5 ปีที่รอคอย กับโอกาสของ “พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” ต่อมรดกทางการเกษตรของโลก

5 ปีที่รอคอย กับโอกาสของ “พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” ต่อมรดกทางการเกษตรของโลก

พัทลุงขอขึ้นทะเบียน “ควายปลัก” (ควายน้ำ) แห่งทะเลน้อย เป็นมรดกโลกทางการเกษตร (GIAHS) ของไทย จากองค์การเอฟเอโอจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทางคณะกรรมการตรวจสอบพื้นที่จริงในการขอรับรองระบบการเลี้ยงควายปลัก (ควายน้ำ) ในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ระหว่างวันที่ 5-7 ตุลาคม 2565 หากการขึ้นทะเบียนสำเร็จควายปลัก หรือ (ควายน้ำ ทะเลน้อย) จะเป็นปศุสัตว์ชนิดแรกของไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกเกษตรโลก

ทะเลน้อย มีพื้นที่ประมาณ 17,500 ไร่  เป็นส่วนหนึ่งของทะเลสาปสงขลา มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก จนได้รับการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ชุ่มน้ำโลก และวิถีชีวิตในบริเวณนี้พบว่าเกษตรกรมีรายได้หลักจากการขายควาย การทำประมง ปลูกข้าว และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกระจูด

“ควายน้ำ” คือควายที่อาศัยอยู่บริเวณทะเลน้อย เวลากินหญ้าต้องดำน้ำลงไปกิน เลยเรียกกันว่าควายน้ำ เป็นควายที่เลี้ยงกันในทุ่งพรุทะเลน้อยเป็นชนิดควายปลัก เลี้ยงสืบทอดติดต่อกันมาหลายชั่วอายุคนเป็นเวลานานร่วม 100 กว่าปี อาศัยและหากินอยู่ในป่าพรุ และในทะเลสาบสงขลาตอนบน เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในทะเลน้อยมีปริมาณสูง ควายน้ำจะดำน้ำลงไปกินหญ้าใต้น้ำและพืชน้ำ เช่น สายบัว ใบบัว สาหร่าย กระจูด

รวมถึงมีความสำคัญต่อระบบนิเวศในการกำจัดวัชพืช และมูลของควายยังเป็นอาหารให้พืชและแพลงตอน ส่วนด้านวัฒนธรรม ควายเป็นศูนย์รวมของความเชื่อ พิธีกรรม และประเพณี นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างทัศน์นียภาพที่สวยงาม และช่วยป้องกันการเกิดไฟป่าในพื้นที่ด้วย

หากย้อนกลับไปในปี 2561 เครือข่ายในจ.พัทลุง ร่วมกันจัดทำข้อเสนอโครงการขับเคลื่อนระบบการเลี้ยงควายปลัก (ควายน้ำ) ในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางการเกษตรโลกแห่งแรกของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ผ่านมา 5 ปีแล้ว ก็ต้องรอลุ้นไปพร้อมๆกับคนพัทลุงว่าจะสามารถขึ้นทะเบียนควายปลัก หรือ (ควายน้ำ ทะเลน้อย) เป็นมรดกเกษตรโลกได้สำเร็จในปีนี้หรือไม่ คนในพื้นที่เองตอนนี้หลายคนก็ตื่นเต้นเเละเตรียมความพร้อมในหลายด้าน

รวมถึงครั้งนี้ที่ทาง มูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย (Thale Noi Wetland Foundation – TWF) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย สำนักงานเกษตรเเละสหกรณ์จังหวัดพัทลุง รวมถึงองค์กรภาคีเครือข่าย พยายามสร้างการรับรู้เรื่องมรดกทางการเกษตรโลกให้ประชาชน ด้วยการตั้งวงเสวนาพูดคุย เหลียวหลังมองหน้าพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยกับมรดกทางการเกษตรโลก ณ ในพื้นที่เขตห้ามสัตว์ป่าทะเลน้อย

เราทำมา 5 ปีแล้ว ที่เราการศึกษา ทำฐานข้อมูล หวังเป็นหมุดหมายระดับโลก เป็นคำพูดของ อาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ เล่าให้ฟังว่า  ที่ได้ร่วมกันทำการศึกษา ทำฐานข้อมูล เพราะสิ่งที่ทำเป็นหมุดหมายระดับโลก ที่ผ่านมาเราเห็นว่า จีน ญี่ปุ่นทำเรื่องนี้เยอะมาก เช่น เกาะซะโดะ จังหวัดนิอิกะตะ เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายมรดกโลกด้านเกษตรกรรม เพื่อปกป้องและอนุรักษ์การเกษตรแบบดั้งเดิม, ความหลากหลายทางชีวภาพ, วิถีการเกษตร และวัฒนธรรมการเพาะปลูกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งนับวันจะสูญหายไปในโลกยุคใหม่  ก็ทำให้เห็นว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งก็ผลประโยชน์ก็กระจาย ไปยังคนเลี้ยงควาย ผู้ประกอบการในชุมชนรวมถึงภาพใหญ่ของประเทศ นับว่า 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้เริ่มเห็นผล คนพัทลุงเริ่มเข้าใจ เห็นประโยชน์ เพื่อที่จะรักษาพื้นที่ รักษาอาชีพ ระบบการเลี้ยง ที่สำคัญคือการมีส่วนร่วมชุมชนท้องถิ่น คนเป็นเจ้าของภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมต้องมาร่วมคิดร่วมทำเคลื่อนเรื่องนี้ด้วยกัน

