ชุมชนมุสลิมป่าเห็ว จังหวัดลำพูน ชุมชนมุสลิมที่ต้องการฟื้นฟู
ชุมพล ศรีสมบัติ
ชุมชนป่าเห็ว ตั้งอยู่ในพืนที่ การปกครองของเทศบาลตำบลอุโมค์ จ.ลำพูน ชุมชนบ้านป่าเห็ว มาจากชื่อของต้นเห็วหลวงหรือต้นตะเคียนหมูเป็นไม้ยืนต้นขึ้นอยู่จำนวนมากบริเวณหมู่บ้านและพระอุโบสถวัดป่าเห็ว
เล่ากันว่า ก่อนหน้านั้น ชุมชนแห่งนี้ เคยมี มุสลิม อยู่ร่วมเกือบสามสิบครัวเรือนแต่ด้วยสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการละเลยเรื่องศาสนาเพราะไม่มีศูนย์กลางศาสนาอยู่ในชุมชน หรืออาจจะเป็นความขัดแย้งในเรื่องของการปฏิบัติศาสนกิจ หรือพิธีกรรมบ้างอย่างเช่นอ่านกุรอ่านบ้านผู้เสียชีวิตมีการเชิญชุมชนใกล้เคียงมาร่วมแล้วไม่มีใครมาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนมุสลิมด้วยกันค่อยๆ เลือนหายไปไม่มีการติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ด้วยแนวทางที่ปฏิบัติหรือพิธีกรรมต่างกัน จึงเป็นเหตุให้พีน้องที่ นี่ ห่างจากศาสนาสุดท้ายก็ลืมศาสนาเดิมของตนเอง เรื่องราวนี้ เคยได้ยินจากปากคนพื้นที่เท็จจริงประการใด ไม่ทราบ วัลลอฮฮูอะลัม หรือ อาจขาดครูผู้รู้คอยตักเตือนและแนะนำสั่งสอน ทำให้พี่น้องมุสลิมที่นี่ เริ่ม ออกจากศาสนาไปทีละครอบครัว จวบ จนปัจจุบัน ที่ดึงกลับมาได้ ก็ไม่เกิน สิบ ครอบครัวแต่ก็ยังหาความเข้มแข็ง ได้ไม่ ด้วยหลาย ๆ ปัจจัย
ในยุคกาลก่อนโน้น มีหลายองค์กร เข้าไปทำงานฟื้นฟู ไม่ว่า จะเป็นกลุ่มดาวะฮฺ ตับฆีคกลุ่ม นักศึกษา หรือองค์กร ที่เคลื่อนไหว ณ ขณะนั้น ทุกกลุ่มที่เข้าไปทำงานมีความเพียร พยายาม ที่จะทำให้พี่น้องกลับเข้ามาสู่ศาสนาเดิมส่งผู้รู้เข้าไปให้ความรู้ รวบรวมทรัพย์สินเงินทอง เพื่อสร้างที่ละหมาดให้กับ พีน้องในพื้นที่ แต่ก็ได้เพียงชั่วครู่ สำหรับบางครอบครัวบางคนบอกว่า พอกลับเข้ารับศาสนาอิสลามแล้ว เกิดอาการย้อนศร ฝันไม่ดีบางคนบอกว่าเหมือนจะมีสิ่งเล้นลับจะทำร้าย หรือ เหตุผลต่าง ๆ นา ๆที่จะสรรหามาอ้าง ด้วยกับการขาดความเชื่อมโยงกับอิสลามมาเนินนาน
ผมมีโอกาสเข้าไปเยียมพี่น้องมุสลิมป่าเห็วอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ห่างหายไปหลายปี เมื่อได้ยินข่าวจากทางมัสยิดอัต-ตักวา ประกาศ การขอรับบริจาคของชุมชนมุสลิมป่าเห็วลำพูนเพื่อ สร้างผนังกั้นน้ำ และโรงครัว ของ บาแล หรือบาลาเซาะฮฺที่ละหมาดในชุมชนซึ่งอาจจะถูกน้ำเซาะเสียหายได้เนื่องจากปลูกสร้างอยู่ติดริมเหมืองน้ำ
