สถานทูตจีนแจงสถานการณ์น้ำโขง อ้างทุ่มเทอนุรักษ์

สถานทูตจีนแจงสถานการณ์น้ำโขง อ้างทุ่มเทอนุรักษ์

สถานทูตจีนแจง 4 ประเด็นสถานการณ์แม่น้ำโขงอ้างทุ่มเทอนุรักษ์นิเวศสิ่งแวดล้อม ระบุสื่อบางแห่งรายงานเท็จทำให้เข้าใจผิด เครือข่ายภาคประชาชนลุ่มน้ำโขงโต้ทันควันย้อนแย้งชี้จัดการน้ำไม่เป็นธรรมเผยสถิติน้ำโขงผันผวนมากที่สุด

เมื่อวันที่6 กรกฎาคม2562 เว็บไซต์สถานทูตจีนประจำประเทศไทยและเพจNew Silk Road ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้เผยแพร่คำแถลงของโฆษกสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยว่าด้วยคำวิพากษ์วิจารณ์ที่เกี่ยวกับจีนในปัญหาน้ำแม่น้ำโขงโดยระบุว่าเมื่อเร็วๆนี้สื่อมวลชนบางสื่อได้รายงานข่าวเกี่ยวกับปัญหาน้ำแม่น้ำโขงด้วยคำวิพากษ์วิจารณ์จีนอันเป็นเท็จซึ่งข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นไม่มีหลักฐานและไม่ตรงกับข้อเท็จจริงโดยมองข้ามความพยายามของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องซึ่งรวมถึงจีนและไทยในการผลักดันความร่วมมือในด้านทรัพยากรน้ำแม่น้ำโขงเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้กับประชาชนในภูมิภาคทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนซึ่งได้ทำลายบรรยากาศความร่วมมืออันดีในอนุภู 

เพจNew Silk Road รายงานว่าสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยขอชี้แจงข้อเท็จจริงดังนี้1. เกี่ยวกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมแม่น้ำโขงโดยแม่น้ำโขงได้ผูกเชื่อมจีนไทยกัมพูชาลาวพม่าเวียดนาม6 ประเทศอย่างแน่นแฟ้นซึ่งเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงธรรมชาติและมนุษย์ในหลายมิติจีนได้ทุ่มกำลังในการผลักดันการพัฒนาแบบสีเขียวไร้มลภาวะการอนุรักษ์ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมเสมือนการปกป้องดูแลลูกตาเราเองการปฏิบัติต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมเสมือนการปฏิบัติต่อชีวิตเราเช่นกันและเข้าร่วมความร่วมมือกับประเทศลุ่มแม่น้ำโขงด้วยแนวความคิดดังกล่าวทั้ง6 ประเทศได้สร้างศูนย์ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งได้ดำเนินแผนโครงการแม่น้ำล้านช้างแม่น้ำโขงสีเขียวไร้มลภาวะและแผนปฏิบัติการความร่วมมือด่านทรัพยากรน้ำระยะ5 ปีภายใต้กรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้างแม่น้ำโขงทั้ง6 ประเทศได้ดำเนินการสร้างและการลงทุนการจัดหาทุนในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่ยั่งยืนอย่างแข็งขัน

เพจของสถานเอกอัครราชทูตจีนฯรายงานด้วยว่า1.อย่างโครงการทางรถไฟจีนลาวก็ได้ยึดถือการสร้างทางสีเขียวเป็นเป้าหมายยืนหยัดให้งานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับโครงการก่อสร้างมีการออกแบบก่อสร้างและตรวจรับที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกันซึ่งได้รับการยอมรับจากรัฐบาลและประชาชนของลาวรัฐบาล6 ประเทศได้ใช้ความพยายามร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศและเอ็นจีโออย่างต่อเนื่องในการกระชับความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีและการแลกเปลี่ยนบุคลากรและข้อมูลข่าวสารผลักดันให้ภูมิภาคแม่น้ำโขงบรรลุซึ่งการอนุรักษ์ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

