เปิดรับผู้ผลิตสื่อเพื่อร่วมสื่อสารประเด็นของภาคอีสาน กับอยู่ดีมีแฮง Thai PBS

เปิดรับผู้ผลิตสื่อเพื่อร่วมสื่อสารประเด็นของภาคอีสาน กับอยู่ดีมีแฮง Thai PBS

อยู่ดีมีแฮง คือ แบรนด์สื่อออนไลน์สำหรับคนอีสาน ที่สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส พัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่ผลิตสื่อและเป็นพื้นที่ขับเคลื่อนประเด็นในภาคอีสาน เพื่อบอกเล่า สะท้อนสถานการณ์ทางสังคม และนำไปสู่การมีส่วนร่วมหาทางออกที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ 20 จังหวัดภาคอีสาน  โดยเชื่อมโยงการทำงานกับสื่อชุมชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา และเครือข่ายสื่อพลเมืองในภาคอีสานผ่านการร่วมผลิตเนื้อหาและสร้างกิจกรรมด้านการสื่อสารในพื้นที่มาตั้งแต่ปี 2561

ในปี 2564 สถานการณ์ของภาคอีสานมีวาระที่จะต้องสื่อสารขับเคลื่อนต่อเนื่อง  อยู่ดีมีแฮง จึงเปิดรับผู้ผลิตสื่อที่สนใจร่วมเป็นทีมงานในการสื่อสารประเด็นของภาคอีสาน เสนอประเด็นเพื่อสมัครร่วมเป็นทีมผู้ผลิตสื่อพลเมืองตามรายละเอียดดังนี้   

1.แนวคิด : อยู่ดีมีแฮงเป็น Content Provider เล่าเรื่องอีสานไปยังคนต่างจังหวัดที่สนใจคนท้องถิ่น “ได้รู้ เข้าใจ และหวงแหน”

อยู่ดีมีแฮง เล่าเรื่องอีสาน เพื่อคนอีสาน และขยายมุมมองของอีสานสู่สากล โดยทำงานร่วมกับชุมชนค้นหาคุณค่าของตนเอง และร่วมกันสื่อสารประเด็นนั้นสู่สังคมวงกว้าง เพื่อ สร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ ในวิถีของชาวอีสาน และความรู้สึกหวงแหน นำไปสู่ความพยายามปกป้องดูแลทรัพยากร ภูมิปัญญา และคุณค่าในวิถีชีวิต วัฒนธรรม โดยมีการเล่าเรื่องดูสนุก “ม่วนซื่น” เนื้อหามุ่งเน้นให้เห็นรากเหง้า ความเป็นไป อนาคต และนิยามใหม่ของอีสาน

2.วิธีการทำงาน

อยู่ดีมีแฮง มีวิธีการทำงานร่วมกับระหว่าง ทีมผลิตสื่อพลเมือง กับทีมงานของสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส  และเครือข่ายสื่อชุมชน ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษาในรูปแบบกองบรรณาธิการเครือข่ายสื่อพลเมืองเพื่อกำหนดประเด็นและออกแบบสื่อสารในหลากหลายแพลทฟอร์ม โดยมีผลผลิตสื่อเป็นชุดแบบ Transmedia  ประกอบด้วย

  • สื่อ Online ลักษณะ Clip CL สารคดีข่าว เผยแพร่ทางเพจ อยู่ดีมีแฮง
  • อินโฟกราฟิก แบนเนอร์ หรือชุดภาพ เผยแพร่ทางเพจ อยู่ดีมีแฮง
  • บทความ เรื่องเล่า บทสัมภาษณ์ พร้อมภาพประกอบ เผยแพร่ทางเว็บ TheCitizen.plus
  • ปักหมุดพิกัดพร้อมภาพและเรื่องเล่า ในประเด็นที่นำเสนอทาง C-Site Report.com
  • On Ground ขับเคลื่อนประเด็นร่วมกับเครือข่ายฯ ตามแผนงาน เช่น จัดเวทีในพื้นที่ FB LIVE ขยายบางประเด็น
  • อื่น ๆ

