ย้อนดูเส้นทาง “ขนมจากสาคูต้น” ถึงป่าสาคูผืนสุดท้ายที่เมืองลุง

ย้อนดูเส้นทาง “ขนมจากสาคูต้น” ถึงป่าสาคูผืนสุดท้ายที่เมืองลุง

กระแสแรงฉุดไม่อยู่สำหรับ ความต้องการ กินสาคูแท้ๆ จากต้น ด้วยรสชาติที่ หอม เหนียวนุ่ม ละลายในปาก ทำให้ “แป้งสาคู”กลายเป็นสินค้าที่มียอดติดอับดับต้นๆ ของจังหวัดพัทลุง

แต่รู้หรือไม่ว่าการกินสาคูแท้ที่ดีต้องมาจากต้น ‘สาคูต้น’ มีอายุ 8-10 ปี หากไม่ครบอายุ “ก็เหมือนการกินข้าวที่ไม่สุกดี” คุณค่าทางอาหารก็ขาดหายไป นี่คือคำพูดของพี่บอยหรือคุณพิชัย ทิพย์มาก ใช้ชีวิตและเติบโตมากับป่าสาคูในจังหวัดพัทลุง

“สาคู”เป็นมากกว่าความอร่อย

มารู้จักลักษณะเด่นของต้นสาคูกันสักนิด พืชสาคูเป็นไม้พื้นถิ่นที่สำคัญของภาคใต้ พบได้มากในป่าพื้นที่ชุ่มน้ำและริมคลองธรรมชาติ เป็นต้นไม้ประเภทปาล์ม คล้ายต้นมะพร้าว แต่มีขนาดใหญ่กว่าและหนากว่า ส่วนของลำต้นนำมาทำเป็นเม็ดสาคูหรือแป้งสาคู มีอายุขัยหลายสิบปี พืชที่มีความสำคัญทางด้านระบบนิเวศน์ที่ช่วยชะลอน้ำ รักษาการพังทลายของตลิ่ง และเป็นเเหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ รากสาคูช่วยบำบัดน้ำเสีย ป่าสาคูเป็นปอดที่ช่วยฟอกอากาศให้ชุมชน

พี่บอย พิชัย ทิพย์มาก พาเราเดินเข้าไปในป่าสาคู บ้านหัวพรุ อ.ควนขนุน จ. พัทลุง    จุดนี้เคยแหล่งป่าสาคูผืนใหญ่ผืนใหญ่เคยมีมากถึง 200 ไร่  

“สำหรับผมแล้วผมอยู่กับป่าสาคูมานาน ป่าสาคูให้อะไรกับผมหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นอาหารชั้นเลิศ อย่างตัวด้วง ในป่าสาคูก็จะมีผักให้กิน เช่น ผักกูด, ลำเพ็ง, ผักหนาม ฯลฯ สรรพคุณของต้นสาคู ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ปลายยอดสุดโคนราก อย่างลำต้นเอามาทำแป้ง, ใบทำจากมุงหลังคา, ก้านสาคูเอาไปทำไม้กวาด ,รากก็สามรถนำไปเป็นยา ทุกส่วนสามารถสร้างรายได้ให้กับเรา พูดได้เต็มปากว่า เราได้รายได้จากธรรมชาติ   โดยที่เราไม่ต้องใส่ปุ๋ยหรือลงทุนก็สามารถเลี้ยงครอบครัวได้สบาย”

พี่บอยเล่าให้เราฟังต่อ ถึงป่าสาคูผืนใหญ่นี้เป็นผืนสุดท้ายนี้ เดิมพื้นที่นี้เป็นแก้มลิงโดยธรรมชาติ น้ำไม่เคยแห้ง เย็นสดชื่น สภาพอากาศมีความชื่น แต่2-3 ปีที่ผ่านมานี้ป่าสาคูผืนนี้เริ่มแล้ง ไม่มีความชุ่มชื่นและพูดต่อด้วยประโยคว่า “แห้งเหมือนเดินอยู่บนนุน” (ป่าสาคูแห้งแล้งเหมือนเดินอยู่บนถนนคอนกรีต) ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนา สายคลองหลักที่ถูกขุดลอกคลอง ทำให้ป่าสาคูซึ่งอยู่ปลายน้ำเริ่มแห้งตั้งแต่นั้นมา เมื่อป่าสาคูถูกทำลาย ระบบการจัดการน้ำโดยธรรมชาติก็ถูกทำลายลงไปพร้อมกัน

