ยื่นหนังสือตั้งคำถามกระบวนการสรรหา ผอ.คนใหม่
ยื่นหนังสือเปิดผนึกตั้งคำถามกระบวนการสรรหา ผอ.ไทยพีบีเอสคนใหม่.วันนี้ (26 ม.ค.2559) เมื่อเวลา 15.00 น.ตัวแทนพนักงานไทยพีบีเอส ยื่นหนังสือเปิดผนึกตั้งคำถามกระบวนการสรรหา ผอ.ไทยพีบีเอสคนใหม่ ต่อคณะกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) และกรรมการสรรหาฯ ของ ส.ส.ท. โดยนางพวงรัตน์ สองเมือง ผู้อำนวยการสำนักรายการ ในฐานะรักษาการตำแหน่ง ผู้อำนวยการส.ส.ท. เป็นผู้รับมอบจดหมาย โดยห้ามไม่ให้ผู้สื่อข่าวจากภายนอกทำข่าวและถ่ายภาพ.พนักงานตั้งข้อสังเกตถึงคุณสมบัติของผู้ได้รับคัดเลือกที่อาจจะขัดกับ พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 มาตรา 32 (3) ที่ระบุว่า ควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในกิจการวิทยุกระจายเสียงกิจการวิทยุโทรทัศน์หรือการสื่อสารมวลชน แต่ผู้ได้รับคัดเลือกกลับไม่เคยทำงานในองค์กรสื่อสารมวลชนมาก่อน .ตัวแทนพนักงานจึงเรียกร้องให้ชี้แจงถึงกระบวนการสรรหาและเหตุผลในการคัดเลือกผอ.สสท.เพื่อลดข้อสงสัยในกระบวนการสรรหาที่เกิดขึ้น.”ฝากคำถามไปถึงท่านคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการว่าท่านจะชี้แจง และเราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการสรรหาฯ ทั้งหมดจะได้มาชี้แจงว่ามีเหตุผลเพียงพอ เราจะได้อุ่นใจว่านี่คือกระบวนการสรรหาผู้อำนวยการที่โปร่งใสพอ ไม่ใช่กระบวนการสีเทาที่เราตั้งคำถาม แล้วก็ไม่มีคำตอบมาให้” โกวิท โพธิสาร ตัวแทนพนักงานไทยพีบีเอสผู้ยื่นหนังสือ.”คำถามมีข้อเดียว และควรต้องตอบคำถาม ถ้าไม่ตอบ ผมก็ไม่สามารถอธิบายตัวเองได้ และถ้าคนข้างในไม่สามารถอธิบายกันเอง ผมคิดว่าคนข้างนอกเองก็มีคำถามประเดประดังเข้ามา เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เรื่องนี้เป็นเรื่องคุณสมบัติซึ่งตัวกฏหมายระบุ ซึ่งกฏหมายนี้ผมไม่ได้เขียน พี่ไม่ได้เขียน คนอื่นไม่ได้เขียน มันมีอยู่แล้ว” โกวิทกล่าว
Posted by นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS) on Tuesday, January 26, 2016
วันนี้ (26 ม.ค.2559) เมื่อเวลา 15.00 น.ตัวแทนพนักงานไทยพีบีเอสประมาณ 10 คน ยื่นหนังสือเปิดผนึกที่ร่วมลงชื่อโดยพนักงานจำนวน 32 คน ตั้งคำถามต่อกระบวนการสรรหาผู้อำนวยการผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอสคนใหม่ ต่อคณะกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) และกรรมการสรรหาฯ ของ ส.ส.ท.
