ชวนเตรียมรับ ปรับทิศ ผ่านเรื่องราว หนาวร้อน กับ 7 ประเด็นหลักที่สื่อสารโดยคนเหนือ 2565

ชวนเตรียมรับ ปรับทิศ ผ่านเรื่องราว หนาวร้อน กับ 7 ประเด็นหลักที่สื่อสารโดยคนเหนือ 2565

ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ชวนคิด ย้อนทวน ปีที่ผ่านมา 2565 กับประเด็นทางสังคมของภาคเหนือ ที่คนเหนือให้ความสนใจ และในปี 2566 เรื่องราวเหล่านั้นยังคงอยู่กับเรา ชวนประเมินแนวโน้มสถานการณ์ของปีหน้า ที่เราทุกคนกำลังเผชิญจากข้อมูลในหมุดเรื่องเล่า ที่ภาคพลเมืองสื่อสารทั้งผ่าน App C-site และเพจองศาเหนือ ซึ่งเป็นโจทย์ชวนคนเหนือได้คิดกันต่อ

ก่อนอื่นดูข้อมูลตลอดปี 2565 ที่มีการปักหมุดรายงานผ่าน App C-site เข้ามาถึง 6,276 หมุด เฉลี่ยแล้วกว่า 500 หมุดต่อเดือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข่าวสาร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น และไม่ได้อยู่ในหน้าข่าวกระแสหลัก แต่เป็นเรื่องที่อธิบายปรากฏการณ์ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงในระดับชุมชน และนี้คือ 5 เรื่องระดับชุมชนที่สะท้อนประเด็นใหญ่ของปี 2565 ซึ่งประชาชนนักสื่อสารร่วมรายงานเข้ามามากที่สุด

การสื่อสารสาธารณะในหลายรูปแบบ นับเป็นอีกเครื่องมือในการขับเคลื่อนวาระทางสังคมอย่างมีส่วนร่วมจากท้องถิ่น  ประเด็นภัยพิบัติและการจัดการรับมือโดยชุมชน ถูกรายงานเข้ามาถึง 313 หมุด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือพื้นที่ภาคเหนือ

ประเด็นแรกในพื้นที่ภาคเหนือที่ต้องจับตาตอนต่อไป คือ

ฝุ่นควัน : โจทย์เรื่อรังภาคเหนือ อากาศสะอาด และปากท้อง ที่คนเหนือพยายามแก้โจทย์ลากยาวมากว่า 16 ปี

ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 ตลอดทั้งปี 2565 ในพื้นที่ภาคเหนือทีมสื่อพลเมืองร่วมกับติดตาม และรายงานรายงานสถานการณ์ฝุ่นควัน อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงแรกที่จะต้องเตรียมการเข้าสู่ฤดูการฝุ่นควัน เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือแถลง ขอรัฐบาลยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm2.5 เพื่อให้ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศของไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และเป็นการปกป้องสุขภาพของประชาชนพร้อมกับยกระดับมาตรการในการป้องกันตนเองให้มากขึ้น อ่านต่อ https://thecitizen.plus/node/52009

  • อ่านต่อ ค่ามาตรฐานฝุ่น แค่ไหนที่ปลอดภัยกับสุขภาพคน : https://thecitizen.plus/node/51914
  • อ่านต่อ เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือแถลง ขอรัฐบาลยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm2.5 https://thecitizen.plus/node/52009

ความพยายาม แก้เปราะแรก คือเรื่อง ที่ดินและการทำกิน ส่วนหนึ่งของการเกิดไฟ คือ การไหม้ระหว่างที่ดินทำกินของชาวบ้าน ลามเข้าไปในเขตอุทยานหรือป่าสงวน

