หยุดการประมงทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน
เปิดให้ประมงพื้นบ้านออกนอกเขตชายฝั่ง
เลือกตั้ง 62 : ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองกับอนาคตประมงไทย
สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย และ สมาคมรักษ์ทะเลไทยพัฒนาข้อเสนอร่วมกันเพื่อเสนอต่อพรรคการเมืองทุกพรรควาระเลือกตั้ง 62 สิ่งที่เป็นความในใจ และสาระสำคัญที่ต้องการบอกคือ “ต้องหยุดการประมงทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อนเพื่ออาหารทะเลสมบูรณ์และเปิดให้ชาวประมงพื้นบ้านออกนอกเขตทะเลชายฝั่ง”
เหตุผลและสถานการณ์ที่พวกเขาเจอ ระบุว่าเนื่องจากตลอดระยะเวลา 3 ปีของการประกาศใช้พระราชกำหนดการประมง พศ..2558 รัฐบาลอ้างว่าหลักการกฎหมายประมงเป็นไปเพื่อสนับสนุนชาวประมงพื้นบ้าน แต่ปรากฏว่ามีข้อกำหนดหลายประการที่จำกัดสิทธิชาวประมงพื้นบ้านไม่ให้ทำประมงได้ตามปกติ เช่น
การให้ความหมายว่าประมงพื้นบ้านให้ทำประมงได้เฉพาะในทะเลชายฝั่ง ซึ่งเป็นความหมายที่แคบกว่าที่ชาวประมงพื้นบ้านเคยทำการประมงปกติ และห้ามผู้ได้รับอนุญาตประมงพื้นบ้านออกทำประมงนอกเขตชายฝั่ง แต่ให้ชาวประมงแบบพาณิชย์ทำการประมงได้ในพื้นที่กว้างขวางโดยกำหนดให้ชาวประมงพาณิชย์จับสัตว์น้ำในทะเลไทยได้กว่าร้อยละ 80-90 แต่ให้ชาวประมงพื้นบ้านจับได้ประมาณร้อยละ10 ของสัตว์น้ำที่อนุญาตให้จับได้ทั้งหมดเท่านั้น ทั้งที่ชาวประมงพื้นบ้านมีจำนวนหลายแสนคน ส่วนชาวประมงพาณิชย์มีประมาณหนึ่งหมื่นคนเท่านั้น
นโยบายและกฎหมายดังกล่าวในมุมของชาวประมงพื้นบ้านคือความลำเอียงและไม่เป็นธรรมอย่างชัดเจน โดยรัฐบาลได้ใช้งบประมาณจำนวนมากในการบริหารจัดการประมงพาณิชย์ ให้การสนับสนุนปัจจัย พื้นฐาน จัดจ้างบุคลากรเพื่อจัดตั้งหน่วยงานใหม่ (PIPO)นับร้อยล้านบาท แต่รัฐบาลไม่เคยตอบสนองข้อเสนอของพวกเขา จนในขณะนี้ ระบุว่ามีผู้ฉวยโอกาสอ้างตนเป็นชาวประมงพื้นบ้านลักลอบทำการประมงแบบทำลายเพิ่มมากขึ้นอีก เช่นการปั่นไฟจับปลาด้วยอวนตาถี่และอวนลากเล็ก เป็นต้น
เมื่อปลายปี พศ..2558 รัฐบาลเคยมีมติให้ยกเลิกมาตรา 34 ของพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ที่กำหนดห้ามชาวประมงพื้นบ้านออกนอกชายฝั่ง และมีการตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากกฎหมายประมง แต่เวลาล่วงเลยมา 3 ปี ข้อกำหนดดังกล่าวยังคงอยู่ แต่ไปแก้ไขให้ประโยชน์อุตสาหกรรมประมงในด้านอื่นๆ แทน และยิ่งไปกว่านั้น ถึงปัจจุบันรัฐบาลยัง“ไม่ให้ใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ”แก่ชาวบ้าน แม้แต่รายเดียว แม้ยังสามารถจับสัตว์น้ำได้ แต่ชาวประมงพื้นบ้านกลายเป็นบุคคลไม่มีฐานะในทางสถิติ ไม่มีการจัดเก็บข้อมูล ไม่ปรากฏว่าเป็นชาวประมงของประเทศไทย จนเป็นที่มาที่ให้ได้รับการจัดสรรปริมาณสัตว์น้ำให้จับในสัดส่วนต่ำมากๆ
ผลผลิตสัตว์น้ำประมงพื้นบ้านเป็นอาหารทะเลมีคุณภาพ และเป็นที่ต้องการของตลาดสูงมาก แต่เมื่อรัฐยังปล่อยให้มีการประมงทำลายพันธุ์สัตว์น้ำได้อย่างถูกกฎหมาย ชาวประมงพื้นบ้านก็จับสัตว์น้ำโดยมีต้นทุนสูงและหายากมากขึ้น ยิ่งทำให้ราคาสัตว์น้ำยิ่งถีบตัวสูงมากขึ้น
ชาวประมงพื้นบ้าน คือคนพี่น้องในชุมชนชนบท ไม่ต้องการเห็นผู้บริโภคต้องกินปลาดีในราคาสูงจนคนในสังคมทั่วไปไม่มีปัญหาเข้าถึง เราต้องการเป็นผู้ผลิตสัตว์น้ำ เป็นผู้ผลิตอาหารทะเล ที่มีคุณภาพและมีราคาเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคทุกคนต้องการเห็นคนไทยได้กินปลาดีๆ ทุกคนเข้าถึงได้ และมีสัตว์น้ำในปริมาณที่คุ้มกับการทำงาน แต่ทุกวันนี้ ไม่สามารถทำอย่างนั้นได้เลย ตราบใดที่ยังมีการทำลายลูกพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนด้วยเครื่องมือประมงที่รัฐบาลรับรองอยู่
