ล้อมวงคุย ให้ทันควัน

ล้อมวงคุย ให้ทันควัน

ปัญหาหมอกควันในภาคเหนือที่เกิดขึ้นในทุกๆปี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การท่องเที่ยว เศรษฐกิจและสังคมซึ่งมีสาเหตุการเกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น การขนส่งในภาคเมืองการผลิตในระบบอุตสาหกรรม ไฟป่า การขยายพื้นที่เกษตรเชิงเดี่ยว ไปจนถึงหมอกควันข้ามพรมแดน เป็นต้น ซึ่งปัญหาหมอกควันเป็นเรื่องราวที่สลับซับซ้อนต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนในการช่วยกันแก้ไข ภาคส่วนต่างๆ ทั้งชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน รัฐ เอกชน และสื่อมวลชนได้ร่วมวงคุย ในประเด็นที่ชื่อว่า ล้อมวงคุยให้ทันควัน เปิดมุมมองใหม่ สถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ เพื่อร่วมกันหาทางออก เมื่อ 30 มกราคม 2559 ณ ห้องประชุมอุทัยจันทรผกา ส่วนจัดการต้นน้ำ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่16

20161102124244.jpg

อ.นิอร  สิริมงคลเลิศกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตเชียงราย  กล่าวว่าจากการเริ่มศึกษาจากภาพถ่ายดาวเทียม พบว่ามี Hotspot(จุดความร้อน) ขึ้นในไทย พม่า ลาว และศึกษาทางดาวเทียมของนาซ่าพบว่า รูปแบบการเดิมีลักษณะคล้ายๆ พอมาดูปริมาณการเกิดพบว่า ร้อยละ 50 อยู่ที่เพื่อนบ้าน ซึ่งในปีพ.ศ. 2550 มีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ เริ่มเผาเดือนกุมภาพันธ์ และก้าวกระโดดในเดือนมีนาคม เมษายน จากนั้นจึงลดลงเรื่อยๆ จะเกิด Hot Spot สูงสุดในเดือนมีนาคม สาเหตุที่ เพราะ ในเดือนมีนาคม ลักษณะสภาพอากาศ ความกดอากาศสูงจากประเทศจีน  ลมที่พัดผ่านภาคเหนือ เป็นลมเบา จึงทำให้เกิดการกระจายในพื้นที่ ทำให้เกิดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM10)สูงเกินมาตรฐาน

อ.นิอร ยังกล่าวอีกว่าจากการศึกษาในพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ไม่พบการเผาในเดือนมีนาคม แต่กลับพบว่าค่าสูง PM10 เนื่องจากการประมวลผลลม ที่ลมพัดเข้าสู่เครื่องวัดทันที พัดผ่านพื้นที่มีการเผาจากเพื่อนบ้าน และในปีพ.ศ. 2553 พบว่าการเกิด Hotspot ยังเหมือนเดิม ส่วนเชียงรายปีล่าสุดแม้ว่ามีการรณรงค์ให้ Hotspot ลดลงแต่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือค่า PM10 ยังสูงเพิ่มมากขึ้น จึงควรนำไปสู่การสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อบ้านที่จะช่วยยุติปัญหาหมอกควัน หากเป็นหมอกควันในประเทศอย่างกรณีเชียงรายเป็นการเผาเพื่อเตรียมปลูกพืชระยะสั้น น่านปลูกกะหล่ำ การเผามีมานานแล้ว แต่ปีพ.ศ. 2550 เป็นต้นมามีรูปแบบที่มีลักษณะผิดปกติ คือ ค่า PM10 พุงขึ้นเกิน 120  และจะลดลงหลังสงกรานต์เมื่อฝนตก จากการศึกษาในพื้นที่Hot Spot สูงสุด อย่างที่ดอยวาวี พบว่าถ้าสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้เกษตรกรในพื้นที่สูงไม่ได้ ปัญหานี้จะไม่ถูกแก้ไขอย่างยั่งยืน

