10 ก.ค.2558 เครือข่ายภาคประชาชนและคนเชียงของมาร่วมชมผลงานการทดลองสื่อสารเรื่องราวในรูปแบบ BACKPACK JOURNALIST ของเยาวชนและนักสื่อสารรุ่นใหม่ในภาคเหนือจากการลงพื้นที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย พร้อมร่วมพูดคุยถึงผลงานและสถานการณ์ในพื้นที่
การเปิดด่านและประกาศเปิดเป็นจุดผ่านแดนถาวรในเมืองชายแดน ทำให้การค้าขายชายแดนเกิดการขยายตัวมากขึ้น เช่น อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ได้มีการขยายพื้นที่ค้าเพิ่มมากขึ้น การขยายตัวของถนนเพื่อสะดวกต่อระบบการขนส่ง ปริมาณการค้าซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเป็นการค้ากับประเทศลาว ขณะที่ประเทศลาวมีการกระจายสินค้าไปยังแขวงและเมืองต่างๆ เช่น หลวงน้ำทา ปากแบง หลวงพระบาง ห้วยทราย โดยใช้เส้นทางการขนส่งทางแม่น้ำโขงเป็นหลักในการขนส่งสินค้า
การค้าชายแดนของอำเภอเชียงของมีพัฒนาการเริ่มต้นจากการค้าขายระหว่างคนไทยและคนลาวตามแนวชายแดนมาตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้งเป็นชุมชน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) บริเวณบ้านปากอิงเหนือ ต.เวียง อ.เชียงของ ห่างจากตัวเมือง 5 กิโลเมตร และเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปลายปี มีนโยบายและการพัฒนาในด้านต่างๆ มากขึ้น มีการก่อสร้างถนนตามเส้นทาง R3A เพื่อขยายการค้ากับประเทศจีน และเมื่อเมษายน 2558 คชส.ประกาศให้ อ.เชียงของเป็นพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
ความเติบโตของการค้าชายแดนทำให้เชียงของเปลี่ยนไปจากอดีต ส่งผลต่อราคาที่ดิน วิถีชีวิตผู้คน ฯลฯ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง เกิดอะไรขึ้นกับเชียงของ และคนเชียงของคิดและมองอนคตอย่างไร
ช่วงวันที่ 6-9 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา เยาวชนในพื้นที่ภาคเหนือได้มีโอกาสพูดคุยข้อมูลและสิ่งที่เกิดขึ้นกับเมืองเชียงของ และได้ลงพื้นทดลองฝึกสื่อสารเรื่องราวในรูปแบบ BACKPACK JOURNALIST ซึ่งพวกเขาได้เรียบเรียงของมูล จากการลงพื้นที่ เป็นงานสารคดีเชิงข่าวความยาว 5 นาที 9 แง่มุม ซึ่งจะเป็นประเด็นตั้งต้น ให้คนในพื้นที่ได้พูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นอีกครั้ง
สามารถรับชมได้ทางช่องทางนี้