4 คำถามสำคัญของคนเจียงใหม่ต่อนักการเมืองท้องถิ่น เพราะเชียงใหม่ต้องไปต่อ

4 คำถามสำคัญของคนเจียงใหม่ต่อนักการเมืองท้องถิ่น เพราะเชียงใหม่ต้องไปต่อ

เชียงใหม่ฮอม : เครือข่ายชาวเชียงใหม่ที่รวมตัวกันเฉพาะกิจ-ตามวาระสำคัญ เพื่อสร้างปฏิบัติการสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์สูงสุดของเมืองเชียงใหม่ ผ่านแนวคิดและความร่วมมือแบบ ‘ฮอม’เพราะอยากเห็นเมืองเชียงใหม่ดีขึ้นกว่าเดิม จัดเวที “4 คำถามสำคัญของเชียงใหม่ต่อผู้สมัครนายกองค์กรบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ (อบจ. เชียงใหม่) เพราะเชียงใหม่ต้องไปต่อ” ที่หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563

โดยก่อนหน้านั้นได้เชิญชวนประชาชนร่วมตั้งคำถาม 3 ข้อผ่านทางช่องทางทั้งออนไลน์ จนได้รวบรวม 3 คำถามที่มีผู้ถามมากที่สุด ได้แก่

  1. คุณจะแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและผลกระทบฝุ่นควันในเมืองเชียงใหม่อย่างไร?
  2. คุณจะแก้ไจปัญหาการสัญจรในเมืองและพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะอย่างไร?
  3. คุณจะแก้ไขและพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองเชียงใหม่ให้ดีขึ้นอย่างไร? (น้ำเสีย-คลองแม่ข่า, ขยะ, การขาดแคลนพื้นที่สีเขียว)
  4. แผนฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่เป็นอย่างไร? (คำถามได้จากผู้ที่เข้าร่วมเวที)

สำหรับผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่ ที่เข้าร่วมเวที ‘เมืองเชียงใหม่ ต้องไปต่อ’ 14 ธ.ค.63 ประกอบด้วย

หมายเลข 1 นายนาวิน สินธุสะอาด (ตัวแทน-นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร) กลุ่มเพื่อไทย

หมายเลข 2 นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ กลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม

หมายเลข 3 นายวินิจ จินใจ กลุ่มเชียงใหม่ก้าวใหม่

หมายเลข 4 นายบดินทร์ กินาวงศ์ กลุ่มประชารัฐ เชียงใหม่

คำถามที่ 1 คุณจะแก้ปัญหาฝุ่นควัน และผลกระทบฝุ่นควันในเมืองเชียงใหม่อย่างไร

     เราจะแบ่ง “พื้นที่ให้ชัดเจน” “ภารกิจแต่ละฝ่ายที่ชัด” เรามีงานวิจัย จากทีม อ.ปุ่น /งานวิจัยต่างๆที่มารับรองการแก้ปัญหาฝุ่นควัน  การแก้ปัญหาตามหลัก  (AFP) Approach- เป้าหมาย  Function-ฟังก์ชั่น  Participate-การมีส่วนร่วม การทำ MOU ร่วมกับจังหวัดข้างเคียง

คำถามที่ 2 คุณจะแก้ไขปัญหาการสัญจรในเมือง และพัฒนาระบบส่งสาธารณะอย่างไร

เราจะใช้ระบบ

  • “ข้อมูล” การบูรณาการข้อมูลของการจราจร
  • “การใช้ DRONE” เพื่อส่งข้อมูลไปศูนย์จราจร
  • ระบบเหลื่อมเวลา
  • การทำงานที่บ้าน WORK FROM HOME
  • “การเชื่อมต่อ ระบบขนส่ง” เชื่อมต่อระบบได้เลย (เวลาต้องต่อรถสายไหนก็ตาม)

คำถามที่ 3 คุณจะแก้ไขปัญหา และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองเชียงใหม่ให้ดีขึ้นอย่างไร

  • เราจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง ใช้พื้นที่ ของ อบจ.
  • “ขยะ” เราจะเน้นให้เกิดการ “ลด” “การคัดแยกขยะ” ศึกษาตัวอย่างจากลำพูน
  • คลองแม่ข่า ทำการบำบัดก่อนปล่อยสู่แม่น้ำปิง
  • ทำตะแกรงดักขยะก่อนปล่อยน้ำ
  • สร้างความร่วมมือกับคนริมคลอง/ เพื่อการสร้างการปรับภูมิทัศน์ “น่าอยู่น่าเที่ยว”

