เก็บตก ณ ชายเเดน

เก็บตก ณ ชายเเดน

นี่ไม่ใช่เกม… นี่ไม่ใช่การเเข่งขัน แต่นี่คือชีวิตจริง ที่มีหน้าจอเป็นเดิมพันกับการปรับโฉมรายการ ภูมิภาค 3.0 ที่ผู้ผลิตจากภาคเหนือ อีสานใต้ เห็นพ้องกันว่าเราจะต้องเปลี่ยนแปลง

ปีเศษ กับการผลิตเนื้อหาจากท้องถิ่น ที่แต่ละภาคนำเสนอเป็นช่วงต่างๆในรายการภูมิภาค 3.0 ออกอากาศทางไทยพีบีเอส แต่ละช่วงนั้นก็มีสไตล์ของตัวเอง ทั้ง The North องศาเหนือจากภาคเหนือ อยู่ดีมีแฮงจากอิสาน และแลต๊ะแลใต้จากภาคใต้ แล้วอะไรคือ ภูมิภาค 3.0 ?

การถอดบทเรียนของพวกเรา ทีมผลิตภาคพลเมืองที่คลุกอยู่กับพื้นที่มองเห็นความเชื่อมโยง ปรากฏการณ์ที่มีความคล้ายคลึงกันแม้จะต่างที่ต่างถิ่นก็ตาม ทำอย่างไรที่เราจะเชื่อมร้อยให้เห็นเป็นภาพใหญ่ปรากฏขึ้นได้ เราจึงรับข้อท้าทายใหม่คือการปรับวิธีทำงานของเรา

การทำงานผลิตรายการครั้งใหม่ได้เริ่มขึ้น กับผู้ผลิตจากภาคเหนือ ใต้ อีสาน ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน  โจทย์การทำงานร่วมของคนที่ต่างที่มา ต่างทักษะ แต่ต้องมาเล่าเรื่องใน Theme เดียวกัน ทั้ง 3 ทีมต้องเอาตัวเองเป็นส่วนหนึ่งในการเล่าเรื่อง นั้นหมายถึงต้องดำเนินเรื่องเอง…และที่สำคัญเราจะออกเดินทางข้ามพรมแดนเพื่อเปิดความเป็นภูมิภาคให้กว้างขึ้น

แต่ !!! ไม่ได้โหดขนาดนั้น เรามีเมนเทอร์ ให้ 1 คน ที่จะดูเเลตลอดการผลิตงาน

โจทย์การเดินทางของ 3 หนุ่ม จาก3ภาค คือการเดินทางเพื่อก้าวข้ามเส้นพรมแดน สำรวจ 3 เส้นทางแห่งอนาคตที่จะมีผลต่อชีวิตคนภูมิภาค โดยที่พวกเขาต้องเลือก ว่าจะออกเดินทางจากพรมเเดนไหนจากภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคใต้

ทำความรู้จักนักเดินทางทั้ง3 และเมนเทอร์ของเราก่อนนะครับ…

คนเเรก ตัวเเทนจากภาคเหนือ แนน ปฏิญญา ปัญญายศ เป็นคนเชียงใหม่ แนนบุคลิกดูจะเป็นพี่ใหญ่ สำหรับน้องสองคนได้ ชอบขี่มอเตอร์ไซร์ มีใจรักในการเดินทาง สนใจเรื่องศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น สนใจในเทคโนโลยี

คนที่สอง ตั้ม กีรติ โชติรัตน์ เป็นคนหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รักในการเดินทางเหมือนกัน บุคลิกเป็นพูดน้อย มีมาดเข้ม พูดจาออกทองเเดงนิดๆ