3.กลุ่มเป้าหมาย : คนต่างจังหวัดที่สนใจเรื่องท้องถิ่น

4.วาระเพื่อการสื่อสาร 2564 : กำหนดวาระหลักไว้ 3 กรอบใหญ่ คือ แก้โจทย์ปากท้อง สร้างการเรียนรู้ สะท้อนสถานการณ์พื้นที่ภาคอีสาน ภายใต้ 3 ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ คือ โลกไร้พรมแดน สถานการณ์โควิดและความปั่นป่วนของเทคโนโลยี

5.กรอบเนื้อหาเพื่อการผลิตชุดสื่ออยู่ดีมีแฮงใน ไตรมาส 1-2 /2564  

คอนเซ็ปท์เนื้อหา : ไม่ใช่แค่เพียงการบอกเล่าถึง “ปัญหา” หรือ “ปรากฏการณ์” แต่นำเสนอให้เห็นถึง Solution หรือแนวทางที่จะรอดไปด้วยกัน ทั้ง การถอดบทเรียน ความพยายาม ความสำเร็จ ความล้มเหลว ผ่านปฏิบัติการหรือรูปธรรมจริงของคนในพื้นที่ภาคอีสาน

5.1 ชีวิตคนอีสาน ( Who) คนรุ่นใหม่กลับบ้าน คืนฐานที่มั่น ปากท้อง ด้วยประชากรชาวอีสานส่วนมากมีอาชีพทำเกษตรกรรม ซึ่งมีระยะเวลาจำกัดในแต่ละฤดูกาล ส่งผลให้คนวัยทำงานส่วนมากต้องไปทำงานในเมืองใหญ่ ๆ แต่ในระยะเวลา 2-3  ปี ที่ผ่านมา พบว่ามีเครือข่ายคนรุ่นใหม่เริ่มกลับคืนถิ่นฐานมากขึ้น โดยคนที่กลับมามีทั้ง แบบที่มีความพร้อม ความรู้ เงินทุน และกลับมาแบบที่ต้องเริ่มต้นใหม่จากศูนย์

ทั้งหมดนี้กำลังสะท้อนเรื่องการกลับมาเป็นกำลังส่วนหนึ่งของชุมชน จะมีไหมกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะช่วยสร้างการรับรู้ในมิติต่าง ๆ สร้างความเข้าใจถึงวิถีอีสานต่อสังคม พร้อมหาทางออกร่วมกับชุมชนท้องถิ่นจากวิกฤติเศรษฐกิจ หรือ วิกฤติสังคมในชุมชนของเขาไปพร้อมกัน ไม่เพียงแต่จมอยู่กับปัญหา แต่นำเอาข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ที่มีมายกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชน เศรษฐกิจ รายได้ จะมีคนต้นเรื่อง กลุ่มเครือข่ายที่ทำงานแบบนี้หรือไม่ ถ้ามีเขามีวิธีการอย่าง การทำงานนั้นจะนำไปสู่แนวทางตัวอย่างของการกลับบ้านยุคนี้ได้อย่างไร

5.2 ชีวิตคนอีสาน ( Who) เกษตรกรประกอบการ กู้ชีพเศรษฐกิจฐานราก ระบบตลาดชุมชน ปากท้อง อีสานเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่ทำการเกษตรมากที่สุด แต่ยังมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและรายได้ ซึ่งพบว่าในระดับปัจเจค และระดับเครือข่าย เกษตรกรชาวอีสานได้มีความพยายามในการจัดการระบบการผลิตจากต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำเพื่อสร้างกลไกตลาด และสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการดำเนินกิจการของตัวเองมากขึ้น

ประเด็นนี้อาจตีความได้หลายระดับ เช่น ตลาด/การเชื่อมโยงในชุมชนใกล้เคียงกันเอง  ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ จะมีคนต้นเรื่องหรือเครือข่ายที่ทำงาน หรือแพลทฟอร์มไหนที่เป็นตัวอย่าง มีเคสไหนที่กำลังต้องเผชิญปัญหาและพยายามฝ่าฟันเรื่องนี้หรือไม่ โดยการเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการที่เชื่อมโยงกันในระดับชุมชน  

