(19 ม.ค.55) ที่ประชุมครม.พิจารณาร่างพ.ร.บ.วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ สส.รัฐบาล-ฝ่ายค้านเห็นด้วยสร้างมาตรฐานทัดเทียมวิชาชีพอื่น ตั้งประเด็นการควบคุมวิชาชีพสังคมสงเคราะห์กับคนทำงาน สร้างจรรยาบรรณและองค์ความรู้ที่เป็นมาตรฐาน ทบทวนตั้งค่าธรรมเนียมวิชาชีพ "พิษณุ"ชูตั้งสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
เรียบเรียงจากเฟสบุ๊ค Apinya Wechayachai และ Preeyanuch Chok
ผ่านคลื่นวิทยุเอฟเอ็ม 87.5
การนำร่างพ.ร.บ.วิชาชีพสังคมสงเคราะห์เข้าที่ประชุมครม.ครั้งนี้ เป็นการเข้าพิจารณาเพื่อให้สภาฯรับร่าง พรบ.วิชาชีพสังคมสงเคราะห์นี้เป็นกฎหมาย ซึ่งขั้นตอนจากนี้คือการตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณารายมาตราต่อไป
สส.อิสระ สมชัย อดีต รมต.กระทรวง การพัฒนาสังคมฯ "การมีร่างพรบ.วิชาชีพ คือการป้องกันการทำงานที่ไม่เหมาะสม ของคนทำงาน จำนวนนักสังคมฯปัจจุบันไม่สอดคล้องกับปัญหา ความไม่ชัดเจนของระบบการศึกษาที่รองรับที่น้อยเกินไป ทำให้การเรียนของวิชาชีพไม่ชัดเจน มีข้อเสนอให้สร้างความมั่นใจของสังคมต่อวิชาชีพสังคมสงเคราะห์. มีข้อเสนอต่อหลักสูตร จรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อสร้างวิชาชีพให้เข้มแข็งและสามารถควบคุมจรรยาบรรณให้ชัดเจน"
อ.ผุสดี ตามไท เสนอให้คณะกรรมาธิการวิสามัญที่จะตั้งขึ้นพิจารณารายละเอียดที่เปิดโอกาสให้มีผู้เข้าร่วมให้มากขึ้น
สส.สามารถ แก้วมีชัย "สนับสนุนให้มีการจัดระเบียบองค์กรทางวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ให้ทัดเทียมกับวิชาชีพอื่น แต่ให้พิจารณามาตรา29 ที่ระบุเรื่องการควบคุมไม่ให้ปิดกั้นคนอื่นที่ทำงานนี้ ว่าควรทำให้ขอบเขตมีความชัดเจนและไม่กีดกั้นผู้อื่น"
สส.บุญยอด สุขถิ่นไทย ถามเรื่องค่าขึ้นทะเบียนสมาชิก ว่าสัมพันธ์กับรายได้ของสภาวิชาชีพอย่างไร ให้อธิบายให้ชัดเจน และพิจารณาอัตราการเก็บค่าขึ้นทะเบียนว่ามีวิธีคิดอย่างไร
สส.กุสุมาลวตี ศิริโกมุท "เห็นด้วยกับร่างพรบ.วิชาชีพ สังคมสงเคราะห์ ในฐานะที่เป็นภารกิจในการดูแลประชาชนที่ยากลำบาก ทำอย่างไรให้ประชาชนเข้าถึงสวัสดิการจากรัฐอย่างทั่วถึงเป็นธรรมตามสิทธิและโอกาสของมนุษย์ ตั้งข้อสังเกตเรื่องศักยภาพนักสังคมฯในการทำงานให้ครอบคลุมรอบด้าน และให้กำลังใจนักสังคมที่ทำงานอยู่ในสถานรองรับต่างๆเวลานี้
สส.สมคิด บาลไธสงค์ สนับสนุนร่างพรบ.วิชาชีพนี้ โดยได้ตั้งคำถามถึงคุณสมบัติการศึกษาแบบไหนที่เหมาะสมในการเป็นนักวิชาชีพ พร้อมเสนอเปิดทางให้คนอยากทำความดีได้มีที่หายใจ โดยอยากให้ยกเว้นคุณสมบัติจบป.ตรี