คนที่สาม น้องเล็กสุดด้วยวัย 27 ปี เปี๊ยก พลรวัฒน์ ดวงเข็ม เป็นคนจังหวัดขอนเเก่น เรียกได้ว่าลูกอีสานเเท้ เปี๊ยกเคยทำรายการโดยใช้ภาษาถิ่นของตัวเองได้อย่างถนัด ลึกแล้วเขาใส่ใจในวิถีของท้องถิ่นอีสานมากเลยทีเดียว ดูจากภายนอก เรามักจะไม่ค่อยเห็นรอยยิ้มของเปี๊ยกได้บ่อยนัก ดูเหมือนจะคิดเยอะกับงานตลอดเวลา แต่ที่จริงแล้ว เขาบอกว่า เขามีอารมณ์ขันมากกว่าคนอื่นๆ นะขอบอก

มาถึงเมนเทอร์ของเรา เมนเทอร์เลี่ยว เจริญกูล เฉลียวเกรียงไกร โปรดิวเซอร์มากประสบการณ์ ผลิตรายการมาก็เยอะแยะ และเป็นที่ปรึกษาช่วยฝึกปรือฝีมือให้กับผู้ผลิตรายย่อยที่ทำงานกับสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะมาอย่างต่อเนื่อง หลายคนเรียกเขาว่า เทพเลี่ยว ที่ให้คำแนะนำการทำสื่อแก่น้องๆได้ให้เห็นแสงสว่างทั้งเชิงเนื้อหาและเทคนิคเสมอ แต่ใครๆ ก็รู้ว่าบทจะโหด เทพเลี่ยวก็โหดวิพากษ์กันตรงๆเสมอ บทบาทเมนเทอร์ข้ามภาคครั้งนี้ถือเป็นงานทดลองที่เมนเทอร์เลี่ยวอาสาก็พาให้ทุกคนอุ่นใจ

เข้าเรื่องเลยแล้วกันครับ ด้วยโจทย์ การเดินทางเพื่อก้าวข้ามเส้นพรมแดน สำรวจ 3 เส้นทางแห่งอนาคตที่จะมีผลต่อชีวิตคนภูมิภาค บวกกับรูปแบบที่ทั้ง3คนจะต้องมาออกแบบใหม่ ที่ไม่ให้เหมือนกับรายการภูมิภาค 3.0 เดิมที่เคยออกอากาศอยู่ พวกเขาเลยตกลงกันว่า เสน่ห์ น่าจะอยู่กับตัวพวกเขาที่พร้อมจะพาคุณผู้ชมเข้าไปเรียนรู้ในสถานที่จริง ทั้งหมด ตัดสินใจลงมือทำข้อมูลในภูมิภาคของตัวเองทันที หลังได้รับโจทย์

พี่แนน ชอบการเดินทาง ดูเหมือนโจทย์จะเข้าทางเขา แต่นี่อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด เพราะแม้จะผลิตรายการมานักต่อนักของเขา ไม่เคยใช้ตัวเองเล่าเรื่องเลย ถนัดเเต่ สั่งและจัดการกับคนอื่นได้ตลอด. และการเดินทางครั้งนี้ เขาต้องตีความรูปแบบรายการใหม่ และเนื้อหาต้องมากกว่าประเทศไทย เพราะเเต่ละภาคต่างมีพรมเเดนกับประเทศเพื่อบ้านที่สำคัญ และมีสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงเหมือนกันด้วย

…พี่เเนน เลือกเดินทางจากจังหวัดน่าน ผ่านด่านพรมเเดนถาวรห้วยโก๋น เพื่อเดิไปหลวงพระบาง ผ่านระบบขนส่งมวลชน ที่ บขส. พึ่งเปิดให้บริการไปเมื่อไม่นาน ซึ่งเส้นทางยังไม่เสร็จสมบูรณ์ พร้อมกับเสริมเรื่องเล่าระหว่างทาง พูดคุยกับคนในพื้นที่ ถึงความเปลี่ยนเเปลงที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ จ.น่าน และระหว่างการเดินทางในลาว พบนักธุรกิจสัญชาติไทย เข้าไปลงทุนที่ประเทศลาว หลังจากได้รับโจทย์เขาทำการบ้านอย่างหนัก เพราะถ้าพลาด นั้นหมายถึงรายจ่ายและเวลาที่ต้องเพิ่มขึ้นด้วย