2. เกี่ยวกับข่าวที่เรียกว่าการระเบิดแก่งหินงานเตรียมล่วงหน้าโครงการปรับปรุงร่องน้ำแม่น้ำโขงระยะที่สองภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง(GMS) ได้เริ่มดำเนินการระหว่างปี.. 2559 ถึง.. 2560 ตามความเห็นพ้องต้องกันของรัฐบาลจีนไทยพม่าลาว4 ประเทศโดยผู้เชี่ยวชาญของทั้ง4 ประเทศได้ดำเนินการประเมินสิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางสังคมของโครงการภายใต้เงื่อนไขบังคับก่อนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติทางภูมิศาสตร์ธรรมชาติแม่น้ำล้านช้างแม่น้ำโขงโดยงานเตรียมล่วงหน้าได้เชิญฝ่ายต่างๆเข้าร่วมรวมทั้งเอ็นจีโอด้วยได้รับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆอย่างเต็มที่จนถึงปัจจุบันนี้ทั้ง4 ประเทศยังไม่มีแผนโครงการใดๆจึงไม่มีสิ่งที่เรียกว่าปฏิบัติการระเบิดแก่งหินใดๆเลยในตอนนี้

 

3. เกี่ยวกับบทบาทของสถานีกำเนิดไฟฟ้าแบบขั้นบันไดการเกิดภัยแล้งและภัยน้ำท่วมบ่อยในลุ่มแม่น้ำโขงในปัจจุบันนี้เป็นปรากฏการณ์อากาศผิดปกติในขอบข่ายทั่วโลกการที่ฝ่ายจีนสร้างเขื่อนแบบขั้นบันไดตามแม่น้ำล้านช้างเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศสถานีกำเนิดไฟฟ้าแบบขั้นบันไดนั้นปล่อยน้ำในหน้าแล้งกักเก็บน้ำในหน้าฝนซึ่งจะเป็นการปรับลดน้ำท่วมเพิ่มน้ำหน้าแล้งต่อแม่น้ำโขงหลังการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องปริมาณน้ำที่ไหลออกนอกประเทศของแม่น้ำล้านช้างได้เพิ่ม70% ในหน้าแล้งและลดลง30% ในหน้าฝนเมื่อเทียบกับสภาพแบบธรรมชาติเดิมซึ่งได้ลดค่าเสียหายทางเศรษฐกิจของมวลประชาชนสองฟากฝั่งอันเกิดจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงผิดปกติ

 

ปัจจุบันนี้น้ำแม่น้ำโขงช่วงจากเชียงแสนถึงเวียงจันทร์จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น30%-50% และระดับน้ำสูงขึ้น0.6-1.9 เมตรในหน้าแล้งและจะมีปริมาณน้ำลดน้อยลง10%-20% ระดับน้ำลดลง0.4-1.3 เมตรในหน้าฝนผู้ประกอบกิจการเดินเรือขนส่งสองฟากฝั่งสามารถเดินเรือได้ในหน้าแล้งเป็นครั้งแรกในแม่น้ำโขงตอนกลางและตอนบนที่มีน้ำตื้นแก่งหินเยอะภายใต้บทบาทเพิ่มน้ำหน้าแล้งซึ่งได้อำนวยรูปแบบการขนส่งคมนาคมที่สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นและเป็นสีเขียวปราศจากมลภาวะแก่ประชาชนสองฟากฝั่งช่วงพ.. 2556 และ..2559 แม่น้ำล้านช้างแม่น้ำโขงประสบภัยแล้งอย่างร้ายแรงในทั่วลุ่มแม่น้ำจีนได้อดทนดำเนินการเพิ่มน้ำฉุกเฉินต่อแม่น้ำโขงตอนล่างช่วยประชาชน60 ล้านคนตามแม่น้ำโขงตอนล่างได้ผ่านพ้นภัยแล้งอย่างปลอดภัยทั้งๆที่ตนเองก็ประสบภัยแล้งอย่างลำบากมากเว็บไซต์ดังกล่าวระบุและว่าเว็บไซต์ของคณะกรรมการแม่น้ำโขงได้รายงานบทความเมื่อปี.. 2560 โดยชี้ว่าความแห้งแล้งของแม่น้ำโขงไม่ได้เกิดจากสถานีกำเนิดไฟฟ้าที่ตอนบนของแม่น้ำตรงกันข้ามการปรับลดน้ำท่วมเพิ่มน้ำหน้าแล้งของเขื่อนแม่น้ำตอนบนได้มีบทบาทสำคัญในขณะที่เกิดความแห้งแล้งภายใต้เงื่อนไขภูมิอากาศแปรปรวนรุนแรงสุดขั้ว

