ข่าวประจำวันที่ 4 เดือน กันยายน 2559
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่ติดตามการปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำในเขื่อนภูมิพล และเข้าเยี่ยมพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ ที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่ติดตามการบูรณาการปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำในเขื่อน ณ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก เพื่อปรับแผนการปฏิบัติการฝนหลวง โดยได้มอบนโยบายแก่กรมส่งเสริมการเกษตร ให้สื่อสารข้อมูลที่สำคัญไปยังเกษตรกร ควรปรับเปลี่ยนการปลูกพืชให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถเลือกปลูกพืชได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันมอบหมายให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ให้หาแนวทางปฏิบัติการช่วยเหลือและสนับสนุนการเติมน้ำในเขื่อนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพล ขณะนี้มีน้ำ 4,748 ล้าน ลบ.ม. แต่เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 948 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 9% ของความจุเขื่อน ทั้งนี้ กรมฝนหลวงฯ จะดำเนินการปรับการบินเพื่อให้สอดคล้องและพร้อมรับมือตามสถานการณ์ รวมทั้งขยายระยะเวลาปฏิบัติการฝนหลวง จากช่วงเดือนสิงหาคมไปจนถึงกลางเดือนกันยายนนี้
ภาพ / ข่าว ประชาสัมพันธ์จังหวัดตาก
โรงพยาบาลแม่สอด อบรมหลักสูตรอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ EMR แก่อาสาสมัคร มูลนิธิ หน่วยกู้ชีพ กู้ภัย ขยายเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉิน
ที่ห้องประชุมเพชรชมพู ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา โรงพยาบาลแม่สอด นายแพทย์ธวัชชัย เศรษฐศุภพนา รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลแม่สอด เป็นประธานเปิดการอบรบหลักสูตรอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์Emergency Medical Respons (EMR) ให้กับเจ้าหน้าที่ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน อาสาสมัคร มูลนิธิ หน่วยกู้ชีพ กู้ภัย จำนวน 70 คน โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากทีมโรงพยาบาลทองผาภูมิ โรงพยาบาลพหลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี และทีมโรงพยาบาลแม่สอดนางสาวลัดดาวัลย์ เล็กธำรง หัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สอด กล่าวว่า ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ( EMS ) เป็นอีกมิติหนึ่งในระบบบริการสุขภาพที่ต้องเตรียมพร้อม ในการรับกับการเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุต่างๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องมีการพัฒนาในด้านต่างๆ รวมทั้งการมีเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์จริงในปัจจุบัน ส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นการเน้นด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและปลอดภัย ตามหลักวิชาการเพื่อลดการสูญเสียชีวิตทุพพลภาพพิการและทรัพย์สินของผู้ป่วย
นายแพทย์ธวัชชัย เศรษฐศุภพนา รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติ รวมทั้งสาธารณภัยต่างๆมากขึ้น และการเกิดแต่ละครั้งจะพบว่ามีความรุนแรง ทำให้ประชาชนบาดเจ็บ และเสียชีวิติเป็นจำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดให้มีการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดการอบรมพัฒนาศักยภาพ แพทย์ พยาบาลและ สหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นทีมที่มีขีดความสามารถในการเผชิญเหตุภัยพิบัติ ซึ่งเรียกว่า ทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์เคลื่อนที่เร็ว ในภาวะภัยพิบัติระดับอำเภอ(Mini MERT) ระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ ให้ครบทุกอำเภอ
ภาพ / ข่าว ศิริพันธ์ นันทะศิริ