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีข้อเสนอต่อ นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังสาระสำคัญในการปรึกษาหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับสมาพันธ์ฯ โดยมีใจความดังนี้
1)ขอให้แก้ไขพระราชกำหนดการประมง พศ..2558 ที่มีผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้าน
1.1 การให้นิยามความหมาย เป็นความหมายเชิงแคบที่ให้ความหมาย 5 ใน มาตรา ”ประมงพื้นบ้าน“การประมงในขั้นตอนการจับสัตว์น้ำเท่านั้น โดยที่ในข้อเท็จจริงการประมงพื้นบ้านในสังคมไทย มีกิจกรรมกว้างครอบคลุมถึงวิถีชีวิตทั้งก่อนการจับสัตว์น้ำ การจับสัตว์น้ำ การแปรรูป จนถึงการตลาด เรื่องการว่าเป็นการทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งไม่ว่าจะใช้เรือประมงหรือใช้เครื่องมือโดยไม่ใช้เรือประมง ทั้งนี้ ที่มิใช่เป็นประมงพาณิชย์และกำหนดความหมาย ว่าการทำประมงโดยใช้เรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่ ”ประมงพาณิชย์“10 ตันกรอส ขึ้นไป หรือเรือประมงที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าถึงขนาดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ข้อเสนอในทางปฏิบัติ
(1)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องสนับสนุนให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การทำงานที่มีเป้าหมายโดยตรง โดยสร้างโอกาสการเข้าถึง “ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประมงพื้นบ้าน”ข้อมูล ความรู้ งบประมาณ การจัดการประมงที่ยั่งยืน การแปรรูป และทางเลือกทางออกของชาวประมงพื้นบ้านเอง
(2)ให้เสนอคณะรัฐมนตรี ออกพระราชกำหนดการประมง แก้ไขเพิ่มเติม โดยการกำหนดหมวดว่า )และนำข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวกับการประมงพื้นบ้านอยู่ในหมวดนี้ เพื่อเป็น “การประมงพื้นบ้าน” ด้วยหลักประกันการจัดการที่แตกต่างกับการประมงพาณิชย์
(3)นิยามการประมงพื้นบ้านเสียใหม่ โดยตัดความ “เป็นการทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง”ออกไป และกำหนดนิยามที่สอดคล้องกับสังคมตามมติคณะทำงานอนุกรรมการแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ 2558 แทน
1.2 บทบัญญัติเรื่องใบอนุญาตทำการประมง ในมาตรา 7 ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งใบอนุญาตทำการประมงต้องขอกับกรมประมง ในขณะที่การจดทะเบียนเรือต้องดำเนินการ กับกรมเจ้าท่า ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านเกิดความยุ่งยากในการเข้าถึงบริการของรัฐ เป็นเหตุผลให้ชาวประมงพื้นบ้านบางกลุ่มไม่ไปจดทะเบียน ส่งผลให้ฐานข้อมูลชาวประมงพื้นบ้านไม่ครบถ้วน อาจนำไปสู่การกำหนดแนวทางการพัฒนาที่ไม่ถูกต้อง อีกทั้งจากบทบัญญัติในมาตรา ดังกล่าว มิได้กำหนดให้มีการจดทะเบียนเรือที่ใช้ได้ทั้งประมงพื้นบ้านควบคู่กับการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดปัญหา คือ ปัญหาชาวประมงพื้นบ้านไม่สามารถทำอาชีพเสริมโดยการนำเที่ยวเชิงนิเวศน์ตามฤดูกาลได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ข้อเสนอในทางปฏิบัติ
ให้ปรับเปลี่ยนระบบการขึ้นทะเบียนและการอนุญาตทำประมงพื้นบ้านใหม่ ดังนี้