 

ในเพจดังกล่าวยังระบุด้วยว่า4. เกี่ยวกับการแจ้งข้อมูลอุทกวิทยา(Hydrological information) ในฐานะประเทศแม่น้ำโขงตอนบนฝ่ายจีนให้ความสำคัญอย่างสูงแต่ต้นจนปลายต่อความห่วงใยและความต้องการของประเทศแม่น้ำโขงตอนล่างโดยได้รักษาการติดต่อสื่อสารกับประเทศแม่น้ำโขงตอนล่างอย่างแน่นแฟ้นและทุ่มกำลังดำเนินความร่วมมือในด้านการแบ่งปันข้อมูลอุทกวิทยากับประเทศที่เกี่ยวข้องฝ่ายจีนเริ่มให้ข้อมูลอุทกวิทยาแม่น้ำล้านช้างในหน้าฝนแก่ไทยกัมพูชาลาวเวียดนาม4 ประเทศผ่านคณะกรรมการแม่น้ำโขงตั้งแต่ปี.. 2546 โดยแจ้งแผนการปรับน้ำเขื่อนล่วงหน้าซึ่งทางคณะกรรมการแม่น้ำโขงและประเทศแม่น้ำโขงตอนล่างได้แสดงความขอบคุณหลายๆครั้งหน่วยทำงานผสมความร่วมมือทางทรัพยากรน้ำแม่น้ำลานช้างแม่น้ำโขงได้เปิดการประชุมวิสามัญเมื่อต้นเดือนมิถุนายนปีนี้ฝ่ายจีนได้ให้ข้อมูลอุทกวิทยาหน้าฝนของแม่น้ำลานช้างแก่ประเทศภาคีสมาชิกแม่น้ำโขงตอนล่างความร่วมมือแม่น้ำล้านช้างแม่น้ำโขงโดยตรงช่องทางแลกเปลี่ยนข้อมูลอุทกวิทยาระหว่างรัฐบาลของฝ่ายจีนกับประเทศแม่น้ำโขงตอนล่างเป็นช่องทางที่คล่องตัวและโปร่งใส

 

สิ่งที่ต้องชี้ให้เห็นเป็นพิเศษคือผลการประเมินของคณะกรรมการแม่น้ำโขงเมื่อปี.. 2559 ปรากฏว่ายอดรวมปริมาณน้ำในเขื่อนของประเทศต่างๆตามแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงมีมากกว่ายอดปริมาณน้ำในเขื่อนขั้นบันไดของแม่น้ำล้านช้างสายหลักของฝ่ายจีนปริมาณน้ำแม่น้ำล้านช้างที่ไหลออกนอกประเทศจีนเป็นเพียง13.5% ของปริมาณน้ำแม่น้ำโขงตอนปากน้ำออกทะเล

 

