“ความหลากหลายทางเพศสังคมไทยไปไกลกว่าเดิมเยอะ แต่สิทธิในรัฐที่ให้ยังน้อยมาก ต้องยอมรับว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องตอแหลมาก เพราะว่าเขาไม่ให้อะไรเลย ไม่ว่าจะเป็น sex worker คนข้ามเพศ หรือการแต่งงาน รัฐไปช้ามากแต่ว่าสังคมเศรษฐกิจปรับตัวได้เยอะกว่า”
ชุมาพร แต่งเกลี้ยง
วันที่สองของงานครบรอบ 10 ปี รายการก(ล)างเมือง ไทยพีบีเอส ร่วมกับ Documentary club จัดงานเทศกาลหนัง “อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้อง….” ฉายภาพยนตร์สารคดีก(ล)างเมือง และขยายประเด็นผ่านเวทีพูดคุยกัน เพื่อสะท้อนนโยบายสาธารณะของเมืองในหัวข้อ ชีวิตภายใต้กฎหมาย ร่างกายใต้บงการ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 มีผู้ร่วมเสวนา ชานันท์ ยอดหงษ์ นักเขียน “นายใน” และ “หลังบ้านคณะราษฎร” กับ ชุมาพร แต่งเกลี้ยง กลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก ดำเนินรายการโดย วิภาพร วัฒนวิทย์ บก. Backpack Journalist/Decode
ชานันท์ ยอดหงษ์ เล่าถึงความเคลื่อนไหวของตัว พ.ร.บ.ว่า ตอนนี้สภาในวาระแรกได้โหวตรับหลักการทั้ง 2 ร่าง ความจริงมี 4 ร่างแต่มารวมกันแล้วสามารถเรียกได้ว่ามีหนึ่งร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต และสองคือร่างสมรสเท่าเทียมหรือการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่าด้วยการจดทะเบียนสมรสการสร้างครอบครัว
ถ้าพูดถึงตัว พ.ร.บ.คู่ชีวิตก่อน มันก็มีพัฒนาการมาตั้งแต่มี พ.ศ. 2556 แล้วที่ผลักดันให้คนรักเพศเดียวกันได้จดทะเบียนสมรมกันได้ ส่วนพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมหรือการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นการแก้ไขถึงตัวปัญหาหลัก ๆ ของการเลือกปฏิบัติโดนกฎหมายที่ปัจจุบันนี้กำหนดให้แค่เฉพาะชายหญิงเท่านั้นสามารถจะจดทะเบียนสมรสกันได้
ส่วนตัวร่างสมรสมเท่าเทียม ความจริงมีสองร่างคือร่างฉบับของพรรคก้าวไกลที่ผ่านสภาไปแล้วตอนนี้อยู่ในชั้นกรรมาธิการกับอีกร่างนึงคือร่างของภาคประชาชนก็มีสองร่างสำคัญที่เกิดขึ้นมาในประเทศเราตอนนี้ ใจความหลัก ๆ ก็คือให้บุคคลกับบุคคลสามารถจดทะเบียนสมรสด้วยกันได้เป็นคู่สมรสมกัน และเราก็จะแก้ไขคำที่เกิดขึ้นมาในกฎหมายด้วยอย่างเช่น คำว่า สามีกับภรรยาก็จะเปลี่ยนเป็นคู่สมรส เพื่อให้ทุกเพศสภาพเพศวิถีจดทะเบียนสมรสด้วยกันได้และเป็นคู่สมรสกัน
