูรณาการ เป็นความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เพื่อหารือแนวทางในการแก้ปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ร่วมกำหนดการเผาในที่โล่งในเวลาเดียวกัน ประกาศห้ามเผา 15 กุมพาพันธ์ – 16 เมษายน 2566 เป็นเวลาทั้งสิ้น 75 วัน และประกาศเรื่องมาตรการป้องกันการจุดไฟเผาในที่โล่งและพื้นที่เกษตร รวมถึงกำหนดเขตควบคุมไฟป่าและมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมไฟป่าในเขตป่าไม้
- เรื่องมาตรการป้องกันการจุดไฟเผาในที่โล่งและพื้นที่เกษตร
ประชาชนต้องให้ความร่วมมือเฝ้าระวังควบคุมไม่ให้เกิดไฟป่า ไม่ทำการจุดไฟเผา โดยเฉพาะพื้นที่เกตรกรรม รัฐและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องคอยสอดส่องจัดชุดลาดตระเวนเฝ้าระวังและประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้ประชาชนปฏิบัติตามประกาศอย่างเคร่งครัด หากมีความจำเป็นต้องเผาวัชพืชในพื้นที่เกษตร ต้องทำการลงทะเบียนในระบบ Fire D เพื่อขออนุญาตในการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ในเขตปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ พร้อมทำแนวกันไฟเพื่อไม่ให้ไฟลุกลาม ซึ่งต้องอยู่ในข้อจำกัดที่ว่า ในกรณีที่สภาพอากาศเป็นอันตายต่อสุขภาพของประชาชน ทางจังหวัดจะมีคำสั่งงดการบริหารจัดการเชื้อเพลิงจนกว่าสถานการณ์จะเป็นปกติ
- เรื่องกำหนดเขตควบคุมไฟป่าและมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมไฟป่าในเขตป่าไม้
พื้นที่ป่าในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นเขตควบคุมไฟป่า ซึ่งภายในเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักาพันธ์สัตว์ป่า เขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตป่าไม้ ห้ามทำการเข้าไปและทำให้เกิดไฟทุกชนิด หรือการมีการจุดไฟเผาป่าให้ไฟลุกลามไปยังเขตดังกล่าวต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ในส่วนการบริหารจัดการเชื้อเพลิง สามารถดำเนินการขอลงทะเบียนในระบบ Fire D หรือ BurnCheck เพื่อแจ้งพิกัดการดำเนินงานและจัดทำแนวกันไฟในทุกพื้นที่ที่มีเขตติดกับป่า หากมีการเผาไหม้ โดยมีพื้นที่บริหารจัดการพิเศษซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีไฟไหม้ซ้ำซาก ในจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2566 ได้แก่
ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว
อำภอแม่ออน รอยต่อ อำเภอสันกำแพง
บริเวณเขื่อนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด
ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม
อำเภอสะเมิง
อำเภอสันทราย
ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง
อำเภอฮอด รอยต่อ อำเภอดอยเต่า
ความคาดหวังในปี 66
เป้าหมายในการร่วมประชุมหารือแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็กในปี 2566 นี้มีความคาดหวังที่จะลดจุดความร้อน ค่าคุณภาพอากาศที่เกินมาตรฐาน และพื้นที่เผาไหม้ให้ลดลง 20 % ของค่าเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง ดังนี้
จากการร่วมกันประชุมหารือเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็กในครั้งนี้ ทำให้มองเห็นถึงการจัดการที่ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม ในเรื่องของการเตรียมการและพิจารณาหารือในการจัดการชุดลาดตระเวนแต่ละอำเภอ การบริหารเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่าและระดับตำบล รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในมาตรการป้องกันการจุดไฟเผาในที่โล่งและพื้นที่เกษตร และเรื่องกำหนดเขตควบคุมไฟป่าและมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมไฟป่าในเขตป่าไม้ ถือว่าการประชุมในครั้งนี้ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นตามเป้าหมายในปี 2566