จังหวัดตากประชุมร่วมกับกรรมการสิทธิมนุษยชนลงพื้นที่พบชาวบ้านที่ถูกเพิกถอนสิทธิครอบครองที่ดิน

จังหวัดตากประชุมร่วมกับกรรมการสิทธิมนุษยชนลงพื้นที่พบชาวบ้านที่ถูกเพิกถอนสิทธิครอบครองที่ดิน

จังหวัดตากประชุมร่วมกับกรรมการสิทธิมนุษยชนลงพื้นที่พบชาวบ้านที่ถูกเพิกถอนสิทธิครอบครองที่ดิน

                เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 นายสุทธา สายวาณิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เดินทางเข้าประชุมร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่โรงแรมเซ็นทาราแม่สอดฮิลล์ รีสร์อท เขตเทศบาลนครแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก กรณีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้รับการร้องขอจากชาวบ้าน เพื่อขอให้ตรวจสอบการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก(แม่สอด-พบพระ-แม่ระมาด) เกี่ยวกับเรื่องที่ดิน ที่ถูกเวนคืนตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) มาตรา 44 โดยมีนายแพทย์นิรันทร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชน พร้อมด้วยคณะ ได้เดินทางมาที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อร่วมประชุมกับชาวบ้านตำบลท่าสายลวด อ.แม่สอด กว่า 300 คน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง นายสุทธา สายวาณิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ตัวแทนสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตัวแทนราชพัสดุจังหวัดตาก กรมโยธาธิการและผังเมือง , หน่วยพัฒนาที่ดินจังหวัดตาก , ที่ดินอำเภอแม่สอด สาขาแม่สอด หน่วยงานป่าไม้ และภาคเอกชนทั้งสภาอุตสาหกรรม และหอการค้าจังหวัดตาก เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้      อันเนื่องมาจาก ราษฎรในพื้นที่ตำบลท่าสายลวด ได้ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ( คสช. ) ฉบับที่ 17/2558 เรื่องให้ที่ดินในท้องที่ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด ที่อยู่ในเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี เนื้อที่2,182 ไร่ 3 งาน 66 ตารางวา ตกเป็นที่ดินราชพัสดุ ซึ่งหลังจากการเริ่มประกาศตามสั่งของ คสช. และกลุ่มราษฎรมีความเคลื่อนไหวตลอด โดยมีการยื่นหนังสือร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุกหน่วยงาน จนไปสู่การชุมนุมประท้วง ก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆ จึงต้องร้องเรียนไปที่กรรมการสิทธิมนุษยชน ( กสม. )

                ในที่ประชุม นายแพทย์นิรันทร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชน ได้ให้ฝ่ายตัวแทนชาวบ้าน และแกนนำ ได้นำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีแกนนำหลายคน ต่างแสดงความคิดเห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ขณะที่ทางจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจง ถึงขั้นตอนการดำเนินการ ซึ่งบรรยากาศในที่ประชุม ทางคณะผู้ติดตามกรรมการสิทธิมนุษยชนได้สอบถาม ถึงขั้นตอนการนำเสนอที่ดินที่เกิดปัญหา ว่า ทำไมทางจังหวัดต้องเสนอไปให้ คสช.ประกาศใช้ ทั้งที่มีที่ดินของชาวบ้านครอบครองมานาน ทำให้เกิดปัญหาความเดือดร้อน ขณะที่หน่วยงานของรัฐในพื้นที่ พยายามชี้แจง ซึ่งเรื่องนี้ ในส่วนภูมิภาคแจ้งว่าให้ส่วนกลางเป็นผู้ดำเนินการ เลือกพื้นที่ของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ทาง คณะกรรมการสิทธิฯ ได้เก็บข้อมูลจากฝ่ายชาวบ้าน และทางภาครัฐในพื้นที่ชี้แจง และแสดงความคิดเห็นไปจำนวนมาก รวมทั้ง ข้อมูลด้านเอกสารด้วย เพื่อนำไปข้อมูลไปให้ทางรัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหา ต่อไป

ภาพ/  ศิริพันธ์  นันทะศิริ  ข่าว/ อัศวิน  พินิจวงษ์

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