พี่เเนนเล่าให้เราฟังถึงข้อกังวลอีกเรื่องคือการทำรายการนี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องของเราเรื่องเดียว หรือชายเเดนเดียวเเล้ว มันต้องทำความเข้าใจกับน้องอีก 2 ภาคด้วย แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยนี้ เราเชื่อมต่อกันได้ง่าย คุยกันหนักมาก และข้อมูลที่เราได้มา เราพร้อมที่จะคุยกับเมนเทอร์ ได้ตลอดเวลา ซึ่งในส่วนของการจัดการข้อมูล คิดว่าไม่น่ามีปัญหา แต่ที่กังวล และเทปนี้หมดเวลาเยอะที่สุดคือ การเดินเรื่องโดยใช้ตัวเอง เพราะว่านี้คือการเปิดหน้ากับกล้องครั้งเเรก หลังสิ้นเสียงจากตากล้อง 5 4 3 2 1 ทุกอย่างที่ท่อง ทำความเข้าใจมา ลืมหายหมด (พร้อมกับขำ) บทเรียนนี้ทำให้เราเข้าใจทีมงาน ที่เราเคยสั่งเขา Take และเอาใหม่ พี่เเนนบอกว่า รู้ไหม เปิดหน้าแต่ละครั้ง พี่เสียเวลาเกือบเป็นวัน

เรื่องนี้ พี่เเนนฝากบอก ไม่ควรพลาด มีบทเรียนของนักธุรกิจมาเล่าให้ฟังหลายมุมมองเลย อย่างเช่น นักธุรกิจไทยขายไก่ ขายไข่ ที่ดูเหมือนจะธรรมดา เเต่พอเข้าไปคุยเเล้ว เรื่องมัน WOW เพราะออกจากไทย เขาขนไก่ ขนไข่ไปขาย ได้เงินกีบ หากกลับมาเเลกเป็นเงินไทย อาจจะมีค่าผันผวนสูง เขาเลยใช้วิธีหาซื้อสิ้นค้าไทยประเทศลาวด้วยเงินกีบ กลับมาขายที่เมืองไทย นั่นคือ เศษเหล็ก ซึ่งนอกจากจะไม่ต้องกังวลเรื่องค่าเงินแล้ว ยังมีกำไรอีกนะ เออ และที่สำคัญที่เขาสังเกตุจากประสบการณ์ ทุกครั้งที่เข้าไปยังพื้นที่ที่จะมีการพัฒนา มักจะมีสองเสียงสะท้อนขึ้นมาเสมอ ทั้งสิ่งดีๆ ที่จะเกิดขึ้น และข้อกังวลที่คนท้องถิ่นจะเกิดขึ้น และข้อกังวลที่คนท้องถิ่นจะต้องเตรียมรับมือในอนาคตที่คาดการได้ไม่เเม่นนัก

ตั้ม เป็นทีมผลิตจากทางภาคใต้ ตั้มผลิตรายการมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่ว่า ประเด็นที่เขาทำส่วนใหญ่นั้น เป็นประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อได้รับโจทย์ ว่าจะต้องทำประเด็นเรื่องความเปลี่ยนแปลงข้ามพรมแดน ก็บอกว่ายังไม่เข้าใจกับประเด็นแบบนี้นัก และเขาไม่มีแหล่งข่าวหรือข้อมูลในมือแม้แต่น้อย แต่เมื่อถูกรับเลือกจากทีมแล้ว เขาบอกกับเราว่า เขาฝ่าฟันกับการแก้โจทย์นี้ไปให้ได้
ตั้งบอกว่าต้องทำข้อมูลหนักมากหรือการทำข้อมูลเรื่องชายแดนทั้งบริบทพื้นที่และบริบทสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่นทั้งพรมแดนในพื้นที่ตากใบ พื้นที่สุไหงโกลก พื้นที่ จ.สตูล

