22 พ.ค. 2558 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์ต่อเนื่อง 2 ฉบับ ในวันครบรอบ 1 ปี การรัฐประหาร วันที่ 22 พ.ค. 2557 ในประเทศไทย ประกอบด้วย
– ประเทศไทย: หนึ่งปีผ่านไป การปราบปรามแบบ “ชั่วคราว” กลายเป็นถาวร
000
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
แถลงการณ์ 22 พฤษภาคม 2558
ประเทศไทย : การจับกุมในโอกาสครบรอบปีของรั
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวในวันนี้
ริชาร์ด เบนเน็ต (Richard Bennett) ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิ
“ต้องไม่มีการจับกุมหรือควบคุ
“ทางการต้องเคารพและต้องคุ้
ประมาณ 18.20 น.ตามเวลาในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวนักศึ
ในอีกเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้
บุคคลทั้งสามเป็นสมาชิกกลุ่
ในเหตุการณ์ที่สาม มีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อยเจ็
จากภาพข่าว เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบได้บุ
“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุ
000
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
แถลงการณ์ 22 พฤษภาคม 2558
ประเทศไทย: หนึ่งปีผ่านไป การปราบปรามแบบ “ชั่วคราว” กลายเป็นถาวร
ในโอกาสครบรอบปีการยึดอำนาจของทหารโดยการทำรัฐประหาร แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องอีกครั้งให้ทางการไทยดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อยกเลิกกฎหมายและนโยบายที่กดขี่ รวมทั้งการปฏิบัติที่ละเมิดพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย ทางการควรรื้อฟื้นบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชน และยุติการลอยนวลพ้นผิดกับผู้ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน
แม้ว่าทางการไทยเสนอกรอบเวลาที่จะมุ่งไปสู่การเลือกตั้ง และล่าสุดบอกว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งอย่างเร็วสุดในเดือนสิงหาคม 2559 แต่ไม่มีการส่งสัญญาณใดๆ ว่าจะยกเลิกมาตรการจำกัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพและการใช้สิทธิเหล่านั้นอย่างสงบ รวมทั้งสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองด้วย
พร้อมๆ กับการยกเลิกกฎอัยการศึกเมื่อเดือนเมษายน 2558 ในทุกพื้นที่ของประเทศยกเว้นพื้นที่ซึ่งมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกอยู่แล้วก่อนเดือนพฤษภาคม 2557 ทางการไทยก็ยังคงยึดกุมอำนาจที่กว้างขวางและปราศจากการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่มีลักษณะคล้ายคลึงหรืออาจจะจำกัดสิทธิมากกว่าอำนาจแบบเดิม และใช้อำนาจนั้นขัดขวางหรือปราบปรามอย่างรุนแรงต่อสิทธิมนุษยชน โดยอ้างความจำเป็นเพื่อความมั่นคงของประเทศ และไม่มีการตรวจสอบการใช้อำนาจในเชิงปกครอง
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งห้ามการชุมนุมทางการเมืองของบุคคลมากกว่าห้าคนขึ้นไป และจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสงบ ส่งผลให้การเซ็นเซอร์ตัวเองและเต็มไปด้วยบรรยากาศของความหวาดกลัว รวมถึงมีการสั่งฟ้องคดีบุคคลที่แสดงความเห็นต่างจากรัฐต่อศาลทหารอย่างต่อเนื่อง แม้การแสดงออกนั้นจะเกิดขึ้นอย่างสงบก็ตาม ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิที่ได้จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงการใช้แรงกดดันอย่างไม่เป็นทางการและการแสดงท่าทีข่มขู่ของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งนายกรัฐมนตรี ต่อสื่อมวลชนและภาคประชาสังคมที่แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ มาตรการกดขี่เหล่านี้ทำให้บุคคลสามารถเรียกร้องหรือแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนทั้งของตนเองและบุคคลอื่นได้น้อยลง
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องให้ทางการปล่อยตัว ยกเลิกข้อกล่าวหาและบทลงโทษโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อบุคคลที่ถูกควบคุมตัว ถูกฟ้องคดี หรือถูกศาลตัดสินลงโทษเพียงเพราะการใช้สิทธิมนุษยชนของตนเพื่อแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมอย่างสงบ มีรายงานว่าพลเรือนกว่าร้อยคนถูกฟ้องคดีต่อศาลทหาร โดยเป็นผลมาจากการแสดงความคิดเห็นต่างอย่างสงบ หลายคนไม่มีสิทธิในการอุทธรณ์คดี มีผู้แสดงความเห็นอย่างสงบถูกศาลตัดสินจำคุกนานถึง 50 ปีตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งกำหนดให้มีการจำคุกได้ไม่เกิน 15 ปีต่อหนึ่งกระทงสำหรับการกระทำที่ถือว่าเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังเรียกร้องให้ทางการยกเลิกการใช้อำนาจทหาร ซึ่งเดิมใช้ผ่านกฎอัยการศึกและปัจจุบันใช้ผ่านประกาศและคำสั่งของคสช. ในการควบคุมตัวบุคคลเพื่อนำไปเข้ารับ “การปรับทัศนคติ” ซึ่งกินเวลาไม่เกินเจ็ดวัน ในสถานที่ที่ไม่เปิดเผยอย่างเป็นทางการและไม่สามารถติดต่อกับโลกภายนอก ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการทรมานขึ้นได้
ทางการต้องยุติการกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวจากการควบคุมตัวโดยพลการและการคุมขังอย่างอื่น อันเป็นเหตุให้บุคคลหลายร้อยคนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองได้อีก เนื่องจากเสี่ยงจะถูกสั่งคุมขังอีกครั้ง เงื่อนไขเพื่อการปล่อยตัวต่าง ๆ ต้องถูกยกเลิก ส่วนอำนาจอย่างอื่นที่ทางการประกาศเพิ่มเมื่อเดือนเมษายน 2558 รวมทั้งการแต่งตั้ง “เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย” ที่มีอำนาจในการตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายศาล ต้องถูกยกเลิกเช่นกัน
นอกจากนั้น ทางการต้องให้การประกันว่าการนำคำสั่งที่ประกาศใช้ในช่วงปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งป่าไม้ ทางกองทัพต้องไม่ขับไล่ชาวบ้านออกจากชุมชนในเขตชนบทห่างไกล ที่ผ่านมามีรายงานการขับไล่ชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งการบังคับไล่รื้อด้วย
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังเรียกร้องให้ทางการถ่ายโอนคดีของพลเรือนที่ถูกไต่สวนในศาลทหารไปยังศาลพลเรือน และให้การประกันว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งในทางกฎหมายและทางปฏิบัติ รวมทั้งให้ความยุติธรรมและการเยียวยาต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการควบคุมตัวโดยพลการ การทรมาน การปฏิบัติที่โหดร้าย และการบังคับบุคคลให้สูญหายในปีที่ผ่านมา