เครือข่ายเกษตรแนะภาครัฐเร่งสร้างทางเลือกหลังแบน 3 สารเคมี

เครือข่ายเกษตรแนะภาครัฐเร่งสร้างทางเลือกหลังแบน 3 สารเคมี

หลังรู้ผลการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่มีมติยกเลิกการใช้สารเคมี 3 ชนิด คือ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอไพรีฟอส นักข่าวพลเมือง จังหวัดเชียงใหม่ คุณยุทธพรหม สมใจ ได้พูดคุยกับกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกพืชแบบอินทรีย์ และนักวิชาการ ทางด้านเกษตร ถึงการสร้างทางเลือกให้กับเกษตรกรที่ยังจำเป็นต้องพึ่งพาและใช้สารเคมีบางชนิด ในการทำเกษตรเพื่อลดผลกระทบ

เกษตรกรผู้ทำเกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ กล่าวว่า “เราทำเกษตรอินทรีย์เรารู้ ว่าจะต้องทำอย่างไรกับการเพาะปลูก แต่สำหรับเกษตรเคมีคงเกษตรกรมีหลายคนตั้งคำถามว่า หากไม่ให้เข้าใช้จะมีองค์ความรู้ไหนที่จะถ่ายทอดไปถึงเขา และให้เริ่มแบบอินทรีย์ เขาจะทำและเริ่มต้นแบบไหน องค์ความรู้ตรงนี้ต้องเตรียมพร้อม

ด้านนักวิชาการด้านการเกษตร ดร.ชมชวน บุญระหงษ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ม.แม่โจ้ มองว่า “การแบนสามสารเคมีนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับภาคการเกษตรของไทย โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ทีว่าแปลงปลูกของพวกเขาปลูกพืชแบบอินทรีย์ แต่รอบแปลงของเขาใช้สารเคมี ก็มักจะมีคำถามจากทั้งหน่วยงานตรวจสอบคุณ และผู้บริโภคว่า จะปลอดภัยจริงหรือ แต่สำหรับผลกระทบที่จะตามมา คือ กลุ่มค้าขายที่มีการกักตุนสารเคมีเพื่อขายจะเยียวยาอย่างไร และที่กระทบแน่ๆ คือกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตรที่ต้องพึ่งพาสารเคมี ช่วงเปลี่ยนผ่านแบบนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องสร้างทางเลือกให้เกษตรกรว่าจะทำอย่างไร ใช้อะไรทดแทนแบบปลอดภัย และลงทำงานในเชิงพื้นที่ให้มากขึ้นซึ่งในเชิงเครือข่าย ก็มีเกษตรกรที่ทำเกษตรปลอดภัยกระจายตัวกันอยู่หลายที่ ซึ่งอาจจะต้องเชื่อมการทำงานกัน แต่สำหรับผู้บริโภค ครั้งนี้ถือว่าเราได้ประโยชน์โดยตรง และมีความหวังมากขึ้นในเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน

ส่วนใน จังหวัดมหาสารคาม ก็มีกลุ่มเกษตรกรผู้ค้าตลาดนัดสีเขียวที่จำหน่ายอาหารปลอดภัยแก่ผู้บริโภคมานานกว่า 14 ปี และกำลังขยายตลาดไปยังโรงพยาบาลและอำเภอต่าง ๆ ทั่วจังหวัด นักข่าวพลเมือง คุณกาญจนา มัชเรศ ก็ได้พูดคุยกับเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสานถึงการดำเนินงานหลังจากนี้ และเพื่อสร้างรูปธรรมของเกษตรกรรมแบบยั่งยืน

โดยทางกลุ่มเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน คุณมาลี สุปันติ มองว่า “ภาครัฐเองควรจะมีการส่งเสริมสนับสนุน ให้ประชาชนได้คิดกระบวนการการจัดการปลูกพืชเกษตร โดยไม่ใช้สารเคมี อย่างเช่นเรื่อง เครื่องจักรขนาดเล็ก นวัตรกรรมที่มีการทำและเกิดผลแล้วในตอนนี้ เอามานำเสนอสู่การปฎิบัติใช้ หรืออาจจะส่งเสริมให้กลุ่มที่ใช้สารเคมีอยู่ ได้ทดลองได้วิจัยในระดับไร่นาเพื่อแก้ไขปัญหาของตัวเอง และอีกเรื่องหนึ่งคือการส่งเสริมให้เกษตรกรได้ทำเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรกรรมยั่งยืน ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. ตามนโยบายของประเทศจะเพิ่มทางเลือกให้กับเกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนจากการเกษตรที่ใช้สารเคมี หรือการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ให้หันมาทำการเกษตรที่คำนึงถึงสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพิ่มมูลค่าผลผลิต”

ควบคู่กับมติการยกเลิกใช้สารเคมี 3 ชนิด ยังมีโจทย์สำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องเดินหน้าและหาทางออกร่วมกัน ทั้ง แนวทางการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร และการสร้างวิถีเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ยังเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างอาหารปลอดภัยทั้งระบบให้กับผู้บริโภคในสังคม

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