สุดท้ายใช้วิธีการสื่อสารกับทีมผ่านทางออนไลน์ ในการประชุมร่วมกับทีมเพื่อตัดสินใจว่าข้อมูลพื้นที่ไหนที่พอจะเดินต่อได้ในที่สุด ก็ตัดสินใจในพื้นที่ “ตากใบ”

เราถามตั้มในเรื่องของข้อมูลในพื้นที่ตากใบ ตั้มเล่าให้เราฟังว่า พื้นที่นี้ตั้มถามข้อมูลมาได้มากที่สุด แต่ที่สำคัญนี่คือการเดินทางไป “ตากใบ” เป็นครั้งแรกของตั้ม ตั้มบอกว่าพอมีแหล่งข่าวที่พอที่จะอธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ จาการที่ติดต่อกันในการทำข้อมูลที่ค้นหาจากอินเทอร์เน็ตมานั้นเอง …

ตั้มบอกครั้งแรกที่เข้าพื้นที่ สังเกตุเห็นก็คือวิถีคนในท้องถิ่นที่ตากใบ ที่มีความพยายามรักษาอัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นเอาไว้ ส่วนเรื่องของการค้าชายแดน มีทั้งการขนส่งแบบเรือข้ามฟากอยู่ มีการเดินทางไปมาหาสู่กันแบบฉันพี่น้องของคนสองฝั่ง และมีคนพื้นที่เล่าให้ตั้มฟังว่า การค้าชายแดนที่นี่เมื่อก่อนคึกคักมากจะมีการขนส่งสินค้าการเกษตรข้ามจากไทยเพื่อไปสู่มาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นจำนวนมาก แต่พอมาตอนหลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบธุรกิจการค้าได้ย้ายการส่งสินค้าไปยังจุดอื่นๆแทน…

แต่ถึงอย่างไรด่านการค้าที่นี่ก็ยังคงสำคัญที่จะส่งผ้าคลุมฮีญาบ จากจุดที่ตากใบไปยัง ประเทศมาเลเซีย และอินโดนิเซีย เพราะที่นี่ 80% ของกลุ่มแม่บ้านที่นี่ก็คือการทำผ้าคุมฮีญาบนั่นเองครับ ส่วนอีก 20% ที่เหลือคือกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ยังคงทำอาชีพการประมงอยู่ นี่คือส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ตั้มได้มาเพื่อที่จะนำไปคุยกับเพื่อนอีกสองทีมที่เหลือเหนือและอีสาน…

การคุยกันเพื่อออกแบบการเล่าเรื่องเบื้องต้น เพื่อที่จะปรึกษาเมนเทอร์มีความไม่ลงตัวอยู่บ้างในหลายๆ เรื่องเพราะว่าแต่ละคนต่างทำข้อมูลมา ทำให้เมนเทอร์เลี่ยวต้องเข้ามาช่วยให้มุมมองหลายมุมอยู่ในที่สุด

เปี๊ยก ในฐานะน้องเล็กสุดในทีม ครั้งแรกเมื่อโจทย์ของเราให้มีการร่วมทีมกัน 3 คนก็ลังเลและไม่มั่นใจในตัวเองเล็กน้อยทั้งฝีมือและประเด็นที่ไม่คุ้นชิน เปี๊ยก เป็นทีมจากภาคอีสาน และเป็นคนอีสานแท้ๆ ที่พอจะเข้าใจถึงวิถีคนพื้นถิ่นได้ดี