นายเดโช ไชยทัพ  ผู้ประสานงาน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(ภาคเหนือ) กล่าวว่าจากประสบการณ์ของชาวบ้านและภาครัฐที่ได้ทำงานร่วมกัน เราพบว่า แหล่งกำเนิด หมอกควันมาจากหลายแหล่ง เช่น  การขนส่ง การก่อสร้าง การเผาในที่โล่ง การเผาในที่ป่า ทุกแหล่งมีผลทำให้ค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน ในส่วนของการเผาในพื้นที่ป่าและเกษตร ปีพ.ศ.2534-2535 ชุมชนเริ่มมาดูแลเรื่องไฟในพื้นที่ป่า และขยายตัวมาเรื่อยๆ หมู่บ้านที่ต้องการขยายพื้นที่ได้ป่าสร้างกลไก กลุ่มคนมาจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แม้จะไม่ค่อยเป็นไปรวดเร็วนัก แต่ก็เริ่มมีการเชื่อมโยงกับท้องถิ่นมากขึ้น ทั้งส่วนของกลไกของสถานีควบคุมไฟป่า พยายามเชื่อมโยงกับชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยป้องกันของป่าไม้ ที่จะทำให้เกิดความร่วมมือขององค์กรเหล่านี้ในทุกพื้นที่ และมีรูปธรรมที่ชัดเจน นำไปสู่กลไกการสานพลังที่มีคุณภาพ

ทั้งนี้นายเดโช ยังกล่าวอีกว่าในปัจจุบันหลายพื้นที่มีองค์ความรู้ที่ใช้ในการบริหารไฟป่า เช่น การชิงเผา ที่เริ่มที่ตำบลทาเหนือ อำเภอแม่ออน  ขยายไปที่อำเภอจอมทองซึ่งร่วมมือกับหน่วยควบคุมไฟป่า ไปจนถึงงานของการจัดการเชื้อเพลิงมีความสำคัญในการจัดการปัญหา การลดเชื้อเพลิงในป่าเต็งรังช่วงเดือนมกราคม การบริหารจัดการควบคุมการเผาโดยแบ่งเป็นช่วงเวลา เชียงใหม่มีนายอำเภอและผู้ใหญ่บ้านทำแผนการทำงานร่วมกัน ส่วนป่าดงดิบ ซึ่งเป็นป่าที่ต้องป้องกันไม่ให้เกิดไฟเลย จะต้องทำแนวกันไฟ ช่วงต้นกุมพาพันธ์และมีนาคม

นายเดโช กล่าวเพิ่มเติมว่าแบ่งระยะการเผชิญเหตุ ช่วงวันอันตราย ระดมความมร่วมมือของภาคส่วนต่างๆในการดับไฟ ส่วนระยะที่สอง คือระยะกลางเป็นการป้องกันปัญหาหมอกควันที่จะเกิดขึ้น และระยะยาวที่จะมองถึงความยั่งยืน เช่นว่าจะจัดการให้มีระบบการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระบบเกษตรที่ยั่งยืนได้อย่างไร จะมีการจัดระบบงบประมาณที่จะสนับสนุนชุมชนเชิงระบบ อำนาจและสิทธิของชุมชนในการบริหารจัดการ นโยบายที่สนับสนุนความเข้มแข็งของภาครัฐ เอกชนและชุมชน

นายสมพล อนุรักษ์นวภูมิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การผลิตข้าวโพด การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ขายพื้นที่ สาเหตุจากเมือง32

ผศ.ดร.ปุ่น เที่ยยงบูรณธรรม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กว่าวว่า  ภาคีมหาวิทยาลัยได้พยายามหาความร่วมมือที่จะแก้ปัญหานี้ ข้อมูลเชิงค้นพบ คือ โครงสร้างห่วงโซ่การผลิตของข้าวโพด สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ห่วงโซ่ของข้าวโพดหากไม่มีผลเสียจะสร้างพลานุภาพในการแก้ไขความยากจน และพบว่าการใช้ที่ดิน และทรัพยากรสาธารณะ มีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูง การเติบโตของจำนวนประชากรบนพื้นที่สูง หรือ การเข้ามาของห่วงโว่การผลิตสมัยใหม่ความต้องการค่อนข้างต่อเนื่องคงที่ ใช้น้ำน้อย ยิ่งถนนเข้าไปก็ขนส่งมาได้ง่าย สามารถเก็บไว้ได้นาน เป็นทางออกที่ดีในการยกระดับความมั่งคั่งส่งผลให้การปลูกข้าวโพขยายตัวทั้งสิ้น และรวมถึงความน่าจะเป็นของเหตุของควัน มาจากพม่าและลาวด้วย 

