เสวนา”เขตเศรษฐกิจพิเศษมีอะไรที่พิเศษ”
ห้องเธียเตอร์ ข้างหอสมุดป๋วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(รังสิต)
วันพุธที่ 19 เมษายน 2560 เวลา 17.00-19.30 น.
Facebook : Silentpower
****************
มารวมกันค้นหาความหมายที่แท้จริงของเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตีแผ่ความคลุมเครือให้ดูกระจ่างชัดขึ้น เขตเศรษฐกิจพิเศษคืออะไร พิเศษสำหรับใคร ชาวบ้าน เอกชน หรือ ภาครัฐ การเสียสละครั้งนี้ของรัฐเเละชาวบ้านเองนั้นคุ้มหรือไม่ เเละการเวนคืนที่ดินจากหน่วยงานรัฐมีวิธีอย่างไร ชาวบ้านที่รวมกลุ่มกันเพื่อวิถีชีวิตของตนทำไมถึงยอมเวนคืน มารวมหาคำตอบกัน กับ “เสวนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีอะไรที่พิเศษ”
กำหนดการเสวนา “เขตเศรษฐกิจพิเศษฯ มีอะไรที่พิเศษ?”
เวลา 17.00 – 17.30 น. ลงทะเบียน
เวลา 17.30 – 17.40 น. เปิดงานเสวนา
เวลา 17.40 – 18.00 น. เสวนา เรื่องภาพรวม ที่มา เละความจำเป็นของเขตเศรษฐกิจพิเศษ
เวลา 18.00 – 18.20 น. เสวนาประเด็นเขตเศรษฐกิจ โดยท่านอาจารย์ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์
เวลา 18.20 – 18.40 น. เสวนาจากกลุ่มตัวเเทนในพื้นที่ โดยตัวแทนจาก “กลุ่มคนรักษ์แม่สอด”
เวลา 18.40 – 19.00 น. เสวนาโดยตัวเเทนจากกรมธนารักษ์ เรื่องหลักเกณฑ์การเยียวยาในการเวนคืนที่ดิน
เวลา 19.00 – 19.30 น. ผู้เข้าร่วมงานเสวนาร่วมกันซักถามข้อสงสัย
—–19.30 น. —- ปิดงานเสวนา “เขตเศรษฐกิจพิเศษ มีอะไรพิเศษ”
ตัวแทนวิทยากร
1.อาจารย์ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2.ตัวแทนจาก(คุณพรภินันท์ โชติวิริยะนันท์)
3.ตัวแทนจากกรมธนารักษ์ ชื่อ วรเชษฐ์ ทับทิม (ที่ปรึกษาด้านที่ดินราชพัสดุ)
ลงทะเบียนเข้าร่วมงานเสวนา
https://goo.gl/forms/K54RcMqzTTsKgNBw1
สอบถามรายละเอียด: 090-4949599 (ปอนด์) หรือ
http://www.facebook.com/silentpowerofficial
****************
หมายเหตุ: กลุ่ม Silentpower เป็นโครงการหนึ่งขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จัดกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปีปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 9 ในช่วงแรกๆ นั้นศึกษาประเด็นเรื่อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสำคัญ
มีปีที่ 6 (2556) ที่ขยับขึ้นมาหน่อยคือ เรื่องท่าเรือน้ำลึกปากบารา นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ วิถีชีวิตที่เงียบสงบและพึ่งพิงธรรมชาติ ในจ.สตูล
หลังจากนั้นปีที่ 7 (2557) เราโดดไปเล่นเรื่องราวของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ที่ดอยแม่สลอง จ.เชียงราย เพื่อศึกษาเรื่องการขอสัญชาติไทย สิทธิมนุษยชน และเรื่องราวของความมั่นคงของไทย ทั้งนี้ก็ยังไม่พ้นเรื่องของประวัติศาสตร์ สังคม ฯลฯ อีกมากมายที่เราต้องทำความเข้าใจ
สำหรับ ในปีที่ 8 (2558) เราตัดสินใจที่จะเล่นประเด็นที่ร้อนแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คือเรื่อง “เหมืองแร่ทองคำ” จุดยืนที่แน่นอนของเราคือ การสำรวจและศึกษาประเด็นที่เราสนใจให้ครบถ้วน “ทุกแง่มุม” ให้ได้มากที่สุด การลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อให้ได้พูดคุยกับ “ทุกภาคส่วน” จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
เเละล่าสุดกับ silent power ในปีที่9 นี้ เราเลือกประเด็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งใครได้ยินครั้งเเรกก็ไม่เข้าใจมันได้อย่างถี่ถ้วน หลายๆ คนอาจเข้าใจว่าใช่มาบตาพุดหรือไม่ หรือเขตอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งจริงๆเเล้วคือโครงการของภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจบริเวณชายเเดนบริเวณต่างๆของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่คำนิยามของมันก็มิใช่เพียงแค่นั้น
ในครั้งนี้เราเลือกลงพื้นที่บริเวณชายเเดนของ อ.เเม่สอด จ.ตาก ที่มีการดำเนินการก่อสร้างไปแล้วบางส่วน โดยไทยเป็น”ผู้ลงทุนทั้งหมด”เเละยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ของระเบียงการค้าเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (East-West Corridor) แต่ยังมีประเด็นการเวนคืนที่ดินและการเยียวยาของชาวบ้านเอง ที่ยังมีปัญหาอยู่จนถึงตอนนี้ ซึ่งกลุ่มชาวบ้านในอำเภอเเม่สอดได้มีการรวมกลุ่มกันเรียกร้องความยุติธรรมจากภาครัฐ เเละสิ่งพบเห็นได้จากการลงพื้นที่ที่ดูชัดเจนคือการให้ข้อมูลของภาครัฐที่ไม่กระจ่างชัดเท่าที่ควร