แต่ว่าเรื่องประเด็นพรมแดนที่พูดคุยกันนั้น เปี๊ยกบอกว่านี่เป็นครั้งแรกของการทำงานของเขา บวกกับรูปแบบรายการที่จะต้องเชื่อมโยงประเด็นทั้งสามภาค เข้าด้วยกัน นั้นคือโจทย์ใหญ่ที่เขาจะต้องทำงานหนัก เพราะนั่นหมายถึงการที่ต้องพูดคุยกันมากขึ้นและจะต้องเข้าใจในเรื่องที่เพื่อนเสนอมาอีกด้วย แน่นอนพวกเขาไม่ได้เจอกันแบบตัวเป็นๆ อีกเลยนับจากวันที่ได้รับโจทย์

เปี๊ยก บอกว่าสิ่งที่ได้จากเทปนี้ คือเรื่องของการเข้าไปศึกษาข้อมูลของพื้นที่ พื้นที่ที่เขาเลือกคือ จังหวัดนครพนม ซึ่งพบว่าจังหวัดนครพนม มีสะพานมิตรภาพแห่งที่สาม ที่จะเชื่อมประเทศไทยไปหาประเทศลาว ไปสู่เวียดนาม และจีนได้ ซึ่งปัจจุบันมีการขนส่งสินค้าเกษตรจากไทยไปถึงเวียดนามหากใช้สะพานมิตรภาพแห่งนี้จะเป็นการขนส่งที่เร็วที่สุด อีกข้อมูลที่เปี๊ยกพบก็คือว่า รายได้หลักของคนนครพนมคือการท่องเที่ยว กลับไม่ใช่การค้าชายแดนอย่างที่เปี๊ยกเข้าใจ และนี่มันคือคำถามที่เปี๊ยกที่เกิดขึ้น ว่าการพัฒนาที่เกิดขึ้นที่จังหวัดนครพนมทั้งเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษที่รัฐทุ่มทั้งนโยบาย และทุนลงไปอยู่ในขณะนี้ นั่นหมายถึงว่าจะเตรียมรับมือกับสัญชาติใด เพราะดูเหมือนคนในพื้นที่ ก็ไม่น่าจะได้ประโยชน์มากนัก

เพราะที่เปี๊ยกเห็น สิ่งที่คนนครพนมพยามทำอยู่คือการปรับตัว เพื่อทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เช่นการเพาะพันธ์โคขุน เพื่อส่งขายให้กับประเทศเวียดนาม โดยผู้ค้าจากเวียดนามได้เข้ามาควบคุมในประเทศเราเลยทำให้นี่คือจุดหนึ่งที่จะเป็นอนาคตที่ดีสำหรับคนนครพนมอีกหนึ่ง ทางเลือกแต่นั่นไม่ได้หมายความว่านี่จะเป็นเพียงหนึ่งอาชีพที่จะรองรับคนนครพนมทั้งจังหวัดได้เพียงพอ หรือสินค้าการเกษตรที่ผ่านสะพานมิตรภาพ ไปยังเวียดนาม นั้นก็เป็นพวก มังคุด ทุเรียน ผลไม้ที่มากจากทางภาคตะวันออก

ก่อนจะถึงบทของเมนเทอร์ เราขอให้ทั้ง 3 ทีมเล่าให้เราฟังว่า เมนเทอร์ เป็นอย่างไร พวกเขาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เมนเทอร์คือ มือที่ 4 ที่ช่วยในการจัดการข้อมูลที่ทั้ง 3 ทีมทำมาประกอบส่วนการและมีความไม่ลงตัวอยู่ ทั้งในเรื่องภาพ และประเด็น ช่วยการชี้แนะในการทำบทเพิ่มตามการเชื่อมข้อมูลให้เข้ากัน ทำให้งานชิ้นนี้ออกมาเตรียมพร้อมเผยแพร่สู่สาธารณะชนได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อที่ที่จะอธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับพรมแดนทั้ง 3ภูมิภาคที่มีความเหมือนและความคล้ายครึ่งกันแนวการพัฒนาประเทศ และชะตากรรมอนาคตของคนภูมิภาคที่จะต้องเผชิญต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