คำถามที่ 4 คุณจะฟื้นฟูปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างไร

  • การเตรียมตัวรับนักท่องเที่ยว จัดเส้นทางเชื่อมจังหวัดต่างๆ
  • เตรียมการอบรมฝึกอาชีพ ของคนที่ทำอาชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว

คำถามที่ 1 คุณจะแก้ปัญหาฝุ่นควัน และผลกระทบฝุ่นควันในเมืองเชียงใหม่อย่างไร 

      เราแบ่งการทำงาน เป็น 3 ระยะ

  • ระยะที่ 1 : การสนับสนุนระดับหมู่บ้าน “กรรมการหมู่บ้าน” กองทุนดับไฟ
  • ระยะที่ 2 : การสนับสนุน “ป่าชุมชน”
  • ระยะที่ 3 : การเพิ่มพื้นที่สีเขียว

คำถามที่ 2 คุณจะแก้ไขปัญหาการสัญจรในเมือง และพัฒนาระบบส่งสาธารณะอย่างไร  

      เชียงใหม่มีสถิติ การสัญจรเข้ามาในเมือง วันละ  2  ล้าน “โครงการรถไฟฟ้า” การสร้าง “จุดจอด” ก่อนเข้าเมือง “กำหนดทางวิ่ง วันคู่ – วันคี่” การทำระบบขนส่งให้เป็นระบบ

คำถามที่ 3 คุณจะแก้ไขปัญหา และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองเชียงใหม่ให้ดีขึ้นอย่างไร

  • คลองแม่ข่า เรามีการจัดการเติมน้ำดีจากแม่สาเข้าคลองแม่ข่า และจะทำการบล้อคน้ำเสียลงแม่ข่า อีกทั้ง รณรงค์ “คนเชียงใหม่ ไม่ปล่อยน้ำเสียลงคลองแม่ข่า”
  • แยกขยะ /การเก็บภาษีการใช้น้ำ  การสร้างมลภาวะต่างๆ  PPP – Poluter Pay Principle  เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบ
  • การปลูกฝังเด็กๆ เรื่องสิ่งแวดล้อม

คำถามที่ 4 คุณจะฟื้นฟูปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างไร

  • ตอนนี้เชียงใหม่เป็นเครือข่าย Creative City เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ และการทำงานเชียงใหม่เมืองมรดกโลก
  • งบประมาณ  Light Up เชียงใหม่ เมืองต้องสวย / การเพิ่เติมแสงสี วัดต้องสวย
  • การประชาสัมพันธ์ การรับมือ มาตราการโควิด การเป็นเมืองภาคเกษตร Fruit Valley

คำถามที่ 1 คุณจะแก้ปัญหาฝุ่นควัน และผลกระทบฝุ่นควันในเมืองเชียงใหม่อย่างไร

  • ตั้ง คณะกรรมการ เพื่อร่วมการแก้ปัญหา  การระดมจากทุกภาคส่วน
  • สร้าง “หอคอยฟอกอากาศ”

คำถามที่ 2 คุณจะแก้ไขปัญหาการสัญจรในเมือง และพัฒนาระบบส่งสาธารณะอย่างไร

  • คณะกรรมการร่วม 20-25 ท่าน เพื่อหาทางออกร่วมกัน
  • ปลูกฝังทัศนคติ รถรับส่งนักเรียน
  • จุดจอดรถที่มาจากสายใต้ สายเหนือ (เชื่อมระบบขนส่ง)
  • เปลี่ยน รถแดงเป็นรถไฟฟ้า (ใช้งบประมาณของอบจ.)
  • เปิดรับความคิดเห็นภาคประชาสังคม เพื่อนำข้อมูลปัญหา มาสู่การปฏิบัติ

คำถามที่ 3 คุณจะแก้ไขปัญหา และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองเชียงใหม่ให้ดีขึ้นอย่างไร

  • มีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
  • วางท่อระบายน้ำกลางคลองแม่ข่า เพื่อการระบายน้ำ มีพื้นที่เพื่อขุดลอก
  • จัดการที่อยู่อาศัยริมคลองแม่ข่า