เมื่อก่อนถ้าเราเดินในป่าสาคูนี้จะเหมือนเดินอยู่ในลำห้วย มีน้ำ มีปลา ตอนนี้ความชื้นลดลง น้ำน้อย สภาพต้นสาคูเปลี่ยน ลำต้นเเละใบเริ่มเล็กลง ที่สำคัญเนื้อแป้งสาคูก็จะน้อยตามไปด้วยเพราะขาดความสมบูรณ์ ไม่เพียงแต่สภาพพื้นที่เปลี่ยนไปเท่านั้น แต่พี่บอยยังบอกกับเราว่าในอดีตพื้นที่ป่าสาคูบ้านหัวพรุ อ.ควนขนุน แห่งนี้ มากกว่า200 ไร่ ปัจจุบันลดน้อยลง เหลือเพียง 70 ไร่เท่านั้น

“ถ้าแหลงถึงป่าสาคูที่หายไปผมเสียดายจัง”  ซึ่งก็มาจากหลายสาเหตุ เช่น การขุด การถาง การทำลาย จากการพัฒนาคูคลอง ของหน่วยงานรัฐ โดยสภาพป่าสาคูจะอยู่ในพื้นที่ลำห้วยลำคลองด้วยเเล้ว โอกาสที่ถูกทำลายย่อมมีมาก แต่ก็ไม่โทษใครเพราะเข้าใจเรื่องการพัฒนา  แต่หากปล่อยให้จำนวนลดลงเรื่อยๆ ผมว่าเครื่องฟอกอากาศขนาดใหญ่ของชุมชน ที่ให้ความเย็น ความสดชื่น ก็จะยิ่งเล็กลง แทนที่จะใหญ่ขึ้น

พี่บอย พูดทิ้งท้ายก่อนที่จะไปเก็บใบสาคูกลับบ้านว่า อยากให้ทุกคนมองสาคูเป็นมากอาหาร เพราะสาคูเป็นเรื่องระบบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ชีวิตเเละสิ่งแวดล้อม “ มันเป็นคลังอาหาร คลังเบี้ย”  อย่าละเลยที่จะดูแลมัน

อย่างตอนนี้กระแสบริโภคสาคูมีเยอะมาก อย่าเพียงเพราะเห็นว่าสาคูราคาดีจากเมื่อก่อนราคาต้นละ 500 บาท ปัจจุบันต้นละ 1,700 -1,800 บาท จนทำให้ต้องเร่งโค้นต้นสาคูที่ยังเติบโตไม่สมบูรณ์ จนกลายเป็นการทำลายต้นสาคูที่อายุยังน้อยไม่สมบูรณ์ ทำให้การสร้างแป้งยังไม่เต็มที่ หากเราบริโภคไป “ก็เหมือนการกินข้าวที่ไม่สุกดี” คุณภาพและคุณประโยชน์ทางอาหารก็ขาดหายไป  จำเป็นต้องคัดเลือกต้นที่แก่จัดจริงๆ จะได้กินแป้งที่มีคุณค่าทางอาหารที่สมบูรณ์

คลิปแลต๊ะแลใต้ : แป้งสาคูแท้ ต้องหอม เหนียวนุ่ม ละลายในปาก

แป้งสาคูแท้ จากต้นสาคู

แป้งสาคูแท้ ต้องหอม เหนียวนุ่ม ละลายในปาก.ชวนทำความรู้จักต้นสาคู แลขั้นตอนก่อนที่จะเปลี่ยนต้นสาคูมาเป็นแป้งสาคูสำหรับนำมาทำขนมหวานชนิดต่าง ๆ.#แป้งสาคู #สาคู #จังหวัดพัทลุง#แลต๊ะแลใต้ #ไทยพีบีเอส…..รับชมคลิปที่เกี่ยวข้อง #ต้นสาคูพืชริมห้วยประโยชน์ล้นhttps://www.facebook.com/LaetaLaeTai/videos/2176214582671784/————-ติดตามแลต๊ะแลใต้ได้ในเว็บไซต์www.thaipbs.or.th/laetalaetai

โพสต์โดย แลต๊ะแลใต้ เมื่อ วันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2019

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