หลัก ๆ เลยปัญหาของประเทศเราโครงสร้างในการเขียนร่างกฎหมายก็จะเขียนในลักษณะของBinary Opposition ที่จะใช้ควบคุมแค่ชายกับหญิงเท่านั้น อันที่จริงเพศสภาพหรือเพศวิถีมีความหลากหลาย และตัวกฎหมายเองต้องล้อไปกับวิวัฒนาการของคนชีวิตของคนด้วย ถ้าเราคำนึงถึงกฎหมายแพ่งก่อนเลย เขาก็จะกำหนดว่า มนุษย์เกิดมาเป็นคนหนึ่งคนและเกิดมีทรัพยสิน มีหนี้และแต่งงานนี้อะไรเหล่านี้ไปจนตาย เพราะฉะนั้นกฎหมายมันจึงสามารถแก้ไขได้เพื่อให้ล้อไปกับมนุษย์คนนึงประชาชนคนนึงที่มีการเปลี่ยนแปลง มีพัฒนาทางความคิดและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปได้
กฎหมายไม่พัฒนา การนิยามมองคนไม่เท่ากัน
ชานันท์ ยอดหงษ์ บอกว่า ถ้าเรื่องแรกตอน สลับร่าง พ.ร.บ. อีก พ.ร.บ.ชุดนึงเป็นร่างฉบับภาคประชาชนที่ว่าด้วยอัตลักษณ์ทางเพศ อันนี้ก็ต้องคำนึงอีกที่นึงเพราะว่าอัตลักษณ์ทางเพศลื่นไหลได้ แต่พอมาเขียนเป็นกฎหมายแล้ว อาจจะมีความต้องพิจารณาให้รอบคอบมากขึ้นเหมือนกันมากกว่าสมรมเท่าเทียมด้วย พอพูดถึงเรื่องอัตลักษณ์แล้ว แต่ทุกคนก็มีอัตลักษณ์ที่หลากหลายและลื่นไหลได้
ถ้าเรากลับมาพูดถึงเรื่องสมรสเท่าเทียมจะเห็นว่าในตอน รักคงยังไม่พอ การที่เราไม่มีสมรสเท่าเทียม การที่รักเพศเดียวกันไม่สามารถจดทะเบียนสมรสด้วยกันได้ ทำให้เขาเข้าไม่ถึงสิทธิและสวัสดิการอย่างเสมอภาคกันได้นี่สะท้อนภาพปัญหาตัวอย่างบางส่วน ปัจจุบันมีปัญหาที่เกิดขึ้นเต็มไปหมด ยกตัวอย่างนอกเหนือจากที่เราได้ดูสารคดี เช่น ตัวประกันพ.ร.บ. ประกันภัยรถยนต์ในกฎหมายใช้คำว่า สามีภรรยา ถ้ามีใครคนใดคนนึงโดนรถชนตายจะต้องได้รับการเยียวยา ซึ่งกฎหมายกำหนดต่อให้สามีภรรยานั้นไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่ใช้ชีวิตอยู่รวมกันก็สามารถได้ค่าชดเชยด้วย ขณะที่คนรักเพศเดียวกัน คู่ชาย ๆ คู่หญิง ๆ ต่อให้อยู่บ้านเดียวกัน รักกันนานแค่ไหนไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็ไม่ได้รับสิทธิ์นี้
เรื่องที่มันคอขาดบาดตาย เช่นการที่จะให้เซ็นต์ยินยอมรักษาพยาบาลในช่วงฉุกเฉิน ต่อให้คุณจะอยู่บ้านร่วมกันยาวนานแค่ไหนคุณไม่ใช่คู่สมรสกัน คุณไม่สามารถที่จะเซ็นต์ยินยอมรักษาพยาบาลคนรักของคุณได้ทันท่วงที คู่รักเพศเดียวกันหลาย ๆ คน LGBTQ+ อาจจะตัดขาดกับครอบครัว อาจจะอยู่บ้านร่วมกัน สร้างครอบครัวกับคนรักของเขาแล้วกว่าพ่อแม่พี่น้องจะมาถึงโรงพยาบาลอันนี้เป็นเรื่องน่าเศร้าที่มีการเสียชีวิตไปเพราะปัญหาของกฎหมายตรงนี้ด้วย