(1 ).คสช(ขอให้เสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ )ให้แก้ไขคำสั่ง คสช ที่ .24/2558 กรณีห้ามจดทะเบียนเรือประมงทุกประเภท โดยอนุญาตให้จดทะเบียนเรือประมงพื้นบ้านได้โดยให้จดทะเบียนเรือประมงพื้นบ้านขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอสได้ทั่วประเทศ เหตุผล คือ ขนาดเรือ(3-10 ตันกรอส ไม่สามารถทำการประมงได้ ผิดมาตรา 10 เป็นเรือไร้สัญชาติ)
(2) เร่งรัดกรมเจ้าท่า ให้รีบอำนวยความสะดวกกรณีเปลี่ยนทะเบียนเรือที่จดทะเบียนประมงพื้นบ้านสามารถประกอบกิจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ควบคู่กันได้
(3 )แก้ไขการบริหารจัดการหน่วยงาน โดยกำหนดให้หน่วยงานออกใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้านและการจดทะเบียนเรือประมงพื้นบ้าน เป็นหน่วยเดียวเฉพาะ แยกออกจากระบบเดิมที่ดำเนินการกับเรือประมงพาณิชย์ โดยอาจจะมีหน่วยบริการเคลื่อนที่ หรือมอบให้เป็นหน้าที่ของกรมประมงเพียงหน่วยงานเดียว โดยจัดให้มีระเบียบข้อก้าหนดการจดทะเบียนเรือและขออนุญาตสำหรับชาวประมงพื้นบ้านโดยเฉพาะ เนื่องจากวัตถุประสงค์การใช้เรือ ลักษณะของเรือ การใช้งานเครื่องยนต์ เครื่องมือประมงที่แตกต่างจากเรือประมงพาณิชย์
(4)ในการดำเนินการจัดระบบใหม่ ให้ประสานการทำงานร่วมกับองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ซึ่งเป็น องค์กรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา25 ร่วมตรวจสอบข้อมูล เป็นผู้ดูแลตรวจสอบเครื่องมือทำการประมงของสมาชิกหรืออาจให้หน่วยงานอื่นหรือองค์กรเอกชนเป็นผู้ร่วมตรวจสอบสภาพเรือเพื่อความสะดวกด้วย
(5)ให้เพิ่มข้อความในมาตรา ให้จดทะเบียน ว่า 7เรือที่ใช้ได้ทั้งประมงพื้นบ้านและการท่องเที่ยวโดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวด้วย
1.3 จากบทบัญญัติในมาตรา บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน 34 ทำการประมงในเขตทะเลนอกชายฝั่ง ซึ่งหมายถึงให้ทำการประมงภายใน ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง เดิม 3การกำหนดเขตทะเลชายฝั่งมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองระบบนิเวศชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ส้าคัญของสัตว์น้ำ รวมถึงแหล่งทรัพยากรชายฝั่งอื่นๆ เช่น ระบบนิเวศแนวปะการัง ระบบนิเวศหญ้าทะเล เป็นแหล่งอนุบาลขยายพันธุ์และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ เครื่องมือประมงที่ไม่ทำลายระบบนิเวศน์ไม่กวาดจับสัตว์น้ำวัยอ่อนอย่างประมงพื้นบ้าน จึงอนุญาตให้ทำการประมงแบบพื้นบ้านในพื้นที่ชายฝั่งทะเลได้ แต่มิได้หมายความว่าจะต้องจำกัดสิทธิชาวประมงพื้นบ้านไว้ในพื้นที่ดังกล่าวเท่านั้น เพราะในข้อเท็จจริง ชาว “ประมงพื้นบ้านซึ่งมีการท้าประมงโดยใช้เรือขนาดเล็ก เช่น เรือหัวโทง เรือกอและ เรือท้ายตัด อาศัยความรู้กระแสลม การขึ้นลงของกระแสน้ำในการทำประมง สามารถออกทำการประมงได้ไกลออกไป ไมล์ทะเล 30 – 20 การห้ามไม่ให้ออกไปไกลเกิน ไมล์ทะเล 3จึงขัดต่อวิถีประมงพื้นบ้าน
ข้อเสนอในทางปฏิบัติ
ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อออกพระราชกำหนดการประมง แก้ไขเพิ่มเติมโดย ตัดมาตรา 34 ห้ามมิ“ซึ่งหมายถึงให้ทำการประมง(ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตท้าการประมงพื้นบ้าน ทำการประมงในเขตทะเลนอกชายฝั่งเฉพาะภายใน3 ไมล์ทะเล จากชายฝั่ง ”)ออกและระหว่างที่รอกระบวนการแก้ไขบทบัญญัติในมาตรา 34 ดังข้อเสนอข้างต้น เสนอให้มีกฎหมายสำหรับการบังคับ ”ยกเว้นชั่วคราว“ใช้บทบัญญัติ มาตรา 10 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เรือไร้สัญชาติท้าการประมง