กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและประชาชนตอบโจทย์การจัดการโควิดภาคใต้

กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและประชาชนตอบโจทย์การจัดการโควิดภาคใต้

บัณฑิตา อย่างดี ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา

เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2564 สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการภาคใต้ ร่วมกับศูนย์ข่าวภาคใต้ไทยพีบีเอส และองค์กรประชาชนภาคใต้ จัดเวทีชุมชนท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom Meeting มีการปาฐกถาโดย นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา

การเสวนาเรื่อง “กระจายอำนาจ” สู่ชุมชนตอบโจทย์การจัดการวิกฤตระดับชาติหรือไม่ โดยวิทยากรประกอบด้วย นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา, ภญ.ชโลม เกตุจินดา สมาคมผู้บริโภคสงขลา, นายฮุสณี บินหะยีคอเนาะ ผู้จัดการโรงเรียนศาสบำรุง ดำเนินรายการโดย นายปิยะโชติ อินทรนิวาส สมาชิกสภาผู้ชมฯ นางสาวติชิลา พุทธสาระพันธ์ หัวหน้าศูนย์ข่าวภาคใต้ไทยพีบีเอส มีผู้เข้าร่วมเวทีจากหลายจังหวัดในภาคใต้

นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา

นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา กล่าวว่า การจัดการโควิดที่พังงามีความร่วมมือร่วมใจกันดี ภาครัฐในทุกหน่วยงานเป็นหนึ่งเดียว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นเจ้าภาพร่วมกัน หลักการบริหารจัดการเน้นแก้ปัญหาจากความเป็นจริง ใช้กฎหมายที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาให้เจ้าหน้าที่คลายความกังวล พังงามีการตั้งด่านทุกหมู่บ้านเป็นเวลาหลายเดือน ทำให้พี่น้องตระหนัก หากมีใครแอบเข้ามา อสม. ผู้นำท้องถิ่น รู้ทันที

จังหวัดพังงาเป็นจังหวัดแรกที่จัดตั้งคลังอาหาร ให้ทุกตำบลมีข้าวสารเพียงพอ การเตรียมรับมือกับโควิดต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก ทุกตำบลต้องมีการจัดการภัยพิบัติ และโรคอุบัติใหม่ จัดตั้ง Local Quarantine ในระดับตำบล จัดตั้งโรงพยาบาลสนามในระดับอำเภอ ส่งผลให้จังหวัดพังงามีผู้ติดเชื้อน้อยเป็นอันดับ 2 ของภาคใต้รองจากจังหวัดสตูล

ในส่วนเรื่องเศรษฐกิจ รายได้ส่วนใหญ่มาจากท่องเที่ยว ลูกหลานตกงาน เป็นโจทย์ใหญ่ว่าจะทำอย่างไร กำลังขับเคลื่อนให้เปิดบางพื้นที่เพื่อให้เศรษฐกิจเดินไปได้

นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา

นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา กล่าวว่า อปท. ถูกบั่นทอนทั้งการบริหารงานบุคคล งบประมาณ และกฎหมายที่รวบอำนาจไว้ส่วนกลางมาโดยตลอด นายกไม่สามารถเลือกปลัด งบประมาณหายไปทุกปี ตอนนี้เหลือ 20% ยุคนี้ต้องอยู่แบบ New Normal แต่กฎหมายยัง Old Normal ทำให้ อปท. ทำงานยาก ถ้ากระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง การจัดหาวัคซีน การตรวจโควิดโดยท้องถิ่นจะสามารถทำได้ทั่วถึง วิกฤตโควิดสามารถคลี่คลายได้ ถึงเวลาที่ประชาธิปไตยต้องกินได้ กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นต่างๆ

ภญ.ชโลม เกตุจินดา สมาคมผู้บริโภคสงขลา

ภญ.ชโลม เกตุจินดา สมาคมผู้บริโภคสงขลา กล่าวว่า การบริหารจัดการของรัฐมีช่องว่างหลายเรื่อง อปท. ซึ่งใกล้ชิดกับประชาชนสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ไหม กฎหมายให้ภาคประชาชนและท้องถิ่นเข้าร่วมจัดการโควิดได้ โดย พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกัน มีผู้แทนจาก อปท. ให้ อปท. ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน เช่น สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ คนในท้องถิ่นมีความรู้ โรงเรียน วัด มัสยิด พึ่งพาได้ สามารถทำ Community Home Isolation ได้ สื่อมวลชนบางสำนักนำเสนอข่าวได้ดีประสานงานได้ดี แต่อย่าทำแค่ช่วงเดียว ขอให้เดินร่วมกันต่อไปนานๆ

นายฮุสณี บินหะยีคอเนาะ ผู้จัดการโรงเรียนศาสบำรุง กล่าวว่า ประชาชนเป็นเจ้าของภาษี แต่ถูกเปลี่ยนให้รัฐบาลและราชการเป็นเจ้านาย มีข้อบังคับมากมาย ในขณะที่ส่วนกลางไม่สามารถจัดการโควิดได้ ต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ปฏิรูประบบราชการ เลือกตั้งผู้ว่าฯ แล้วเขาจะทำงานให้ประชาชน ขอให้ทุกจังหวัดดูแบบอย่างการทำงานเชิงรุกแบบ ผวจ.พังงา ในส่วนภาคประชาชนสามารถดูตัวอย่างจากจะนะ

สมาคมโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามร่วมกันบริหารจัดการรับมือกับโควิด ทำโรงพยาบาลสนาม มีข้อเสนอสูตร 15:15:15 โดย 15 วันแรกล็อคดาวน์ทั้งจังหวัด จากนั้นปลดล็อคจังหวัด ล็อคดาวน์ 15 วัน ในพื้นที่อำเภอที่ติดเชื้อสูง และล็อคดาวน์เฉพาะตำบลที่มีผู้ติดเชื้อ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

Prev

December 2024

Next

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

25
26
27
28
29
30
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1
2
3
4
5

21 December 2024

Nothing to show.

เข้าสู่ระบบ