แอมเนสตี้ฯ เปิดรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจำปี 2557-2558

แอมเนสตี้ฯ เปิดรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจำปี 2557-2558

แอมเนสตี้ฯ เปิดรายงานประจำปี 2557-2558: การตอบสนองของโลกต่อการทารุณกรรมทั้งของรัฐและกลุ่มติดอาวุธ ยังเป็นเรื่อง ‘น่าละอายและไม่เป็นผล’

20152802020708.jpg

วันที่ 25 ก.พ. 2558 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล จัดแถลงข่าวที่ห้องรัชดา โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค เปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก ประจำปี 2557-2558 ซึ่งรวบรวมสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนตลอดปี 2557 และเหตุการณ์สำคัญด้านสิทธิมนุษยชนบางส่วนในปี 2558 โดยให้ภาพรวมของ 5 ภูมิภาคและข้อมูลของแต่ละประเทศทั้งหมด 160 ประเทศและดินแดน โดยรายงานชี้ให้เห็นว่าการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนยังดำเนินต่อไปอย่างเข้มแข็งในทุกมุมโลก และบางพื้นที่มีพัฒนาการเชิงบวกในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงาน นายอภิรัตน์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ผู้อำนวยการกองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศ เป็นตัวแทนรัฐบาลรับมอบรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี 2557-2558 ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

20152802020734.jpg

ด้านรองอธิบดีปิติกาญจน์ สิทธิเดช รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ร่วมเวทีในหัวข้อ ภารกิจของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการทำตามอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน 4 ฉบับ ซึ่งประกอบด้วย 1.กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 2.อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ 3.อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิศรี และ 4.อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ

รองอธิบดีปิติกาญจน์ ระบุว่า ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ โดยขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานฯ และการบังคับให้สูญหายฯ เป็น 1 ใน 37 กฎหมายที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาขณะนี้

ขณะที่ รอมือละห์ แซเยะ ภรรยาผู้ต้องหาคดีความมั่นคง ผู้ร่วมเวทีฯ กล่าวภายใต้หัวข้อ กระบวนการยุติธรรม เพื่อความยุติธรรม เพื่อสิทธิมนุษยชนว่า “เราจะขึ้นศาลไปเพื่ออะไร ถ้าต้องอยู่ในวังวนเดิม ข้อมูลที่เรามีจะเอาไปเพื่ออะไร..เราเริ่มไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมอีกแล้ว…เพราะฉะนั้นจะร่วมมือไปเพื่ออะไร เพราะเราไม่มั่นใจว่าเราจะได้รับความยุติธรรมอย่างแท้จริง”

20152802020820.jpg

ทั้งนี้ แอมเนสตี้ รายงานว่า ประเทศไทยมีหลายประเด็นที่น่าห่วงใยเช่น การขัดแย้งกันด้วยอาวุธภายในประเทศ การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย การบังคับบุคคลให้สูญหาย เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม การจับกุมและควบคุมตัวโดยพลการ การไต่สวนคดีอย่างไม่เป็นธรรม การลอยนวลพ้นผิด นักปกป้องสิทธิมนุษยชน การค้ามนุษย์ ผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิง และโทษประหารชีวิต

ข้อเรียกร้องจากแอมเนสตี้ถึงรัฐบาลไทย

20152802020921.jpg

20152802021005.jpg

20152802021037.jpg

 

นอกจากนั้นในรายงานของแอมเนสตี้ ยังระบุว่า รัฐบาลประเทศต่างๆ ต้อง  ‘ยุติการเสแสร้งว่าการคุ้มครองพลเรือนเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนืออำนาจของตน’  โดยคาดการณ์ว่าจะมีพลเรือนมากขึ้นที่เสี่ยงจะถูกปฏิบัติมิชอบโดยกลุ่มติดอาวุธ มีการปราบปรามอย่างต่อเนื่องต่อเสรีภาพในการแสดงออก และวิกฤตด้านมนุษยธรรมและผู้ลี้ภัยจะเลวร้ายลง หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในแง่การรับมือระดับโลกต่อความขัดแย้ง

ดังนั้น แอมเนสตี้ จึงเรียกร้องให้มีปฏิบัติการระดับโลก รวมทั้งการที่สมาชิกถาวร 5 ชาติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ งดเว้นจากการใช้สิทธิยับยั้งกรณีที่เป็นข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทารุณกรรมขนานใหญ่  และผู้นำโลกต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อเผชิญหน้ากับสภาพสงครามความขัดแย้ง และคุ้มครองพลเรือนจากความรุนแรงทั้งที่กระทำโดยรัฐและกลุ่มติดอาวุธ ตามข้อเรียกร้องที่เผยแพร่ในรายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปีทั่วโลก

