คุยวิทยาศาสตร์ง่ายๆ สไตล์ราฟ ยอคมัน

คุยวิทยาศาสตร์ง่ายๆ สไตล์ราฟ ยอคมัน

 

ราฟ ยอคมัน นักวิทยาศาสตร์วิวัฒนาการชาวเยอรมัน ผู้ซึ่งต้องการทำให้วิทยาศาตร์กลายเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยการสื่อสารผ่านสารคดีทางธรรมชาติ เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจในธรรมชาติรอบตัว เกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรมากขึ้น ได้มาบอกเล่าประสบการณ์ในการทำงานในการสื่อสารผ่านสารคดีธรรมชาติ  ณ สำนักงาน Thai pbs ถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ

20162201183909.jpg

ทำไมจึงสนใจที่จะสื่อสารเรื่องของธรรมชาติ

เนื่องจากเป็นนักวิทยาศาสต์ด้านวิวัฒนาการ ต้องการให้คนเกิดความเข้าใจในสัตว์ พืช รอบๆ มากขึ้น  เริ่มจาการใช้เครื่อมือง่ายๆในการผลิตสื่อแบบ Nature Document ในเยอรมันนีบ้านเกิดของตนเอง และรู้สึกดีใจที่จะออกแบบสารคดีธรรมชาติให้กับคนอื่นๆได้ดู ส่วนในไทยนั้นเปิดอินเตอร์เน็ต พบรายการ เนเจอร์สปาย ที่มีความคล้ายคลึงกับที่ตนเองทำ รายการเหลานี้เป้าหมายทำรายการเด็ก แต่ผู้ใหญ่ดูได้

ผมได้มาเที่ยวในไทยช่วงวันหยุด มีความตื่นเต้นที่ได้เห็นสัตว์ที่หลากหลาย เพราะในเยอรมันความหลากหลายไม่เท่า อย่างนกในประเทศไทยมีนับหมื่นสายพันธ์ แต่ในเยอรมันมีเพียงสองพันกว่าสายพันธุ์ วิธีการทำงานของผมเริ่มจากหาสัตว์ หรือแมลงที่สนใจ แล้วเริ่มศึกษาพฤติกรรม บวกกับความรู้เชิงชีววิทยา จึงเริ่มสร้างการสื่อสารให้น่าสนใจได้ เป็นงานวิดีโอ

จะสามารถทำให้เรื่องราวเชิงวิทยาศาสตร์ไปสู่การเล่าเรื่องที่เข้าใจง่ายๆได้อย่างไร

ผมว่าต้องเลิกใช้ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ ให้สิ่งที่เขารู้ แล้วสื่อให้เกิดความเข้าใจ นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่จะใช้ศัพท์เฉพาะบ่อย พูดภาษาวิทยาศาสตร์ตลอดเวลา ทำให้เขาคุ้นชิน จะต้องเปลี่ยนมาสวมบทบาทเป็นล่าม ที่จะอธิบายโดยคำทั่วไป เพื่อความรู้เรื่องของสาธารณะ นักวิยาศาสตร์มีความตื่นเต้นที่จะเล่าเรื่อง การตื่นตระหนัก คือ พลังในการเล่าเรื่องที่ดี 

การที่คนไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์แต่จะเล่าเรื่องทางวิทยาศาตร์จะทำอย่างไร

สำหรับผมการเข้ามาในโลกวิทยาศาสตร์  ไม่ต่างกับไปต่างประเทศ เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง ข้อเท็จจริง ครั้งแรกที่เข้ามาในไทยเกิดความตกใจถึงวัฒนธรรมที่แตกต่าง ต้องค่อยๆเรียนรู้ หลังจากนั้นจึงเริ่มคุ้นเคย พอใช้เวลานานรู้สึกเป็นมิตร  จนปัจจุบันเกือบ16 ปีแล้วที่ได้เรียนรู้เมืองไทย เหมือนเราเป็นนักเดินทางที่เข้าไปในโลกที่คนคิดอีกแบบ การเข้าใจในทันทีเป็นไปได้ยาก การเป็นนักสื่อสารทางวิทยาศาตร์แบบนี้ เหมือนกับเราเป็นล่ามที่จะต้องเข้าใจโลกเฉพาะ

