ตำบลหัวเวียงเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง แต่พื้นที่ชุมชนหัวเวียงมีการตั้งถิ่นฐานแบบเกาะกลุ่มอยู่บริเวณริมแม่น้ำน้อยซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักภายในอำเภอเสนา แม่น้ำจึงมีความสัมพันธ์กับชุมชนทั้งในเรื่องของการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ รวมไปถึงการประกอบอาชีพ จนกระทั่งมีการเกิดขึ้นของกรมชลประทาน โรงงานอุตสาหกรรม และการสร้างถนน วิถีชีวิตของคนในชุมชนก็ได้เปลี่ยนไปจากที่เคยประกอบอาชีพเกษตรกรรม กลายเป็นเข้าสู่ระบบแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น วิถีชีวิตริมน้ำก็ค่อย ๆ เลือนหายไปเนื่องด้วยการตัดถนนเข้ามา และเมื่อกรมชลประทานเข้ามาในพื้นที่ก็ถูกทำให้เป็นพื้นที่รองรับน้ำแทนเมืองใหญ่
ตำบลหัวเวียงมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหลากหลาย มีวัด ศาสนสถาน และบ้านเรือนไทยโบราณ นอกจากนี้ยังไม่มีอุตสาหกรรมในพื้นที่ จึงทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่นในตำบลหัวเวียง เช่น การจักรสาน และอีกหนึ่งมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ประวัติยาวนานหลายปีนั่นก็คือ เมรุลอยอยุธยา
มุมมองของคนรุ่นใหม่ในพื้นที่หัวเวียง
สำหรับวัยรุ่นในพื้นที่หัวเวียงมองว่าหัวเวียงเป็นพื้นที่ที่มีความทรงจำมากมายไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สำหรับสร้างอาชีพของชุมชน สถานที่สำคัญที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ขนมหวานที่ขึ้นชื่อของพื้นที่ หรือแม้แต่ร้านอาหารที่เคยไปกินประจำหลังเลิกเรียน โดยที่จะนำเสนอออกมาผ่านความสนใจของแต่ละกลุ่มในแต่ละประเด็นที่ภายใต้หัวข้อ “นึกหัวเวียง นึกถึงอะไร”
ดาราสาวสองท่านแบบสับแบบใหม่ : วัยรุ่นหัวเวียงกลุ่มที่ 1
นอกจากธุรกิจชุมชนไม่ว่าจะเป็นเมรุลอย ตะกร้าสาน หรือวัดในหัวเวียงแล้ว นึกถึงหัวเวียง ต้องนึกถึงขนมหวานแบบจึ้งใจ (จึ้งใจ หมายถึง ถึงใจสุดๆ ภาษาวัยรุ่นหัวเวียง) เช่น ขนมตระกูลทอง (ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง) ข้าวเหนียวมูน ลอดช่อง ตะโก้ ซึ่งเป็นบรรดาขนมที่เลื่องลือไปทั่วอำเภอเสนา ทั้งหอม หวาน มัน อร่อย เมนูข้าวเหนียวต่าง ๆ กะทิที่กำลังพอดีและเป็นความหวานมันที่กลมกล่อม
ภาพถ่ายของกลุ่ม “ดาราสาวสองท่านแบบสับแบบใหม่” สมาชิกคือ พิม พิมพ์ชนก รุ่งแจ้ง และ จูน อภิญญา เชื้อมาก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหัวเวียง ซึ่งภาพนี้เป็นภาพแม่น้ำน้อยที่ถ่ายจากสะพานข้ามแม่น้ำซึ่งเป็นภาพที่สมาชิกในกลุ่มกล่าวว่า
ธรรมะธรรมโม : วัยรุ่นหัวเวียงกลุ่มที่ 2 ชวนพนมมือสาธุ
นึกถึงหัวเวียงก็ต้องพาเที่ยวสถานที่สำคัญทางศาสนาที่เป็นจุดเด่นในหัวเวียง เช่น วัดประดู่โลกเชษฐ์, วัดบันไดช้าง, วัดหัวเวียง, วัดสุวรรณเจดีย์, ตู้พระธรรมลายรดน้ำ, พระศรีอริยเมตไตรย ที่มีมาอย่างยาวนานในประวัติศาตร์ของพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ภายในวัดประดู่โลกเชฏฐ์ ตำบลหัวเวียง ถ่ายโดยสมาชิกกลุ่ม”ธรรมะธรรมโม” ได้แก่ โม ธัญญาลักษณ์ สุขนิมิตร และ บิ๊ก กตพล สกุลทอง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหัวเวียง ได้สนใจถ่ายภาพนี้มาเนื่องด้วยบ่อน้ำนี้มีความเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ผุดขึ้นมาตามธรรมชาติ คนในพื้นที่จึงเชื่อกันว่าถ้าหากว่าเอาน้ำจากบ่อไปรดที่ดินที่นาจะได้ผลผลิตที่ดีและงอกงามตลอดปี