คำถามที่ 4 คุณจะฟื้นฟูปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างไร

  • การท่องเที่ยวก็ไม่ได้แยกขาดกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • เราต้องกระจายการเชื่อมต่อการขนส่ง
  • อีกเรื่องคือ “เสถียรภาพด้านราคาของผลผลิต”

คำถามที่ 1 คุณจะแก้ปัญหาฝุ่นควัน และผลกระทบฝุ่นควันในเมืองเชียงใหม่อย่างไร

  • ทำทุกอย่างที่ผู้สมัครทั้ง 3 ท่านพูดถึง  และทำการจัดการ “จำกัดการเข้ามาของรถที่เข้ามาในเมือง” เส้นทางเฉพาะจักรยาน และเส้นทางที่รถเข้าได้
  • การเข้มงวดการจราจรในเมือง

คำถามที่ 2 คุณจะแก้ไขปัญหาการสัญจรในเมือง และพัฒนาระบบส่งสาธารณะอย่างไร

  • พื้นที่ในเมืองจะต้องคุยกับ นายกเทศมนตรีนครเมืองเชียงใหม่
  • รถยนต์ อย่าเข้ามาในเขตเมืองเก่า เน้อให้เป็นเส้นทางเดินและจักรยาน
  • การบริหารจัดการที่เป็นเอกภาพ

คำถามที่ 3 คุณจะแก้ไขปัญหา และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองเชียงใหม่ให้ดีขึ้นอย่างไร

  • ประสานงานเจ้าของพื้นที่ คุยกับเทศบาลทั้ง 3 พื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
  • ดูจากงบประมาณที่มีว่ามีการเตรียมการไว้หรือไม่
  • หาพื้นที่ ย้ายพื้นที่ราชการที่อยู่กลางเมืองออกไปด้านนอก
  • ปลูกต้นไม้ ริมน้ำปิง, รอบคูเมือง, พื้นที่ต่างๆ

คำถามที่ 4 คุณจะฟื้นฟูปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างไร

  • เป็นเรื่องของรัฐบาลกลาง มูลค่าธุรกิจเชียงใหม่มาจากการท่องเที่ยว
  • กระตุ้นการท่องเที่ยว กิจกรรมต่างๆ คอนเสิร์ต
  • อบจ.ต้องคุยกับ สภาและรัฐบาล

Aoo Whale สรุปประเด็นสาระสำคัญที่ผู้สมัครแต่ละท่านนำเสนอ ส่วนผู้ที่ต้องการรับชม รับฟังเนื้อหาทั้งหมด สามารถชมย้อนหลังได้ทาง

ภายหลังจากการตั้งคำถามรับฟังวิสัยทัศน์และนโนบายจากผู้สมัครแล้ว ทีมงานนักข่าวพลเมือง ได้พูดคุยกับเยาวชนถึงการจัดเวทีและความคิดเห็นหลังจากรับฟัง

มีน ฉัตรชัย สุขอนันต์ กลุ่มละครลานยิ้ม กลุ่มยุวธิปัตย์เพื่อสังคม กล่าวว่า เท่าที่ฟังตนเองก็ยังสนใจและมีคำถามต่อบทบาทหน้าที่ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดกับนายก อบจ. ซึ่งมีความเหลื่อมกัน ไม่ชัดเจนว่าจะประสานงานอย่างไรกันแน่ แม้ได้เห็นว่าผู้สมัครต้องการที่จะช่วยเหลือพัฒนาเชียงใหม่ แต่มันก็ยังมีความย้อนแย้งในตัวนโยบายกับการทำงานจริงที่จะเกิดขึ้นต่อไป

“วันนี้ทำให้เห็นทิศทางที่ดีที่ทุกท่านมาแสดงนโยบาย ความคิดเห็นร่วมกัน ในฐานะคนรุ่นใหม่รู้สึกดีใจที่ได้ฟัง และเป็นกำลังใจให้กับผู้สมัครทุกท่าน และคาดหวังการบูรณาการ ทำงานร่วมกัน ไม่ใช่ทำงานเพียงองค์กรใดองค์กรหนึ่ง”