การเกิดไฟในพื้นที่เพราะปลูกหรือทำการเกษตรแบบพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างที่ดินทำกินของชาวบ้านและที่ดินของรัฐ  อะไรจะทำให้คนในพื้นที่เปลี่ยนได้ : คือความมั่นใจในข้อกฎหมายที่จะสามารถปลูกพืชยืนต้นสามารถมีโครงการพัฒนาเข้าไปถึง  การแก้โจทย์เปราะนี้ มีคำตอบและพื้นที่นำร่องผ่านการอธิบาย การจัดการคน จัดการไฟ แก้ปากท้อง เพื่ออากาศที่หายใจ ผ่านรูปธรรม ความพยายามจัดการแก้ปัญหาฝุ่นควันที่เกิดจากไฟ การเผา โดยคน เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ ซึ่งอยู่ใจกลางของปัญหาทั้งฝุ่นควันและใจกลางปัญหาการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ที่ทับซ้อนระหว่างที่อยู่อาศัยและที่ทำกินเดิมกับเขตอุทยานแห่งชาติ พื้นที่หนึ่ง ที่มีจุดความร้อนมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของภาคเหนือและของประเทศ อำเภอลี้ จังหวัดพูน ใช้หลายเครื่องมือทำหลายวิธีจัดการกับคนและไฟให้ปากท้องของชาวบ้านไปต่อ ทางพื้นที่นำร่องยกเว้นทางข้อกฎหมายชาวบ้านคืนพื้นที่ป่า สร้างแหล่งน้ำปลูกพืช เศรษฐกิจและไม้ยืนต้น 

ช่วงต้น ปี 2565 ศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน ม.พะเยา จับมือทีมสื่อพลเมืองภาคเหนือ ไทยพีบีเอส ร่วมกันหนุนเสริมให้การบุกเบิกทีม“สถานีฝุ่น”

https://www.facebook.com/watch/1516851828642525/1368647393676358

ให้ทำหน้าที่สื่อตอบสนองคนเหนือรับมือกับปัญหาฝุ่นในปี 2565 มีการอบรมพัฒนาสื่อสาธารณะชุมชน พัฒนารายการต้นแบบสื่อสารรายงานภัยพิบัติ และการทำผังรายการ ของ “สถานีฝุ่น” หนึ่งในความร่วมมือผ่านกลไกศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน โดยร่วมกันกับเครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ สร้างช่องทางสื่อสารออนไลน์ ปฏิบัติการรวมพลังชาวเหนือเพื่อลมหายใจ ประสานพลังจากเครือข่ายความร่วมมือที่กว้างขวางจากสภาลมหายใจภาคเหนือ 8 จังหวัด หอการค้าภาคเหนือ สภาองค์กรชุมชนและพันธมิตรภาควิชาการ ใช้ช่องทางสื่อออนไลน์ เคลื่อนเนื้อหาเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายรับมือและแก้ปัญหาฝุ่นควัน อบรมการสร้างสื่อ การเรียนรู้ จากเนื้อหา นอกจากหนุนทักษะ ศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน ม.พะเยายังให้อุปกรณ์เครื่องมือมาปฏิบัติงานด้วย

ชวนจับตา และคิดต่อกับความหวังใหม่ สู่ทางออกวังวนฝุ่น 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 จับมือบูรณาการจัดการฝุ่นควัน 66  

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ถกแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า พร้อมกำหนดช่วงเวลา 75 วันห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิด เริ่ม 15 ก.พ.66 รวมถึงแนวทางความร่วมมือในการบูรณาการจัดการปัญหาหมอกควันและไฟป่า โดยเฉพาะพื้นที่ปัญหาอย่างเช่นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างจังหวัด 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://thecitizen.plus/node/65820  

ภัยพิบัติที่รวมถึงประเด็นอุทกภัยของภาคเหนือ

ในช่วงเดือน สิงหาคม – ตุลาคม ช่วงนั้นเป็นหน้ามรสุมฝนตกและน้ำท่วมหลายจุด ภาคเหนือเกิดฝนตกหนัก ติดต่อกัน จนเกิดน้ำป่าไหลหลาก องศาเหนือ ได้รับรายงานข้อมูลจากนักข่าวพลเมืองในหลายพื้นที่ จังหวัดที่เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลาก และยังมีน้ำท่วมขังสูงบางพื้นที่ คือ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดน่าน และเชียงใหม่ https://thecitizen.plus/?p=60161&preview=true

