ปัญหาด้านที่ดินและทรัพยากรของประเทศ เป็นปัญหาสำคัญที่ยืดเยื้อและส่งผลกระทบกับชุมชนและสังคมไทยมายาวนาน สถานการณ์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบันที่กำลังสร้างผลกระทบกับเกษตรรายย่อยและประชาชนที่อาศัยทำกินอยู่ในเขตป่าดังที่ปรากฎเรื่องราวในสื่อต่างๆ ด้านหนึ่งแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐในระดับพื้นที่มีแนวโน้มจะสร้างผลกระทบรุนแรงอันไม่เป็นธรรมต่อสิทธิของชุมชนและสิทธิมนุษยชน
22 มิถุนายน 2558 เครือข่ายภาคประชาสังคมด้านทรัพยากรและสิทธิชุมชนภาคเหนือ จัด “เวทีเสวนา 17 ปี มติ ครม. 30 มิถุนายน 25441: ความล้มเหลวของรัฐไทยในการจัดการทรัพยากรบนคราบน้ำตาประชาชน” ขึ้น เพื่อสะท้อนให้เห็นแนวนโยบายของภาครัฐที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมติดังกล่าว ถูกนำมาปรับใช้ในรัฐบาลต่อๆมา ร่วมถึงในยุค คสช. เช่น คำสั่ง คสช. เมื่อปี 2557 ที่ว่าด้วยเรื่องการปราบปรามและหยุดยั่งการทำลายทรัพยากรป่าไม้
คำสั่งคสช. ฉบับที่ 64/2557 และ 66/2557 คสช.มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขายด้วยการออกคำสั่งให้หน่วยงาน ประชาชนต้องทำตาม พร้อมยกเอาเหตุผลการทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ แต่ที่จริงแล้วคำสั่งดังกล่าวไม่ได้ส่งผลด้านบวกตามที่ คสช.มุ่งหมาย แต่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อประชาชนในพื้นที่ป่า ซึ่งมีแนวคิดที่มีปัญหาเชิงแนวคิด ที่สำคัญคือ
- การขาดการมีส่วนและมีความเร่งรีบในการดำเนินการ เช่นมีการจัดทำแผนแม่บทป่าไม้ฯ โดยใช้เวลาเพียง 45 วัน นับจากประกาศคำสั่ง คสช.ที่ 64 และ 66 / 2557 ซึ่งขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย
- ขาดความเข้าใจพัฒนาการของปัญหาที่ดินและป่าไม้ ชาวบ้านในเขตป่ากลายเป็นผู้กระทำความผิดกฎหมาย
- การเพิ่มพื้นที่ป่า 40 เปอร์เซ็นต์ ของประเทศ ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคม ประชาชนในเขตป่าถูกประกาศเขตป่าทับซ่อนอย่างไม่เป็นธรรม
- การกำหนดพื้นที่ที่ประชาชนรักษาป่าไว้ดีอยู่แล้วให้กลายเป็น “พื้นที่วิกฤติ รุนแรง”
- วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงจะไม่ได้รับการรับรองสิทธิ
- การมุ่งเน้นการยึดคืนพื้นที่ อพยพ ควบคุม และปราบปรามส่งผลกระทบรุนแรงกับชุมชนในเขตป่า
- ความล้มเหลวของการฟื้นฟูป่าด้วยการปลูกป่าทดแทน ในอดีดที่ผ่านมามีการใช้งบประมาณมหาศาลปลูกป่าทดแทนตามเงื่อนการสัมปทานป่าไม้
สรุปคือ เนื่องจากคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 64 และ 66 /2557 และแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ฯ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ป่า เป็นปัญหาต่อความร่วมมือในการบริการจัดการป่าระหว่างรัฐกับประชาชน ซึ่งสุดท้ายหากปล่อยให้สถานการณ์ความขัดแย้งงดำรงอยู่ก็ยิ่งส่งผลกระทบด้านลบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการฟิ้นฟูป่าตามที่ คสช.ตั้งเป้าเอาไว้