เพื่อช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านให้สามารถออกทำประมงได้จนกว่าจะมีการแก้ไขระเบียบ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องจนกว่าจะเปิดจดทะเบียนเรือประมงพื้นบ้านทั้งหมดแล้วเสร็จ ทั้งนี้ เนื่องจากชาวประมงพื้นบ้านบางส่วนไม่ไปจดทะเบียนหรือไม่ไปต่อทะเบียนเรือ เมื่อไม่จดทะเบียนหรือไม่ต่อทะเบียน กลายเป็นเรือประมงไร้สัญชาติหากออกทำการประมงก็ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 10 ดังนั้นการมีกฎหมาย จะช่วยป้องกันไม่ให้ ”ยกเว้นชั่วคราว“เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงปัญหาความไม่ไว้วางใจระหว่างประชาชน กับภาครัฐด้วย
1.4 มาตรา 26 บัญญัติว่าให้มีคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผู้แทนกรมเจ้าท่า อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด พาณิชย์จังหวัด นายอำเภอ ในเขตท้องที่โดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเป็นกรรมการ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง จำนวนไม่เกินสิบสามคน เป็นกรรมการ โดยให้ประมงจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ ในจังหวัดมีอาณาเขตติดต่อกับชายฝั่งทะเลหรือแม่น้ำโขง ให้มีผู้แทนกองทัพเรือเป็นกรรมการโดยตำแหน่งเพิ่มขึ้น อีกหนึ่งคน
ข้อเสนอในทางปฏิบัติ
(1 )ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อออกพระราชกำหนดการประมง แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ที่มีความเกี่ยวโยงกับบทบัญญัติ มาตรา โดยควรมี27 และมาตรา 26 มาตรา 25
ประเด็นหลักการ ดังนี้
– กำหนดกลไกการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดที่ชัดเจน
– ตัดองค์ประกอบกรรมการโดยตำแหน่ง ออก ”นายอำเภอ“
– ก้าหนดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง
(2มีแผนงานที่ชัดเจนในการสนับสนุนผลักดันให้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกรมประมง )คณะกรรมการประมงประจำจังหวัด จัดทำแผนแม่บท การจัดการประมงระดับจังหวัด เพื่อเป็นทิศทางนโยบายของจังหวัด
- ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศยกเลิกการใช้เครื่องมือประมงทำลายล้างเพิ่มเติม กำหนดขนาดพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ห้ามนำขึ้นเรือประมง
ที่ผ่านรัฐบาลได้มีการออกมาตรการเกี่ยวกับเครื่องมือทำลายล้างทรัพยากรประมงหลายมาตรการ เช่น ห้ามมิให้ใช้เครื่องมืออวนรุนที่ใช้ติดกับเรือยนต์ ห้ามมิให้ใช้เครื่องมืออวนลากที่มีช่องตาอวนก้นถุงเล็กกว่าที่บัญญัติว่าห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาต 38 เซนติเมตร หรือ มาตรา 4ทำการประมงพาณิชย์ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ซึ่งหมายถึงในเขต ไมล์ทะเล เป็นต้น ถือเป็นการควบคุมเครื่องมือประมงที่ทำลายทรัพยากรประมงเข้มงวดมากขึ้นกว่าในอดีต
ข้อเสนอในทางปฏิบัติ
(1)ขอให้ประกาศนโยบายยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างเพิ่มเติม ได้แก่ อวนลาก โดย วางแผนเพื่อจัดลำดับขั้นตอนอันนำไปสู่การยกเลิกอวนลาก โดยใช้มาตรการไม่ต่อไม่เพิ่ม ใบอนุญาตโดยทันที
(2)ปั่นไฟจับลูกปลา (ประกาศยกเลิกการประมงที่ใช้อวนช่องตาเล็กประกอบแสงไฟล่อ)เนื่องจากผลผลิตที่ได้จากการประมงใช้แสงไฟล่อมีลูกปลาเศรษฐกิจปะปนมาด้วย มีปริมาณสูงถึงร้อยละ ของ 16ผลผลิต ทั้งหมด ส่วนปลากะตักส่งเสริมให้จับกลางวัน แต่กำหนดเงื่อนไขมิให้เข้าใกล้ชายฝั่ง
(3 )กำหนดเงื่อนไขสำหรับเครื่องมือประจำที่บางชนิดให้สอดคล้องกับลักษณะพิเศษเฉพาะพื้นที่ และพิสูจน์ได้ว่าเป็นการท้าประมงที่ไม่ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น มาตรการจำกัดจำนวนเครื่องมือให้เหมาะสม กับพื้นที่กำหนดให้ขยายตาอวนสำหรับไซจับกุ้งก้ามกราม หรือมาตรการห้ามเครื่องมือประมงบางชนิดเด็ดขาดในบางพื้นที่
- ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกำหนดขนาดพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ห้ามนำขึ้นเรือประมง
ตั้งแต่มีการทำประมงโดยใช้อวนตาถี่ ปัจจุบันพบว่า ถูกทำลายอย่าง ”สัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อน“ต่อเนื่องโดยเครื่องมือประมงจับสัตว์น้ำที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย แต่ควบคุมไม่ถึงกรณีจับสัตว์น้ำใม่ได้ขนาด เช่น การประมงที่ใช้อวนช่องตาเล็กประกอบแสงไฟล่อ อวนลาก อวนรุน และการละเลยของเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติ รวมถึงปัจจัยที่เอื้ออำนวยอื่นๆ เพื่อป้องกันการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน มาตรา 57 ของพระราชกำหนดการประมง พศ..2558 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกำหนดขนาดพันธุ์สัตว์น้ำที่ห้ามนำขึ้นเรือประมง
ข้อเสนอในทางปฏิบัติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกำหนดขนาดพันธ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจทุกชนิดที่ห้ามนำขึ้นเรือประมง โดยเร่งด่วน เนื่องจากหลังมีพระราชกำหนดการประมง พศ..2558 เป็นต้นมา การจับสัตว์น้ำวัยอ่อนขึ้นมา มีจำนวนมาก และไม่มีการบังคับใช้ข้อบัญญัตินี้ โดยออกประกาศกำหนดขนาดพันธ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนที่ห้ามจับขึ้นเรือประมง โดยกำหนดเงื่อนไขการจับได้โดยบังเอิญตามสัดส่วนที่กำหนดอย่างเหมาะสม
- ขอให้ออกแนวนโยบายห้ามส่งออก ผลผลิตปลาป่นออกนอกประเทศ
ปลาป่นสำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ที่ผลิตในประเทศไทยนั้น ร้อยละ 18ของปลาป่นทั้งหมด ประเทศไทยส่งออกปลาป่นจ้านวน 2558 ตันต่อปี ผลิตจากปลาเป็ด และในปี198.7150,450.73 ตัน ปลาป่นซึ่งผลิตจากปลาเป็ด หมายถึง การนำลูกปลาเศรษฐกิจถ้าหากปล่อยให้โตเต็มวัยจะมีมูลค่าสูง แต่กลับนำมาแปรรูปขณะเป็นสัตว์น้ำวัยอ่อน ราคาเพียง บาทต่อกิโลกรัม การผลิตปลาป่นจากกระบวนการนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของการทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ รวมถึงส่งผลต่อระบบนิเวศน์และห่วงโซ่อาหารในทะเล ก่อให้เกิดความสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล ลูกปลาเศรษฐกิจเหล่านี้ จับได้โดยการใช้เรื่องมืออวนรุน เรือปั่นไฟปลากะตัก ซึ่งเป็นเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย หรือจับได้จากอวนลากซึ่งใช้อวนขนาดตาอวนเล็กกว่า 4เซนติเมตร เป็นตาอวนเล็กกว่าขนาดที่กฎหมายกำหนด
ข้อเสนอในทางปฏิบัติ
ให้รัฐออกมาตรการห้ามการส่งออกปลาป่นที่ใช้ปลาเป็ดจากทะเลไทยออกนอกประเทศ เพื่อหยุดการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยเร่งด่วน เพราะผลประโยชน์ที่ได้รับไม่คุ้มกับทรัพยากรสัตว์น ้าที่สูญเสียไป และสามารถทำให้ราคาอาหารสัตว์ที่ผลิตจากปลาป่นในประเทศลดลง
ข้อเสนอประเด็นการแก้ไขปัญหาชาวประมงพื้นบ้านในมิติต่าง ๆ
สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพืเนบ้านแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดสมัชชาชาวประมงพื้ นบ้านประเทศไทย ประจำปี พ.ศ.2561 ที่ประชุมใหญ่ประกอบด้วยสมาชิกทั่วประเทศจำนวน 258 คน จาก 45 องค์กร ใน 19 จังหวัดชายฝั่งทะเล ได้มีมติข้อเสนอเพื่อการพัฒนาการประมงอย่างยั่งยืน และแนวทางการสนับสนุนชาวประมงพื้นบ้าน ได้มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา ดังนี้
