กฟผ.ส่งหนังสือแจงยังไม่ซื้อไฟจาก “เขื่อนหลวงพระบาง” เผยรอปรับแผน PDP2018

กฟผ.ส่งหนังสือแจงยังไม่ซื้อไฟจาก “เขื่อนหลวงพระบาง” เผยรอปรับแผน PDP2018

วันที่ 9 ส.ค. 2563 นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของและเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง เปิดเผยว่าได้รับจดหมายชี้แจงจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรณีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนหลวงพระบาง (Luang Prabang dam project) ว่ายังไม่ได้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนหลวงพระบาง ซึ่งก่อนหน้านี้เครือข่าย ฯ ได้มีจดหมายไปยัง กฟผ. เพื่อสอบถาม

นายนิวัฒน์กล่าวว่าหนังสือชี้แจงจาก กฟผ. มีใจความสำคัญระบุว่า ปัจจุบัน กฟผ.ยังไม่ได้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนหลวงพระบาง หากจะมีการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนใน สปป.ลาว จะต้องมีกระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติ คือ มีการจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2561-2580 (PDP2018) ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยแผน PDP2018 ผ่านการพิจารณากลั่นกรองและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

ที่ผ่านมา ครม.มีมติรับทราบแผนดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2562 โดยในแผนระบุว่า มีแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านรวม 3,500 เมกะวัตตต์ ในปี 2569-2578 โดยกระบวนการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่างประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานอนุกรรมการดังกล่าว

โดยคณะอนุกรรมการประสานฯ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นหน่วยงานหลักในการนำหลักเกณฑ์การพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการพลังน้ำใน สปป.ลาวมาพิจารณา และกกพ.ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการจัดหาไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประกอบด้วย กรรมการกำกับกิจการพลังงาน 3 คน ผู้แทนสำนักงานนโยบายแผนพลังงาน 1 คน และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 5 คน

นายนิวัฒน์ กล่าวว่าในหนังสือนี้ กฟผ.ยังชี้แจงว่า ปัจจุบันมีโครงกาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลักเสนอขายไฟฟ้าให้กับประเทศไทยจำนวน 4 โครงการคือ โครงการเขื่อนปากแบง ปากลาย สานะคามและหลวงพระบาง โดยขั้นตอนการพิจารณาการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการพลังน้ำใน สปป.ลาวตามหลักเกณฑ์นั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาของอนุกรรมการจัดหาฯ และทางกระทรวงพลังงานอาจมีการพิจารณาทบทวนแผน PDP2018 จากผลกระทบการระบาดโรค COVID19 ทำให้ความต้องการไฟฟ้าในประเทศไม่เป็นไปตามแผนเดิม

ก่อนหน้านี้เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงได้ส่งหนังสือขอให้ กฟผ.พิจารณาระงับการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนหลวงพระบางและเขื่อนอื่นๆ บนแม่น้ำโขงสายหลัก และส่งข้อกังวลด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม และความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน และสถานการณ์การระบาดของโรค COVID19 ได้ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ปริมาณไฟฟ้าสำรองของประเทศสูงมากเกินความจำเป็น

นางอ้อมบุญ ทิพย์สุนา สมาชิกเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง กล่าวว่า การพิจารณารับซื้อไฟฟ้าต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำอย่างรอบด้าน แม่น้ำโขงเป็นมากกว่าพลังงานไฟฟ้า แต่เป็นพลังงานความมั่นคงทางอาหารที่โอบอุ้มหล่อเลี้ยงผู้คนนับล้าน ๆ คน สถานการณ์การระบาดของ COVIS19 ที่ผ่านมา แม่น้ำโขงได้ผลิตอาหารรองรับผู้คน และผู้คนชาวแม่น้ำโขงได้รับผลกระทบน้อยกว่าที่อื่น ๆ และสามารถส่งปลาให้คนเมืองได้บริโภค ช่วยบรรเทาการขาดแคลนอาหารอย่างเห็นได้ชัด

กฟผ.ควรคำนึงถึงปัญหาเดิมที่ยังไม่แก้ไข การรับซื้อไฟฟ้าในขณะที่ไฟฟ้าสำรองมีเกินเพียงพอ จะทำให้ไทยขึ้นชื่อว่าไฟฟ้าที่ได้มาจากเขื่อนเป็นไฟฟ้าที่มาจากคราบน้ำตาของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ มาจากการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างไม่ใยดี

———————-

ปล. เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้ออกจดหมายถึง กระทรวงพลังงานและ กฟผ. เรื่องสอบถามถึงแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนหลวงพระบาง บนแม่น้ำโขง และขอให้ทบทวนพิจารณาระงับการซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนหลวงพระบาง เนื่องจากขณะนี้มีการผลักดันการสร้างเขื่อนหลวงพระบางเป็นโครงการเขื่อนแห่งที่ 5 ที่เสนอเพื่อก่อสร้างบนแม่น้ำโขงสายหลัก โดยมีการประกาศครบวาระของกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า (PNPCA) ตามข้อตกลงแม่น้ำโขง ปี 2538 (1995 Mekong Agreement) เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2563 ที่ผ่านมา มีประเทศไทยเป็นเป้าหมายของการรับซื้อไฟฟ้า

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

Prev

December 2024

Next

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

25
26
27
28
29
30
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1
2
3
4
5

31 December 2024

Nothing to show.

เข้าสู่ระบบ