ภาคพลเมืองก็รายงานสถานการณ์ และประสานส่งต่อความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจนถึงระยะฟื้นฟู

ในสภาวะเช่นนี้ ทำให้ชาวไร่ ชาวนาต้องปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น โดยมีการเคลื่อนย้ายไปทำงานนอกภาคการเกษตร เพื่อช่วยพยุงชีวิตให้ดำรงอยู่ต่อไป แต่สิ่งที่น่ากังวลต่อไปในอนาคต คือ ความผันผวนของราคาสินค้าทางการเกษตรและภูมิอากาศแปรปรวนที่รุนแรงขึ้น หากไม่มีการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมความรู้ใหม่ และเมื่อชาวนาเผชิญกับความยากลำบากทั้งสองด้าน สภาวะฝืดเคืองของเศรษฐกิจในครัวเรือนจึงตามมา และจะบีบให้ชาวนาสูญเสียที่ดินทำกิน อันเป็นหนึ่งในผลกระทบที่เป็นลูกโซ่ที่ยิ่งทำให้ชาวนาไม่มีโอกาสลืมตาอ้าปากได้

อ่านต่อได้ที่ https://thecitizen.plus/node/63073

มีการสรุปบทเรียนและการถอดบทเรียน ฟื้นฟู และหาทางป้องกันภัยพิบัติเป็นอีกประเด็นที่หลายพื้นที่ให้ความสนใจ และต่างหาทางรับมือร่วมกันอย่างจริงจัง เพราะนับวันยิ่งมีความถี่และความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

อ่านต่อได้ที่ https://thecitizen.plus/node/64356

ประเด็นที่สอง คือ เรื่องเศรษฐกิจปากท้อง

มีการปักหมุดรายงานราคาสินค้าแพง รายได้ลด การตกงานจากช่วงโควิด จนทำให้หลายคนกลับบ้านไปเป็นผู้ประกอบการ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์จากต้นทุนของท้องถิ่น บางส่วนก็มีหน่วยงานในพื้นที่ช่วยสนับสนุนอย่างสภาเกษตรกรที่พยายามพัฒนาไปสู่กระบบเกษตรที่ดี มีต้นทุนต่ำ เพื่อให้อยู่รอดได้  มิติคนรุ่นใหม่สร้างเศรษฐกิจฐานราก  สถานการณ์ภาคเหนือคนรุ่นใหม่ในภาคเหนือหลายพื้นที่พยายามตั้งตัว ประกอบการ ค้นหาต้นทุนในพื้นที่ของตน หลายด้านมีการซัพพอตร์ ด้านงานวิชาการ การเข้าไปหนุนเสริม  

  • ดูต่อคลิปองศาเหนือ
  • https://www.facebook.com/watch/1516851828642525/1430588660687643

    ประเด็นที่สาม เหมืองแร่และการจับตาแผนแม่บทการพัฒนา

    มีการปักหมุดมาจากทั่วทุกภูมิภาคถึงความเคลื่อนไหวมา 54 หมุด เป็นความกังวลและห่วงใยในทรัพยากร สิ่งแวดล้อม สุขภาพและวิถีของชุมชนที่มีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบ เช่น กรณีเหมืองถ่านหินอม  เสียงสะท้อนที่ดังจากพื้นที่ คือ  ต้องการให้ชุมชนที่มีส่วนได้-ส่วนเสียเข้าไปมีส่วนนร่วมในการตัดสินใจด้วย

  • ดูต่อคลิปองศาเหนือ
  • https://web.facebook.com/thaithenorth/videos/292702149696834

    https://thecitizen.plus/node/56682
    https://thecitizen.plus/node/55110
    https://thecitizen.plus/node/54959
    https://thecitizen.plus/node/54771
    https://thecitizen.plus/node/56682