ภาพตู้ลายรดน้ำที่ตั้งอยู่ภายในวัดประดู่โลกเชฏฐ์ เป็นตู้มีลวดลายหรือรูปภาพให้ปรากฏเป็นลายทองด้วยวิธีปิดทองแล้วเอาน้ำรด ตั้งชื่อว่า ลายรดน้ำ ก็คือ ลายทองที่ล้างด้วยน้ำ ซึ่งตู้ลายรดน้ำตู้นี้ตั้งอยู่ในอุปโบสถของวัดประดู่ฯ ถ้ามองไกลอาจจะแยกไม่ออกจนเผลอคิดว่านี่คือตู้ใส่ของธรรมดา แต่เนื่องด้วยความสนใจของวัยรุ่นกลุ่มธรรมะธรรมโม จึงมุ่งที่จะเข้าไปถ่ายภาพตู้นี้ออกมาและทำให้เห็นว่า
แป๋นแป๋น : วัยรุ่นหัวเวียงกลุ่มที่ 3
หากจะบอกว่าเมรุลอยคือธุรกิจชุมชนที่เด่นดังในหัวเวียง การแทงหยวกเป็นสิ่งที่ต้องมาคู่กัน เนื่องจากแทงหยวกเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของเมรุลอยที่ต้องใช้ความสามารถและความชำนาญอย่างมากในการประดิษฐ์ขึ้นมาก นอกจากนั้นยังต้องลุ้นกับความสดของหยวกกล้วยที่เมื่อทำขึ้นมาแล้วต้องใช้ทันทีอีกด้วย ภาพของหยวกกล้วยจึงหาค่อนข้างยากถ้าหากไม่ใช่ช่วงที่มีงานที่ต้องใช้
ภาพที่ถ่ายโดยสมาชิกกลุ่ม”แป๋นๆ” เป็นภาพเมรุลอยที่คอยการประกอบขึ้นรูปเป็นเมรุลอยอันสมบูรณ์
จึ๋งปั๋งมากนะ : วัยรุ่นหัวเวียงกลุ่ม 4
เมื่อนึกถึงหัวเวียงก็หนีไม่พ้นตะกร้าสานที่มีประโยชน์ใช้สอยมากมายแต่การทำก็ต้องใช้ฝีมือและความชำนาญอย่างมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีสานให้ออกมาเป็นลวดลายต่าง ๆ การขึ้นรูปทรงให้ดูสวยงามและสะดวกต่อการใช้งาน
ภาพของกลุ่ม “จึ๋งปั๋ง” สมาชิกคือ นาย รัชชานนท์ ทองสีจัด และ เตย ธนดล มงคลแสง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 3 โรงเรียนวัดหัวเวียง เป็นภาพบ้านเก่าแก่ คนในพื้นที่ที่อยู่มานานเรียกกันว่า “บ้านโกวตา” แต่คนรุ่นใหม่ไม่เคยเห็นมาก่อนดันไปเจอกับคุณลุงผู้ดูแลบ้านหลังนี้เล่าขานว่าสร้างมาตั้งแต่ปี 2475 มีอายุนานมากแล้ว แต่สภาพยังสวยอยู่ถึงแม้จะเคยประสบปัญหาน้ำท่วมแต่ก็ผ่านมาได้ด้วยเครื่องสูบน้ำ 2 ตัว
เหตุการณ์ที่ทำให้ได้พบกับบ้านหลังนี้ก็คือ ระหว่างที่ทุกคนกำลังเดินสำรวจเมือง ซึ่งมีสมาชิกกลุ่ม จึ๋งปั๋ง และ กลุ่มดาราสาว ทุกคนก็กำลังสนใจกับสิ่งที่ตัวเองแพลนมาว่าจะเล่าเรื่องอะไรในหัวเวียง อยู่ๆก็มีลุงคนหนึ่งยืนอยู่ระแวกนั้น หนึ่งในทีมงานจึงเดินเข้าไปทักทายลุงแกว่า “ลุงอยู่แถวนี้หรอคะ พวกหนูมาเดินเมืองสำรวจของดีของเด็ดในหัวเวียงอะค่ะ” สิ้นสุดคำพูดของทีมงาน ลุงคนดังกล่าวก็ยิ้มและตอบกลับว่า “มาดูบ้าน 100 ปีมั้ย” ทุกคนสนใจมาก จึงรีบเดินตามลุงไปดูบ้านที่ลุงพูดถึง
เมื่อเห็นบ้านดังกล่าวแล้ว บรรดาแก๊งวัยรุ่นหัวเวียงถึงกับทำหน้างงว่าและพูดว่า “ในหัวเวียงมีบ้านแบบนี้ด้วยหรอ” ซึ่งทีมงานก็รู้สึกตื่นตาตื่นใจเพราะแม้แต่วันรุ่นในพื้นที่ก็ยังไม่เคยเห็นบ้านดังกล่าวเลย และได้รู้จากลุงว่า ลุงเป็นคนดูแลบ้านหลังนี้เอง