ชุมาพร แต่งเกลี้ยง เล่าประสบการณ์ว่า ถ้าใครดูตอน รักคงยังไม่พอแล้วร้องไห้ ซึ่งภาพในโรงพยาบาลมันเปลี่ยนชีวิตเราไปเหมือนกัน เพราะว่าเราเป็นคนไปเก็บภาพนั้นกับเพื่อนอีกคนนึงเป็นช่วงเริ่มทำงานใหม่ ๆ รู้สึกว่าอยากจะทำหนังสารคดีตอนนั้นมันมีน้อยมาก วันนั้นเราได้อาสาไปที่โรงพยาบาลเพราะมีปัญหาว่าแฟนของพี่หนิงป่วยแล้วรักษาพยาบาลไม่ได้ และความเป็น LGBT ของทั้งคู่ ไม่มีสถานะทางกฎหมายทำให้การรักษาต่อต้องรอญาติเพียงอย่างเดียว วินาทีที่เห็นการถูกปฏิเสธการรักษา คือเราช็อค ยืนฟัง แก้ปัญหาไงดี พยายามทำให้ผู้ป่วยต้องออกจากโรงพยาบาลตรงนั้นไปอยู่อีกโรงพยาบาลนึงที่เป็นรัฐวิสาหกิจเพื่อให้ค่ารักษาพยาบาลมันครอบคลุม พอได้ไปอยู่โรงพยาบาลรัฐแล้วเราก็เอากล้องไปบันทึกภาพด้วย
จากนั้น 2-3 วัน พี่หนิงบอกว่า แฟนเขาเสียแล้วนะ เราก็ช็อคมาก ช็อคแบบไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้นกับสิ่งที่เราไปเจอตรงหน้าให้คำตอบอะไรไม่ได้ ทุกครั้งที่เจอพี่หนิงเขาก็จะร้องไห้ตลอดเวลา และหนึ่งในคำพูดที่เขาพูด ถ้าวันนั้นเขาเซ็นการรักษาได้แฟนพี่คงไม่ตายใช่ไหม
วินาทีนั้นมันเหมือนคนตายทั้งเป็น
มากไปกว่านั้นตอนนั้นมีการพูดถึงแต่ พ.ร.บ.คู่ชีวิตซึ่งไม่จริง พวกเราพยายามผลักดันสมรสเท่าเทียมแต่ไม่มีสื่อไหนออก แล้วโต้ง (ผู้กำกับสารคดี รักคงยังไม่พอ) เป็นคนแรกที่ผลิตออกมาแล้วมันเป็นสมรสเท่าเทียม เพราะว่าสื่ออื่นซึ่งเราก็เป็นที่ปรึกษาทำออกมายังเป็น พ.ร.บ.คู่ชีวิต ซึ่งมันไม่สะท้อนความเจ็บปวดของความเป็นมนุษย์ สารคดีตอน รักคงยังไม่พอ คือภาพแทนว่าทำไมมันมากกว่าที่เราคิดว่ากฎหมายจะให้มาเพียงแค่ นิยามคำว่าคุณแต่งงานคู่แบบไหนก็ได้ แต่มันพูดถึงสิทธิพลเมือง
ภาพของโลกใบนี้มันมีรูปแบบการคุ้มครองครอบครัว รูปแบบแรกคือการสมรส(Marriage) แน่นอนว่าทุกประเทศถูกพัฒนามาให้รัฐคุ้มครองการสมรสมีการพัฒนามาตั้งแต่สมัยอาณานิคม อีกอันคือPartnership เป็นพัฒนาการจริง ๆ ของการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน ซึ่งตอนนั้นอังกฤษกับฝรั่งเศสพยายามที่จะพัฒนาขึ้นมา เนื่องจากสิทธิพลเมืองและสื่อยังไม่กว้างขนาดนี้ และเขาก็พยายามต่อรองกับสังคม แต่ประมาณ 20-30 ปีที่แล้วจนกระทั่งตอนนี้ทั้งอังกฤษกับฝรั่งเศส รู้แล้วว่า พ.ร.บ.คู่ชีวิต ยังไม่ตอบโจทย์ เพราะว่ามันไม่ได้พูดว่าทุกคนอยู่ภายใต้สิทธิพลเมืองอย่างเท่าเทียม เขาได้แก้ไขกฎหมายให้ใช้ได้ทั้งพ.ร.บ.คู่ชีวิต และใช้ได้ทั้งสมรสเท่าเทียม ซึ่งพ.ร.บ.คู่ชีวิตที่ใช้ก็อนุญาตให้เพศไหนใช้ หมายความว่าอาจจะเป็นรูปแบบไหนของการใช้ชีวิตก็ได้
“จริง ๆ แล้ว LGBT จะได้รับการคุ้มครองตั้งแต่เกิดจนตายจะต้องถูกคุ้มครองสามอย่างด้วยกัน นี่คือการทำงานต่อสู้ในนามของสิทธิ LGBT ที่เขาทำมา 1. กฎหมายการเลือกปฏิบัติ (Non-Descrimination) 2.การคุ้มครองครอบครัว คือสิ่งที่เราพูดถึงสมรสเท่าเทียม 3.การให้สิทธิในการนิยามเพศสภาพของตัวเอง”