ผศ.ดร.ปุ่น  กล่าวว่าผลกระทบหลักเกิดกับการท่องเที่ยวเป็นหลักพันล้าน แนวทางออกของปัญหา คือ ปัญหาที่เรียกว่าถ้าใครไม่ทำข้าวโพดถือว่าตกขบวน ทางแก้ต้องออกการบังคับใช้พื้นที่ป่า ไม่ใช่พื้นที่ที่ใครไปใช้ได้อย่างเสรี แต่ต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไป จะบังคับใช้อย่างไร ผ่อนผันอย่างไร ส่วนการเปลี่ยนวิถีทำได้ยากมากหากจะเปลี่ยนข้าวโพดไปทำผัก ในการเปลี่ยนถ่ายน่าจะมีการชดเชย มีรัฐเข้าไปช่วยเหลือ บนเงื่อนไขของหน้าที่ที่จะเข้าไป การอยู่ร่วมกันของคนกับป่าหน้าที่จะต้องชัดเจน  อาจไปทับซ้อนกับที่ทำกิน หน้าที่พึงประสงค์ที่ควรจะมี แต่ละพื้นที่ควรเอาข้อมูลมาเจรจาร่วมกับ ถ้ายังเป็นข้าวโพดแบบเติมจะทำอย่างไรให้ข้าวโพดใช้ไฟลดลง แล้วหากถ้าไฟลดลง สิ่งที่เพิ่มขึ้น คือ ยาฆ่าหญ้า ทั้งนี้ โครงสร้างของระบบข้าวโพดจะมีตัวกลางมาต่อรองความเสี่ยง มองข้าวโพดเป็นระบบการเงิน ผู้ได้รับประโยชน์ ต้องการชุดโครงการที่ใหญ่และเข้มแข็งพอ ที่เกดจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน NGOs รัฐ และเอกชน  มีกลไกที่เชื่อมโยงทางการตลาด มีรัฐมาช่วย มีเอกชนมาช่วย มีกองทุนต้นน้ำ เช่น ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำมแม่แจ่มมีความสำคัญมากต่อการให้น้ำแก่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

คุณพรชัย  จิตนวเสถียร นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่   กล่าวว่าการดำเนินการแก้ปัญหาจะมองเฉพาะการแก้ปัญหาเฉพาะช่วง ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับงบประมาณโดยตรง ไปแก้ที่ผลที่จะเกิดขึ้น คือ ไฟ เช่น การชิงเผา การทำแนวกันไฟ ถ้ายังเดินในวิธีนี้ก็ยังเป็นแบบนี้ไปอีกก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้ ต้องหาสาเหตุว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร ในแต่ละฝ่ายก็จะช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุด เช่น ตัวเลขจากสมาคมผู้ส่งออก ตัวเลขการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวขยายตัวขึ้นในทุกๆปี นับไปอีก จะต้องมีกระบวนการใหม่ๆในการจัดการเรื่องนี้ เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องวิถีชีวิตของพื้นที่  ต้องร่วมมือกันเพื่อบริหารจัดการอย่างยั่งยืน รวมถึงมีความห่วงใยต่อผู้ได้รับผลกระทบ ผู้สูงอายุ เด็ก ที่เกิดปัญหาเรื่องสุขภาพควรให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้ด้วย เพราะมักจะถูกละเลย

นายทศพล เผื่อนอุดม นายอำเภอแม่แจ่ม กล่าวว่าแม่แจ่มมีพื้นที่1.7ล้านไร่ เป็นพื้นที่เกิด Hotspot สูงสุดของประเทศ ทางพื้นที่ห่วงโซ่ของปัญหาว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง พบว่า ภาคส่วนต่างๆแยกกันทำงานจึงไม่เกิดพลัง แม่แจ่มมีปัญหาเรื่องของที่ดินซึ่งส่วนใหญ่ไม่มี จะต้องจัดการเรื่องการแบ่งสรรการใช้ที่ดินให้ชัดเจน ว่าตรงไหนจะเป็นที่อนุรักษ์ ที่ทำเกษตร ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของรัฐบาล

นายทศพล  ยังกล่าวอีกว่าอำเภอแม่แจ่มมีการจัดการร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ คือ ตั้งคณะกรรมการบูรณาการ นำภาคส่วนต่างๆมาคุยกัน เพื่อร่วมให้ความเห็น สนับสนุนทุนและสร้างเป้าหมายร่วม เช่น การไถกลบในที่ราบ ชิงเผา โดยต้องแจ้งพื้นที่ ผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอและผู้ว่า ทำแนวกันไฟ และจุดจากข้างบนลงข้างล่าง และต้องควบคุมพื้นที่ให้อยู่เท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ไกลกันมาก โดยมีผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นนหัวใจ เป็นคนจัดการ แต่จะทำหน้าที่สะท้อนที่เกิดขึ้น ตนมองว่าปัญหา ที่เกิด คือ พอใกล้ๆวันจะมาคุยกัน จะต้องมีการทำงานล่วงหน้า และทำงานต่อเนื่อง หน่วยงานภาครัฐงบประมาณจำกัด องค์ความรู้การจัดการเรื่องที่ดิน ซึ่งบริบทของพื้นที่ต่างๆไม่เหมือนกัน แต่ต้องมาจัดลำดับควาสำคัญของแต่ละพื้นที่ อย่างของแม่แจ่มเป็น ข้าวโพด

.ไพสิฐ พาณิชย์กุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวว่าเราควรมีกฎหมายด้านสุขภาพ หรือ การให้ภารรัฐมาช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน สิ่งสำคัญ คือ ความยุติธรรมในสิ่งแวดล้อม ทุกคนควรมีสิทธิที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี หน่วยงานต่างๆต้องคุณธรรมทางสิ่งแวดล้อมกับระบบการผลิตที่ดี บรรษัท ราคาทางนิเวศที่สูญเสียไปเท่าไหร่ ผู้ได้รัลผลประโยชน์สุดท้าย ทั้งนี้มองว่ากลไกภาครัฐ จะต้องกำหนดเป็นยุทธศาตร์  ต้องลดสาเหตุใหญ่ก่อน คือ ข้าวโพดก่อน จุดเปลี่ยนสำคัญอยู่ในระดับพื้นที่ และระดับประเทศอย่างหมอกควันที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านส่วนหนึ่งพบว่ามาจากนบายที่รัฐไทยไปสนับสนุน เกษตรพันธสัญา ด้านการแก้ปัญหาควรแก้ที่สาเหตุจากความไม่มั่นคงของเกษตรกรในพื้นที่ทำให้พืชระยะสั้นเกิดขึ้น สร้างกลไกระดับพื้นที่ ข้อบัญญัติท้องถิ่น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในฝ่ายปกครอง ดังนั้นควรปรับเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวโดยการการให้สิทธิกับชุมชนอย่างแท้จริง

20161102124359.jpg

 ไตรภพ แซ่ย่าง เครือข่ายม้งดอยปุย กล่าวว่าคนเชียงใหม่บอกว่ามองไม่เห็นดอยสุเทพมีหมอกควันแล้ว ปีนี้สภาพอากาศแปรปรวน เราไม่สามารถกำหนดระบบธรรมชาติ ถ้าเราไม่ตามธรรรมชาติ คนม้งดอยปุยทำแนวกันไฟกันตั้งแต่ปี 2527 ร่วมกันดูแลป่า แต่จากการเติบโตของเมืองเชียงใหม่ ทรัพยากรถูกใช้ไปมากจึงอยากให้วิจัยเพื่อให้คนสามารถใช้และดูแลทรัพยากรร่วมกันดูแลทรัพยากรได้

พ่อหลวงไตรวิทย์ แซ่ย่าง ผู้นำชุมชนบ้านขุนกลาง จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่าอยากให้กระทรวงเกษตรเข้ามาส่งเสริมชาวบ้านให้มีอาชีพที่ดี พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไข คือ ทุกคนมีส่วนร่วม นักวิชาการต้องมีส่วนร่วมในการทำข้อเสนอทางนโยบาย กฎหมาย สิทธิ และต้องแก้กฎหมาย หากมีกฎหมายที่เหมาะสม