ชิว ภาวัต เป็งวันผูก นักศึกษาปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หนึ่งในอาสาสมัครประจำบ้านเตื่อมฝัน กลุ่มคนไร้บ้านเชียงใหม่ กล่าวว่า ส่วนตัวสนใจประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมของเมืองเชียงใหม่ เพราะเรามีปัญหาเรื่อง pm2.5 จึงอยากรับรู้นโยบายของผู้สมัครแต่ละท่านในเรื่องฝุ่น pm 2.5 และปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง จากที่ได้ฟังคำตอบ แน่นอนว่ายังไม่ได้เห็นรายละเอียดที่ชัดเจนเนื่องจากข้อกำหนดเรื่องเวลา แต่ก็ได้เห็นทิศทางว่าเชียงใหม่จะเดินเรื่องสิ่งแวดล้อมแบบไหน อาจจะมีอีกเวทีหรือสองเวทีให้กระบวนการรายละเอียดที่ลงลึกในเรื่องที่สนใจ

“อยากให้ผู้ที่ได้รับเลือกทำตามนโยบายที่กล่าวในวันนี้ หรือในเวทีต่อ ๆ ไป อยากให้ทำจริง ๆ ผมเพิ่งอายุ 22 ยังไม่เคยเลือกตั้งนายกอบจ. มาก่อน ผมอยากเห็นการเลือกตั้งครั้งเป็นการพิสูจน์ว่านโยบายที่ขายให้กับประชาชนถูกนำไปปฏิบัติจริง ๆ เช่น การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน การฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด

ส่วนการเลือกตั้งอบจ.ที่จะถึงนี้ น้องชิว กล่าวทิ้งท้ายว่า “อยากให้ทุกคนเข้าคูหา กานายก อบจ. และส.อบจ. ที่จะเข้ามาบริหาร มาตรวจสอบท้องถิ่น เชื่อว่าการเมืองท้องถิ่นที่ดีจะช่วยเศรษฐกิจฐานล่างได้ อยากชวนเชิญทุกคนมาเข้าคูหา กากาบาทด้วยกันในวันที่ 20 ธ.ค. ที่จะถึงนี้”

นอกจากนั้นระหว่างการถ่ายทอดสดผ่านทางเพจเชียงใหม่ฮอม เพจเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ และเพจองศาเหนือ มีผู้ชมร่วมตั้งคำถามว่า จะทำอย่างไรให้ประชาชนได้เห็น อบจ. มีบทบาทโดดเด่น ชัดเจนในทุก ๆ ด้าน ปชช ได้สัมผัสผลงาน เข้าถึงนโยบาย งบประมาณ และเป็นที่พึ่งที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งอ

ผศ. ดร. ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์ สำนักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตอบคำถามว่า อยากเน้นย้ำว่าการเลือกตั้งอบจ. และการเลือกตั้งท้องถิ่นมีความสำคัญมาก เพราะเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลประโยชน์ในแต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัด ซึ่งมีปัญหาและสถานการณ์แตกต่างกัน การที่ประชาชนให้ความสำคัญเป็นขั้นต้นที่จะได้นำเสนอปัญหาของพื้นที่ให้กับ อบจ. เทศบาลระดับท้องถิ่น

“การเชื่อมโยงกับอบจ. ทั้งในรูปแบบการรวมตัวของประชาชนเป็นเครือข่าย เช่น การจัดงานในวันนี้ที่ได้คำถามจากเครือข่าย การทำงานในรูปแบบของเครือข่ายถ้ารวมตัวกันได้ก็นำประเด็นที่เห็นร่วมกันไปเสนอกับอบจ. ที่สำคัญจะผลักดันให้อบจ. สร้างพื้นที่สาธารณะให้คนมาร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาเมืองได้อย่างไร”

แม้การจัดเวทีเชียงใหม่ต้องไปต่อจะสิ้นสุดลง แต่คำถามเหล่านี้จะถูกถามและติดตามต่อ กองบรรณาธิการ thecitizen.plus จึงขอนำเสนอคำถามทั้งหมด เพื่อเป็น checklists ต่อไปในอนาคตอันใกล้

112 คำถามถึงผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่  จากโซเซียลมีเดีย (Facebook & Line : เชียงใหม่ฮอม) แบ่งหมวดหมู่ได้ดังนี้

ปัญหาฝุ่นควัน  (21)