ตัวแทนพนักงานตั้งข้อสังเกตถึงคุณสมบัติของผู้ได้รับคัดเลือกที่อาจจะขัดกับ พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 มาตรา 32 (3) ที่ระบุว่า ควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในกิจการวิทยุกระจายเสียงกิจการวิทยุโทรทัศน์หรือการสื่อสารมวลชน แต่ผู้ได้รับคัดเลือกกลับไม่เคยทำงานในองค์กรสื่อสารมวลชนมาก่อน จึงเรียกร้องให้มีการชี้แจงถึงกระบวนการสรรหาและเหตุผลในการคัดเลือก ผอ.ส.ส.ท.เพื่อลดข้อสงสัยในกระบวนการสรรหาที่เกิดขึ้น
“ฝากคำถามไปถึงท่านคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการว่าท่านจะชี้แจง และเราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการสรรหาฯ ทั้งหมดจะได้มาชี้แจงว่ามีเหตุผลเพียงพอ เราจะได้อุ่นใจว่านี่คือกระบวนการสรรหาผู้อำนวยการที่โปร่งใสพอ ไม่ใช่กระบวนการสีเทาที่เราตั้งคำถาม แล้วก็ไม่มีคำตอบมาให้” โกวิท โพธิสาร ตัวแทนพนักงานไทยพีบีเอสผู้ยื่นหนังสือ
“คำถามมีข้อเดียว และควรต้องตอบคำถาม ถ้าไม่ตอบ ผมก็ไม่สามารถอธิบายตัวเองได้ และถ้าคนข้างในไม่สามารถอธิบายกันเอง ผมคิดว่าคนข้างนอกเองก็มีคำถามประเดประดังเข้ามา เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เรื่องนี้เป็นเรื่องคุณสมบัติซึ่งตัวกฏหมายระบุ ซึ่งกฏหมายนี้ผมไม่ได้เขียน พี่ไม่ได้เขียน คนอื่นไม่ได้เขียน มันมีอยู่แล้ว” โกวิทกล่าว
พวงรัตน์ สองเมือง ผู้อำนวยการสำนักรายการ ในฐานะรักษาการตำแหน่ง ผอ.ส.ส.ท.เป็นผู้รับมอบจดหมายและรับว่าจะนำจดหมายเปิดผนึกนี้ส่งต่อให้ทางกรรมการนโยบายฯ และคณะกรรมการสรรหาฯ โดยกระบวนการยื่นหนังเอกสารดังกล่าห้ามไม่ให้ผู้สื่อข่าวจากภายนอกทำข่าวและถ่ายภาพ
ทั้งนี้ ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ประธานคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.ได้ลงนามประกาศแต่งตั้ง ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ เป็น ผอ.ส.ส.ท. ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. เป็นต้นไป มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
‘ณรงค์’ ยืนยัน คกก.สรรหาเห็นว่า ‘กฤษดา’ มีคุณสมบัติเหมาะสม
ไทยพีบีเอสออนไลน์ รายงานว่า โกวิทให้สัมภาษณ์ หลังยื่นจดหมายเปิดผนึกว่า หลังจากนี้จะรอดูท่าที่ของฝ่ายบริหารและคณะกรรมการสรรหา แต่ส่วนตัวคิดว่าฝ่ายผู้บริหารคงไม่นิ่งนอนใจ เนื่องจากเริ่มมีกระแสการตั้งคำถามเกิดขึ้นแล้ว
“เรายังไม่อยากกดดันเพื่อให้ฝ่ายบริหารชี้แจง แต่ถ้าฝ่ายบริหารยังนิ่งเฉยก็ต้องหารือกับกลุ่มเพื่อนพนักงานอีกครั้ง เพราะถ้ากระบวนการสรรหาครั้งนี้ผิดกฎหมาย ก็คงไม่ใช่ผมคนเดียวที่จะเคลื่อนไหวในเรื่องนี้” นายโกวิทกล่าว
“ไทยพีบีเอสกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน ถ้าไม่สร้างบรรทัดฐานให้ดี แต่กลับมีการอะลุ่มอล่วย มันก็ไม่แฟร์ และไม่เคลียร์”
ขณะที่ ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ประธานกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.กล่าวว่า ทางคณะกรรมการนโยบายทุกคนไม่ได้รังเกียจที่จะตอบคำถาม ตามที่จดหมายเปิดผนึกของพนักงานที่เรียกร้องมา แต่ไม่รู้ว่าจะชี้แจงอะไรเพิ่มได้อีก เนื่องจากที่ผ่านมาได้ออกเป็นเอกสารและประกาศตามขั้นตอนการสรรหา ผอ.ส.ส.ท.ไปหมดแล้ว อีกทั้งไม่เข้าใจว่า ทำไมพนักงาน 32 คนที่ลงชื่อไม่เข้าใจ แต่เพื่อนพนักงานอีกพันกว่าคนเข้าใจหมดถึงกระบวนการหา ผอ.ส.ส.ท.
