ถือเป็นความก้าวหน้าอย่างเป็นทางการเพื่อนำไปสู่การเกิดกิจการโทรทัศน์บริการชุมชนในประเทศไทย โดยในการนี้คณะกรรมการกิจกระจายเสียง การโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ภาคประชาชน ประชาสังคมและ ไทยพีบีเอส ได้ร่วมประชุมเชิงเชิงปฏิบัติการของกิจการโทรทัศน์บริการชุมชนในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 11 -13 พฤศจิกายน 2558 ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพมหานคร
ในวันแรกเป็นการพูดคุยถึงที่มาของการจัดงานครั้งนี้ว่าสืบเนื่องมาจากการปฏิรูปคลื่นความถี่ของไทย และ กำหนดให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสาธารณะของชาติ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 ภาคประชาชนต้องสามารถมาใช้คลื่นความถี่ได้อย่างน้อยร้อยละ 20 เพื่อจะนำไปสู่การเกิดช่องชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการ ศึกษานโยบาย และแผนที่เกี่ยวข้อง เสนอแนะนโยบายในการส่งเสริม กำกับดูแล และการถ่ายทอดความรู้
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ – กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้กล่าวถึงความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆทั้งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ(ITU)และ คณะกรรมการกิจกระจายเสียง การโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)ที่ได้เริ่มดำเนินการตามแผนแม่บทในการจัดสรรคลื่นความถี่ และอนุญาตให้มีทีวีชุมชนได้ โดยการจัดสรรคลื่นความถี่ใน 3 รูปแบบ คือ ทีวีบริการสังคม ทีวีบริการชุมชน และทีวีธุรกิจ ซึ่งในขณะนี้ได้ออกใบอนุญาตทีวีบริการธุรกิจไปเรียบร้อยแล้ว ในวันนี้ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ เพราะ เป็นวันแรกในประเทศไทยที่ได้มีประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องคลื่นความถี่ในโทรทัศน์ประเภทบริการชุมชนอย่างเป็นทางการ และ ทางกสทช. กำลังให้ประมูลคลื่นความถี่ 4G ที่อยู่ภายใต้สัมปทานของรัฐวิสาหกิจเดิม เพื่อทวงคืนคลื่นความถี่ มาจัดสรรใหม่ภายใต้ความเป็นธรรม
กสทช.ทำงานมา 4 ในการจัดสรรคลื่นความถี่จากอนาล็อคสู่ดิจิตอล ซึ่งมีบทเรียนมากมาย หากมองย้อนกลับไปถึงจุดเริ่มต้นของทีวี ในยุคแรก กิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2473 ช่วงแรกเป็นระบบอำนาจนิยมอุปถัมภ์ กิจการโทรทัศน์อยู่ในมือรัฐ ใช้เพื่อโฆษณาข่าวสารต่างๆ หลังปี 2520 เป็นระบบทุนนิยมอภิสิทธิ์ ที่เปลี่ยนจากเครื่องมือรัฐมาเป็นวิสาหกิจ มาให้สัมปทานต่อเอกชน ซึ่งไม่ได้อยู่ในระบบแข่งขันที่เสรี และเป็นธรรมอย่างแท้จริง และช่วงที่นำไปสู่การปฏิรูปกิจการโทรทัศน์ ที่มีการยึดคืน และจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ได้กล่าวอีกว่า ด้านคลื่นวิทยุกระจายเสียงก็มีการมาถือครองคลื่นของชุมชนเอง ของภาคประชาชนมานานแล้ว ในช่วงตอนแรกอาจไม่ได้มีใบอนุญาต แต่ตอนนี้ก็ได้รับใบอนุญาต 1 ปี เพื่อเป็นระยะทดลองงาน และใบอนุญาตจริง 7 ปี ทั้งยังอยากจะเห็นทั้งสองอย่างเป็นของชุมชน
การเรียกร้องการจัดสรรคลื่นความถี่ที่เป็นธรรมนั้นมีมากว่า 2 ทศวรรษแล้ว ผ่านการต่อสู้มายาวนานของภาคประชาชน วันนี้จึงถือเป็นการเริ่มต้น เพื่อสร้างวาทะกรรมและนำไปสู่ความเป็นจริง คลื่นความถี่ก็มีค่า ควรมีการแข่งขันที่เสรีเป็นธรรม และคุ้มครองผู้บริโภค วิทยุโทรทัศน์นั้นถือเป็นเครื่องมือสื่อสารของท้องถิ่นที่มีหน้าที่ทางสังคม ควรรักษาไว้เพื่อให้มีการจัดให้กับชุมชน การประชุมครั้งนี้ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณร่วมกันทั้งระดับนานาชาติ ระดับชาติ และระดับท้องถิ่นว่าทีวีบริการชุมชนจะสามารถเกิดขึ้นได้จริง
นายสมศักดิ์ สิริพัฒนากุล ผู้อำนวยการสำนักกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล – กล่าวว่า กสทช. ทำแผนแม่บทเพื่อการเปลี่ยนผ่าน ทั้งด้านโครงสร้างที่มีการทำโครงข่ายที่ให้หลายๆสถานีมาใช้คลื่น และสาเหตุที่โทรทัศน์บริการชุมชนเกิดช้ากว่าโทรทัศน์ธุรกิจ เพราะ มาจากข้อกำหนดที่ว่า กองทุนของโทรทัศน์บริการชุมชนจะมาจาก 2% ของรายได้ของช่องธุรกิจ และเมื่อขยายโครงข่ายทั่วประเทศแล้ว จะมีการปิดความถี่เดิมแบบอนาล็อคมาสู่ดิจิตอล และนำมาจัดสรรให้ทีวีชุมชนต่อไป
นายวิสิฐ อติพญากุล – ผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคมและไอซีที จากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU ได้กล่าววถึงบทบาทของITUในไทยด้านแผนการเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อคไปสู่ดิจิตอล และการศึกษากรณีของประเทศอื่นๆ เพื่อหาบริบทร่วมนำมาปรับใช้ในการทำงานในประเทศไทย เพื่อก้าวไปสู่แนวทางการทดลองให้บริการในประเทศไทย และพัฒนาศักยภาพบุคลากร ซึ่งได้มีการลงพื้นที่ลงประชุมหารือ เก็บข้อมูลในจังหวัดอุบลราชธานี และพะเยาในก่อนหน้านี้
ทั้งยังมองว่าทีวีชุมชนไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการดำเนินงานอยู่ในหลายพื้นที่ในประเทศไทย อีกทั้งตอนนี้ประเทศไทยยังกำลังก้าวเข้าสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนที่12 ที่ยังคงเน้นการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร มีนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลเพื่อสังคม Digital Society ที่มุ่งสู่ Smart Society ตัวสื่อเองจะต้องไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วย
นางสุภิญญา กลางณรงค์ กล่าวแสดงปาฐกภา ก่อนเปิดการประชุมกิจการโทรทัศน์บริการชุมชนในประเทศไทย