ดื่มน้ำแม่น้ำสายเดียวกันร่วมชะตากรรมแบ่งปันการส่งเสริมการพัฒนาภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอย่างปราศจากมลภาวะประสานงานกันและยั่งยืนนั้นต้องการความไว้วางใจซึ่งกันและกันความเข้าใจกันและกันการสนับสนุนซึ่งกันและกันการกระชับความร่วมมือกันการคำนึงถึงความห่วงใยของกันและกันการบูรณากันในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ให้ดีฝ่ายจีนยินดีที่จะกระชับความร่วมมือต่อไปกับประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทยผ่านกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้างแม่น้ำโขง(LMC) คณะกรรมการแม่น้ำโขง(MRC) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจแม่น้ำโขงเพื่อที่จะทำให้แม่น้ำโขงกลายเป็นแม่น้ำแห่งมิตรภาพแม่น้ำแห่งความร่วมมือและแม่น้ำแห่งความเจริญรุ่งเรือง

 

ทั้งนี้ภายหลังจากการออกคำแถลงการณ์ของโฆษกสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาและความเคลื่อนไหวจากประชาชนริมแม่น้ำโขงอย่างกว้างขวางโดยเครือข่ายประชาชนไทย8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงระบุว่า1. ภายใต้ทรัพยากรแม่น้ำโขงที่ประชาชนใช้ร่วมกันมาตั้งแต่อดีตได้รับการจัดการอย่างเป็นธรรมในทุกประเทศจากระบบของธรรมชาติเป็นทรัพยากรร่วมของประชากลุ่มต่างๆทั้งหาปลาเดินเรือการเกษตรแหล่งน้ำบริโภคอุปโภคฯลฯแต่เมื่อเกิดแนวคิดในการพัฒนาแม่น้ำโขงโดยโครงกรพัฒนาขนาดใหญ่ต่างๆเช่นการสร้างเขื่อนแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาการระเบิดเกาะแก่งเพื่อการเดินเรือพาณิชย์ฯลฯเราพบว่าทรัพยากรแม่น้ำโขงถูกทำลายและถูกจัดการอย่างไม่เป็นธรรมโดยกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่เข้ามาหาประโยชน์จากทรัพยากรร่วมนี้

สิ่งที่เราเผชิญคือการแย่งชิงทรัพยากรจากประชาชนท้องถิ่นไปสู่กลุ่มทุนขนาดใหญ่โดยโครงการทางรถไฟจีนลาวทางสีเขียวเป็นเพียงแนวคิดที่ยังไม่เห็นรูปธรรมว่าจะไม่ทำลายทรัพยากรและวิถีชีวิตตลอดจนเศรษฐกิจของประชาชนได้จริงหรือไม่ในขณะที่ดำเนินการอยู่นี้โครงการฯกลับถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณะเกี่ยวกับผลกระทบอย่างกว้างขวางสิ่งที่เป็นสีเขียวอยู่แล้วฐานทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์อยู่แล้วกลับถูกกระทำโดยโครงการพัฒนาต่างๆนี่อาจเป็นข้อย้อนแย้งของแผนโครงการแม่น้ำล้านช้างแม่น้ำโขงสีเขียวไร้มลภาวะ

 

คำชี้แจงของประชาชนลุ่มน้ำโขง8 จังหวัดระบุด้วยว่า2. โครงการระเบิดแก่งแม่น้ำโขงหรือโครงการปรับปรุงร่องน้ำเพื่อการเดินเรือพาณิชย์แม่น้ำล้างช้างแม่น้ำโขงได้ดำเนินการมาตั้งแต่.. 2543 ตามข้อตกลงการเดินเรือเสรีที่4 ประเทศลุ่มน้ำโขงตอนบนได้ลงนามโดยมีโครงการการระเบิดเกาะแก่งเป็นส่วนหนึ่งจวบจนปัจจุบันโครงการได้ถูกดำเนินการไปแล้วที่แม่น้ำโขงตอนบนในจีนและพรมแดนพม่าลาวลงมาจนถึงสามเหลี่ยมทองคำซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวสร้างผลกระทบด้านต่างๆต่อระบบนิเวศแม่น้ำโขงและวิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ท้ายน้ำทั้งนี้รัฐบาลไทยในช่วงที่ผ่านมา.. 2546- 2547 ได้ตัดสินใจชะลอโครงการเนื่องจากเหตุผลด้านความมั่นคงและผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างไรก็ตามโครงการนี้ได้ฟื้นกลับมาอีกครั้งเมื่อมีการนำเสนอในที่ประชุมกรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้างแม่น้ำโขง(LMC) โดยรัฐบาลจีนประเทศไทยได้ยอมรับให้มีการสำรวจออกแบบในพื้นที่พรมแดนไทยลาวเป็นระยะทาง97 กิโลเมตร

