อยู่ดีมีแฮง : บ้านโนนคูณ จ.ขอนแก่น กับธนาคารน้ำใต้ดิน

อยู่ดีมีแฮง : บ้านโนนคูณ จ.ขอนแก่น กับธนาคารน้ำใต้ดิน

บ้านโนนคูณ หมู่ 11 ต.โนนสะอาด อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น เปิดตัวโครงการร่องระบายน้ำรูปแบบธนาคารน้ำใต้ดิน ที่แก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง น้ำขัง เป็นการแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำในภาพอย่างยั่งยืนได้ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ที่ผ่านมา

จากในอดีตที่ยังไม่มีการวางผังหมู่บ้าน ทำให้เกิดน้ำท่วมบนถนนในหมู่บ้านมายาวนาน รวมถึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขัง น้ำเน่าเสียในท่อระบายน้ำ ส่งกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำให้ไข้เลือดออกระบาดในหมู่บ้าน หมู่บ้านไม่มีสุขภาวะที่ดี 2 ปีที่แล้ว ชาวบ้าน ผู้นำในหมู่บ้านและกลุ่มเกษตรธรรม ได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น นำไปสู่ข้อเสนอให้เทศบาลตำบลโนนสะอาดแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งในภาพรวมจะเป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งซ้ำซากในอนาคตได้ด้วย

ในปีงบประมาณ 2564 สภาเทศบาลตำบลโนนสะอาด และผู้บริหารเทศบาลตำบลโนนสะอาด ผู้นำรุ่นใหม่บ้านโนนคูณ ร่วมกับภาคประชาชนและกลุ่มเกษตรธรรม ได้ขับเคลื่อนโครงการ โดยเทศบาลฯ อนุมัติโครงการร่องระบายน้ำรูปแบบธนาคารน้ำใต้ดิน จำนวน 2 สาย รวมความยาว 388 เมตร ใช้งบประมาณรวม 252,000 บาท เป็นโครงการนำร่องเพื่อการศึกษาในหมู่บ้านโนนคูณ และเพื่อเป็นตัวอย่างให้ อปท. ในระดับอำเภอสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

โครงการดังกล่าวได้รับการทดสอบปรัสิทธิภาพ จากพายุ “ไลอ้อนร็อค” ถึง “คมปาซุ” พายุใหญ่สองลูกที่เข้ามาติดๆ กัน ถ้าเป็นเมื่อก่อน น้ำจะท่วมขังใช้เวลาหลายวันกว่าจะแห้ง แต่หลังจากทำ “ร่องระบายน้ำรูปแบบธนาคารน้ำใต้ดิน” หลังฝนหยุดน้ำที่เคยท่วมขังบนถนนจะแห้งสนิท ภายในเวลา 14 นาที ถึง 1 ชั่วโมง

โครงการร่องระบายน้ำรูปแบบธนาคารน้ำใต้ดิน บ้านโนนคูณ ความยาว 388 เมตร ใช้งบประมาณรวม 252,000 บาท หรือ ตารางเมตรละ 649 บาท เปรียบเทียบกับรางระบายน้ำ คสล. ที่ก่อสร้างกันทั่วไป จะใช้งบประมาณ 2,500 บาท/1 ตารางเมตร ร่องระบายน้ำรูปแบบธนาคารน้ำใต้ดิน จะถูกกว่าแบบเดิม 4 เท่า และตอบโจทย์แก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีกว่า

โครงการร่องระบายน้ำรูปแบบธนาคารน้ำใต้ดิน บ้านโนนคูณ เป็นการประยุกต์มาจาก “ธนาคารน้ำแบบปิด” มีข้อดีคือ 

 1. ทำให้น้ำไหลลงบ่อใต้ดินได้รวดเร็วมาก ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน 

 2. ทำให้ดินมีความชุ่มชื้น ลดความร้อนในฤดูแล้ง ที่สำคัญ คือ สามารถกักเก็บน้ำไว้ใต้ดินเพื่อใช้ในฤดูแล้ง โดยการศึกษาที่ผ่านมาระบุว่าสามารถเติมน้ำลงชั้นใต้ดินได้ไม่น้อยกว่า 6 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง หรือ 6,000 ลิตรต่อชั่วโมง ซึ่งในระยะยาวคาดว่าจะช่วยหล่อเลี้ยงระบบนิเวศของห้วยบุนาให้มีน้ำหล่อเลี้ยงในฤดูแล้งได้ เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของลำห้วย และฟื้นฟูแหล่งน้ำใต้ดินให้พื้นที่มีน้ำบาดาลใช้ได้ตลอดทั้งปี

3.  ไม่มีน้ำขังในท่อ ทำให้ไม่เป็นที่เพาะพันธุ์ของยุงลาย ป้องกันการระบาดของไข้เลือดออก

4.  ประหยัดงบประมาณได้ 4 เท่า จากรางระบายน้ำรูปแบบเดิม

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