จุดไฟในพายุ : สันติภาพภาคใต้ในวิกฤติการเมือง

จุดไฟในพายุ : สันติภาพภาคใต้ในวิกฤติการเมือง

จุดไฟในพายุ : สันติภาพภาคใต้ในวิกฤติการเมือง

                 สถานการณ์ทางการเมืองที่อยู่ระหว่างจุดเปลี่ยน ทำให้เยาวชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สะท้อนมุมมองถึงสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้  รวมถึงทิศทางกระบวนการพูดคุยสันติภาพในพื้นที่ พวกเขาจะเข้ามามีส่วนร่วมในการเข้ามาหนุนเสริมให้เดินหน้าได้อย่างไร  

             มูฮำหมัดอามีน หะยีรอซะ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีกล่าวว่า หลังจากรัฐบาลได้ประกาศยุบสภา    สถานการณ์แน่นอนก่อนหน้านี้ตัวแทนของภาพรัฐที่เข้าร่วมการพูดคุยสันติภาพรัฐบาลประกาศยุบสภา   สิ่งหนึ่งที่เราได้เห็นมาตลอดคือข้อเรียกร้องอย่างที่เราทราบดีอยู่แล้วว่าข้อเรียกร้องห้าข้ออยากให้ผ่านสภา  แต่ตอนนี้เมื่อรัฐบาลประกาศยุบสภาเสร็จแล้วแสดงว่าสภาก็ไม่มีอะไรแล้ว  ข้อเสนอห้าข้ออาจไม่ได้ถูกรับรองแน่นอน  แต่ยังว่ากระบวนการสันติภาพจะต้องเดินหน้าต่อ

           “เป้าหมายหลังจากนี้บีอาร์เอ็น ข้อเสนอต้องผ่านการรับรองก่อนเมื่อไม่มีสภากระบวนการพูดคุยก็จะไม่เดินหน้าต่อไปอย่างที่บีอาร์เอ็นประกาศผ่านเฟสบุ๊คหรือว่าขึ้นยูทูปที่ออกก่อนหน้านี้ ทิศทางในอนาคตจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่ระยะเวลาที่จะเกิดการเดินหน้าต่อหรือไหมขึ้นอยู่กับการเลือกตั้งว่าจะเกิดขึ้น”

            อัสริ ปาเกร์  นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่าวันนี้ถ้าเรามองในทิศทางสันติภาพจะเดินไปทางไหนผมเชื่อว่ามันเกี่ยวเนื่องกับปรากฎการทางสังคมและการเดินหน้าต่อไปไม่ว่าจะเป็นสังคมภาคใต้เองหรือกรุงเทพเองก็ตาม   เพราะฉะนั้นเราอาจจะพูดได้ว่าสถานการณ์ในกรุงเทพฯของเรามีปัญหาเกิดการชุมนุมทางการเมืองขึ้นผู้คนมีความคิดที่หลากหลายมีความแตกแยกและตอนนี้รัฐบาลก็ประกาศยุบสภาถือว่าประเทศไทยเข้าสู่เกียร์ว่าง     แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการสันติภาพจะต้องเดินไปข้างหน้า  ถึงแม้ตอนนี้ขบวนการสันติภาพอาจจะไม่มีความแน่นอนของรูปแบบ แต่ขบวนการสันติภาพจะเดินไม่ว่าจะรูปแบบไหนหรือทิศทางไหนก็ตาม

               “ อีกประเด็นหนึ่งที่เราต้องตั้งคำถามคือวันนี้เรามีกระบวนการสันติภาพที่มีการเปิดโอกาสให้ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ในแง่ของนิยามสันติภาพไม่ว่าจะเป็นรัฐไทย หรือ บีอาร์เอ็นเองเหมือนกันหรือไหม   ถ้าเราฝืนการพูดคุยกันไปเรื่อยๆแต่นิยามคำว่าสันติภาพเกิดการไม่ลงตัวกันสันติภาพอาจเกิดขึ้นไม่ได้ ณ ปัจจุบันการพูดคุยอาจจะหยุดชะงักลงเพราะการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง    ในอนาคตเราไม่สามารถตอบได้ว่าขั้วการเมืองขั้วไหนที่ขึ้นมาเป็นรัฐบาลและจะให้ความสนใจในการแก้ปัญหาด้วยกันเปิดการพูดคุยและเชื่อว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนเพราะทางออกของปัญหาคือการพูดคุย”

          พวกเขาบอกด้วยว่าไม่กังวลว่าการพูดคุยสันติภาพในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะหยุดชะงักเพราะการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองแต่ไม่ว่าขั้วไหนจะขึ้นมาเป็นรัฐบาลเชื่อว่าจะต้องมีการผลักดันการพูดคุยให้เดินหน้าต่อไปแม้รูปแบบหรือทิศทางการพูดคุยจะเปลี่ยนไป   ซึ่งงานสันติภาพคงไม่ใช่แค่หน้าที่ของรัฐบาลหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น  แต่เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนร่วมกันในการผลักดัน และทุกคนต้องอดทนเพื่อพิสูจน์การหาทางออก และชัยชนะของสันติภาพที่เกิดขึ้น รวมถึงคนรุ่นใหม่อย่างพวกเขาด้วย

    

                 มูฮัมหมัดเอาวัล บายา นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีกล่าวว่า  ที่เราสามารถทำวันนี้ได้คือเรียนรู้และทำความเข้าใจเขาต้องการอะไรพื้นที่เราเป็นแบบไหน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะอยู่อย่างไร เราต้องเป็นตัวขับเคลื่อนเองไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่หรือกลุ่มคนบางคน ต้องมาจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ไม่ว่าจะเป็นรือเสาะ ยะหาบ้านผมเองและอีกหลายพื้นที่ที่เป็นสีแดงจะต้องมีเสียงกลุ่มคนด้านในเข้ามาเพื่อขับเคลื่อนให้เดินต่อไปให้ได้

 

              มูฮำหมัดอามีน หะยีรอซะ กล่าวว่า คนในพื้นที่สามจังหวัดควรใช้โอกาสตรงนี้ผลักดันไปเสนอให้รัฐบาลรู้ว่า สันติภาพรูปแบบแบบไหน การปกครองพิเศษหรือยังภายใต้รัฐธรรมนูญที่รัฐบาลสามารถทำได้ ถ้าเป็นข้อเสนอที่อยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญแน่นอนอาจจะมีแนวโน้มที่ทางผู้ที่อ้างว่าจะปฎิรูปทางการเมืองจะรับข้อเสนอในพื้นที่ และอาจจะทำให้ข้อเรียกร้องการเจรจาสันติภาพที่ผ่านมาเห็นผลขึ้นมา

           การพูดคุยแลกเปลี่ยนกันทำให้พวกเขาเห็นทิศทางที่จะเดินหน้าต่อไป แม้สถานการณ์ทางการเมืองตรงส่วนกลางจะไม่เอื้อต่อการพูดคุยสันติภาพ  แต่พวกเขาเห็นว่า นี่อาจเป็นโอกาสในการผลักดันข้อเสนอของคนในพื้นที่ไปสู่สาธารณะ ในวาระที่สังคมไทยกำลังพูดถึงการปฏิรูปประเทศ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