กระบวนการที่คุณใช้เป็นแบบไหน

กระบวนการทำงานของผม คือ การศึกษาทำให้พบข้อตกใจ แปลกใจ ความตื้นเต้นจะทำให้เกิดการสืบค้น มันเป็นกระบวนการยาวนาน ต้องใช้ความพยายามมาก เริ่มแรก ผมเรียนรู้เรื่องพืช สัตว์อย่างเช่น มดแดง น้อยคนรู้จักข้อมูลพื้นฐานจริงๆของมดแดง ว่ามันสร้างรังอย่างไร เพราะ รังเป็นเหมือนสังคม ที่มีนางพญามด มีมดงานที่ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ แต่ทุกตัวยอมตายเพื่อปกป้องรังได้ เป็นองค์ความรู้ที่น่าสนใจ มดเป็นสัตว์ที่เสียสะ ความมีชีวิตที่เป็นเจ้าของเผ่าพันธุ์เป็นสิ่งที่น่าถ่ายทอดต่อ และมดยังมีศาสตร์แห่งวิวัฒนาการที่สำคัญ

คนอยากได้อะไรเร็ว อยากได้สิ่งที่บันเทิงคุณจะมีวิธีการสื่อสารเรื่องวิทยาศาตร์ให้น่าสนใจได้อย่างไร

ผมยอมรับนะ ถ้าเป็นเรื่องของมด คนอาจไม่ดู แต่มีการเชื่อมโยงถึงประสบการณ์ของมนุษย์ เพื่อบอกเล่าเรื่องราว ให้คนมีการเชื่อมโยง หรืออยู่ตรงไหนคนจะสนใจมากขึ้น อย่างในไทย ถ้าผมจะเล่าเรื่องตุ๊กแก ผมจะเล่าผ่านประสบการณ์เจอตุ๊กแกในห้องน้ำ ซึ่งเป็นประสบการณ์ร่วม หรือ อาจเล่าเรื่องสัตว์ แมลง ผ่านมิติของอาหาร และเชื่อมโยงไปสู่พฤติกรรม แล้วพาไปสู่อีกโลกหนึ่ง คือ โลกวิทยาศาสตร์

ที่สำคัญเลย เราต้องอย่าละเลยโลกของเรา เราต้องเชื่อมโลกของเรากับโลกวิทยาศาสตร์  เริ่มจากจุดที่เรารู้ ใช้คำที่คนทั่วไปคุ้นเคย แต่ขณะเดียวกันเราก็จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะด้าน  วิทยาศาตร์มีหลายแขนง ผมศึกษาศาตร์แห่งวิวัฒนาการ เห็นถึงความเชื่อมโยง สามารถนำเรื่องราวมาต่อกัน เป็นการเข้าใจองค์รวม

ช่วยเล่าเรื่อง ศาสตร์แห่งวิวัฒนาการ Evolution Science ได้ไหม

วิวัฒนาการสำหรับมนุษย์เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก แม้แต่นักชีววิทยาซึ่งมีหลายแขนง ก็ไม่เข้าใจจริงๆ แต่จริงๆไม่ยากที่จะเข้าใจ แนวคิดที่อยู่เบื้องหลัง เช่น ถ้าเรามองออกไปข้างนอกจะเห็นทุกอย่างเหมือนเดิมในทุกๆวัน  หากพอเรามีลูก มองลูกของเรา เขาจะไม่เหมือนเรา แต่เขาจะเหมือนเรามากกว่าเหมือนคนอื่น สัตว์เลี้ยง ก็เช่นกัน นักเพาะพันธุ์สามารถเพาะสัตว์ให้ได้คุณลักษณะตรงตามที่ต้องการได้ เช่น  สามารถเพาะพันธุ์นกพิราบที่สวย(สนโค้ง สีขาว) ได้ภายในไม่เกิน100ปี โดยเริ่มจากเลือกตัวที่มีขนสีขาวสีขาวในขน พอเราผสมในรุ่นต่อไปจะมีสีขาวเพิ่มขึ้น และในที่สุดนกสีดำจะกลายเป็นสีขาวทั้งหมด ทำได้ในสิบยี่สิบปี ในร้อยปีนกพิราบจะกลายเป็นนกอย่างอื่นได้เลย