“ในส่วนคำถามที่ระบุว่าคุณสมบัติของนายกฤษดาตรงตาม พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 หรือไม่นั้น ต้องเรียนว่าคณะกรรมการสรรหาทั้ง 5 คน ล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายระดับประเทศ รวมถึงด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเมื่อทั้ง 5 คนตีความคุณสมบัติของนายกฤษฎาว่าไม่มีปัญหา ทางกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.จะบอกว่ามีปัญหาได้อย่างไรกัน” ประธานกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.ชี้แจง
ณรงค์กล่าวเพิ่มเติมว่าคณะกรรมการนโยบายจะประชุมกันอีกครั้งตามระเบียบวาระวันที่ 29 ม.ค.2559 ซึ่งอาจมีการหารือกันว่าจะมีการชี้แจงหรือไม่ อย่างไร ระหว่างนี้ หากพนักงานคนใดมีข้อสงสัยขอให้ถามผู้อำนวยการสำนักของตนเองหรือหัวหน้างานตัวเองก่อน
‘กฤษดา’ งดแจง ชี้ยังไม่ได้เริ่มทำงาน
ด้าน บีบีซีไทย – BBC Thai รายงานว่า ได้ติดต่อขอสัมภาษณ์ ทพ.กฤษดา เรืองอารีรัชต์ ผู้ได้รับการคัดสรรให้ดำรงตำแหน่ง ผอ.ส.ส.ท.ถึงประเด็นที่พนักงานไทยพีบีเอสมีความกังวลต่อคุณสมบัติดังกล่าว แต่ ทพ.กฤษดากล่าวว่ายังไม่ขอแสดงความเห็น เนื่องจากขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มทำงานกับทางไทยพีบีเอส และอยู่ระหว่างเคลียร์งานที่คั่งค้างอยู่ โดยคาดว่าจะเริ่มการทำงานกับสถานีไทยพีบีเอสในสัปดาห์หน้า
ก่อนที่จะได้รับการคัดเลือกเป็นผู้อำนวยการ ส.ส.ท. นั้น ทพ.กฤษดา เคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2559 ทพ.กฤษฎาได้ให้สัมภาษณ์ ไทยพีบีเอสออนไลน์ ภายหลังเข้าสัมภาษณ์ เพื่อสมัครเข้ารับตำแหน่ง ผอ.ส.ส.ท.ว่า ไม่กังวลเรื่องคุณสมบัติส่วนตัว ที่อาจทำให้ไม่ได้เข้ารับตำแหน่ง ผอ.ส.ส.ท.เพราะแม้ไม่เคยทำงานอยู่ในสถานีโทรทัศน์โดยตรง แต่มีประสบการณ์ในเรื่องการออกแบบการสื่อสารมานานกว่า 14 ปี เห็นได้จากผลงานแคมเปญใหญ่ๆ ที่ผ่านมา เมื่อครั้งทำงานอยู่ใน สสส. เช่น งดเหล้าเข้าพรรษา สวดมนต์ข้ามปี ให้เหล้าเท่ากับแช่ง ฯลฯ ซึ่งทุกประเด็นใช้การสื่อสารทั้งนั้น อีกทั้งช่วงที่ผ่านมา ได้สนับสนุนการผลิตรายการต่าง ๆ กว่า 150 รายการ ฉะนั้น จึงเข้าใจวิธีการเลือกคอนเทนต์และมุมมองการเสนอข่าว
นายกฤษดากล่าวต่ออีกว่า ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป คนทำสื่อไม่ได้หมายความว่าต้องอยู่ในวงการสื่ออย่างเดียว เพราะทุกวันนี้ผู้บริโภคเป็นคนเลือกคอนเทนต์ ซึ่งเป็นมุมมองสำคัญในการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อ การมาสัมภาษณ์ครั้งนี้ ต้องการนำเสนอมุมมองใหม่ในด้านสื่อให้กับไทยพีบีเอส เพราะถ้าไทยพีบีเอสไม่สามารถมีมุมมองที่แตกต่างจากสื่ออื่นได้ ก็คงไม่ต่างจากสถานีโทรทัศน์อื่นที่เหมือนกันไปหมดในปัจจุบัน ฉะนั้น ไทยพีบีเอสต้องกล้ามองให้หลุดกรอบ และบูรณาการระบบการทำงาน
ผู้สมัครชิงตำแหน่ง ผอ.ไทยพีบีเอส 1.นายพัฒนะพงศ์ จันทรานนทวงศ์
คณะกรรมการสรรหา ผอ.ไทยพีบีเอส 1. เดชอุดม ไกรฤทธิ์
คณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. 1.รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ประธานกรรมการ |