“เป็นจุดเริ่มต้นที่จะออกมาต่อสู้กับความยากจนของตัวเอง และความไม่มั่นคงอื่น ๆ มีเงินออมสำหรับตนเองและครอบครัวไว้ใช้ในยามฉุกเฉินของชีวิต เป็นหลักประกัน จากที่เขาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งสวัสดิการอื่น ๆ ในชุมชน”
ผศ.ดร. ณัฎฐ์ชวัล โภคาพานิชวงษ์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเป็นหนึ่งในผู้ที่เข้ามาทำงานขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาปากท้องคนจนเมือง ในฐานะนักวิจัยภายใต้โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่และแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ตเสร็จและแม่นยำพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ
อาจารย์ ณัฎฐ์ชวัล โภคาพานิชวงษ์ เล่าให้กับทีมงานอยู่ดีมีแฮงออนไลน์ฟังถึงบริบทพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นรูปแบบพื้นที่คาบเกี่ยวผสมผสานระหว่างเมืองใหญ่และชนบท ยังไม่ได้เป็นพื้นที่เมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดเชียงใหม่ ยังมีลักษณะของชุมชนที่เป็นชนบทอยู่ คนในชุมชนเองมีลักษณะใกล้เคียงกับคนในเมืองใหญ่ คืออยู่แบบตัวใครตัวมัน ทำให้การเข้าถึงสวัสดิการเป็นเรื่องยาก และไม่ถูกมองเห็นจากผู้นำในชุมชน ถูกละเลยจากหน่วยงานภาครัฐ คนจนเมืองในพื้นที่อำนาจเจริญ ยังไร้ความมั่นคงในเรื่องของอาชีพรายได้ มีความไม่มั่นคงในเรื่องที่อยู่อาศัยที่ต้องอาศัยอยู่ในบ้านเช่า แม้ว่าจะอยู่ในต่างจังหวัดที่น่าจะมีฐานทรัพยากร แต่คนเหล่านี้ก็ไม่ได้มีฐานทรัพยากรที่มั่นคงทำใช้ชีวิตอยู่บนความไม่แน่นอน มีโอกาสทุกเมื่อที่จะกายเป็นคนไร้บ้าน ใช้ชีวิตพึ่งพารายได้ในแต่ละวันที่ไม่แน่นอน เช่น เก็บของเก่า รับจ้างรายวันเป็นส่วนใหญ่
เงินออมแบบคนจน
จากการมองเห็นปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่และแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ตเสร็จและแม่นยำพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เข้ามาหนุนเสริม เพื่อที่จะหาทางออกร่วมกันในการแก้ปัญหาหาปากท้อง ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพที่มีความมั่นคง และเข้าถึงสวัสดิการต่าง ๆ ให้ได้มากขึ้น
ก่อนที่จะมีรูปแบบการออมเงิน โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่และแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ตเสร็จและแม่นยำพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ เข้ามาหนุนเสริมในเรื่องอาชีพให้ชาวบ้านมีอาชีพที่มั่นคง เช่น การเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ทำเกษตร ปลูกผัก หรือการเข้าไปสนับสนุนอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ การให้ความรู้การขายของออนไลน์ รวมไปถึงการสร้างความเชื่อมั่นในการทำงานร่วมกัน
อาจารย์ ณัฎฐ์ชวัล โภคาพานิชวงษ์ เล่าให้กับทีมงานอยู่ดีมีแฮงฟังต่ออีกว่า “ปลายทางคือการออมเงิน แต่ไม่ใช่แค่การออมเงินเพียงแค่อย่างเดียว แต่นึกถึงไมโครไฟแนนซ์ ที่เป็นแหล่งพึ่งพิงทางด้านการเงิน ทั้งการออม สินเชื้อให้กับชาวบ้านแต่ก่อนจะไปถึงการออมเงิน หรือการให้สินเชื่อ ชาวบ้านต้องมีรายได้ก่อน ก็เลยเป็นที่มาว่าต้องพัฒนาอาชีพก่อน เพื่อให้มีรายได้ก่อนที่จะมาออมเงิน ขณะเดียวกันก็สร้างความเชื่อมั่นว่าคนไม่รู้จักกันอยู่ ๆ จะมาออมเงินเป็นไปไม่ได้เลย เป็นแนวทางที่ไม่ได้ดิดโดย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอย่างเดียว มีการทำงานร่วมกับชุมชน มีแกนนำที่เป็นอาสาสมัคร ผู้นำชุมชนอยู่ในพื้นที่ด้วย”
ซึ่งเป็นการทำงานที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมการออมเงิน เริ่มตั้งแต่การมีรายได้ที่มั่นคงจนนำไปสู่การออมเงิน สิ่งสำคัญคือการสร้างความเข้าใจ สร้างความเชื่อมั่น เห็นประโยชน์จากการออมเงินและใช้ประโยชน์ได้จริง จะทำให้การออมเงินนี้เดินหน้าต่อไปได้
ปรับรูปแบบการออม ให้เหมาะกับชีวิต
“คิดว่าต้องดีขึ้นมากว่านี้ ถ้าออมเงินไว้แบบนี้ ถ้าไม่สบายหรือถ้าเป็นอะไรไป ก็จะได้มีเงินสำรองเอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินยามเจ็บป่วย ลูกหลานก็จะได้ใช้ด้วย”
นี่คือคำบอกเล่าของแม่หนูแสง หนองเป็ด ชาวบ้านสุขสำราญ อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ ที่เป็นอีกหนึงคนที่เข้าร่วมโครงการในการออมเงินคนจนเมือง และมีความหวังว่าจะได้มีเงินทุนสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็นวันข้างหน้า
“การออมเงินคนจนเมืองมีอัตตรดอกเบี้ยที่แตกต่างจากการออมเงินโดยทั่วไปคือมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน การออมก็ออมทีละน้อยให้เหมาะสมกับรายได้ที่มีรายได้ไม่เยอะมาก สิ่งสำคัญคือการปรับรูปแบบการออมให้เหมาะสมกับชีวิต ชิวของคนจนเมืองบางครั้งก็ต้องการเงินออมไว้ใช้บางช่วงเวลาของชีวิต แนวทางที่พัฒนาร่วมกันกับแกนนำชุมชน ใช้ระยะเวลา 3 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 1 อ้อมครั้งละน้อย เดือนละ 50 บาท ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่าสามารถเข้าถึงได้ ตอบสนองสิ่งที่ต้องการมีความมั่นใจในการออมเงิน”
เป้าหมายของเงินออมโดยมากคนจนเมืองจะขาดหลักประกัน สิ่งที่คนจนเมืองต้องการคือความมั่นคงในระยะเฉพาะหน้า เช่น ไม่มีงานทำ ไม่มีข้าวกิน ถ้ามีเงินออมก็สามารถที่จะกู้มาใช้เฉพาะหน้าได้ ไม่ต้องไปกู้นอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูง บางคนเข้าไม่ถึงแหล่งสินเชื้อจะกู้เงินในระบบธนาคารเป็นเรื่องที่ยาก การมีเงินออมเป็นของตัวเองเป็นสิ่งที่เข้ามาตอบโจรย์ในการใช้ชีวิต เพราะการมีหลักประกันจึงทำให้มีความเชื่อมั่นในการก้าวเดินได้อย่างมั่นคงมากยิ่งขึ้น