สมาชิกจิตอาสาโรงพยาบาลแม่สอดบำเพ็ญประโยชน์จิตอาสาแสดงศิลปะการร่ายรำให้ผู้มารับบริการโรงพยาบาลได้รับชม
ที่อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแม่สอด เขตเทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด ชมรมจิตอาสานำโดยนายเมธา ยิ่งยวด ประธานชมรมผู้สูงอายุอำเภอแม่สอดร่วมกับศูนย์สุขภาพโรงพยาบาลแม่สอด ได้มีการร่วมกันจัดกิจกรรมจิตอาสาโดยให้ตัวแทนแต่ละชุมชนทั้ง 20 ชุมชน จัดตัวแทนชุมชนที่มีจิตอาสาออกบำเพ็ญจิตอาสาโดยทำการแสดงรำไทยหรือการแสดงให้ผู้ป่วยและผู้ที่เดินทางมารับบริการกับทางโรงพยาบาลแม่สอด ซึ่งจะมีตัวแทนแต่ละชุมชนหมุนเวียนพลัดเปลี่ยนกันมาแสดงศิลปะการรำและการแสดงดังกล่าว โดยในครั้งนี้กลุ่มจิตอาสาชุมชนปู่แดงได้นำการร่ายรำพื้นบ้านมาแสดงให้กับผู้ที่เข้าใช้บริการในรพ.แม่สอด และทางกลุ่มจิตอาสาโรงพยาบาลแม่สอดจะทำการแสดงเช่นนี้ในทุกๆวันศุกร์ เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศใน รพ. ให้มีชีวิต ชีวา และสร้างรอยยิ้มให้กับผู้ใช้บริการอีกด้วย
ภาพ/ข่าว กานต์สิรี วิมุกตายน
โรงพยาบาลแม่สอดจัดการสัมมนาโครงการส่งเสริมป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาการฆ่าตัวตายในอำเภอแม่สอด
กลุ่มงานจิตเวชโรงพยาบาลแม่สอดจัดโครงการส่งเสริมป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาการฆ่าตัวตายในอำเภอแม่สอดโดยมีนายแพทย์สุชาติ พรเจริญพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สอด เป็นประธานเปิดการสัมมนา และมีเครือข่ายสื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์โรงเรียน ผู้นำชุมชน ในพื้นที่อำเภอแม่สอดเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้จำนวน 40 คนจากการดำเนินการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาการฆ่าตัวตายในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาเป็นการแก้ไขปัญหาเชิงลึกตามบริบทของพื้นที่ที่มีการฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตายสูงอย่างเฉพาะเจาะจงโดยพบว่าเมื่อดำเนินงานในพื้นที่เป้าหมายแล้วมีจำนวนการฆ่าตัวตายสำเร็จหรือพยายามฆ่าตัวตายสำเร็จลดลงได้จริงในพื้นที่ดังกล่าวและในแต่ละปีที่ผ่านมามีพื้นที่เสี่ยงเปลี่ยนไปเรื่อยๆบางปีวนกลับมาในพื้นที่เดิมและในปี 2558 พบพื้นที่ที่มีผู้พยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายสำเร็จในลักษณะกระจายตัวเกือบทุกตำบลและจากการดำเนินกิจกรรมการคืนข้อมูลปัญหาการฆ่าตัวตายและกิจกรรมการวิเคราะห์ชุมชนวิเคราะห์ผู้ฆ่าตัวตายให้แก่กำนันผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชนเมื่อปีงบประมาณ 2558 ที่ผ่านมาพบว่าทัศนคติบุกบอกที่คนส่วนใหญ่มีต่อผู้พยายามฆ่าตัวตายหรือถูกฆ่าตัวตายสำเร็จนั้นเป็นไปในทางลบและบอกว่าเป็นปัญหาส่วนตัวเป็นการตัดสินใจส่วนตัวช่วยเหลือไม่ได้รักษาไม่ได้เรื่องใดทางวิชาการสามารถให้การช่วยเหลือและป้องกันได้โดยมีการจัดการสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้ความเข้าใจทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับปัญหาการฆ่าตัวตายการป้องกันการเฝ้าระวังดูแลช่วยเหลือคนใกล้ชิดการสังเกตผู้เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายการขอความช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ประชาชนทั่วไปผ่านทางสื่อต่างๆได้แก่เสียงตามสายในหมู่บ้านป้ายประชาสัมพันธ์สื่อวิทยุโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ตและเป็นการสร้างเครือข่ายดูแลเฝ้าระวังปัญหาการฆ่าตัวตายเพื่อร่วมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ปัญหาการฆ่าตัวรายการดูแลการเฝ้าระวังหากซื้อทั้งทางเสียงตามสายหมู่บ้านชุมชนสื่อวิทยุโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ตผู้จัดรายการทางสื่อต่างๆสามารถให้คำปรึกษาเบื้องต้นได้ให้คำแนะนำแนวทางการขอรับความช่วยเหลือได้
ภาพ / ข่าว ศิริพันธ์ นันทะศิริ