ภาพ : ทีมข่าวพลเมือง ข่าว : อรอารุณ พิมมา
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) โดย สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ จับมือเครือข่ายมหาวิทยาลัย คณาจารย์ด้านนิเทศศาสตร์ทั่วประเทศ จัดประชุม ณ ห้องคอนเวนชั่นฮอล์ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ “การปรับตัวและพัฒนาความร่วมมือเพื่อสร้างนักสื่อสารเพื่ออนาคต Future Journalist” ชวนแบ่งปันสถานการณ์และการปรับตัวของวงการสื่อและสถาบันการศึกษาในปัจจุบัน ดำเนินวงประชุมโดย อาจารย์สมัชชา นิลปัทม์ ชวนพูดคุยอัพเดท “Media Disruption” แบ่งปันสถานการณ์และการปรับตัวของวงการสื่อและสถาบันการศึกษา
รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย กล่าวต้อนรับผู้เข้าประชุม และพูดคุยถึงการประชุมในครั้งนี้จะเป็นโอกาสในการช่วยกันหาทางออกให้กับวารสารศาสตร์ “ทุกคนล้วนแต่เผชิญ Disruption ทั้งนั้น ไทยพีบีเอสก็เผชิญหนักด้วย แต่ด้วยไทยพีบีเอสเกิดขึ้นมาในรูปแบบของการ Broadcast Media อย่างที่หลายท่านทราบ เราปรับตัวเยอะมาก คงยังไม่กล้าบอกว่าเราสมบูรณ์ เพราะจริง ๆ เราก็อยู่ระหว่างปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปรับยุทธศาสตร์ ปีนี้เป็นปีที่เรามองยุทธศาสตร์ไปถึงปี 2564 จากนี้ไปทิศทางของการอยู่รอดต้องปรับมุมใหม่ที่ไม่ได้เอาเทคโนโลยีเป็นตัวตั้ง แต่เอา Audience เป็นตัวตั้ง ตรงกับวารสารศาตร์ในท้องถิ่นเองก็ต้องปรับตัวเช่นกัน ทุกคนพยายามหนีจาก Social Media หรือ Platform ใหญ่ ๆ อย่าง Facebook ทำให้ New agency ต้องหนีตัวเอง เพราะฉะนั้นจากนี้ไปจะเกิด private application มากมาย ร่วมทั้ง OTT ที่ไทยพีบีเอสกำลังปรับไปสู่ OTT ทุกคนจะเริ่มหนีไปหา Platform ตัวเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Part Form ใหญ่อย่าง Facebook อีกต่อไป”
นอกจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อองค์กรสื่อ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของสื่อในปัจจุบันส่งผลต่อพฤติกรรมของนิสิตนักศึกษาที่ปัจจุบันดูโทรทัศน์น้อยลงแต่มีช่องทางสื่อที่สนใจเฉพาะกลุ่มมากขึ้น “ผมได้ยินคำว่า Media Disruption เป็น 10 ปีแล้ว แต่ปัจจุบันนิสิตนักศึกษาเขามีทางเลือกในการรับชม ยอมรับว่าดูโทรทัศน์น้อยลงแล้วหันไปดูอย่างอื่นแทน เช่น YouTube Facebook ”
จากการแลกเปลี่ยนในวงประชุมได้ระดมความคิดกันเพื่อตั้งโจทย์ นักสื่อสารเพื่ออนาคตต้องเป็นอย่างไร ? ต้องเสริมทักษะหรือความรู้เรื่องอะไรเพื่อต่อยอดในวิชาชีพรวมถึงมองหาวิธีการทำงานร่่วมกันเพื่อสร้างรูปธรรมในแผนการทำงาน โดยได้รับความมือจากมหาลัยวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อปรับตัวและร่วมออกแบบหลักสูตรการการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสื่อในยุคปัจจุบัน