- ขอให้เร่งดำเนินการรวบรวมงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับขนาดและพันธ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจ ที่เหมาะสมสำหรับการประมง รวมทั้งด้าเนินการให้เกิดการหารือเพื่อกำหนดขนาดและพันธุ์สัตว์น้ำที่ไม่ควรท้า )วัยอ่อน(การประมง หรือห้ามทำการประมงในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยเร็ว
- ขอให้กรมประมง ร่วมกับองค์กรชุมชนประมงฯทำการศึกษาข้อมูลรายพื้นที่ เพื่อการกำหนดพื้นที่อนุบาลสัตว์น้ำ รักษาพันธุ์สัตว์น้ำในบางพื้นที่ โดยอาจริเริ่มดำเนินการร่วมกับสมาคมฯเป็นโครงการนำร่องในบางพื้นที่
- ขอให้กรมประมง ผลิตเอกสารเพื่อการสื่อสารกับสาธารณะ ในประเด็นพันธุ์และขนาดสัตว์น้ำเต็มวัย ที่เหมาะสมควรบริโภค
- การสนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรม อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การสร้างบ้านปลา ธนาคารปู ธนาคารกุ้ง ให้กับทุกกลุ่มทุกชุมชนที่ติดชายฝั่งทะเล
- การหนุนเสริมการจัดตั้งกลุ่มองค์กรไปสู่ความเข้มแข็งและสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการประมงให้กับชุมชน องค์ความรู้ต่าง ๆ การวิจัย
- สำรวจและสร้างกติกาชุมชนในการวางและใช้ประโยชน์จากปะการังเทียมอย่างเหมาะสม เพื่อการดูแลและซ่อมแซม ไม่ควรเพิ่มปริมาณในพื้นที่ที่มีมากอยู่แล้วโดยใช้กลไกของคณะกรรมการประมงจังหวัดในการออกกฎหมายควบคุมเครื่องมือการท้าประมงในแนวปะการังบางชนิด
- สนับสนุนการกำหนดเขตการอนุรักษ์ฟื้นฟูของชุมชน
- การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างแท้จริง
- ขอให้กรมประมงจัดสรรงบประมาณพร้อมสนับสนุน กิจกรรม อนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น ้า แหล่งสัตว์น้ำทางทะเลและชายฝั่ง เช่น การสร้างบ้านปลา ธนาคารปู ธนาคารกุ้ง ให้เพียงพอส้าหรับกลุ่มองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ในแต่ละปี
- ปรับแก้ไขพระราชก้าหนดการประมง พศ..2561 ในประเด็น ดังนี้
- ปรับปรุงนิยามประมงพื้นบ้านเสียใหม่ โดยยึดตามมติคณะทำงานฯ กท.กษ.
- องค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการประมงจังหวัด
- ยกเลิกมาตรา 34
- กำหนดเขตควบคุมการประมงเข้มข้นใน 3 ไมล์ทะเล และเพิ่มเขตทะเลชายฝั่ง เป็น 12ไมล์ทะเล และเปิดให้คณะกรรมการประมงจังหวัด กำหนดชนิดเครื่องมือการทำการประมงจับสัตว์น ้าในเขต 12 ไมล์ ให้ชัดเจน
- แก้กฎหมายจากการยึดทะเบียนเรือ เป็นปรับตามวันหมดอายุ เพราะการขาดทะเบียนเรือไม่ควรถูกยึดทะเบียนเรือ รวมถึงควรพิจารณาค่าปรับตามวันเวลาที่ขาด
- แก้ไขที่กำหนดเขตทะเลที่ใช้อุปกรณ์อวนรุนเคย ซึ่งใช้ข้อก้าหนดเดียวกันควบคุมพื้นที่ทะเลทั้งประเทศไทย โดยเปลี่ยนให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการประมงจังหวัดในการพิจารณาเขตทะเลที่ใช้อุปกรณ์อวนรุนเคย เพราะในแต่ละพื้นที่มีระดับความลึกของน้ำทะเลไม่เท่ากัน อย่างเช่น จังหวัดพังงา ที่ระยะ 1000เมตร นับตั้งแต่น้ำทะเลจรดชายฝั่ง มีระดับความลึกถึง 60-70 เมตร ท้าให้ไม่สามารถจับกุ้งเคยได้
- ให้กรมประมงจัดตั้งกองทุนประมงพื้นบ้าน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการประมงแบบครบวงจร สู่การเป็น สมาร์ทฟิชเชอร์โฟล์ค ทั้งสนับสนุนกลุ่มใหม่ และกลุ่มพื้นที่มีการจัดตั้งกองทุนประมงพื้นบ้านอยู่เองแล้ว โดยอาจจัดตั้งกองทุนประมงพื้นบ้านในแต่ละจังหวัด เพื่อสนับสนุนกลุ่มพื้นที่มีการจัดตั้งกองทุนประมงพื้นบ้านอยู่เองแล้ว รัฐควรเข้ามาหนุนเสริมเพิ่มเติมตามศักยภาพ