5.3 ความรู้แห่งยุคสมัย (Knowledge) ทักษะแห่งโลกอนาคต ชนบทดิจิตอล เรียนรู้ ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างก้าวกระโดดส่งผลให้มีความปั่นป่วนในสังคมทุกระดับ โดยเฉพาะจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เป็นทั้งวิกฤติและโอกาสในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ ๆ และการเชื่อมโยงความรู้ทุกระดับเข้าไว้ด้วยกัน จนนำไปสู่การเกิดแพลตฟอร์มการสื่อสารที่หลากหลาย เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือใหม่ ๆ ในการดำเนินชีวิต

ในภาคอีสาน มีคนต้นเรื่อง หรือ มีเครือข่ายทำงานที่สะท้อนเรื่องนี้หรือไม่ ที่เปลี่ยนวิกฤติปัญหาต่าง ๆ เป็นโอกาสในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ มีการรวมกลุ่มกันเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ และนำไปสู่ความรู้ใหม่ หรือ เครื่องมือในการดำเนินชีวิตของคนอีสานโดยมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การทำอุปกรณ์เครื่องใช้ นวัตกรรมที่ใช้ในวิถีคนอีสาน ที่เน้นเรื่องความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือให้เห็นศักยภาพของชาวอีสานในการคิดค้นนวัตกรรม หรือการนำเอาองค์ความรู้ทางวิชาการไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน

5.4 สิ่งแวดล้อม (Environment) ทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า เรียนรู้ +ปากท้อง วิถีชีวิตชนบทอีสานต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก ทั้ง ดิน น้ำ ป่า ซึ่งปัจจุบันมีหลายสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และซ้ำเติมภาพความเหลื่อมล้ำของวิถีผู้คนชาวอีสาน ทั้งที่เป็นปัญหาเดิมเรื่องการใช้ทรัพยากรเพื่อตอบโจทย์การลงทุนของอุตสาหกรรม และความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

การสื่อสารขับเคลื่อนเรื่องนี้จะช่วยสะท้อนสถานการณ์สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรที่ยึดโยงกับวิถีชีวิตของผู้คนชาวอีสาน สามารถบอกเล่าได้หลายแง่มุม ทั้งเรื่องการสื่อสารสถานการณ์ปัญหาเพื่อให้เกิดความตระหนัก อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการแก้ปัญหา หรือการสื่อสารโมเดลแนวทางการแก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนชาวอีสานที่ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเครือข่าย เช่น สถานการณ์น้ำโขง เหมืองแร่ หรือสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ปัญหาป่าไม้ที่ดิน

5.5 Current สถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ข่าวสาร สถานการณ์ทางสังคมในพื้นที่ภาคอีสาน ความเคลื่อนไหวของเครือข่าย ประเด็นมอบหมาย

6.คุณสมบัติผู้ยื่นเสนอเป็นทีมร่วมผลิตและขับเคลื่อนประเด็นภาคอีสาน

6.1 เป็นผู้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะการผลิตสื่อกับสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ หรือหน่วยงานอื่นของไทยพีบีเอส

6.2 มีทักษะและประสบการณ์ผลิตสื่อวีดิโอ และออกแบบสื่อสารอื่นได้หลายลักษณะ เช่น งานวีดิโอ  คลิป CL  อินโฟกราฟิก งานเขียน หรือการสื่อสารรูปแบบอื่นที่หลากหลาย มีทักษะการติดตามสถานการณ์ทางสังคม สามารถหาข้อมูลและเคสที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ถ่ายภาพ ตัดต่อ เล่าเรื่องได้

6.3 มีประเด็นหรือไอเดียเนื้อหาเกี่ยวกับ “ภาคอีสาน” ที่อยากนำเสนอ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน  และเข้าใจคอนเซ็ปต์รายการ รูปแบบ  วิธีการนำเสนอ และ Mood&tone ของ “อยู่ดีมีแฮง” อย่างชัดเจน 

6.4 แสดงถึงความพร้อมของทีมงานและอุปกรณ์ผลิตงานสื่อ เช่น กล้องระบบ HD คอมพิวเตอร์ โปรแกรมตัดต่อหรือโปรแกรมออกแบบที่เกี่ยวข้อง และ Sound หรือ ดนตรีประกอบที่ได้รับลิขสิทธิ์เผยแพร่ถูกต้อง