ทางชมรมสื่อมุสลิมภาคเหนือเชียงใหม่ ศูนย์กิจกรรม ของ สสม. อาสากับทางมัสยิดอัต-ตักกวา ขอ เป็นตัวแทนในการนำเงินจากการรับบริจาคของพีน้องที่มาละหมาดวันศุกร์ เพื่อไป มอบให้แกนนำชุมชนประกอบกับที่เราอยากหาโอกาส ได้พบปะพูดคุยถึงสถานการณ์ของมุสลิมในพื้นที่นี้ในปัจจุบันหลังจากขาดการติดต่อกันมาอย่างยาวนาน เราพบ กับ คุณ วิลาศ อารีย์ บุตรชายทายาท ลุงโก่ หรือลุงบุญมา อารีย์ ผู้นำที่เอ่ยนามข้างต้น
ซึ่งปัจจุบันคุณวิลาศยังคงสืบทอดการทำงานของคนรุ่นพ่อเพื่่อรักษาศาสนาอิสลามในพื้นทีอย่างเหนี่ยวแน่น และยังคงทำงานประสาน กับองค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มดาวะฮฺตับฆีค หรือ พี่น้อง ในพื้นที่ และต่างพื้นที่ เพื่อประโยชน์สิทธิต่าง ๆที่พึงได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนการสอนศาสนา ซะกาตของมุสลิมในชุมชนแห่งนี้ ที่ยังเหลืออยู่ด้วยฐานะของพี่น้องมุสลิมที่นี่ส่วนใหญ่ มีฐานะค่อนข้างยากจนถึงจนมากจึงจำเป็นต้องขอรับการช่วยเหลือพีน้องจากภายนอกโดยเฉพาะความเข้มแข็งในเรื่องศาสนาเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องทำงานกันอย่างต่อเนื่อง
คุณวิลาศ เล่าให้ฟังว่า ในปี ๔๓ โครงการค่ายอาสาฯชมรมมุสลิม จากมหาวิทยา มหานคร ร่วมกับผู้มีจิตศรัทธาเข้ามาในพื้นที่เพื่อจะสร้างบาลาเซาะ แห่งใหม่หลังจากมีการสร้างมาแล้วครั้งหนึ่งด้วยการต่อเติมบ้านของพีน้องมุสลิมในพื้นที่ท่านหนึ่งสร้างมาแล้วก็ไม่มีคนมาร่วมละหมาดเนื่องจาก เป็นการสร้างต่อเติมจากบ้านของพี่น้องที่นั้น สิทธิเลยต้องตกเป็นเจ้าของบ้านเนื่องจากไม่มีใครไปใช้บริการ อีกทั้งในขณะนั้นพี่น้องเราหลุดออกจากศาสนาไปแล้วหลายครอบครัว
นับเป็นความเมตาและเป็นกำหนดของอัลลอฮฺ(ซุบฮาฯ) ทำให้สถานที่ละหมาดของชุมชนได้เกิดขึ้นอีกครั้งโดยที่ดินที่สร้างเป็นที่ดินวิลาศ อารีย์ มอบให้เพื่อสาธารณะประโยชน์ในการดำเนินการก่อสร้างและที่สำคัญด้วยกับพลังการทุ่มเทกับการทำงานของนักศึกษามุสลิมของมหาวิทยาลัยมหานครในยุคนั้นทำให้ความเป็นมุสลิมของพี่น้องมุสลิมที่ยังเหลืออยู่กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ปัจจุบันที่แห่งนี้กลายศูนย์กลางในการจัดการบริหารชุมชนที่สำหรับชี้แนะชี้นำและให้ความรู้เรื่องศาสนา เป็นที่ทำอิบาดัตก้มกราบขอบคุณพระผู้เป็นเจ้า ของพี่น้องในพื้นทีแห่งนี้ แต่ความเข้มแข็งในเรื่องของศาสนา ณ ปัจจุบัน คงต้องการการช่วยเหลือจากพี่น้องมุสลิมอยู่ แต่ก็ขอขอบคุณ น้องนักศึกษาในยุคนั้นก็ขอบอกว่าสิ่งที่พวกคุณทีทิ้งไว้ยังคงยังประโยชน์ให้กับพี่น้องในพื้นที่จวบจนปัจจุบัน
ข่าวมุสลิมเชียงใหม่นิวส์
www.muslimchiangmai.net