การให้สิทธิในการนิยามเพศสภาพของตัวเอง มีความน่าสนใจว่าฉันไม่ต้องอธิบายก็ได้ว่าฉันเป็นใคร เหตุผลเพราะอเมริกา ฝรั่งเศสสามารถไปแก้ไม่ใช่แค่คำนำหน้านาม นาย นาวสาวในปัจจุบัน แต่มันไปแก้ได้ถึงขนาดว่าตอนคุณกำเนิด คุณกำเนิดเป็นเพศอะไร ใครตามอั้ม เนโก๊ะ ตอนนี้ลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเศสก็แก้ได้เลยว่า นี่คือเพศที่กำเนิดออกมาเป็นผู้หญิงที่ไม่ได้เป็นคนข้ามเพศด้วย เพราะฉะนั้นความท้าทายในสังคมไทยคนเยอะมากเพราะปัจจุบันการพูดคุยเรื่องรองรับเพศมีแค่ว่ารับรองการใช้ฮอร์โมนกับรองรับการผ่าตัด แต่ไม่ได้รับรองสำนึกที่ลึกไปถึงเพศ
ปัจจุบันการข้ามเพศไม่ได้มีแค่ข้ามจากชายแล้วไปเป็นหญิง ฉะนั้นการพูดถึงเรื่องการสำนึกหรือเพศกำหนด เราจะใช้คำว่าเพศกำหนด เราจะไม่ใช้คำว่าเพศกำเนิด เพราะว่าคนกำหนดมันคือรัฐกับสังคมกำหนดว่าคนนี้ต้องเป็นเด็กหญิงเด็กชาย แต่สำนึกของเขาอาจจะสามารถบอกได้เลยว่า ฉันกำเนิดมาเป็นผู้หญิงแม้ว่าจะมีอวัยวะเพศชายก็ตาม
พ.ร.บ.คู่ชีวิต กับ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม แตกต่างกัน
ชุมาพร แต่งเกลี้ยง บอกว่า จริงๆ ก็ไม่ได้กลับไปดูพ.ร.บ. คู่ชีวิตที่ชัดมาก แต่ว่าพ.ร.บ.คู่ชีวิตยังใช้คำว่าอนุโลม สมรมเท่าเทียมมันไปแก้ไขปัญหาเรื่องของภาษาที่เป็นไบนารี (binary) คือความเป็นแค่หญิงกับชาย ก็ได้ไปรีวิวทั้งหมดเลยว่าจากกฎหมายมาตรา 1448 เป็นต้นมาที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งครอบครัว ถ้ามีภาษาที่เป็นไบนารีให้เปลี่ยน อย่างเช่น หญิงกับชายแต่งงานกัน เปลี่ยนเป็น บุคคลสองบุคคลแต่งงานกัน
กับสอง อะไรที่เป็นคำว่าสามีภรรยาให้เปลี่ยนเป็นคู่สมรส สามเป็นอันที่ร่างของพรรคก้าวไกลไม่ได้ไปแตะอะไรที่บอกว่าบิดามารดา เปลี่ยนเป็นผู้ปกครองก็ได้ เปลี่ยนเป็นบุพการีก็ได้ เรามีเพื่อนที่เป็น Non-Binary เยอะมากที่ตั้งครรภ์ได้ด้วยตนเอง เขาไม่ได้เรียกตัวเองว่าเป็น Dad กับ Mom เลย เขาเรียกว่า “พามา” เพื่อให้คำมันเป็น Binary แน่นอนว่าในครอบครัวคงจะไม่ได้เรียกบุพการี แต่ในเรื่องของกฎหมายมันต้องถอดโครงสร้างนี้ ซึ่งถอดแค่สามประเด็นจะทำให้ประเทศเปลี่ยนและโครงสร้างเปลี่ยน เพราะเปลี่ยนจากกฎภาษาที่เป็น Binary word มาเป็นภาษาเป็นที่กลางทางเพศ และไม่ได้ลดทอนคุณค่าศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อันไหนของใครเลย แต่แนวคิดไปไม่ถึงคนที่อยากจะสถาปนาความเป็นครอบครัวแบบปิดตาธิปไตยรักต่างเพศเท่านั้น