กรณีไดโนเสาร์ เราคิดว่าสูญพันธุ์แล้ว แต่นกนี่แหละ คือ ไดโนเสาร์ พอเรามองไปเราไม่รู้หรอกว่าไดโนเสาร์หน้าตาเป็นอย่างไร มีการค้นพบไดโนเสาร์ที่มีขน ถ้าเทียบกับนกที่สามารถเปลี่ยนไปได้ในช่วงไม่กี่สิบปี แล้วลองคิดว่าไดโนเสาร์ที่ตายไป65ล้านปีที่แล้ว มันจะเป็นการเปลี่ยนที่มากมายขนาดไหน สิ่งสำคัญทางชีววิทย เราสามารถดูได้ ดูจากยีนส์ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงว่าสัตว์จะหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งก็พบว่าสัตว์มีการเปลี่ยนนิดเดียวในยุค แต่ถ้าจะเห็นผลชัดต้องการเวลาที่ยาวนาน และ วิวัฒนาการก็ไม่ได้แปลว่าจะพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นนะ ส่วนใหญ่จะเลวลงด้วยซ้ำ  ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในมนุษย์ตามยุคสมัย ถ้าเข้าใจเราจะรู้ว่าที่มองว่าโลกจะมั่นคงแต่ในความจริงโลกนี้มีไม่มีความมั่นคง โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นี่คือสิ่งที่ผมพยายามอธิบาย

หากเป็นนักวิทยาศาสตร์ จะเล่าเรื่องวิวัฒนาการซึ่งอยู่ในการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาจะเล่าในแนวไหน

ผมว่าเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ่งกำลังวิวัฒนาการ นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้ทุกอย่างชัดเจน แต่มีความคิดว่าอะไรเกิดขึ้น และคาดการณ์ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น มันมีความคิดหลายอัน แล้วเราเลือกอันที่มีหลักฐานที่ดีที่สุด แต่ขณะเดียวกันก็ต้องพยามหาหลักฐานว่าความคิดนี่ผิดด้วย

ผมว่าเมื่อมีคำถาม และต้องการหาคำตอบ เราต้องฟังคำถามและหาคำตอบ การไปหานักวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้คำตอบ เขาก็ไปสืบค้นดูว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ตรงไหนบ้าง  ทำไมสิ่งนั้นเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้น สิ่งนี้สามารถอธิบายได้ แต่ต้องคิดว่าต้องคิดว่าจะอธิบายอย่างไร การทำให้เด็กเข้าใจ ต้องชัดชัดเจน แต่นั้นก็ไม่สำคัญ สิ่งสำคัญ คือ คำถามของเด็กเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เป็นจุดเริ่มต้นของการค้นหา ไม่ใช่หาคำตอบ แต่เป็นการหาหนทางที่จะนำไปสู่การหาคำตอบ และไม่ใช่ง่ายที่จะตอบ นักวิทยาศาตร์หลายคนพบว่าจากคำถามเล็กๆก็นำไปสู่คำตอบเล็กๆมากมาย และจากคำตอบเล็กๆเหล่านี้ก็นำไปสู่ข้อค้นพบอันยิ่งใหญ่

การเชื่อมโยงกับเด็กเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ จะทำอย่างไร

