ความหวังใหม่ สู่ทางออกวังวนฝุ่น 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 จับมือบูรณาการจัดการฝุ่นควัน 66

ความหวังใหม่ สู่ทางออกวังวนฝุ่น 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 จับมือบูรณาการจัดการฝุ่นควัน 66

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ถกแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า พร้อมกำหนดช่วงเวลา 75 วันห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิด เริ่ม 15 ก.พ.66 ย่ำทั้งหมดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชน 

25 พฤศจิกายน 2566 ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ หัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร พร้อมด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายชัชวาล ฉายะบุตร  ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน นายเชษฐา โมสิกรัตน์ และ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นาย อนุพงษ์ วาวงศ์มูล ร่วมประชุมหารือแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เพื่อบูรณาการการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ร่วมกัน ที่ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่

สืบเนื่องจาก สถานการณ์ปัญหาหมอกควันและไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือที่เรื้อรังยาวนานติดต่อกันกว่า 10 ปี ปีนี้นับว่าเป็นสัญญาณที่ดี ที่กลุ่มจังหวัดได้คุยแนวทางการจัดการปัญหาร่วม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ว่า ระบุบว่า จากสภาพภูมิอากาศ และภูมิประเทศ ภูมิสังคมของพื้นที่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง ที่คล้ายคลึงกันและเป็นพื้นที่ผืนเดียวกันขนาดใหญ่จึงเป็นที่มาของความร่วมมือนี่ที่จะแก้ปัญหานี่ร่วมกัน 

โดยเนื้อหาสำคัญ คือประกาศ 75 วันห้ามเผา เริ่มพร้อมกัน 15 กุมภาพันธ์ – 16 เมษายน 2566 รวมถึงแนวทางความร่วมมือในการบูรณาการจัดการปัญหาหมอกควันและไฟป่า โดยเฉพาะพื้นที่ปัญหาอย่างเช่นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างจังหวัด 

โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 โดย ผู้ว่าราชการจังหวัด 4 จังหวัด (เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, แม่ฮ่องสอน) การบูรณาการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เจตนารมณ์ของความร่วมมือ 

1. ร่วมกำหนดช่วงเวลาห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อ ประชาชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

2. ร่วมกำหนดแนวทางการบูรณาการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ร่วมกันในเขตพื้นที่ป่ารอยต่อ 4 จังหวัด โดยกำหนดให้มีการจัดประชุมหารือแนวทางการทำงานร่วมกัน มีการจัดกิจกรรมร่วมกัน ได้แก่ การลาดตระเวน การทำแนวกันไฟ และหากเกิดไฟป่าในเขตพื้นที่รอยต่อต้องมีการบูรณาการปฏิบัติงานดับไฟร่วมกัน ซึ่งได้กำหนดรายชื่ออำเภอที่มีพื้นที่ป่ารอยต่อระหว่าง 4 จังหวัดไว้แล้ว 

3. มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ร่วมกันทั้ง 4 จังหวัด เช่น การใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือ ใช้ทางการเกษตร เศษกิ่งไม้ใบไม้ และการใช้แอปพลิเคชัน เพื่อเชื่อมโยงกลไกความร่วมมือกับทุกภาคส่วน 

4. มีการถ่ายทอดข้อมูลสถิติต่าง ๆ สร้างการรับรู้สถานการณ์จุดความร้อน และค่า PM2.5 ร่วมกัน เพื่อสามารถเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

5. มีการเข้มงวดแหล่งกำเนิด PM2.5 แหล่งอื่น ๆ เช่น รถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม และเขตก่อสร้าง เพื่อควบคุมไม่ให้ ค่าคุณภาพอากาศ (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินค่ามาตรฐาน

นอกจากนี้ ทั้ง 4 จังหวัด ยังจะได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ร่วมกัน เพื่อเชื่อมโยงกลไกความร่วมมือกับทุกภาคส่วน พร้อมถ่ายทอดข้อมูลสถิติต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้สถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) และค่าคุณภาพอากาศ (PM2.5) ร่วมกัน เพื่อสามารถเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งยังมีการเข้มงวดแหล่งกำเนิด PM2.5 แหล่งอื่น ๆ เช่น รถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม และเขตก่อสร้าง เพื่อควบคุมไม่ให้ค่าคุณภาพอากาศ (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินค่ามาตรฐาน

ขณะที่ภาคประชาชนเสนอเพิ่มเติม โดยคุณ วิทยา ครองทรัพย์ ผู้ประสานงานสภาลมหายใจภาคเหนือ กล่าวว่า เห็นไปในทิศทางที่เราอยากเห็นมานาน เพิ่มเติมความเห็นในข้อที่ 1 เรื่องการห้ามเผา ในข้อความกล่าวว่า จะเผาได้ในส่วนของพื้นที่บริหารของหน่วยงานรัฐและพื้นที่ที่มีการลงทะเบียนจังหวัดเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดช่องให้ภาคประชาชนได้มีโอกาสในการบริหารจัดการพื้นที่ของตนเองด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี และอยากให้พิจารณาเรื่องของการบริหารเชื้อเพลิง และในส่วนของข้อ 5 แหล่งเกิดฝุ่นในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ จะมีพื้นที่การเผาซ้ำซาก จะมีในพื้นที่ของตนเอง ขอความกรุณาเพิ่มเติมเนื้อหาจุดนี้เข้าไป

ลิงก์เนื้อหาวาระการประชุม : https://drive.google.com/file/d/1GzpY4ht6s5rL0tNjYosivAsyRNP-YPYk/view

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