- ให้หน่วยงานแต่ละพื้นที่ลงพื้นที่ให้สร้างความเข้าใจเรื่องการทำประมงและกฎหมายประมงอย่างต่อเนื่อง
- ให้ภาครัฐเข้าช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านเมื่อเกิดภัยพิบัติและกรณีเครื่องมือเสียหายหรือเครื่องมือหายโดยไม่ทราบสาเหตุ และควรมีการจดบันทึกสถิติเกี่ยวกับประมงจากชุมชน
- เปิดให้จดทะเบียนเรือประมงพื้นบ้าน
- ติดระบบติดตามเรือ VMS ส้าหรับเรือขนาดต่ำกว่า 30 ตันกรอส เฉพาะเรือประมงที่ใช้อุปกรณ์ที่ทำลายล้าง เพราะที่ผ่านมามีการลักลอบเข้ามาท้าการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง
- ให้ภาครัฐท้างานเชิงบูรณาการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ร่วมกันออกแบบให้เกิดความยั่งยืน การพัฒนาชุมชนชายฝั่งต้องเกิดจากการมีส่วนร่วม กระจายอำนาจ และคำนึงมิติทางสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน
- การแก้ปัญหารุกล้ำลำน้ำ ควรที่จะมีการแก้ปัญหาที่สูงสุด สามารถมีการบูรณาการที่ยั่งยืนได้จากทุกภาคส่วน
- ให้การทบทวนและยกเลิกโครงการที่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับชุมชน ที่อาจจะต้องสูญเสียพื้นที่ท้ากิน ที่อยู่อาศัย ให้มีการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่จัดเวทีรับฟังแบบผ่านไปที และให้มีการใช้กระบวนการดำเนินโครงการอย่างตรงไปตรงมา และได้มาตรฐานที่ชาวบ้านยอมรับได้
21.ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิต ผลผลิตแต่ละพื้นที่ และเกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าผ่านเครือข่ายสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยและกรมประมง
22.ส่งเสริมนวัตกรรมด้านการตลาด โดยมีนโยบายลงสู่ชุมชน )กรมประมง(
23.โปรโมทมาตรฐาน BB อย่างง่ายเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการซื้อสินค้า
24.รัฐ ควรสนันสนุนทางเลือกในการปรับตัวให้กับชุมชนชายฝั่งและสอดคล้องกับวิถีชุมชน
25.รัฐต้องมีนโยบายแผนงาน มาตรการและโครงการในการปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการ .เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
26.มีการจัดทำแผนบูรณาการปรับตัวและพลังงานทางเลือกสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น . โดยรัฐต้องสนับสนุนส่งเสริมพลังงานทางเลือกให้กับชุมชนชายฝั่ง
27.รัฐควรมีกฏหมายสนันสนุนพลังงานทางเลือกให้การขออนุญาตติดตั งพลังงานทางเลือกให้ชุมชนเข้าถึงได้ง่าย
28.สำนักงานประมงจังหวัดติดตั งโซล่าเซลเป็นตัวอย่างให้ชุมชนประมงได้ศึกษา .
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง .การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศต้องให้ความรู้และและรณรงค์ให้กับชุมชนและท้องถิ่น มีระบบการกระจายข้อมูลข่าวสารผ่านระบบสื่อออนไลน์เพื่อให้ชุมชนได้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยตนเอง
30.ชุมชนต้องจัดการตนเองและเตรียมความพร้อมในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยตนเอง
ข้อเสนอสตรี
1.ช่วยกันพัฒนาศักยภาพผู้หญิงในชุมชนประมงพื้นบ้าน ในเรื่องการศึกษา กฎหมาย นโยบาย ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของตนเอง ส่งเสริมให้เข้าไปมีส่วนร่วมกับกลไกพื้นฐานทุกกิจกรรมระดับชุมชนนโยบาย
2.ให้รัฐบาล .มีนโยบายจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือสตรีประมงที่ยั่งยืน
3.การพัฒนาระบบการจัดการผลิตภัณฑ์ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับแต่ละพื้นที่ .