  1. นโยบายการแก้ปัญหาฝุ่นควัน
  2. แผนงานด้านอากาศสะอาด ลดฝุ่นควัน
  3. การแก้ไขปัญหาฝุ่นควันในทุกระดับ
  4. การแก้ปัญหาฝุ่นควันเมืองควรจะมีนโยบายและมาตรการแก้ไขอย่างไร
  5. การป้องกันมลพิษหมอกควัน
  6. แก้ไขปัญหา ไฟป่า ฝุ่นหมอกควัน
  7. แก้ไขปัญหาฝุ่นควัน
  8. นโยบายแก้ไขปัญหาหมอกควัน
  9. แก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า
  10. หมอกควัน
  11. ขอฝากถาม “แนวทางแก้ปัญหาฝุ่นควัน” ด้วยครับ
  12. การแก้ไขปัญหาหมอกควันอย่างยั่งยืน ทำได้ไหม อย่างไร
  13. ทำบ้านสู้ฝุ่นนักๆ
  14. เราจะแก้ปัญหาหมอกควันโดยเชื่อมโยงกับเพื่อนบ้านรอบข้างอย่างไร

ปัญหาฝุ่นควัน  

  1. ท่านมีนโยบายอะไรที่จะริ้อฟื้นชิ่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่ที่เคยเป็นจังหวัดอากาศดีอย่างไร
  2. ท่านมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและมลภาวะฝุ่นควันพิษในเชียงใหม่ที่มีค่าเกินมาตรฐานความปลอดภัยเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างไร นำโครงการฝนหลวง หนึ่งในโครงการพระราชดำริ ที่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินปีละประมาณ 3,000 ล้านบาท มาใช้แก้ปัญหาได้หรือไม่ อย่างไร
  3. ปัญหา PM2.5
  4. การแก้ไขปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน
  5. นโยบายในการแก้ไขปัญหาหมอกควันของแต่ละท่าน
  6. ขอนโยบาย/มาตรการ/แนวทางในการจัดการปัญหาหมอกควัน
  7. การแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน

การมีส่วนร่วม (6)

  1. การสนับสนุนให้เกิดกองทุนจังหวัด/กองทุนเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างมีส่วนร่วมของประชาชน
  2. การมีส่วนร่วมด้านนโยบายในการพัฒนาเชียงใหม่ของภาคส่วนต่างๆ
  3. การพัฒนาเมืองยั่งยืน ที่ให้คนท้องถิ่นมีส่วนร่วม
  4. กองทุนพัฒนาเมืองยั่งยืน
  5. พื้นที่และกลไกที่สามารถเป็นไปได้จริง ที่เปิดให้ภาควิชาการ ภาคีเครือข่าย และชุมชน ประชาขน ได้มีส่วนร่วมกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา
  6. เราจะสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนจริงอย่างไรบ้าง

การกระจายอำนาจ / การปกครองส่วนท้องถิ่น  (6)

  1. วิสัยทัศน์ + วิธีการ กระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น ขั้นตอนจะเป็นอย่างไร ?
  2. การเชื่อมโยงการพัฒนาของ อปท. ในจังหวัดกับ อบจ.
  3. การผลักดันให้ อบจ. เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาจังหวัด
  4. เจ้าที่ที่มีการรับสินบนในสำนักงานของรัฐ จะสามารถสืบสวน ตรวจสอบ เเละจัดการได้อย่างไร
  5. ในฐานะที่ อบจ. เป็นหน่วยงานท้องถิ่น ขนาดใหญ่ที่สุด ดูแลจังหวัดเชียงใหม่ในหลากหลายมิติ ภายใต้การควบคุมของรัฐส่วนกลาง อยากสอบถามเรื่องกระบวนการ/นโยบาย ที่ช่วยให้กระบวนการกระจายอำนาจมีประสิทธิภาพ และ มีประโยชน์ต่อชาวเชียงใหม่ อย่างไร
  6. สามารถเป็นหน่วยงานหลักในการสร้างวิสัยทัศน์เมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองที่พัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคนได้อย่างไร

การศึกษา  (3)

  1. การพัฒนามาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  2. ส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้องค์ความรู้ท้องถิ่น
  3. ดูแลคุณภาพการศึกษาของเด็กในพื้นที่

วัฒนธรรม / นันทนาการ (7)