 

เครือข่ายฯเห็นว่าการตัดสินใจในการสำรวจเกาะแก่งหินผาหาดดอนเพื่อการปรับปรุงระเบิดและขุดลอกเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและผลประโยชน์โดยครบถ้วนในทุกมิติครอบคลุมถึงผลกระทบข้ามพรมแดนแต่รัฐบาลกลับอนุญาตให้มีการสำรวจโดยไม่คำนึงถึงประเด็นที่อ่อนไหวจึงเป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลจีนไม่ได้หยุดยั้งในการผลักดันโครงการปรับปรุงร่องน้ำฯแต่อย่างใด ในเวทีให้ข้อมูลในเดือนมกราคมที่.เวียงแก่น.เชียงของและ.เชียงแสน.เชียงรายประชาชนที่เข้าร่วมต่างแสดงความกังวลต่อโครงการฯโดยมีเนื้อหาส่วนหนึ่งว่าการสำรวจออกแบบเพื่อปรับปรุงแก่งหิน13 จุดเห็นในรูปในแผนที่เป็นเพียงก้อนหินเล็กๆแต่หากไปดูที่แม่น้ำโขงจะได้เห็นว่าแก่งเหล่านี้มีขนาดใหญ่เอกสารบอกว่าย้ายหินซึ่งก็คือการระเบิดหินนั่นเองแผนการขุดลอกแม่น้ำโขงรวมระยะทาง6 กม. เป็นปริมาณหินมากถึง20,000 ตันผู้เข้าร่วมในเวทีชี้ว่าเป็นความไม่เข้าใจระหว่างมุมมองทางวิศวกรรมและธรรมชาติเอกสารระบุว่าระเบิดหินออกเอาไปไว้ริมตลิ่งถมแอ่งน้ำลึกแต่สำหรับประชาชนเรารู้ว่านั่นคือคกคือวังน้ำลึกคือระบบนิเวศสำคัญที่ปลาอาศัยอยู่และหมายถึงฐานทรัพยากรของชุมชนเรือใหญ่มาไม่ได้วิ่งวันเดียวแต่จะวิ่งทุกวันเอกสารบอกชัดเจนว่าประชาชนไม่เห็นด้วยมาสิบกว่าปีแล้วคำชี้แจงระบุ

 

ในแถลงการณ์ระบุว่า3. เกี่ยวกับบทบาทของสถานีกำเนิดไฟฟ้าแบบขั้นบันไดเรียกให้ชัดเจนคือเขื่อนแม่น้ำโขงตอนบนในมณฑลยูนนานซึ่งสร้างไปแล้วถึง10 เขื่อนความผันผวนของระดับน้ำแม่น้ำโขงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานั้นหากมองย้อนหลังจากสถิติก่อนการสร้างเขื่อนไม่เคยมีความผันผวนของแม่น้ำโขงระดับน้ำที่ขึ้นลงเป็นไปตามฤดูกาลแล้งและฝนแต่เมื่อมีเขื่อนสร้างกั้นแม่น้ำโขงตอนบนก็เห็นได้ชัดว่าระดับแม่น้ำโขงทางท้ายน้ำโดยเฉพาะบริเวณพรมแดนไทยลาวไม่เป็นไปตามฤดูกาลแต่ขึ้นกับการควบคุมน้ำของเขื่อนในจีนมาตลอดระยะเวลา20 ปีการปล่อยน้ำในหน้าแล้งกักเก็บน้ำในหน้าฝนปรับลดน้ำท่วมเพิ่มน้ำหน้าแล้งนับเป็นการคิดที่วิปริตและขัดแย้งต่อธรรมชาติเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากโดยวงจรธรรมชาติในฤดูฝนแม่น้ำโขงต้องท่วมหลากสิ่งมีชีวิตปลาฯลฯต้องว่ายมุ่งสู่ลำน้ำโขงตอนบนและลำน้ำสาขาเพื่อวางไข่ขยายพันธุ์เมื่อเขื่อนตอนบนปรับลดระดับน้ำในฤดูฝนทำให้วงจรของสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำโขงมีปัญหาพื้นที่ชุ่มน้ำไม่สามารถมีน้ำหลากส่งผลกระทบต่อเนื่อง