กรณีมดแดง ผมอาจจะเอาเด็กที่โดนมดแดงกัดเป็นตัวต้นเรื่อง แล้วรู้สึกโกรธของเด็กมองต้นไม้เห็นรังมด จึงรื้อทำลาย หลังจากนั้นพอมองรังที่โดนทำลาย จะเห็นมดคลานกลับมา เห็นมดเอาไหมมาเชื่อมรัง ในขณะที่มดพยายามช่วยตัวอื่น เด็กๆอาจจะอยากเห็นตรงนี้

การเล่าเรื่องยากๆ เช่น ธรณีวิทยาให้เด็กตื่นเต้นได้อย่างไร เพราะไกลตัวและนิ่งมาก

ธรณีวิทยาเป็นเรื่องยาก เวลาเป็นเรื่องหลักของธรณีวิทยา ผมมีหลานแค่เรื่องเวลาเขายังไม่เข้าใจ  ต้องช่วงช่วงวัยรุ่นตอนต้นขึ้นไปที่จะเข้าใจเรื่องเวลา แต่วิธีหนึ่งธรณีวิทยาเกิดจากการซ้อนของชั้นตะกอนอาจจะเล่าผ่านตรงนี้ ผมว่ากระบวนการในการหาคำตอบ จากคำถามหลายๆคำถาม เราจะพบคำตอบบางอย่างขึ้นมา ผู้ชำนาญการเขาแค่ตอบความจริงที่ได้ แต่เราไม่รู้ว่าเขารู้สิ่งนั้นได้ย่างไร เราต้องสร้างให้เด็กตั้งคำถามกับทุกสิ่ง ส่วนใหญ่เวลาเราสงสัยบางอย่าง เราเข้าอินเทอร์เน็ต พื่อหาคำตอบ ได้ข้อเขียนมากมาย แต่เราไม่เคยมีคำอธิบาย และเราไม่รู้ว่าทำไมถึงอรฺบายแบบนี้  สิ่งนี้เกิดข้นในกระบวนการในโรงเรียนด้วยเช่นกัน เราพยายามหาแต่คำตอบ แต่เราไม่รู้กระบวนการในการหาคำตอบ

เราต้องหากระบวนการ และทำตามกระบวนการเพื่อหาคำตอบ ซึ่งจะได้เกิดการเรียนรู้ในระหว่างนั้น ท้ายที่ เราต้องใช้ชีวิตแบบเข้าใจ และรู้เท่าทันมัน ในทุกๆประเด็นที่บอกว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี  เด็กจะต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจด้วยตัวเอง เราต้องเรียนรู้ตั้งแต่เด็กว่าไม่มีสิ่งไหนดี หนึ่งไหนไม่ดี ทุกอย่างจะมีผลข้างเคียง

การทำงานด้านการสื่อสารสารคดีธรรมชาติในไทยของคุณคืออะไร

ไม่ว่าผมจะไปที่ไหน ผมเห็นสิ่งที่สนใจ แต่ไม่เข้าใจ เกิดความรู้สึกอยากจะอธิบายโดยใช้ความรู้ในด้านชีววิทยาที่ผมถนัด ผมรักธรรมชาติ สนใจ สัตว์ พืช มองว่าในไทยมีความหลากหลายมากเมื่อเทียบกับยุโรป และเมื่อธรรมชาติถูกทำลายแล้ว มันจะไมหวนคืนมาอีก ต้องการที่จะทำให้คนตระหนักที่จะอนุรักษ์ ผมคิดว่าการทำงานร่วมกับคนอื่นทำให้เกิดความรู้เพิ่มเติม และรู้สึกว่าน่าสนใจและตื่นเต้นที่จะได้ทำตรงนี้  ประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจที่จะสื่อสาร เรามีพลังที่จะสื่อสารเพื่อให้เกิดการรักษาองค์ความรู้ที่จะสูญหาย สามารถออกไปพูดคุย ทำให้ผู้คนได้เรียนรู้ความีค่าของสิ่งแวดล้อม เราสามารถสร้างสรรการสื่อสารที่มีพลังมากพอทำให้มนุษยชาติพิทักษ์ธรรมชาติในโลกนี้

author

เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง related posts

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