  1. รักษาและสืบทอดอัตลักษณ์ การอู้คำพื้นเมืองและมารยาทที่อ่อนน้อมในการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และการแต่งกายด้วยชุดประจำถิ่นของแต่ละพื้นที่
  2. สืบสานประเพณี
  3. ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรม
  4. เรื่องการฟื้นฟูวัฒนธรรมพื้นบ้าน
  5. เรื่องท่องเที่ยวและกีฬา
  6. แนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีอย่างเป็นรูปธรรม
  7. อยากให้คนพื้นบ้านปฏิบัติกับคนที่พูดภาษาเมืองไม่ได้ เสมอภาคเทียบเท่าคนพื้นที่ด้วยกัน
  8. การอนุรักษ์ วัฒนธรรม หัตถกรรม จิตรกรรม ดั้งเดิม จะมีการขับเคลื่อน และผลักดัน ให่เป็นรูปธรรม ได้อย่างไร

การสัญจรและขนส่งสาธารณะ   (19)

  1. แนวทางการพัฒนาขนส่งสาธารณะ-และการสัญจรในเขตเมือง
  2. ระบบขนส่งเมือไรจะมีรถไฟฟ้าเหมือนกทม.
  3. ระบบขนส่งสาธารณะค่ะ สมัยก่อนถนนเล็ก ขี่มอเตอร์ไซค์ได้ แต่ยุคนี้ขี่มอเตอร์ไซค์ยาก และอันตรายมากเลย ถ้ามีทางเลือกก็ไม่อยากให้ลูกขี่มอเตอร์ไซค์ค่ะ
  4. นโยบายหรือการแก้ไขปัญหาระบบขนส่งมวลชนในระยะเร่งด่วนและระยะยาว
  5. วิธีแก้ปัญหารถติดจากโรงเรียนเส้นถนนช้างคลาน
  6. แก้ไขปัญหาระบบขนส่งในตัวเมือง
  7. ปัญหาการจราจรผังเมือง
  8. แก้ไขปัญหาจราจร
  9. แก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมือง
  10. ดูแลการจราจร/จอดรถให้เป็นระเบียบ
  11. ระบบขนส่งมวลชน ไม่ผูกขาดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ให้ประชาชนได้มีทางเลือกที่ดีขึ้นได้ไหม
  12. เรื่องระบบขนส่งสาธารณะ ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามามากมาย ถ้าสามารถนำมาพัฒนาเพื่อคนเชียงใหม่ ได้หรือไม่ เช่น การเรียกใช้ของแอปพลิเคชันต่าง ๆ การมีรถเมล์ไฟฟ้า ประจำทาง ที่มีขนาดพอดีกับผังเมืองเชียงใหม่ และรถเมล์ประจำทางจากอำเภอรอบนอกเข้ามาในเมืองได้หรือไม่ ส่วนเรื่องระบบราง จะมีโครงการที่เป็นรูปธรรมได้แล้วหรือยัง เช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน
  13. แก้ไขปัญหาการจราจรที่นับวันรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะแยกใหญ่ก่อนเข้าเมืองทุกเส้นทาง
  14. คุณจะแก้ปัญหาเรื่องขนส่งมวลชนยังไง เพราะเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน ไม่ว่าจะเรื่องรถแดง รถสองแถวโก่งราคาค่าโดยสาร เส้นวิ่งไม่ทั่วถึง
  15. เรื่องปัญหาการจราจร
  16. วิธีการแก้ไขปัญหาขนส่งมวลชนทั้งในเขตเทศบาลนครและระหว่างอำเภอ จะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร
  17. ขอทราบนโยบาย/มาตรการการแก้ไขปัญหาจราจร และการจัดการระบบขนส่งมวลชน
  18. การจอดรถมั่วทุกถนนทุกเส้นทาง
  19. จะทำให้เกิดการใช้รถไฟฟ้า​ในเมืองได้อย่างไร

เศรษฐกิจ   (16)

  1. นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น
  2. ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะยาวที่ก้าวหน้า ที่มากกว่าการเน้นปริมาณ แต่ไปสู่คุณภาพที่ ธรรมชาติ วัฒนธรรม และการเกษตรเป็นฐานทุนสำคัญ เป็นอย่างไรได้บ้าง?
  3. เศรษฐกิจท้องถิ่น
  4. แนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 เรื่องเศรษฐกิจ
  5. แนวทางการพัฒนาและการสร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยว
  6. ฝุ่นควัน โควิด กับเศรษฐกิจเชียงใหม่
  7. แนวทาง+ นโยบายกระตุ้น ศก.ในสถานการณ์โควิด-19 และฝุ่นควัน จะพาประชาชนฝ่าวิกฤตใน 2 ประเด็นนี้อย่างไร
  8. หลังจากหมดโรคโควิด-19 แล้ว ท่านจะดำเนินการเช่นไรที่จะให้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยวเหมือนเดิม และดีกว่าเดิม
  9. อบจ. มีบทบาทพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและฟื้นฟูผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวไหม อย่างไร
  10. ธุรกิจต่างๆ ของเชียงใหม่ขึ้นอยู่กับนักท่องเที่ยวมากเกินไป เมื่อเกิดภาวะที่ทำให้นักท่องเที่ยวหายไป เช่น  การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปี 2563 ธุรกิจส่วนใหญ่จึงได้รับผลกระทบ ท่านมีนโยบายแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างไร
  11. การกระตุ้นเศรษฐกิจให้ครอบคลุมทุกอำเภอ
  12. ขอให้ค่าขายดีขึ้น

