ชุมชนคลองโยงกับสถานการณ์ “ข้าว”

ชุมชนคลองโยงกับสถานการณ์ “ข้าว”

บุญลือ เจริญมี ชาวนาคลองโยง จ.นครปฐม พูดถึงการรับมือกับสถานการณ์ราคาข้าวของชา­วนาคลองโยง 

 

ชุมชนคลองโยงกับสถานการณ์ “ข้าว”

วันนี้มีโอกาสได้ไปลงพื้นที่พูดคุยกับคนในชุมชนคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เกี่ยวกับสถานการณ์ข้าวในตอนนี้ที่ชาวนาต้องเผชิญอยู่ บอกตรงๆว่าครั้งแรกที่ได้ยินชื่อชุมชนแห่งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นในหัวคือ “ที่ไหน อะไร ยังไง…ไม่รู้จักเลย” แต่เมื่อได้เข้าไปพูดคุยกับคนในชุมชนคลองโยงก็พบว่า ชุมชนคลองโยงเป็นชุมชนที่มีความน่าสนใจมากทีเดียว เพราะเป็นชุมชนที่ได้รับโฉนดชุมชน อธิบายง่ายๆก็คือคนในชุมชนมีสิทธิจะอยู่อาศัยและทำการเกษตรในที่ดินนั้นและที่ดินนั้นสามารถตกทอดถึงลูกหลานได้ แต่ไม่มีสิทธิขาย ซึ่งที่ผ่านมาในประเทศไทยมีเพียง 2 แห่งที่ได้โฉนดชุมชนแบบนี้ 

ประเด็นน่าสนใจที่มีโอกาสได้พูดคุยกับคนในชุมชนคลองโยงคือ เรื่อง “ข้าว” เพราะคนในชุมชนนี้มีหลายครอบครัวที่ทำนาเลี้ยงชีวิต แน่นอนว่าสถานการณ์การเมืองของไทยในตอนนี้ที่ไม่อาจคาดเดาได้ส่งผลต่อคนในชุมชนคลองโยงแห่งนี้ เพราะว่า “ข้าว” ซึ่งเป็นผลผลิตจากการทำนาของพวกเขา ตอนนี้กำลังนอนนิ่งจมอยู่ในโกดังของรัฐบาล(ผู้เป็นเจ้าของโครงการประกันราคาข้าว) รวมไปถึงเงินของพวกเขาที่ตอนนี้เป็นแค่เพียงลมลอยอยู่ในอากาศ เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้เสียที

เมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้คนในชุมชนก็เล่าให้ฟังถึงการปรับตัวของพวกเขาว่า
“พื้นที่ของชุมชนที่นี่สามารถทำเกษตรตลอดทั้งปี ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ แต่ปัญหาที่เราเจอตอนนี้คือขายข้าวแล้วไม่ได้เงิน เลยทำให้ธุรกิจต้องชะงัก ซึ่งชาวนาในชุมชนคลองโยงก็ไม่ได้รอที่จะปลูกข้าวส่งจำนำรัฐบาลอย่างเดียว แต่พวกเขาก็ทำนากันอยู่ตลอดและขายให้โรงสี ถึงแม้ว่าราคาจะตกลงมาครึ่งต่อครึ่งก็ตาม”

นอกจากนี้่พวกเขายังมีข้อเสนอที่น่าสนใจต่อโครงการประกันราคาข้าวของรัฐบาลด้วย
“รู้ว่าโครงการนี้มาจากนโยบายประชานิยม ชาวบ้านก็รู้ทั้งรู้ว่าโครงการนี้มันไปไม่ได้ แต่ก็ต้องรับ เพราะก็ยังดีกว่าขายข้าวให้โรงสีในราคา7,000 บาทเมื่อเทียบกับราคา 12,000  หรือ13,000บาทที่รัฐบาลให้ แม้ว่าตอนนี้จะเกิดปัญหาขาดทุนอย่างหนัก แต่ก็มองเห็นว่ามันเป็นโครงการที่ดีหากรัฐบาลแก้ไขปัญหาทุจริต”

“การปลูกข้าวที่มีคุณภาพสามารถทานได้ มันต้องใช้ระยะเวลานานและได้ผลผลิตน้อย ทำให้ชาวนาต้องปลูกข้าวสายพันธุ์ที่ได้ผลผลิตเยอะใช้เวลาน้อยกว่าเพื่อที่จะได้ทันส่งเข้าโครงการประกันราคาข้าว บางทีก็เก็บเกี่ยวก่อนกำหนด หรือข้าวใน18 สายพันธุ์ที่รัฐบอกว่าไม่รับแต่ก็ยังปลูกและขายให้รัฐได้ทั้งๆที่ผู้รับข้าวเข้าโครงการรู้ดีแต่ก็ทำเป็นไม่รู้แล้วรับเข้าโครงการไป ทำให้ข้าวไม่ได้คุณภาพ รัฐบาลก็ระบายข้าวออกจากสต็อคไม่ได้ เพราะฉะนั้นรัฐควรจัดเกรดของข้าวด้วยอย่างเช่น ข้าวที่มีคุณภาพสูงราคาก็ต้องสูงกว่า เพราะต้นทุนระยะเวลา,ค่าใช้จ่ายในการปลูกสูงกว่า หากจะให้ชาวนาลุกขึ้นมาปลูกข้าวที่ดีมีคุณภาพโดยไม่สนใจเรื่องราคาหรือผลตอนแทนที่จะได้รับเลยมันก็ลำบาก ดังนั้นเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ชาวนาหันมาปลูกข้าวที่มีคุณภาพหรือมาเป็นตัวเลือกหนึ่งให้กับพวกเขา ก็ควรจะต้องจัดเกรดข้าวให้ละเอียด ไม่ใช่จัดเกรดแค่ 2 สายพันธุ์อย่างที่รัฐบาลทำอยู่ ซึ่งจะทำให้ชาวนามีสิทธิเลือกที่จะปลูกข้าวสายพันธุ์ดีๆ ต่อให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำแต่ถ้าขายได้ในราคาเท่ากัน เราก็อยากจะลอง(เพราะนอกจากจะขายแล้วก็ยังได้ข้าวพันธุ์ดีๆที่สามารถกินกันเองในครัวเรือนได้ด้วย)”

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