มาถึงบท เมนเทอร์ คนนี้ชื่อ เลี่ยว พี่ใหญ่สุดในทีม ที่ไม่เคยร่วมงานการผลิตกับทั้ง 3 คนเลย อันนี้คือโจทย์ใหญ่ และโจทย์ต่อ มา แล้วจะคุยกันอย่างไร เมื่อทั้ง 3ทีม ก็ไม่เคยคุยกันมาก่อน การหลอมรวมเข้าด้วยกันยากไปอีก บวกกับโจทย์รายการที่ต้องมีรูปแบบที่ต่างจากเดิม และเนื้อหามากกว่าประเทศไทย และที่สำคัญ เขาไม่รู้ถึงศักยภาพของเเต่ละทีม และที่เขากลัวมากที่สุด คือกลัวว่า เขาจะเเทรกเเทรงทีมมากจนเกินไป

จุดที่ เมนเทอร์เลี่ยว พบคือ ทั้ง 3 ทีม จัดการหาข้อมูลทันที ที่ทีมคิดว่าใช่ โดยที่ยังไม่มีใครรู้เลยว่าภาพใหญ่ของสถานการณ์คืออะไร ทำให้ เมนเทอร์เลี่ยว มีอาการกังวลอย่างมาก เพราะนั้นหมายถึงพื้นที่ที่เลือก จะเป็นภาพตัวเเทนของภาค ได้หรือไม่ แต่ด้วยความใจเย็นและพร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมกับทีม เขาจึงหาจังหวะเขาเเทรก ในเรื่องการเติมเนื้อหาให้กับทีม บางครั้ง จนหลอมรวมทีมได้ การหลอมรวม เขาใช้วิธีการพูดคุย ผ่านออนไลน์ แนะนำแต่ละทีมเป็นอย่างดี และอนุญาตให้ทีมลงพื้นที่ ถ่ายทำได้ทันที

ความกังวลนั้นคลี่คลายลง หลังผ่านไป 20 กว่าวัน ที่มีการส่งงานร่างเเรกมา เมนเทอร์เลี่ยว พบกับรายการแบบใหม่ ซึ่งเป็นที่น่าพอใจ เกินกว่า 50 % ซึ่งทำให้พอมีเเรง ที่จะผลักงานต่อให้สมบูรณ์ ซึ่งเห็นความตั้งใจของทั้ง 3 ทีมอย่างมาก ที่จะพอความหวังในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการใหม่นี้

อีกจุดที่เมนเทอร์เลี่ยว พบคือ การประเมินหน้างานของ แต่ละทีม นั้นต่างกัน นั้นหมายถึงประสบการณ์ และความชำนาญในการจัดการหน้างานที่ต่างกัน ผลที่ตามมา ก็คือ ทั้งเรื่องข้อมูล ชุดภาพที่ได้มา รวมถึงแผนเวลาที่ผันผวนไปด้วย
อีกจุดที่เห็นและคิดว่าสำคัญคือ จะต้องมี 1 คนในทีมที่ยกมืออาสา ที่จะเป็นผู้นำในการเรียงร้อยงานค่อยจัดการทั้งหมด อันนี้สำคัญ ไม่เพียงเเค่จะอาสานำเท่านั้น นั่นหมายถึง อีก2 คนต้องยอมรับด้วย รอบนี้ได้พี่เเนน เป็นคนหลีด ซึ่งทุกคนก็พร้อมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ชุดประสบการณ์ทั้งหมดนี้เป็นการลงมือทำเพื่อการเปลี่ยนแปลงและมองภาพภูมิภาค ในจินตนาการใหม่เพื่อนำเสนอภาพรวมของความเป็นจริงจากพื้นที่ไปพร้อมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงตัวเองที่จะทดลองทำสื่อแบบใหม่ใหม่อย่างไม่หยุดนิ่งติดตามผลงานของพวกเราทีมผลิตภาคพลเมือง ที่พร้อมทำงานร่วมกับไทยพีบีเอส

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