ชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอแม่สอดร่วมสืบสานประเพณีแห่สิงโต – มังกรประจำปี 2559
คณะกรรมการแม่สอดมูลนิธิสามัคคีการกุศลร่วมกับคณะกรรมการศาลเจ้าปุงเฒ่ากงม่า สืบสานประเพณีเชิดสิงโต แห่มังกร ประจำปี 2559 ซึ่งจะมีการจัดขึ้นทุกๆปีในช่วงหลังเทศกาลตรุษจีนโดยแบ่งขบวนแห่สิงโต – มังกรออกเป็น 6 ชุด เพื่อนำขบวนสิงโต – มังกรไปคาราวะยังบ้านเรือนที่พักอาศัยของชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอแม่สอด ซึ่งประเพณีดังกล่าวมีตำนานความเป็นมา การเชิดสิงโตได้กล่าวว่า หลายร้อยปีมาแล้วได้มีสัตว์ยักษ์ตัวหนึ่งตัวยาว 8 ฟุต มีหัวที่น่าเกลียดมาก ได้มากินข้าวในนา ที่มณฑลกวางตุ้งในวันตรุษจีน ชาวบ้านจึง ร่วมมือกันคิดหาวิธีขับไล่สัตว์ร้ายนั้นไป โดยไม่คิดทำอันตรายแก่สัตว์ร้ายแต่อย่างใด โดยนำเอาไม้ไผ่ทำเป็นโครง เอากระดาษสีปะสร้างเป็นรูปสิงโตขึ้นมา แล้วให้ชาวบ้าน หลบเข้าไปซ่อนอยู่ด้านในของสิงโตจำลอง จวบจนถึงเวลากลางคืน สิงโตที่ชาวบ้าน สร้างจำลองขึ้นมาได้ออกไปเผชิญหน้ากับสัตว์ยักษ์ สัตว์ยักษ์เมื่อได้เห็นสิงโตจำลองที่ กระโดดโลดเต้น และมีเสียงดัง อันเกิดจากการที่ชาวบ้านได้เอาเครื่องมือที่ใช้ในการ ทำครัวมาตีกระทบกัน ทำให้สัตว์ยักษ์เกิดความหวาดกลัวหลบหนีไป ชาวนาจึงไม่ถูก สัตว์ยักษ์มากินข้าวในนาของตนต่อไป และเพื่อระลึกถึงบุญคุณของสิงโตจำลอง พวก ชาวนาจึงจัดให้มีการเชิดสิงโตเป็นประจำทุกปีในช่วงตรุษจีน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การเชิดสิงโตอาจจะมีจุดกำเนิดมาจากเทศกาลตรุษจีน
ชนชาวจีนให้การนับถือสิงโตมาก เพราะเชื่อว่า สิงโตมีความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งมี อิทธิฤทธิ์ที่จะบันดาลโชคลาภมาให้ คอยช่วยปกป้องและปัดเป่าโพยภัยต่าง ๆ ไม่ให้มารังควานผู้คนได้ ด้วยเหตุนี้จึงถือได้ว่า ประเทศจีนนั้นเป็นต้นกำเนิดตำนานในการ เชิดสิงโต ซึ่งตามตำนานของจีนกล่าวว่า สิงโตและการเชิดสิงโตเกิดขึ้นในรัชสมัย ของพระเจ้าเคี่ยนหลงกุน หรือเคี่ยนล่งกุ๋น หรือเคียนลุง หรือ เขียนหลง(หลี่ซื่อหมิน) แห่งราชวงศ์ชิง หรือเช็ง ซึ่งเสวยราชย์อยู่ระหว่างพ.ศ. 2297 – 2338(ตรงกับสมัยอยุธยา ตั้งแต่ปีที่ 5 แห่งรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนถึงปีที่ 4 ในรัชกาลที่ 1 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ของประเทศไทย)ในวันหนึ่งขณะพระเจ้าเคี่ยนหลงกุ๋นหรือจักรพรรดิ เฉียนหลงเสด็จออกท้องพระโรงมีข้าราชบริพารมาเข้าเฝ้าก็ได้เกิดเหตุการณ์ ท้องฟ้ามืด สลัวลง พร้อมกับปรากฏสัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายกับสุนัขตัวใหญ่ มีขนปุกปุย ลอย ลงมาจากก้อนเมฆทางทิศตะวันออก ทั้งมีเสียงดนตรีประโคมกึกก้อง สัตว์ประหลาด ได้ลอยลงมาหยุดตรงหน้าที่ประทับ แล้วหมอบลงก้มศีรษะทำความเคารพต่อพระองค์ 3 ครั้ง ก่อนลอยหายไปทางทิศเหนือ หลังจากเกิดเหตุการณ์ได้มีขุนนางผู้เฒ่าคนหนึ่งได้กราบทูลว่าสัตว์ที่มาถวายบังคมต่อพระองค์นั้นเป็นสัตว์ประเสริฐ ที่ประกอบด้วย มงคลอย่างสูง มีนามว่า สิงโต (หม่งไซ หรือ ไซ) สัตว์ชนิดนี้ยากที่มนุษย์สามัญจะได้ พบเห็นแต่การที่สัตว์นั้นมาถวายมงคลพระองค์เพราะพระองค์เป็นผู้ทรงบุญญานุภาพ สิงโตจึงมาถวายบังคม เพื่อมาแสดงความจงรักภักดี และอวยพรแด่พระองค์ พระเจ้า เคี่ยนล่งกุ๋นได้ฟังก็เกิดปิติโสมนัส พร้อมตรัสสรรเสริญสิงโต ต่อมาเมื่อราษฎรได้ทราบ เหตุการณ์ดังกล่าว ก็ได้พากันจัดหารูปสิงโตมาตั้งเคารพบูชาไว้ที่บ้านของตน ต่อมา มีชาวจีนสกุลโง้ว(แซ่โง้ว) ได้คิดทำหัวสิงโตขึ้นมาใช้แทนสิ่งที่เคยลอยลงมาจากฟ้า หา เครื่องดนตรีประกอบให้มีที่เสียงเร้าใจ ชวนให้สนุกสนาน โดยใช้คนจับหัวเชิด แสดงคาราวะต่อผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ถือว่าเป็นมิ่งมงคลแก่ผู้รับการคาราวะ เปรียบเสมือน เป็นพระเจ้ากรุงจีน สิงโตจึงเกิดขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ส่วนประเพณีการแห่มังกรเริ่มมีขึ้นในราชวงศ์ฮั่น แรกเริ่มเดิมที่เป็นพิธีการบูชาบรรพบุรุษและภาวนาให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ต่อมาค่อยๆพัฒนาเป็นกิจกรรมบันเทิงที่นิยมชมชอบของชาวจีนทั่วประเทศ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////