ภาพของสมาชิกกลุ่ม “จึ๋งปั๋ง” นาย และ เตย ที่กำลังพยายามถ่ายภาพก่อนหน้าด้วยระยะและองศาที่เหมาะสมที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถึงแม้จะต้องขี่หลังเพื่อนเพื่อที่จะได้ภาพสวย ๆ มาก็ยอม
ภาพนี้เป็นภาพตะกร้าสานของ แม่จิรวรรณ บัวรอด อายุ 55 ปี ที่ถ่ายโดยสมาชิกกลุ่ม”จึ๋งปั๋ง” ที่มีความสนใจในวิธีการทำตะกร้าสานซึ่งเป็นธุรกิจชุมชนประจำตำบลหัวเวียง
นางคว้า : วัยรุ่นหัวเวียงกลุ่มที่ 5
สิ่งที่ขาดไม่ได้ในพื้นที่หัวเวียงก็คือ ร้านส้มตำรุ่งโรจน์ที่มีจุดเด่นที่ราคาถูก เริ่มต้นเพียง 25-50 บาท เมนูยอดนิยมก็คงจะหนีไม่พ้น เมนูส้มตำต่าง ๆ แต่ที่พิเศษแม่ค้าสามารถเพิ่มท็อปปี้งตามใจลูกค้า หรือลูกค้าอยากสรรสร้างเมนูขึ้นมาเองก็ย่อมได้ เรียกได้ว่าเอาใจลูกค้าสุด ๆ แถมเปิดร้านถึงดึกดื่น ใครก็ตามที่มาทานร้านนี้ก็สามารถนั่งเม้าท์มอยยาว ๆ ไป
ภาพถ่ายเจ้าของแผงไก่แดงที่ขายอยู่ในร้านส้มตำรุ่งโรจน์โดยสมาชิกกลุ่ม”นางคว้า” ได้แก่ ลูกหมี ศิริกุล อุไรรัตน์ และ ฝ้าย สุพิชชา ธรรมประทีป นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหัวเวียง ที่ต้องการถ่ายทอดร้านอาหารสุดปังในหัวเวียงที่ทั้งถูกและอร่อย แถมยังเปิดดึกเอาใจคนทุกเพศทุกวัย
ภาพรถเทลเลอร์ หนึ่งเดียวในหัวเวียง ของคุณลุง อุดม ทองสีจัด ประธานสภาเทศบาลหัวเวียง ซึ่งเป็นรถที่ซื้อต่อมาจากโรงเลื่อย และนำมาทำสีใหม่ตามชอบ ถ่ายโดยสมาชิกกลุ่ม “นางคว้า”
ภาพนี้เป็นภาพดอกเข็มริมทาง ถ่ายโดยสมาชิกกลุ่ม “นางคว้า” โดยสมาชิกกลุ่มเล่าว่าดอกเข็มเป็นดอกที่พบได้ตลอดริมทางในหัวเวียง ไม่ว่าเดินไปทางไหนก็จะเจอดอกเข็มตลอดทาง จึงถ่ายมาเพื่อแสดงถึงความเป็นหัวเวียง
ภาพเจ้าของร้านส้มตำรุ่งโรจน์ที่กำลังทำส้มตำเมนูเด่นดังของร้านอยู่ ถ่ายโดยสมาชิกกลุ่ม”นางคว้า” มองว่าภาพนี้น่ากินและชวนหิวมากจึงถ่ายมา
นิทรรศการภาพถ่ายสไตล์วัยรุ่นหัวเวียง
ภายในนิทรรศการได้มีการถ่ายทอดภาพถ่ายของวัยรุ่นหัวเวียงจากที่ได้ถ่ายภาพแทนความเป็นหัวเวียงจากสายตาของคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ผ่านภาพถ่ายและได้นำมาจัดแสดงในวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ที่วัดหัวเวียง ระหว่างการถ่ายทอดสดฟังเสียงประเทศไทย ตอน เศรษฐกิจเชื่อมวิถีชุมชน คนหัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งจะออกอากาศในวันเสาร์ที่ 3 ก.ย. 2565 นี้
เรื่องราวและภาพถ่ายฉบับวัยรุ่นหัวเวียง เป็นส่วนหนึ่งของการอบรมเชิงปฏิบัติการ นักสื่อสารข้อมูลชุมชนกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นหัวเวียง ที่ชวนน้อง ๆ เดินสำรวจเรื่องราว เรื่องเล่าของท้องถิ่น ที่วัยรุ่นและคนรุ่นใหม่มองเห็นและอยากสื่อสารของดีในหัวเวียง ซึ่งแม้จะเป็นพื้นที่รับน้ำ ซึ่งคนที่นี้จะเจอน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี แต่ถึงอย่างไรก็ตามคนหัวเวียงยังมีศิลปะวัฒนธรรม ธุรกิจชุมชน และพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่อยากจะบอกเล่า ว่าเรามีดีอะไร..