4.สนับสนุนเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประมงน้ำจืดและน้ำเค็ม ให้มีความหลากหลาย สู่การจัดตั้งสมาคมสตรีชาว“ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย”ในอนาคต
ข้อเสนอสำหรับชาวประมงพื้นบ้าน
จากการอภิปรายทั่วไปของสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เห็นว่าชาวประมงพื้นบ้านในประเทศไทยควรประกอบอาชีพอย่างรับผิดชอบ โดยอาจมีคุณลักษณะของ A New Generations Smart Fisherfolk ดังนี้A New Generations Smart Fisherfolk หรือ ชาวประมงพื้นบ้านยุคใหม่ มีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า ในการสมัชชาชาวประมงพื้นบ้านไทย ปี 2561 และการรวบรวมประสบการณ์ทำงานของ สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ได้ คุณลักษณะ ของ A New Generation Smart Fisher Folk หรือชาวประมงพื้นบ้านที่แท้จริงยุคใหม่ คือ
เป็นผู้ประกอบการประมงรายย่อย ที่เป็นเจ้ากิจการเอง ออกทำการประมงด้วยตนเอง
มีกลุ่มองค์กรสังกัด เพื่อร่วมกันงานอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรประมง และสิ่งแวดล้อม
ร่วมกับองค์กรตนเอง พึ่งพาช่วยเหลือกัน ในการจัดการต้นทุน ทั้งค่าเรือค่าเครื่องมือ ฯลฯ
มีพื้นที่เทียบเรือ จอดเรือ โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ วางอุปกรณ์ ซ่อมอุปกรณ์ พร้อมเครื่องอำนวยความสะดวก แต่อื่นๆ
เรือที่ใช้มีสมรรถนะ เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ ที่ใช้ หากเป็นเรือเกิน/3 ตันกรอส มีทะเบียนและสิ่งป้องกันความปลอดภัยตามจำเป็น
ทำประมงด้วยความรับผิดชอบ ทั้งต่อเพื่อนร่วมงาน เครื่องมือไม่ทำลายล้าง ไม่เอาเปรียบคนอื่น เลือกจับสัตว์น้ำโตเต็มวัย จับสัตว์น้ำแบบแยกเครื่องมือ จับสัตว์น ้าควบคู่การฟื้นฟูดูแลทะเล เป็นประมงที่มีความรับผิดชอบสูงต่อทะเลและสังคม อาจติดเครื่องมือติดตามเรือด้วยสมัครใจ
เคารพกติกาชุมชน เก็บและจัดการขยะไม่ปล่อยให้ปนเปื้อนธรรมชาติ
ใช้เทคโลโลยีมาอำนวยการสะดวก ทั้งการสื่อสาร การประมง ตามกำลังที่มี รวมทั้งลดการใช้ทรัพยากรพลังงานสิ้นเปลืองด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนมาใช้ในระบบ เช่น โซล่าเซลทำหลังคาเรือ
เป็นคนที่ร่วมรับผิดชอบทางสังคม ร่วมกิจกรรมขับเคลื่อนแก้ปัญหาทางนโยบายภาพรวมอย่างเต็มใจเข้าใจ
รับผิดชอบต่อส่วนรวมด้วยการชำระค่าธรรมเนียม ภาษีอากรผ่านระบบอนุญาตการประมง
ดูแลสัตว์น้ำผลผลิตอย่างมีคุณภาพ คำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภคสูงสุด
ร่วมกับองค์กรของตนในการจัดการผลผลิตให้มีคุณภาพตลอดเส้นทางถึงผู้บริโภค เพิ่มมูลค่าและคุณค่าอาหารทะเลอย่างเป็นธรรม
เรียนรู้โลก เรียนรู้กฎหมายนโยบายที่เกี่ยวข้องกับตน อยู่เสมอ เคารพและให้โอกาสแก่เพื่อนในทุกวัยทุกเพศ
สืบทอดภูมิปัญญาและวิชาประมงอย่างรับผิดชอบ จากรุ่นสู่รุ่น ทั้งผ่านรูปแบบครอบครัวและสถาบันเรียนรู้ของชุมชน เป็นชาวประมงที่ต้องการความเสมอภาค เท่าเทียม กล้าหาญ ที่จะเรียกร้องต่อรัฐในเรื่องกฎหมายที่ริดรอนสิทธิตนเอง สามารถอยู่อย่างทรนง มีศักดิ์ศรี
เหล่านี้คือสถานการณ์ รายละเอียดของปัญหา และข้อเสนอ ซึ่งสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย และ สมาคมรักษ์ทะเลไทยพัฒนาร่กับสภาองค์กรชุมชน โดยคณะกรรมการประสานงานองค์การเอกชน (กป.อพช.)นำเสนอต่อพรรคการเมืองทุกพรรค เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2562 ที่นิด้า