เศรษฐกิจ

  1. พัฒนาการท่องเที่ยวให้ดีขึ้น
  2. หลังจากการระบาดของโรคโควิด 19 แล้ว จะมีวิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบใด และจะมีแนวทางการระงังการระบาดซ้ำอย่างไร
  3. มาตรการเยียวยาหรือสนับสนุนส่งเสริมอาชีพผู้ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดเชื้อ Covid-19
  4. ตั้งกองทุนสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด​รวมถึงภัยพิบัติต่างๆ​(คนสูงอายุ​ คนพิการ​ เด็ก​ แรงงานข้ามชาติ)​
  5. คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ เมืองมีแนวโน้ม ในด้านใด เป็นหลัก หรทอทำควบคูากัน ในลักษณะได

การเกษตร  (1)

  1. นโยบายด้านการเกษตรยั่งยืนทั้งในพื้นที่สูง ชานเมือง และในพื้นที่เมือง?

สิ่งแวดล้อมเมือง  (15)

  1. วิสัยทัศน์และแผนแม่บทในการฟื้นพื้นที่นิเวศสำคัญของเมือง เช่น พื้นที่เชิงดอยสุเทพที่เริ่มโดนลุกล้ำและขาดการควบคุม คูคลองในเมือง หรือพื้นที่แม่น้ำปิง ที่สภาพนิเวศเริ่มเปลี่ยนไป ไม่มีทรายในท้องน้ำเพราะโดนสูบไป น้ำเริ่มเน่าเหม็น
  2. เรื่องการจัดการน้ำเสีย
  3. รักษาสิ่งแวดล้อมเมือง
  4. วิธีแก้ปัญหาน้ำเสียคลองแม่ข่า
  5. การดูแลความสะอาดและรักษาภูมิทัศน์ของเมือง
  6. ปรับปรุงภูมิทัศน์ในคูเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียว และดูแลให้สวยงาม ปรับปรุงถนนทั้งในซอยเล็ก ๆและถนนหลัก และทางเดินให้นักท่องเที่ยวเดินปลอดภัย เอาสายไฟฟ้าลงดินทั้งหมด  จัดระเบียบการขายอาหารบนทางเท้า น้ำในคูเมืองใสสะอาดควร ปรับปรุงและทางสีทางม้าลาย และตามสีแยก ต่าง ๆ ทุกปี
  7. ปลูกต้นไม้ถนนทุกสายในเชียงใหม่บนเกาะถนนเอาร่มเงาความร่มรื่นเหมือนสิงคโปร์ ทำทางเท้าให้กว้างเหมาะกับการเดินเที่ยวของนักท่องเที่ยวอย่าลืมร่มเงาไม้นานาพันธุ์ จัดบริเวณขายของให้พ่อค้าแม่ขายให้เป็นระเบียบ
  8. จะแก้ปัญหาการเผาขยะของชาวบ้านอย่างไร มาตรการ/บทลงโทษมีอะไรบ้าง
  9. มีการจัดการอย่างไรได้บ้างกับเศษต้นไม้ใบไม้ที่ชาวบ้านหรือเกษตรมี
  10. การป้องกันการสร้างมลพิษทั้งทางอากาศ ทางบก ทางน้ำ จะสามารถแก้ไขให้มีรูปธรรมมากกว่าเดิม ได้หรือไม่
  11. ร่วมกับเทศบาลปรับปรุงภูมิทัศน์และน้ำในคูเมืองให้ใสสะอาด
  12. อยากฮือเจียงใหม่มีสีเขียวนัก ๆ
  13. คลองแม่ข่า มีการแก้ไขปัญหาน้ำเสียหรือมีทิศทางการพัฒนาที่เห็นผลและทำได้จริง ๆ ไหมคะ
  14. แนวทางการจัดการสิ่งก่อสร้าง ตึกสูง ตึกสีป้ายโฆษณาสินค้าในเขตเมืองที่ทำให้เมืองลดคุณค่า
  15. แนวทางการพัฒนาเมืองเชิงนิเวศน์ การกำหนดเขตพื้นที่สีเขียว การอนุรักษ์ รักษาต้นไม้ใหญ่ในเมือง