อีกอันนึง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ก่อนหน้านี้จะเป็นพ.ร.บ.ที่ให้เฉพาะผู้รักเพศเดียวกันแต่ตอนนี้ทุกคนทุกเพศใช้ได้ แต่มีเนื้อหาเยอะมากที่ใช้คำว่า อนุโลม ถ้าสมมุติว่าเรากับแฟนแต่งงานกันเราแล้วเราเสียชีวิต แฟนเราต้องการที่จะเอาเราไปทำพิธีกรรมแบบที่เราชอบ แต่ครอบครัวเราอยากจะเอาเราไปทำพิธีกรรมแบบพุทธ การที่กฎหมายบอกว่า อนุโลมให้ไปใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มันอ้างถึงการมอบหมายให้ใครมีในร่างกายหลังความตายด้วย ญาติต้องเป็นทายาทโดยธรรมเท่านั้น นั่นความหมายแฟนเราต้องไปจ้างทนายแล้วเอาเรื่องนั้นไปฟ้องศาล
“คุณกำลังผลักภาระให้กับ LGBT หรือคนที่ต้องการใช้กฎหมายฉบับนี้ มีภาระในการอนุมัติสิทธิเพิ่มขึ้น อันนี้คือหัวใจสำคัญที่ไม่มีใครยอมพูดถึง แต่พยายามพูดถึงว่ามันก็อนุโลมแล้วไง”
แต่มันมีกฎหมายหลายตัวที่เราศึกษา กรณีที่ศาลตัดสินตีความว่าอนุโลมใช้ไม่ได้ทั้งที่กฎหมายบอกอนุโลม มันอยู่ที่ศาลอยู่ที่ทนาย แล้วคนตัวเล็กตัวน้อยหรือคนที่เป็นคนชายขอบ หรือคนรากหญ้าแค่จะไปหาทนายยังยากเลย นี่คือสิ่งที่เขาไม่ได้คิดถึงเลยว่าการบังคับใช้กฎหมายมันเป็นการผลักภาระมากขนาดไหนนี่คือสิ่งที่เรากำลังต่อสู้ เพราะฉะนั้นทำไมผู้กำกับตอน รักคงยังไม่พอทำได้ดีมากก็คือการพูดถึงสิทธิพลเมือง
“LGBT เป็นเรื่องการเมือง เพราะว่าเรากำลังพูดถึงสิทธิพลเมืองที่เท่ากัน เราไม่ได้ต้องการพูดแค่เพียงแค่การจัดตั้งครอบครัวอนุญาตให้ใครแต่งงานได้เท่านั้น”
ถ้าพ.ร.บ. สมรมเท่าเทียม ไม่ผ่านจะเกิดอะไรขึ้น
ชุมาพร แต่งเกลี้ยง มองว่าประเด็นสำคัญคือการเปิดพื้นที่ให้คนที่อยากจะเล่าเรื่องแบบเนมของคนรุ่นใหม่มาเล่าประเด็นสังคม ซึ่งไม่มีทางที่คนรุ่นเก่าจะทำได้อันนี้เรารู้สึกชื่นชมมาก ๆ ที่สำคัญตอนนั้นประเด็น LGBT มันไม่ได้มากถึงขนาดนี้ และไทยพีบีเอสโดยเฉพาะโครงการนี้เป็นคนที่เอาเรื่องของ LGBT มาเยอะมากจนกระทั่งเรารู้สึกว่ามันได้ปักหมุดยุคสมัยไปให้พวกเราด้วย ทำให้เราเห็นว่าแต่ก่อนการเป็นกะเทยมันยากมากเลยชีวิตของเขา
“เชื่อว่าการทำงานของไทยพีบีเอสและรายการก(ล)างเมือง เป็นการทำงานเพื่อต่อสู้สมรสเท่าเทียมที่ปักหมุดในสังคมนี้เหมือนกัน เพราะว่าถ้าอยู่ ๆ เราทำแคมเปญสมรสเท่าเทียมแต่มันไม่มี narative อื่น ๆ เล่าเรื่องให้เป็นฐานให้สังคมเข้าใจ มันก็ไปต่อยาก”
ฉะนั้นถ้าถามว่าวินาทีที่เราเห็นแฮชแท็ก หรือเราเห็นผู้คน เราเห็นเด็กมัธยมที่ถือป้าย “กัญชามีได้ทำไมสมรสเท่าเทียมไม่มี” เราไม่คิดว่าสมรสเท่าเทียมมันจะไม่มีอีกแล้วในสังคมนี้ และเราก็เชื่อว่าพวกเราปักหมุดเรื่องนี้และหยั่งรากไว้ลึกแล้ว แต่หลังจากนี้เป็นความท้าทายว่าแล้วสมรมเท่าเทียมไม่ผ่านการเลือกตั้งครั้งนี้ก็เลือกตั้งครั้งหน้า เพราะอย่างไรสังคมเปิดรับมันแล้ว