 

การกักเก็บน้ำของเขื่อนในฤดูฝนทำให้ตะกอนแร่ธาตุที่เป็นหัวใจของความอุดมสมบูรณ์ในแม่น้ำโขงถูกกักเก็บหายไปจากระบบแม่น้ำโขงการเพิ่มปริมาณน้ำในหน้าแล้งยิ่งเป็นการกระทำที่สร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อแม่น้ำโขงตอนล่างเป็นประโยชน์ของจีนโดนตรงในการเดินเรือพาณิชย์เพื่อการค้าขายระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นในฤดูแล้งสร้างความเสียหายยับเยินต่อระบบนิเวศและวิถีชีวิตของประชาชนไปจนถึงปลายน้ำเกาะแก่งหินผาหาดดอนที่เคยโผล่พ้นน้ำในฤดูแล้งทำหน้าที่ต่อระบบนิเวศเช่นเป็นที่อาศัยของสัตว์ก็หายไปนกประจำถิ่นและนกอพยพที่เคยวางไข่บนเกาะกลางลำน้ำโขงนับล้านๆตัวตลอดสายน้ำโขงกลับถูกทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยและขยายพันธุ์โดยน้ำที่ปล่อยมาจากเขื่อนพรรณพืชที่มีความสำคัญเช่นไกหรือสาหร่ายน้ำจืดเป็นอาหารของสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลาบึกเป็นอาหารของประชาชนรวมทั้งเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นที่สำคัญได้รับผลกระทบจากความผันผวนของระดับน้ำที่ขึ้นลงผิดฤดูกาลถูกทำลายไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตลอดสายน้ำโขงน้ำที่ท่วมในฤดูแล้งส่งผลเสียหายต่อวิถีชีวิตเกษตรกรรมริมฝั่งวิถีประเพณีวัฒนธรรมแหล่งรายได้และการพักผ่อนหย่อนใจของคนท้ายน้ำข้อมูลที่ระบุถึงประมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นตามคำแถลงของสถานฑูตจีนนั้นสามารถเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีคำชี้แจงเครือข่ายประชาชนฯระบุ

 

คำแถลงการณ์ของภาคประชาชนลุ่มน้ำโขงระบุว่ากรณีการเดินเรือโดยสารของท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้ตลอดปีเป็นปกติไม่ใช่เป็นครั้งแรกเนื่องจากสำหรับประชาชนลุ่มน้ำโขงตอนล่างใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสมกับแม่น้ำและร่องน้ำแต่ที่อ้างนั้นเป็นเรือจีนที่มีขนาดใหญ่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของแม่น้ำโขงบริเวณนี้การระบายน้ำที่อ้างว่าเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งหากแม่น้ำโขงไหลตามธรรมชาติปริมาณแม่น้ำโขงไม่ได้มาจากน้ำฝนเพียงอย่างเดียวแต่มาจากการละลายของหิมะทางต้นน้ำด้วยปริมาณแม่น้ำโขงตอนบนส่วนใหญ่เป็นน้ำจากจีนซึ่งในคำแถลงที่ระบุว่าช่วงพ.. 2556 และ..2559 แม่น้ำล้านช้างแม่น้ำโขงประสบภัยแล้งอย่างร้ายแรงในทั่วลุ่มแม่น้ำจีนได้อดทนดำเนินการเพิ่มน้ำฉุกเฉินต่อแม่น้ำโขงตอนล่างในขณะที่เกิดความแห้งแล้งภายใต้เงื่อนไขภูมิอากาศแปรปรวนรุนแรงสุดขั้วขอชี้แจงว่าในปีเดียวกันนั้นที่แม่น้ำสาละวินซึ่งมีต้นกำเนิดเดียวกันกับแม่น้ำโขงพบว่าไม่มีปัญหาภัยแล้งแต่อย่างใดเนื่องจากไม่มีเขื่อนกั้นไม่มีผลกระทบจากการกักเก็บน้ำของเขื่อน