6.5 มีความพร้อมในการร่วมขับเคลื่อนประเด็นร่วมกับหน่วยงาน เครือข่าย และองค์กรต่าง ๆ โดยสามารถเข้าร่วมประชุมออกแบบการทำงานกับเครือข่ายภาคประชาสังคม ทีมสำนักฯ และลงพื้นที่ผลิตงานตามแผนงานที่ตกลงกัน

7. เงื่อนไขการพิจารณา

7.1  ผู้ยื่นเสนอเป็นทีมร่วมผลิตและขับเคลื่อนประเด็นภาคอีสาน เข้ารับฟังการประกาศคอนเซ็ปต์ ประเด็นที่ต้องการขับเคลื่อน และแนวทางการทำงานของ อยู่ดีมีแฮง ในวันจันทร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564  เวลา  14.30 – 17.30 น.  เพื่อรับทราบเป้าหมายและกรอบประเด็นที่จะนำเสนอ      

7.2 การคัดเลือกทีมพิจารณาจากความเข้าใจในคอนเซ็ปต์ ข้อมูลประเด็นที่เสนอ และการแสดงความพร้อมในการร่วมปฏิบัติงาน โดยขอสงวนสิทธิ์การตัดสินของทีมสำนักฯ และที่ปรึกษา ถือเป็นที่สิ้นสุด โดยแจ้งผลการพิจารณาวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม .2564 ทางเพจอยู่ดีมีแฮง

7.3 ผู้ผลิตสื่อฯ ที่ผ่านการคัดเลือก สามารถทำสัญญาได้เพียง 1 สัญญาในแต่ละรอบเท่านั้น  ไม่สามารถทำสัญญาซ้ำซ้อนในแพลทฟอร์มอื่นของสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะได้

8. การรับฟังการประกาศคอนเซ็ปต์และส่งใบสมัคร

8.1 ผู้สนใจเข้ารับฟังการประกาศคอนเซ็ปต์ อยู่ดีมีแฮง ในวันจันทร์ที่ 22 ก.พ. 2564 เวลา 13.30 –16.30  น.  ให้แจ้งความประสงค์มาที่ อีเมล์ youdeemeehang@gmail.com  ตั้งแต่วันนี้ –  วันอาทิตย์ที่ 21 ก.พ. 2564 ภายในเวลา 17.00 น. เพื่อการจัดส่งรหัส Zoom เข้ารับฟัง 

8.2 หลังการรับฟังการประกาศคอนเซ็ปต์ ผู้สนใจฯ ต้องจัดส่งเอกสารสมัครเป็นทีมเพื่อร่วมผลิตสื่อกับอยู่ดีมีแฮงโดยส่ง 

– เอกสารแสดง Profile ประวัติส่วนตัว และประสบการณ์ผลิตงาน และข้อมูลยืนยันการเคยเข้าฝึกอบรมพัฒนาทักษะการผลิตสื่อกับสำนักฯ หรือหน่วยงานอื่นของไทยพีบีเอส

–  ส่งแบบเสนอประเด็นพร้อมข้อมูลที่สอดคล้องกับคอบเซ็ปต์รายการ โดยจะเสนอ 1 ตอน หรือเป็นชุดเนื้อหา  ส่งมาที่ youdeemeehang@gmail.com ภายในวันอังคารที่ 2 มีนาคม 2564 เวลา 17.00 น.

สอบถามเพิ่มเติม : 02-790-2636 หรือ 094-283-7657 (พุฒิสรรค์) 084-486-8654 (ธันวา)

กิจกรรมวัน /เดือน /ปี
ประกาศรับผู้สนใจร่วมโครงการวันพุธ ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564    
กำหนดวันเข้ามาฟังทาง Zoomวันจันทร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564    เวลา 14.30 –17.30  น.
ส่ง Profile พร้อมแบบเสนอประเด็นและข้อมูล   วันอังคารที่ 2 มีนาคม 2564 เวลา 17.00 น. ส่งมาที่ youdeemeehang@gmail.com
แจ้งผลพิจารณาทีมร่วมผลิตวันศุกร์ ที่ 5 มีนาคม 2564 ทางเพจ อยู่ดีมีแฮง 
ประชุมทีมเริ่มแผนผลิตวันจันทร์ ที่ 8 มีนาคม 2564

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