ซาลิล เช็ตติ (Salil Shetty) เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า 2557 เป็นปีหายนะสำหรับประชาชนหลายล้านคนที่ตกอยู่ในวังวนของความรุนแรง การตอบสนองระดับโลกต่อสงครามความขัดแย้งและการปฏิบัติมิชอบทั้งของรัฐและกลุ่มติดอาวุธ ยังเป็นเรื่องน่าละอายและไม่เป็นผล ในขณะที่ประชาชนต้องเผชิญกับการทำร้ายและการปราบปรามที่ป่าเถื่อนมากขึ้น ประชาคมนานาชาติยังต้องมีบทบาทที่จำเป็น

“องค์การสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นเมื่อ 70 ปีที่แล้วเพื่อประกันว่า เราจะต้องไม่เห็นความโหดร้ายที่เกิดขึ้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ปัจจุบันเรากำลังเห็นความรุนแรงในวงกว้าง และเป็นวิกฤตใหญ่หลวงด้านผู้ลี้ภัยที่เป็นผลมาจากความรุนแรงเหล่านั้น ที่ผ่านมามีความล้มเหลวในการค้นหาทางออกเพื่อรับมือกับความจำเป็นเร่งด่วนมากสุดในยุคของเรา” ซาลิล กล่าว

การคาดการณ์สถานการณ์สิทธิมนุษยชนปี 2558-2559

รายงานประจำปีของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลให้ภาพรวมอย่างละเอียดเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนใน 160 ประเทศในช่วงปี 2557 หากผู้นำโลกไม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อเผชิญหน้ากับสภาพสงครามความขัดแย้ง และแก้ปัญหาตามที่ระบุไว้ในรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในปีต่อไปคงดูมืดมน กล่าวคือ

– ประชากรที่เป็นพลเรือนจำนวนมากขึ้นจะต้องมีชีวิตอยู่ในสภาพกึ่งรัฐ ภายใต้การควบคุมของกลุ่มติดอาวุธที่โหดร้าย และต้องตกเป็นเหยื่อของการทำร้าย การคุกคาม และการเลือกปฏิบัติ

– มีการคุกคามมากขึ้นต่อเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิอย่างอื่น รวมทั้งการละเมิดที่เป็นผลมาจากกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายฉบับใหม่ๆ ที่มีลักษณะเผด็จการ และการสอดแนมข้อมูลของประชาชนอย่างไม่ชอบด้วยเหตุผล

– วิกฤตด้านมนุษยธรรมและผู้ลี้ภัยที่เลวร้ายลง เนื่องจากจะมีประชาชนจำนวนมากขึ้นที่ต้องอพยพหลบหนีภัยของสงคราม ในขณะที่รัฐบาลประเทศต่างๆ จะยังคงปิดกั้นพรมแดน และประชาคมนานาชาติล้มเหลวในการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองได้

สิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่งคืออำนาจที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ รวมทั้งกลุ่มที่เรียกตนเองว่า Islamic State (IS)

กลุ่มติดอาวุธเหล่านี้ปฏิบัติการที่มิชอบในอย่างน้อย 35 ประเทศในปี 2557 หรือกว่า 1 ใน 5 ของประเทศต่างๆ ที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลทำการศึกษา

แอนนา นีสแตต (Anna Neistat) ผู้อำนวยการวิจัยอาวุโส แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า ในขณะที่อิทธิพลของกลุ่มต่างๆ เช่น Boko Haram, IS และ Al Shabaab แพร่ขยายเลยเส้นแบ่งพรมแดน จะมีพลเรือนมากขึ้นที่ถูกบังคับให้อยู่ในสภาพการควบคุมของกึ่งรัฐ ต้องตกเป็นเหยื่อของการปฏิบัติมิชอบ การคุกคาม และการเลือกปฏิบัติ

“รัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องยุติการเสแสร้งว่าการคุ้มครองพลเรือนเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนืออำนาจของตน และหาทางแก้ไขสถานการณ์ที่ทุกข์ทรมานของประชาชนหลายล้านคน ผู้นำโลกต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในระหว่างการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ทั่วโลก” แอนนากล่าว

แถลงการณ์ (ฉบับเต็ม) 

20152802021532.jpg

20152802021611.jpg

20152802021634.jpg

20152802021658.jpg

……………………………………………………

ดาวน์โหลดได้ที่นี่ 

รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจำปี 2557-2558 ฉบับภาษาอังกฤษ
https://www.amnesty.org/en/annual-report-201415/

รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจำปี 2557-2558 ฉบับภาษาไทย

https://www.amnesty.or.th/resources/annual-report/54

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