 

เครือข่ายประชาชนแม่น้ำโขงระบุว่า4. เกี่ยวกับการแจ้งข้อมูลอุทกวิทยาการแจ้งข้อมูลที่ผ่านมาซึ่งผ่านหน่วยงานรัฐพบว่ามีการรับรู้น้อยไม่สามารถแก้ไขบรรเทาปัญหาผลกระทบข้ามพรมแดนปัญหาที่สำคัญคือแม้ว่าจะมีการแจ้งปริมาณน้ำที่กักเก็บและระบายจากเขื่อนแต่การดำเนินการของเขื่อนก็ไม่เป็นไปตามฤดูกาลและวงจรของน้ำแม่น้ำโขงตามธรรมชาติการแจ้งจึงไม่ได้สามารถแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อระบบนิเวศและชุมชนท้ายน้ำได้ 

 

ตามคำแถลงที่ว่าปริมาณน้ำแม่น้ำล้านช้างที่ไหลออกนอกประเทศจีนเป็นเพียง13.5% ของปริมาณน้ำแม่น้ำโขงตอนปากน้ำออกทะเลเป็นความจริงเพียงส่วนหนึ่งแต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงที่พรมแดนไทยสามเหลี่ยมทองคำเป็นน้ำที่มาจากจีนเกือบ100% โดยเฉพาะในฤดูแล้งการใช้งานเขื่อนที่จีน(เขื่อนจิงหง) ย่อมส่งผลกระทบต่อแม่น้ำโขงบริเวณพรมแดนไทยลาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้การดื่มน้ำแม่น้ำสายเดียวกันไม่ได้เป็นการเชื่อมร้อยกันระหว่างรัฐต่อรัฐเท่านั้นการที่จะสร้างการมีส่วนร่วมในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของคนลุ่มน้ำโขงต้องให้เกียรติรับฟังและมีความร่วมมือทั้งรัฐบาลและประชาชนทั้งลุ่มน้ำอย่างแท้จริงคำชี้แจงของภาคประชาชนลุ่มน้ำโขงระบุและว่าทั้งนี้ข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้นเครือข่ายฯจะมอบให้แก่เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยเมื่อมีการนัดหมายเพื่อหารือและแลกเปลี่ยนหาแนวทางการแก้ไขปัญหาแม่น้ำโขงการจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกันเพื่อให้เกิดความชัดเจนก่อนที่ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขงจะรุนแรงมากไปกว่านี้ 

 

อนึ่งก่อนหน้านี้ได้มีข่าวการวิพากษ์วิจารณ์กรณีที่เขื่อนจีนชะลอการปล่อยน้ำลงแม่น้ำโขงจนทำให้น้ำแห้งผิดปกติทั้งๆที่เป็นช่วงฤดูฝน(อ่านข่าวเพิ่มเติมhttp://transbordernews.in.th/home/?p=23197&fbclid=IwAR0IRKeltS9nPXGO_Bj8OvPbJD6HGMEj-O1fQueZFAVKoGXSmufb2_rrX6E)

///////////////////////

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