    ประเด็นสี่ การศึกษาและการสร้างพื้นที่เรียนรู้ 

    สถานการณ์การศึกษาของไทย หลังสถานการณ์โควิด-19 ที่ทิ้งร่องรอยสารพัดปัญหาให้เด็กไทย โดยเฉพาะสถานการณ์ของเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษา เมื่อมีเด็กหลุดออกจากระบบ หรือเข้าไม่ถึงการศึกษาจำนวนหนึ่ง ท้องถิ่นจึงพยายามร่วมกันออกแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนไป หลายชุมชนสร้างห้องเรียนวิชาชีพ และเราเห็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนเกิดขึ้นทุกภูมิภาค เพื่อเขยื้อนการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย สถานการณ์การศึกษาของไทย ทำอย่างไรที่ผู้ใหญ่อย่างเราจะสร้างระบบที่คอยรองรับน้อง ๆ เหล่านี้ไม่ให้หลุดจากการเรียนรู้

    เช่น การออกแบบห้องเรียนร่วมกับชุมชนระหว่างครู นักเรียน และกลุ่มสตรีบ้านเปียงหลวงโดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรและหน่วยงานทางการศึกษาต่าง ๆ ขับเคลื่อนตามโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรม ที่สอนผสมผสานหลักสูตรฐานสมรรถนะ

    ปัจจุบันมีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งสิ้น จำนวน 29,583 โรงเรียน เป็น โรงเรียนขนาดเล็กคือโรงเรียนที่ มีนักเรียน 0-120 คน ซึ่งข้อมูลของปีการศึกษา 2565 มีอยู่ 14,958 แห่ง หรือ คิดเป็นมากกว่า ร้อยละ 50. 50.563 (เกินกว่าครึ่งหนึ่ง) อย่างที่โรงเรียนบ้านท่าตาฝั่ง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ที่สอนถึงชั้นประถมศึกษาค่ะ โรงเรียนอยู่ห่างไกลเลยค่ะ ถ้าดูจากพิกัด จุดนี้กั้นด้วยแม่น้ำสาละวิน ตรงนี้คือโรงเรียน ติดกับชายแดนไทย – เมียนมา ด้วย ระยะทางและการเดินทางเข้า ออกยากลำบาก บวกกับความยากจนทำให้เด็ก ๆ ที่เรียนจบชั้นป.6

    ประมาณ 17-20 เปอร์เซ็นต์ ที่ไม่สามารถเรียนจบระดับ ม.3 ได้ เพราะต้องไปเรียนข้างนอก ทางโรงเรียนและชุมชนจึงได้กันทำเรื่องขออนุมัติเปิดการเรียนการสอนให้ครอบคลุมถึงระดับชั้น ม.3 โดยเริ่มต้นจัดทำเอกสารและดำเนินการเมื่อปี 2563 และเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาทางโรงเรียนได้ผ่านขั้นตอนอนุมัติเปิดสอนชั้น ม.3 และกำลังจะเปิดในภาคการศึกษาต่อไป

  • ดูต่อคลิปองศาเหนือ
  • https://www.facebook.com/citizenthaipbs/videos/1162772804360562

    ประเด็นต่อที่ห้า การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

    นอกจากมีการรายงานจับตาการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ช่วงนั้นคนต่างจังหวัดก็ปักหมุดส่งเสียงมาว่า  อยากให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ เช่นกัน ในประเด็นนี้ยังมีการผลักดันนโยบายสาธารณะในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ เช่น การแก้ปัญหาเรื่องของฝุ่นควัน ไฟป่า หรือการเลือกตั้งที่จะมาถึงในปี 66

  • ดูต่อคลิปองศาเหนือ
  • https://web.facebook.com/thaithenorth/videos/539614494314336

    https://web.facebook.com/thaithenorth/videos/1213629972706946

    ประเด็นที่หก จับตาโครงการพัฒนาโดยรัฐ เมกะโปรเจกต์ขนาดใหญ่ นโยบายของรัฐ ที่เปลี่ยนชีวิต กระทบคนเหนืออย่างไรบ้าง ? 

