มาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศของประเทศไทย ได้มีการบังคับใช้เป็นเวลานานกว่า 10 ปี จึงเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศของไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และเป็นการปกป้องสุขภาพของประชาชนพร้อมกับยกระดับมาตรการในการป้องกันตนเองให้มากขึ้น
เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ 8 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย สภาลมหายใจจังหวัดแม่ฮ่องสอน สภาลมหายใจจังหวัดลำพูน สภาลมหายใจจังหวัดเชียงใหม่ สภาลมหายใจจังหวัดเชียงราย สภาลมหายใจจังหวัดพะเยา สภาลมหายใจจังหวัดลำปาง ชมรมอากาศดีที่เมืองแพร่ เครือข่ายรักษ์อากาศน่าน และองค์กรพันธมิตร ร่วมกันแถลงข่าว ในวันนี้ 22 ม.ค. 2565 อ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้เกิดการยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ของประเทศโดยด่วน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ด้วยค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm2.5 ที่ประเทศไทยใช้อยู่ขณะนี้ คือ รอบเฉลี่ย 24 ชม.
ไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลบ.ม. และเฉลี่ย 1 ปี ไม่เกิน 25 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ยังห่างจากเกณฑ์ชี้นำ
ขององค์การอนามัยโลก WHO ที่เพิ่งปรับปรุงใหม่เมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ไม่เพียงเท่านั้น ประเทศอื่นๆ
ที่พัฒนาแล้ว รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ล้วนแต่มีระดับค่ามาตรฐานฝุ่น
ละอองเข้มงวดกว่าประเทศไทย นัยของความเข้มงวดดังกล่าวส่งผลให้การระมัดระวังตลอดถึงคำเตือน
ด้านสุขภาพประชาชนเข้มงวดขึ้นตาม
ประเทศไทยได้กำหนดแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติแก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง
ตามมติคณะรัฐมนตรี 12 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อเป็นแนวทางหลักในการแก้ปัญหา กำหนดไว้เองว่า
จะต้องกําหนดค่ามาตรฐาน PM2.5ในบรรยากาศให้เป็นไปตามเป้าหมายระยะที่3ขององค์การอนามัยโลก
(WHO IT- 3) ซึ่งในทางปฏิบัติติได้มีการยกร่างเตรียมประกาศใช้ค่ามาตรฐานใหม่เอาไว้แล้ว
ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ให้อยู่ที่ รายวันไม่เกิน 37 ไมโครกรัม/ลบ.ม. และรายปีไม่เกิน 15 ไมโครกรัม/ลบ.ม. แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้ประกาศใช้ ซึ่งการที่ล่าช้าออกไปทำให้ค่ามาตรฐานของไทยยิ่งไกล
จากค่ามาตรฐานที่เพิ่งปรับใหม่ของ WHO ห่างขึ้นไปอีก
เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองสุขภาพของประชาชนได้ระมัดระวัง และเกิดการยกระดับการควบคุมการปล่อยมลพิษด้วยมาตรฐานใหม่ รัฐบาลไทยต้องยกระดับค่ามาตรฐานฝุ่นละออง pm2.5 ให้เข้มงวดขึ้นทันที โดยเริ่มจากให้ประกาศค่ามาตรฐานที่ได้ผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นและยกร่างเตรียมไว้แล้ว
คือ อยู่ที่ เฉลี่ยรายวันไม่เกิน 37 ไมโครกรัม/ลบ.ม. และค่าเฉลี่ยรายปีไม่เกิน 15 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ทันที
จากนั้นขอให้รัฐบาลพิจารณาปรับปรุงค่ามาตรฐานให้สอดคล้องกับเกณฑ์เป้าหมายชี้นำ ของ WHO และสากลประเทศ รวมถึงให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของมลพิษฝุ่นละอองที่เกิดวิกฤตเป็นประจำทุกปีในประเทศของเราเอง เพื่อปกป้องคุ้มครองสุขภาพประชาชนอย่างจริงจังต่อไป
เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ 8 จังหวัด อันประกอบด้วย สภาลมหายใจจังหวัดแม่ฮ่องสอน
สภาลมหายใจจังหวัดลำพูน สภาลมหายใจจังหวัดเชียงใหม่ สภาลมหายใจจังหวัดเชียงราย สภาลมหายใจ
จังหวัดพะเยา สภาลมหายใจจังหวัดลำปาง ชมรมอากาศดีที่เมืองแพร่ เครือข่ายรักษ์อากาศน่าน และองค์กร
พันธมิตร จะติดตามเร่งรัดให้รัฐบาลได้ประกาศยกระดับใช้ค่ามาตรฐานมลพิษฝุ่นละออง pm2.5
อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะได้รับการตอบสนอง
โดยแถลงการณ์ฉบับนี้ เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งประกาศใช้มาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 แบบใหม่ ที่เข้มงวดกว่าค่ามาตรฐานเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติแก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ตามมติคณะรัฐมนตรี 12 กุมภาพันธ์ 2562 ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องกำหนดค่ามาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศให้เป็นไปตามเป้าหมายระยะที่ 3 ขององค์การอนามัยโลก และมีการยกร่างเตรียมประกาศใช้ค่ามาตรฐานใหม่เอาไว้แล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการประกาศใช้แต่อย่างใด นั่นคือการกำหนดให้ค่า PM2.5 เฉลี่ยรายวันจะต้องไม่เกิน 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีจะต้องไม่เกิน 15 ไมโครกรัมลูกบาศก์เมตร
มาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 ในบรรยากาศ ของประเทศไทยปัจจุบัน
ได้ประกาศใช้มาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กาหนดมาตรฐานฝุ่น ละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553 และ ประกาศวิธีตรวจวัดฝุ่นละออง PM2.5 เพิ่มเติม ตามประกาศควบคุมมลพิษ เรื่อง เครื่องวัดและวิธีตรวจวัดค่าเฉลี่ย ของก๊าซหรือฝุ่นละอองในบรรยากาศโดยทั่วไป ระบบอื่นหรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ ประกาศ ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562
เมื่อเปรียบเทียบค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 ในบรรยากาศ ของประเทศไทยและต่างประเทศ
หลายประเทศได้กาหนดค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 ในบรรยากาศ สาหรับการจัดการ คุณภาพอากาศของประเทศตน ส่วนใหญ่กาหนดเป็นค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 ในบรรยากาศ เฉลี่ย 24 ชั่วโมง และเฉลี่ย 1 ปี เพื่อให้สามารถป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับฝุ่นละออง PM2.5 ในบรรยากาศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ ค่ามาตรฐานของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป ตามความเหมาะสมกับบริบท และสภาวการณ์ของประเทศตัวเอง เช่นระดับการพัฒนาและความสามารถในการจัดการคุณภาพอากาศของ ประเทศ ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี การพิจารณาด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยทางการเมืองและสังคม
ตารางเปรียบเทียบค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 ในบรรยากาศ ของประเทศไทยและต่างประเทศ