โครงสร้างพื้นฐาน  (3)

  1. อนาคตอาจมีประชากรที่ย้ายเข้าสู่เมืองเชียงใหม่มากขึ้น เมืองควรมีการเตรียมความพร้อม และมีการลงทุนพัฒนาโครงการต่างๆ ซึ่งการพัฒนาเมืองด้วยตนเองของเมืองเชียงใหม่ ควรที่จะลงทุนอย่างไร และลงทุนกับอะไร
  2. นโยบายด้านที่อยู่อาศัยของเมืองเชียงใหม่ควรเป็นอย่างไร ให้ประชากรทุกคนสามารถเข้าถึงที่พักอาศัยในราคาที่เหมาะสม โดยเฉพาะคนจนที่อยู่อาศัยและทำงานในเมือง
  3. พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ

วิสัยทัศน์เมือง  (6)

  1. เชียงใหม่ในอีก50ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เรายืนอยู่จุดไหนในกานรับรู้ของโลก
  2. ท่านจะพัฒนาสิ่งใดเป็นอันดับแรก
  3. ท่านจะแก้ปัญหาเรื่องใดเป็นอันดับแรก
  4. ท่านจะทำโครงการใดบ้างที่จะส่งเสริม ให้ได้ทั้ง ชุมชน และจังหวัด บ้าง
  5. ขอให้พัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้ดีกว่าเดิม
  6. ขอให้สร้างเมืองเชียงใหม่ที่ดีขึ้น

อื่นๆ  (9)

  1. ขอทราบเรื่องป่าแหว่งเจ้า จะเตกาว่าจะเอายะอะหยัง
  2. มีแนวทางการจัดการกับปัญหาการบุกรุกทำลายสิ่งแวดล้อมโดยภาครัฐอย่างไร เช่น กรณีบ้านป่าแหว่งของตุลาการฯ ที่เลือกสร้างบนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ทั้ง ๆ ที่มีพื้นที่ราบลุ่มอื่น ๆ ว่างอยู่เป็นจำนวนมาก
  3. วิธีแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว
  4. การบุกรุกที่ป่า
  5. แนวทางการจัดการกับปัญหาการใช้พื้นที่ของภาครัฐ เช่น ธนารักษ์ สำนักพุทธ ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม/ภูมิทัศน์เมือง กรณีบ้านคนไทยประชารัฐ ให้เช่าพื้นที่วัดร้างสร้างโรงแรม
  6. การพิจารณาใช้พื้นที่ของสำนักงานพระพุทธฯ ธนารักษ์ และทหาร
  7. สภาพสังคมแบบต่างคนต่างอยู่ / มีคนไร้บ้านเพิ่มขึ้น
  8. สร้างมาตรฐานร้านอาหารที่ถูกสุขอนามัย
  9. นโยบาย/มาตรการ/แนวทางการป้องกันจัดการโรคระบาด เช่น COVID-19

คำถามจากผู้เข้ารวมเวที วันที่ 14 ธ.ค.

  1. การพัฒนาเศรษฐกิจเมือง
  2. พัฒนาเมือง
  3. การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืนและมีส่วนร่วม
  4. แผนส่งเสริมและฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นช่วง Next Normal
  5. อบจ.เชียงใหม่ จะทำงานอย่างไรภายใต้รัฐบาลชุดใหม่
  6. การจัดการเกี่ยวกับข่วงประตูท่าแพ ในเรื่องการค้าขาย และผู้มีอิทธิพล
  7. ปัญหามาเฟียบุกกันโชกนักท่องเที่ยว บนลานประตูท่าแพ เมื่อเร็ว ๆ นี้ อยากทราบว่าจะมีมาตรการการจัดการอย่างไรพื้นที่สาธารณะที่เป็นหน้าตาของคนเชียงใหม่

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