ทั้งนี้ @นางฟ้า ผู้พิทักษ์ ได้ให้ความเห็นผ่านเฟสบุ๊คว่า "ถ้ายกเว้นคุณสมบัติจบปริญญาตรีก็จะกลายเป็นว่าใครที่ไม่ได้เรียนสังคมสงเคราะห์โดยตรงก็สามารถเป็นนักสังคมสงเคราะห์ได้ เราอยากให้คนทำดี แต่การเป็นนักสังคมสงเคราะห์ต้องทำดีอย่างมีหลักการและมีความเป็นวิชาชีพด้วย ถ้าใครอยากทำดีก็มีสิทธิทำได้ทุกคนอยู่แล้ว"
สส.วิภูแถลง เห็นด้วยและสนับสนุนร่างพรบ.นี้ เพราะเป็นพรบ.ที่ออกมาเพื่อวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ที่ทำงานช่วยผู้ยากลำบากในสังคม เจตนารมณ์นี้ต้องสนับสนุน รวมถึงเป็นวิชาชีพที่จะสร้างความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งต้องมาก่อนความมั่นคงอื่นๆ และน่าจะมีสภาความมั่นคงของมนุษย์ด้วย สิ่งที่ห่วงใยคือ พรบ.นี้จะทำให้นักวิชาชีพมีมาตรฐานอย่างไร มีจรรยาบรรณอย่างไร เพราะจรรยาบรรณและมาตรฐานไม่ได้อธิบายได้ด้วยการเรียนในระบบเท่านั้น ข้อห่วงใยที่สองคือ จะส่งเสริมองค์ความรู้ ที่ผ่านมาจากการปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้ความรู้มีมาตรฐาน สามคือรูปการณ์จิตสำนึกของมนุษย์ที่จะเป็นนักสังคมทีดีควรเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากสถาบันการศึกษาแต่มาจากการปฏิบัติจริง พร้อมเสนอว่าร่างกม.ติดรูปแบบราชการไปหน่อย
สส.พิษณุ หัตถสงเคราะห์ แสดงความเห็นด้วยกับกม.วิชาชีพนี้ เพราะงานของนักสังคมสงเคราะห์เป็นงานที่สำคัญและเป็นงานอาชีพที่ควรได้รับการส่งเสริมมากที่สุด เนืื่องจากบุคลิกคนไทยเหมาะสมกับคนไทย ที่ชอบช่วยเหลือคนอื่น หากเรามีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพสังคมฯ อาจสามารถส่งนักสค.ไปทำงานยังต่างประเทศได้ จึงควรมีการกำหนดมาตรฐานระดับชาติ และยังได้พูดถึงหลักการสังคมูสังเคราะห์ คือ help them to help themselves มีการหยิบยกกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับนักสค. เช่น พรบ.เด็กฯ หากคนที่เข้าไปช่วยเด็กไม่มีความรู้ที่แท้จริง อาจเป็นการทำร้ายเด็กได้ และทำอย่างไรให้นักสค.มีมาตรฐานและจรรยาบรรณ และควรมีการจัดตั้งสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
ข้อสังเกตข้อแรกของสส.พิษณุคือ ชื่อของ คำว่า นักสังคมสงเคราะห์ควบคุม มองว่าชื่อค่อนข้างแข็ง แต่ที่ต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย จะใช้ชื่อว่า นักสค.จดทะเบียน จะเปลี่ยนได้หรือไม่
ข้อ 2 ค่าธรรมเนียมวิชาชีพ ทำอย่างไรให้นักสค.มีรายได้เพิ่มขึ้น ประมาณ 15,000 บาท เพราะในต่างประเทศได้ค่าแรงเป็นรายชั่วโมง มิใช่รายเดือน
หลังปิดการอภิปรายแล้ว สมาคมวิชาชีพและกระทรวงพม.จะต้องทำงานร่วมกัน โดยรมต.สันติ พร้อมพัฒน์ (กระทรวงพัฒนาสังคม)ได้รับหลักการข้อสังเกตทั้งหมดไปพิจารณาต่อในกรรมาธิการในวาระที่2และ3 และสมาคมวิชาชีพต้องรับข้อสังเกตเหล่านี้ไปจัดทำเอกสารเพื่อเสนอต่อกรรมาธิการต่อไป