    ผลกระทบในที่นี้หมายถึงผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ปรากฏการณ์ และสถานการณ์ในพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งโครงการเมกะโปรเจกต์ ที่มีบทบาทสำคัญที่เปลี่ยนทิศทางของภาคเหนือ ไม่พียงแต่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ผู้คน หลายโครงการในภาคเหนือถูกจับตาเพราะ หากโครงการนั้นส่งผลเสียให้กับสังคมมากกว่าผลดี โดยเฉพาะโครงการที่ขาดกระบวนการมีส่วนร่วมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่ถือเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะทำให้โครงการสอดคล้องต่อความต้องการของประชาชน เช่น รู้รับเข้าใจ ระบบราง รถไฟรางคู่ 2 โครงการ – 1 รถไฟความเร็วสูง เชื่อมรถไฟจีนในลาว ตามสถานการณ์ต่อเรื่องโลจิสติกในอาเซียน และแผนการเชื่อมต่อการค้าของจีนในอาเซียน ปัญหาและอปุสรรค สถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ด้านโอกาสอุปสรรคของคนเหนือ การค้า รวมถึง ที่ด้านความมั่นคงในที่อยู่อาศัย นอกจากการพัฒนาเส้นทางรถไฟแล้วยังจะมีการก่อสร้างสถานีรถไฟทั้งเล็กใหญ่ รวม 444 สถานี กระทบต่อการไล่รื้อ ชุมชนผู้มีรายได้น้อย บอกคนเหนือให้รู้สถานการณ์เห็นทางไปทางออก โอกาส อุปสรรค อิทธิลพลจีน ที่เคลื่อนผ่านรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูงจีนในลาว ส่งผลถึงภาคเหนือของไทยในหลายมิติ

    อ่านต่อได้ที่ https://thecitizen.plus/node/64896

  • ดูต่อคลิปองศาเหนือ
  • https://web.facebook.com/watch/1516851828642525/1131478947500901

    ประเด็นที่เจ็ด ผลกระทบจากนโยบายของรัฐ…

    แน่นอนว่าพื้นที่ภาคเหนือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีทรัพยากรโดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้อยู่มากมาย ภายใต้ทรัพยากรมากมาย ยังคงมีปัญหาที่ซ่อนอยู่โดยเฉพาะเรื่องคนอยู่กับป่า การรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยใช้ทุกช่องทางการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์รายการในหน้าจอหลักของไทยพีบีเอส เพื่อที่จะสะท้อนแง่มุมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้น

    เช่น ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม การเพิ่มพื้นที่ป่า พื้นที่สีเขียวถูกพูดถึงในเวทีระดับนานาชาติ และในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดอย่างในเวทีเอเพค และ COP27 ก็พูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจสีเขียว ที่จะเพิ่มพื้นที่ป่า ทำคาร์บอนเครดิต แต่ในรายละเอียด ยังมีการตั้งคำถามว่านโยบานที่รัฐประกาศออกมา จะแก้ปัญหาประชาชนในเขตป่าอย่างไร วันนี้เกือบ 4,000 ชุมชนในเขตป่า  ในพื้นที่ราว 4.7- ล้านไร่ และคนกว่า 1.8 ล้านคนในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรายได้น้อย พร้อมทั้งมีนโยบายต่าง ๆ ออกมามากมายเพื่อรักษาพื้นที่ไว้ ส่วนหนึ่งก็ทำให้ชุมชนถูกกีดกันออกจากแหล่งทรัพยากรใกล้ตัว โดยเฉพาะผืนป่าที่เป็นที่อยู่ เป็นแหล่งอาหาร แหล่งรายได้ที่ชุมชนมีการจัดการดูแลภายใต้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่ง “ที่ผ่านมาสิทธิชุมชนและคนในการอยู่ร่วมกับป่ายังทำได้ไม่เต็มร้อย

    หยุดยาวนี้ ชวนร่วมปักหมุดรายงานการเดินทางและข่าวสารมากับ C-site ปีหน้ามาขยายเสียงจากท้องถิ่นกันต่อ องศาเหนือสวัสดีปีใหม่เจ้า 

    author

    ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

    เข้าสู่ระบบ