ไพรัช โตวิวัฒน์ ที่ปรึกษาสภาหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่าภาคเอกชนมีการคุยกันมาเป็นปี มีคณะทำงานเอกชนมรการสร้างความร่วมมือของเครือข่ายมหาวิทยาลัย 9 แห่ง และมีกลุ่มที่รับผิดชอบเรื่องหมอกควันของเอกชน และกำลังจะมีการประชุมหมอกควันอาเซียน รวมถึงการณรงค์เรื่องป่าปฎิบัติการเชียงใหม่ มีการตั้งกองทุน แต่สิ่งที่ยังขาดคือ การสร้างยุทธศาตร์เพื่อนำไปสู่ทางนโยบาย มีความขัดแย้งอยู่ ยังไม่มีการตัดสินว่าสิ่งใดเป็นเรื่องที่ยุติธรรมที่ต้องดำเนินการก่อน ทั้งนี้มองว่าจุดแข็งของเอกชน คือ เรื่องตลาด ตอนนี้โครงการที่จะทำ คือ เลือกพื้นที่โครงการเพื่อทำนำร่อง 1700 ไร่  เพื่อจัดการเศรษฐกิจและชุมชนอย่างยั่งยืน

.ไพสิฐ พาณิชย์กุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวสรุปถึงภาพรวมจากสถานการณ์หมอกควัน ภายในระยะเวลา 8-9 ปีมานี้ มีการปฎิบัติอยู่บนความรู้ตั้งต้น ที่เน้นการแก้ไขปัญหาที่ทันควัน ซึ่ยังอยู่แบบต่างฝ่ายต่างทำจึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที การมารวมมือกันจะเป็นการพลิกจากากรตั้งรับไปสู่แก้ปัญหาระยะยาว ซึ่งหากมองโครงสร่างเศรษฐกิจ นโยบาย หมอกควันเป็นเพียงแค่ผิวของปัญหาเท่านั้น สิ่งที่เป็นปัญหาตอนนี้ คือ ขาดแกนนำในพื้นที่ในการประสานความร่วมมือ จะต้องผลักดันให้เกิดมติครม.เพื่อให้ทราบได้ว่าใครจะเป็นคนตัดสินใจในการแก้ปัญหา ส่วนปัญหาการจัดการงบประมาณ ทัศนคติ และความรู้ ไม่ได้ทำให้เกิดการถอดใจ แต่พื้นที่ยังคงมีการดำเนินการ

.ไพสิฐ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า เวทีนี้เป็นเหมือนเติมใจเติมพลังกัน ได้เห็นผู้คนที่มาร่วมที่เป็นตัวจริงเสียงจริง ทำให้เห็นคำตอบเบื้องต้น คือ คำตอบอยู่ที่พื้นที่ อยู่ที่หมู่บ้าน ซึ่งมีการเคลื่อนงานผ่านฐานข้อมูล ความรู้ โดยมีวิธีการที่นอกเหนือจากอำนาจทางปกครอง ยังมีการใช้กลไกทางสังคม กลไกแบบไม่เป็นทางการ ทำไปเพื่อมุ่งเป้าลด Hot Spot  แต่ต้องมองระยะยาว จะทำอย่างไรให้ไม่ใช่แก้ปัญหาระยะสั้น แก้ปัญหาเรื่องการทำกิน  คุณภาพชีวิตของคน สังคม  หัวใจของการกระจายอำนาจไม่ได้อยู่ที่การได้อำนาจมา แต่หัวใจอยู่ที่การทำอยอ่างไรให้ชุมชนมีอำนาจในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน นำไปสู่การจัดการสร้างการขับเคลื่อนภาคสังคม ที่เกิดจากทุกภาคส่วนขยายผลออกไป ทุกคนที่อยู่ในอาเซียนมีสิทธิที่จะอยู่ในคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี

จากวงพูดคุยมีข้อเสนอที่เกิดขึ้นในช่วงบ่าย คือ 1.จะต้องมีการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ครบวงจรและรอบด้าน 2.ต้องสร้างมาตรการหยุดการบุกรุกป่า 3. มีการพัฒนาข้อเสนอทางกฎหมายภายใต้การเคารพในสิทธิของชุมชนท้องถิ่น 4.ควรจัดต้องกองทุนเพื่อแก้ปัญหา และมีการพัฒนากองทุนร่วม 5. สร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนอันนำไปสู่แผนในการจัดการะดับพื้นที่ภายใต้กลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน 6.ควรมีวงการพูดคุยอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกันในระยะยาวเพื่อยุติหมอกควันที่ส่งผลกระทบต่อคนภาคเหนือ

20161102124328.jpg

 

 

 

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