ชานันท์ ยอดหงษ์ ให้ความเห็นว่า ถ้าสมรสเท่าเทียมไม่ผ่านก็เศร้าใจเพราะอยากให้มี แต่เรายังมีอีกฉบับหนึ่ง ฉบับภาคประชาชน ก็ต้องรอไปอีกให้ ผลักเข้าสภาอีกครั้ง คือมันจะมีการเสียเวลามาก เรื่องแบบนี้รอไม่ได้คือจะเห็นว่าในหนังสารคดีมันมีนาทีชีวิตตาย
ถ้าสมรสเท่าเทียมจะถูกปัดตก และต้องรออีกร่างถัดไป ขณะเดียวกันสิ่งที่คำนึงอยู่ด้วยก็คือว่า คำว่าคู่ชีวิต อันที่จริงแล้วทุกคุ่รักทุกคุ่สามีภรรยา คู่สมรสเองก็สามารถเป็นคู่ชีวิตได้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น ชายชายหญิงหญิงเหล่านี้สามารถอยู่อาศัยพึ่งพากันจนแก่เฒ่าได้ แต่ปรากกฎว่าการเกิดขึ้นมาของร่างพ.ร.บ. คู่ชีวิต ยิ่งอยู่ในบริบทของปัจจุบันด้วย ทำให้เรามองคำว่า คู่ชีวิต มีความหมายที่แย่ลงไปด้วย คู่ชีวิตในฐานะที่มันเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกปฏิบัติตามกฎหมาย อันนี้ก็เป็นสิ่งที่น่ากังวลใจเหมือนกันของการที่เกิดขึ้นมาในความหมายใหม่ของคำ ๆ นี้ ทั้งที่เป็นความหมายที่ดีมาก ๆ
ชมสารคดีย้อนหลังจากวงเสวนา
ตอน สลับร่าง
ตอน รักคงยังไม่พอ
ตอน นาเดีย
เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ขอเชิญผู้ที่สนใจเรื่องราวต่างๆ รอบเมือง มาร่วมชมภาพยนตร์สารคดีชุด “อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้อง …..” พร้อมฟังการพูดคุย เกี่ยวกับประเด็นที่น่าสนใจจากหนังในแต่ละวันได้ฟรี!
ที่ร้าน Doc Club & Pub ศาลาแดง ซอย 1 ตั้งแต่เวลา 4 โมงเย็นจนถึงหนึ่งทุ่ม (หนังเริ่มฉาย 4 โมงครึ่ง และ เริ่มพูดคุยในเวลา 6 โมงเย็น)
- วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2565 ประเด็น “สุนทรียศาสตร์แห่งการขัดขืน”
ศิลปะ ศิลปินเพื่อประชาธิปไตย
o UBON AGENDA วาระผีบุญ – ยิ่งยง วงตาขี่
o แผ่นดินนี้ใครครอง – ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
o เสียงปืนแตกที่บ้านนาบัว – วินัย ดิษฐจร - คุยกับ ธีระวัฒน์ มุลวิไล กลุ่มละคร B-Floor และกลุ่มศิลปะปลดแอก และ วรพจน์ โอสถาภิรัตน์ กลุ่มดินสอสี
ชวนคุยโดย ภาสกร อินทุมาร
ผู้ที่สนใจ สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อแลกรับ ขนมและน้ำฟรีในงาน ได้ที่ลิงก์นี้ https://forms.gle/1gjRwcBywoQ8gbSG9 หรือมาลงทะเบียนร่วมงานได้ที่หน้าร้าน Doc Club & Pub ได้ตั้งแต่เวลา 4 โมงเย็นเป็นต้นไป