หัวใจที่เป็นเป้าหมาย ของสหประชาชาติยังไงก็หนีไม่พ้น SDG  17 ข้อ ข้อที่สำคัญที่สุดคือข้อที่ 17 คือ การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เข้ามาเป็นหุ้นส่วนของการพัฒนาพื้นที่ตรงนี้ เห็นทิศทางด้วยกัน สิ่งนี้จะเป็นตัวผลัก มรดกภูมิปัญญาของระบบการเลี้ยงควายให้ได้รับการรับรอง

เราได้เปรียบในส่วนของพื้นที่ ที่มีระบบนิเวศลากูน(Lagoon) แห่งเดียวในประเทศไทยมีหลากหลายมิติทั้งในมุมของธรรมชาติ ชีวิต และวัฒนธรรม ที่โดดเด่นรอการเจียรนัย

สวัสดิ์ แก้วเศษ ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงควายทะเลน้อยหรือลุงหวัด เล่าว่าในส่วนในมุมคนเลี้ยงก็จะได้มูลค่าจากราคาควายที่อาจจะเพิ่มขึ้นจากเมื่อก่อนเราขายได้ 700-800 บาท ตอนนี้20000 บาทเเละอาจจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้

ในมุมธุรกิจถ้าควายน้ำ”ถ้าได้รับรองมรดกทางเกษตรโลกเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ว้าวแน่นอน คุณจัฎฐิติวาสก์ เสนีย์ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่เล่าว่า  อะไรก็ตามเมื่อเป็นสิ่งแรกว้าวแน่นอน ถ้ามองในมุมธุรกิจควายน้ำสร้างประโยชน์อย่างมหาศาลแน่นอน ทุกทิศทุกทางจะหลั่งไหลมาที่ทะเลน้อย ไม่ว่าจะด้านการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ที่พัก เกิดการต่อยอดอาชีพ สร้างรายได้ ทำให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น  สิ่งสำคัญถ้าแก่นของเราไม่แข็งแรกก็เกิดผลกระทบแน่นอน 

ผมเองในมุมนักลงทุน เราอยากย้ายครอบครัวเข้ามาอยู่ที่นี่ รู้สึกดีใจกับคนพัทลุง ทำอย่างไรให้เห็นว่า เด็กจบใหม่เห็นโอกาสเห็นช่องทางที่สามารถสร้างธุรกิจที่เพิ่มขึ้น สามารถกลับบ้านต่อยอด อาชีพ ภูมิปัญญา สิ่งสำคัญต้องทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในท้องถิ่น เกิดโรงเรียนเลี้ยงควาย เกิดมหาลัยควาย ที่สามารถสอดแทรกการท่องเที่ยว เด็กๆเองมีพื้นที่เรียนรู้ เราก็สามารถ ส่งลูกไปเรียนกับควายได้ และต่อไปถ้ามาเที่ยวทะเลน้อยนอกจากได้ซื้อไข่ปลาแล้วเราจะได้ซื้อของแปรรูปที่เกิดจากควาย  เช่น เครื่องดนตรีพื้นบ้านอย่าง โพน เเละต้องทำให้ควายเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ที่จะดึงดูนักท่องเที่ยวมาเที่ยวทะเลน้อยมากขึ้น

“เป็นความโชคดีของพัทลุงที่บรรษบุรษอยู่คู่กับการเลี้ยงควาย” ชลฑิชา หมื่นหนู นายกเทศบาลตำบลทะเลน้อย กล่าวว่า นี่เป็นโอกาสของคนในพื้นที่ทะเลน้อย มีศักยภาพเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำมีสภาพเป็นป่าพรุน้ำจืดที่มีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี เป็นจุดแข็งและที่สำคัญบรรษบุรุษเราอยู่คู่กับการเลี้ยงควายสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว ส่งลูกหลานเรียนหนังสือ ถือเป็นความโชคดีของพัทลุง

ตอนนี้ทางเทศบาลก็เตรียมโครงการมาสนับสนุนในการแก้ไขปัญหา ควายตายจากน้ำท่วม เราจะทำโครงการก่อสร้างศูนย์พักพิงควายน้ำทะเลน้อย เป็นจุดพัก ควายทั้งหมด  ห่างจากโรงเรียหัวป่าเขียวประมาณ 600 เมตร เพราะก่อนหน้านี้ ซึ่งเทศบาลก็มีข้อมูลจำนวนควาย กว่า 2,000 ตัว  เวลาเกิดน้ำท่วมควายก็จะขึ้นไปอยู่บนถนน ซึ่งไม่มีปลอดภัย 

พร้อมกับทิ้งท้ายว่า ถ้าเกิดโครงการนี้สามารถรองรับควายช่วยฤดูน้ำหลากเเละสามารถจัดการช่วยเหลือควายง่ายขึ้น

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